นี่เรียกว่า เบียดเบียนตัวเอง


ตา ไปเห็นรูป ดีไม่ดีก็เก็บมายึดไว้
หู ไปฟังเสียง ดีไม่ดีมาก็ยึดไว้
จมูก ไปได้กลิ่น ดีไม่ดีมาก็ยึดไว้
ลิ้น ได้รับรส ดีไม่ดีมาก็ยึดไว้
กาย ได้รับสัมผัส ดีไม่ดีมาก็ยึดไว้
ใจ ได้รับอารมณ์ ดีไม่ดีมาก็ยึดไว้
.
คราวนี้รูปต่างๆ มันก็จะมาห้อยอยู่ที่ตาของเรา 
เสียงต่างๆ ก็มาห้อยอยู่ที่หูสองข้าง 
กลิ่นต่างๆ ก็มาห้อยอยู่ที่ปลายจมูก 
รสต่างๆ ก็มาห้อยอยู่ที่ปลายลิ้น 
สัมผัสต่างๆ ก็มาห้อยอยู่ที่ตัว 
อารมณ์ต่างๆ ก็มาห้อยอยู่ที่ใจ 
เกะกะรุงรังไปหมด
.
คราวนี้นี้รูปมันก็จะต้องมาปิดตาไว้ 
เสียงก็ปิดหูไว้ กลิ่นก็มาปิดรูจมูกไว้ 
รสก็มาปิดกั้นลิ้นไว้ สัมผัสก็มาปิดตัวไว้ 
ธรรมารมณ์มาปิดใจไว้
.
เมื่อทวารทั้งหกของเราถูกปิดตันไปหมด
ทุกช่องทุกทางเช่นนี้ คนนั้นก็จะต้องเป็นผู้มืด 
คือมืดด้วยอวิชชา คลำหาหนทางไม่พบ 
จะไปทางไหนก็ไปไม่รอด ตัวก็หนัก ใจก็มืด
.
คนนั้นก็ต้องหมดความสุข 
นอนที่ไหนก็ต้องยกมือก่ายหน้าผาก 
นั่งที่ไหนก็ต้องเอามือกอดเช่า 
หน้าตาก็ดำเกรียมไม่มีสง่าราศี 
นี่เรียกว่า เบียดเบียนตัวเอง 
ฆ่าตัวเอง และทำลายตัวเองให้เสื่อมจากความเจริญ

ท่านพ่อลี ธัมมธโร

Image by jakk_wong from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา






 

หากตื่นแล้วจะมี "ปัญญาญาณ"


สังเกตตัวเอง
หากตื่นแล้วจะมี "ปัญญาญาณ" 
จากภายในคอยหล่อเลี้ยง..
ไม่ว่าจะไปพบเจอ ประสบสิ่งใด..
ปัญญาญาณจากภายใน
จะคอยเคลียร์พื้นที่ใจ ไม่ให้มีสิ่งใดตกค้าง..
จิตอยู่ในสภาพคงเดิมคือหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ..
ไม่หลุดไปจากฟากธรรมชาติแม้จะยังอาศัย
อยู่ในรูปของปุถุชน/นักบวชก็ตาม ..
แต่จิตกลับคืนสู่เดิมแท้ของธรรมชาติเสมอ

อิโตมิ จัง

Image by ArabicBrand from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ในที่สุดจะฉลาดจริง


คนฉลาดที่เจริญสติ
กระทั่งสติมีกำลังเกินอารมณ์
ในที่สุดจะฉลาดจริง
เพราะไม่มีอารมณ์ชนิดไหน
ทำให้หน้ามืดหุนหันพลันแล่นได้
ไม่เปิดโอกาสให้ฝากแผล
ไว้กับชีวิตแบบคนโง่ได้อีกเลย!

ดังตฤณ

Image by sanfengshan from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




 

สิ่งทั้งหลายล้วนเป็นเพียงสภาวะของจิต


สำหรับนักปฏิบัติแล้ว
ถ้าเราพร้อมที่จะเรียนรู้ 
ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะเป็นครูของเรา
ไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จหรือความล้มเหลว
ความทรงจำอันสวยงามหรือไม่งาม
ที่ยังมีชีวิตอยู่หรือสิ้นไปแล้วก็ตาม

ทีนี้เราเรียนรู้อะไรล่ะ

เรียนรู้ว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวง
เหล่านี้ล้วนเป็นเพียงสภาวะของจิตเท่านั้น
เราปรุงแต่งขึ้นมาเองแล้วไปยึดเอาไว้…

เมื่อรู้แล้วก็ปล่อยวางไป
เรายอมให้ชีวิตเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ
และมองมันอยู่ ให้สิ่งที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง
นำเราไปสู่สภาวะที่ไม่มีการปรุงแต่ง

พระอาจารย์สุเมโธ

Image by adege from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ความสงบจากความเข้าใจ


ความสงบที่ได้มาจากการทำ 
ต่างจากความสงบที่ได้มาจากความเข้าใจ
ดูเปลือกนอกเหมือนจะเหมือนกัน
แต่ภายในต่างกัน 
ความโปร่งโล่งก็ต่างกัน
ความสงบจากการทำ.. ไม่ทำก็ไม่มี
ความสงบจากความเข้าใจ.. ไม่ทำก็มี

การเดินทาง แห่งจิตวิญญาณ

Image by sharkolot from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

นี่เรียกว่า จิตใจของเราเป็นอิสระแล้ว


ถ้าจิตของเราเป็นอิสระ 
พอรับรู้อารมณ์ต่างๆ ทางทวารต่างๆ 
ใจเราจะนิ่งเฉยมั่นคง นี่คือสมาธิ
แล้วเราก็จะเห็นสิ่งต่างๆ มันเป็นของมันเช่นนั้นเอง 
นี่เรียกว่า จิตใจของเราเป็นอิสระแล้ว
.
หลุดพ้นแล้วเสียจากการเป็นทาสของอารมณ์ต่างๆ
ปัญหาต่างๆ ที่มันเกิดขึ้น เพราะมันมีตัวเรา 
เมื่อตัวเราไม่มี ปัญหาก็ไม่เกิดขึ้น 
การดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง
หรือดำเนินชีวิตพรหมจรรย์ก็คือ 
การดำเนินชีวิตอย่างเป็นอิสระจากอารมณ์ต่างๆ 
.
ในขณะเดียวกันเราก็มีความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่งด้วย 
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะทำอะไรก็ได้
โดยที่เราไม่คำนึงถึงกฎเกณฑ์ธรรมเนียมประเพณี
และวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ 
ความเป็นอิสระหมายถึงจิตใจ
ที่ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ต่างๆ
.
ที่ตกเป็นทาสก็คือเมื่อเรารับรู้แล้ว
เราจะมีความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ ชอบ ไม่ชอบ 
เกิดความรู้สึกอยากได้คือความโลภ 
เกิดความรู้สึกปฏิฆะคือความโกรธ 
นี่เรายังตกเป็นทาสของอารมณ์ 
แต่ถ้าเราเป็นอิสระไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์
ก็คือเมื่อเรารับรู้แล้วใจของเราไม่เอาสิ่งนั้น
มาปรุงแต่งให้เกิดความรู้สึกบวก ความรู้สึกลบ
ให้เกิดความรู้สึกที่เป็นของคู่ๆ ขึ้นมา 
นี่คือเราเป็นอิสระจากอารมณ์ต่างๆ
ที่มากระทบทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น
ทางกาย ทางใจ จิตที่มีอิสรภาพก็จะมีคุณภาพ 
ซึ่งจะแสดงออกเป็นบุคลิกภาพของ
ความเป็นมนุษย์ที่แท้ 
ที่ตื่นขึ้นแล้วจากการเห็นโลกในทัศนะใหม่ 
ในทัศนะที่ผิดไปจากเดิม

หลวงพ่อโพธินันทะ

Image by sharkolot from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

กระแสโลกนั้น เป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก



ขอให้ทุกคนเข้าใจคำว่าโลก 
โลกเป็นสถานที่หลอกลวงอย่างไม่มีที่จบสิ้น 
คำว่าโลกเป็นสถานที่พิบัติแปรปรวนอยู่เสมอ
เหตุนั้นพระพุทธเจ้าถึงได้เตือนพวกเราว่า 
กระแสโลกนั้น เป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก
มันพัดพาให้สัตว์โลกเป็นไปต่างๆ นานา
ซึ่งเต็มไปด้วยความทุกข์... 
ส่วนกระแสธรรมนั้น เป็นเครื่องชี้ทางให้กับชีวิตทุกๆ ชีวิต 
ให้เข้าสู่ดินแดนแห่งความสมหวัง คือพระนิพพาน
จงพากันรักษาตัวให้พ้นภัยจากความโลภ โกรธ หลง ให้ได้แต่ละวัน

พระอาจารย์ชายแดน สีลสุทฺโธ

Image by Nordseher from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

พ้นโลกด้วย “ทำใจไม่ติดอารมณ์”


เราจะพ้นโลกได้เมื่อใด? 
พ้นได้เมื่อทำใจไม่มีในเรา 
ไม่มีตัวตนของเรา ทั้งภายในภายนอก 
พ้นไปจากความสำนึกว่าเรา เป็นเรา 
เป็นอนัตตา ไม่มีตัวตน 
เพราะตัวตนเป็นของโลก เป็นของเรา 
จิตไม่มีตัวตน จิตที่ไม่มีอุปาทาน ความยึดถือ 
คือ ไม่ยึดถืออารมณ์ไว้
รู้อารมณ์แล้วผ่านอารมณ์ 
จิตว่างจากอารมณ์ ธรรมารมณ์ทั้งหมด 
ไม่มีอาลัย จึงไม่มีตัวตน จึงวิมุติหลุดพ้นโลก 
ด้วยสภาวธรรม “ทำใจไม่ติดอารมณ์”

พระอาจารย์นพพร อาทิจฺจวํโส

Image by pen_ash from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ฌานไม่ใช่เรื่องจำเป็น


ถาม.....ในการปฏิบัติของเราจำเป็นจะต้องเข้าถึงฌานหรือไม่ครับ
.
ตอบ......ฌานไม่ใช่เรื่องจำเป็น 
ท่านต้องฝึกจิตให้มีความสงบ
และอารมณ์เป็นหนึ่ง (เอกัคคตา) 
แล้วอาศัยอันนี้สำรวจตนเอง 
ไม่ต้องทำอะไรพิเศษไปกว่านี้ 
ถ้าท่านได้ฌานในขณะฝึกปฏิบัติ
ก็ใช้ได้เหมือนกัน แต่อย่าหลงติดอยู่ในฌาน
.
หลายคนจะชะงักอยู่ในฌาน
มันทำให้เพลิดเพลินได้มากเมื่อไปเล่นกับมัน 
ท่านต้องรู้ขอบเขตที่สมควร 
ถ้าท่านฉลาด ท่านก็จะเห็นประโยชน์
และขอบเขตของฌานเช่นเดียวกับที่
ท่านรู้ขั้นความสามารถของเด็ก
และขั้นความสามารถของผู้ใหญ่

หลวงปู่ชา สุภัทโท

Image by gene1970 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ยื้อบ่อยๆ เข้า สติจะเข้มแข็งขึ้นเรื่อย


...ที่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ให้พุทโธๆ
ก็เพื่อมาบริหารจัดการตัวรู้
ตากระทบรูป หูกระทบเสียง
ความรู้สึกมันต้องเกิดที่ใจ
แล้วคุณเคยบริหารจัดการมันบ้างไหม
เคยฝืนบ้างหรือเปล่า
.
ให้รู้อารมณ์นั้นแล้วก็วาง
แล้วมาอยู่กับพุทโธ
มันคือทักษะในการเบี่ยงเบนความรู้สึก
ให้รู้จักยับยั้งชั่งใจที่เป็นธรรมชาติ
.
ถ้าเราเคยฝืนบ่อยๆ
รู้อารมณ์แล้วก็วาง
วางแล้วมาอยู่กับพุทโธ
ยื้อบ่อยๆ เข้า สติจะเข้มแข็งขึ้นเรื่อย
จิตก็จะมีกำลังขึ้นเรื่อย
ทีนี้การประมวลผลจะมีคุณภาพ
มีทักษะที่จะยับยั้งตัวเองได้อย่างเป็นธรรมชาติ
ความหยุมหยิมมันก็จะลดลงเรื่อย

พระอาจารย์อังคาร อัคคธัมโม

Image by gene1970 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ความอิสระคือเงื่อนไขเดียวสำหรับความสุข


การปล่อยวางทำให้เราเป็นอิสระ 
และความอิสระคือเงื่อนไขเดียวสำหรับความสุข 
ถ้าในจิตใจเรา เรายังคง ยึดติดกับสิ่งต่างๆ 
ความโกรธ ความกังวล หรือทรัพย์สมบัติ 
เราไม่สามารถเป็นอิสระได้

ท่านติช นัท ฮันห์

Image by jplenio from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

เราไม่เคยหันมาบริหารจัดการผู้รู้


นัยยะของใจคือธาตุรู้ สภาวะรู้
แต่ทีนี้เราไม่เคยบริหารจัดการมันเลย
เราจะไปวิเคราะห์แต่สิ่งรู้
แต่ไม่เคยหันมาบริหารจัดการผู้รู้
อยากให้รูปเป็นแบบนั้น เสียงเป็นแบบนี้
กลิ่นเป็นแบบนั้น
ตัวรู้นี่มันสำคัญมั่นหมาย...
ให้หันมาบริหารจัดการตัวรู้
ตลอดชีวิตพยายามบริหารจัดการสิ่งรู้
มีแต่ทุกข์กับทุกข์ทั้งนั้นแหละ
พระพุทธเจ้าท่านให้หยุดดูโลก เพื่อที่จะหยุดคิด
แต่เราน่ะคิดที่จะหยุดโลก
ฝันได้แต่อย่าหวัง…

พระอาจารย์อังคาร อัคคธัมโม

Image by Placidplace from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

โลกใหม่ที่อยู่ในโลกใบเก่า


เมื่อปฏิบัติแล้วรู้ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นอนิจจัง 
เป็นอนัตตา เป็นสุญญตา คือ ว่างจากตัวตน 
ดับทุกสิ่งทุกอย่างทั้งโลกภายในและโลกภายนอก 

จิตก็จะฉลาด อยู่เหนือโลกเหนือจักรวาล
โดยไม่ต้องมีความทุกข์ ได้พบและสัมผัสโลกใหม่อันสงบเย็น 
เป็นที่ซึ่งพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายอยู่
ในโลกใหม่ คือโลกที่พ้นจากความเกิด แก่ เจ็บ และตาย
เป็นโลกที่ว่างจากตัวตน

หากแม้นร่างกายยังอยู่ในโลกนี้ 
ก็อยู่ด้วยความว่าง กินด้วยความว่าง 
ทำงานด้วยความว่าง...
มีความว่างอยู่ตลอดเวลา สักแต่ว่ากิน 
อาบ ถ่าย ยืน เดิน นั่น นอน 
ทุกขณะมีความว่างควบคุมหมด 
ไม่มีสัตว์ ไม่มีตัวตน ไม่มีบุคคล ไม่มีเรา ไม่มีเขา 
มีเพียงแต่สุญญตาธาตุเท่านั้น 
เป็นโลกใหม่ที่อยู่ในโลกใบเก่า 
ยังกิน ยังนอน ยังทำทุกสิ่งเหมือนเดิมหมด

หลวงพ่อเอี้ยน วิโนทโก

ที่มา : หนังสือไม่ใช่กู  สำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ

Image by Nowaja from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

หากได้เกิดความเข้าใจแบบพุทธะ


ปัญญาของสัตว์โลกเข้าใจว่า
ตนเองเป็นของตนเอง 
เข้าใจไปว่าตนมีสิทธิ์ในตนเองที่จะทำอะไรก็ได้..
เพราะเข้าใจกันไปตามประสาสัตว์โลก 
ความทุกข์จึงเกิดมีตามประสาสัตว์โลกร่ำไป..
แต่หากได้เกิดความเข้าใจแบบพุทธะ 
เกิดการยอมรับความจริงชนิดที่ว่า 
แม้แต่ตัวเราก็มิได้เป็นของเรา 
ความนึกคิด อารมณ์ ตลอดจนความรู้สึกต่างๆ 
ก็มิใช่ของเรา..ความทุกข์จักมีมาแต่ใด..
เมื่อความรู้จริง (การตื่น) ปรากฎ 
สิ่งอันเป็นมายาใดๆ ก็มิอาจตั้งอยู่ได้ 
เรื่องของความสุขสงบอันแท้จริง 
จึงเป็นสิ่งที่มีมาแต่เดิม
และยังคงมีอยู่แท้จริงตลอดกาล

อิโตมิ จัง

Image by ApplesPC from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

นั่นแหละ จิตว่าง ที่แท้จริง


จิตว่าง 
มันว่างแล้วว่างเลยนะจิตเนี่ยะ
ไม่มีเข้าๆ ไม่มีออกๆ
จิตว่าง มันไม่มีพระจันทร์ ไม่มีพระอาทิตย์
ไม่มีกลางวัน ไม่กลางคืน
มันจึงไม่มีจิตมืด ไม่มีจิตสว่าง
ถ้าจิตยังมีแสงสว่าง
บางคนก็เรียกจิตประภัสสร
อันนั้นยังมีตัวเกิดอยู่
เพราะถ้าจิตมีมืด แสดงว่าต้องมีสว่าง
และถ้ามีจิตสว่าง แสดงว่าต้องมีจิตมืด
ของมันเป็นของคู่กัน
ไม่มีทั้งมืด ไม่มีทั้งสว่าง
มันเป็นธรรมชาติสักแต่ว่ารู้อยู่ขณะนั้น
ไม่มีลังเล ไม่มีสงสัย ไม่มีความคิดเห็นอะไร
มันเต็มไปด้วยความระลึกรู้อย่างธรรมดาๆ อยู่อย่างนั้น
ไม่มีอะไรที่ต้องถือ ปล่อยให้ธรรมชาติทำหน้าที่ไป
แต่ไม่ยึดถือ แม้กระทั่งจิตเรา ก็ไม่มี
มันมีอยู่นะ แต่เหมือนไม่มี ไม่มีความหมายอะไร 
นั่นแหละ จิตว่าง ที่แท้จริง

หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล

Image by RJ001rock from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา





 

การภาวนาเป็นเรื่องง่าย



เพียงแค่รู้ไม่ไล่ตาม
.
ข้าพเจ้าจะขอเผยความลับชิ้นโตแก่คุณ 
สิ่งใดก็ตามที่คุณรับรู้
ตอนที่คุณวางความใส่ใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นในจิต
ไม่ว่าขณะใดก็ตาม นั่นคือการภาวนา 
การพักวางจิตเฉยๆ แบบนี้ คือประสบการณ์ของจิตธรรมชาติ 
ความแตกต่างเพียงประการเดียวระหว่าง
การภาวนากับกระบวนความคิด ความรู้สึก 
และผัสสะที่เกิดขึ้นทุกวันตามปกติ 
คือเกิดการระลึกรู้ขึ้นในขณะที่คุณปล่อยจิต
ให้วางอยู่อย่างที่มันเป็น 
โดยไม่วิ่งไล่ตามความคิดหรือวอกแวกไป
กับความรู้สึกหรือผัสสะ
ข้าพเจ้าใช้เวลาอยู่นานกว่าจะรู้ได้ว่า จริงๆ แล้ว
การภาวนานั้นง่ายเพียงใด 
ด้วยเหตุที่มันดูเป็นของธรรมดาเหลือเกิน 
อยู่ใกล้กับความเคยชินของการรับรู้ประจำวัน
เสียจนเราไม่คิดที่จะหยุดเพื่อทำความรู้จักมัน... 

จากหนังสือ “ชีวิตที่เบิกบาน”
ไขรหัสสู่ศาสตร์แห่งความสุข
ท่านมิงจูร์  รินโปเช ร่วมกับอีริค สแวนสัน เขียน
พินทุสร ติวุตานนท์ แปล

Image by RJ001rock from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ความจริง คือว่า ไม่ได้เอาอะไร


การเจริญภาวนา ปฏิบัติบูชาในทางพุทธศาสนานี้
ความจริง คือว่า ไม่ได้เอาอะไร 
เป็นผู้เสียสละ ละปล่อยออกไปให้หมดสิ้น
จนไม่ให้จิตใจไปยึดเอา ถือเอา 
เรื่องราวอะไรเข้ามาภายในจิตใจนี้
ดวงจิต ดวงใจจึงจะผ่องใสสะอาด ปราศจากมลทินโทษ
แต่ถ้าจิตใจอันนี้ออกไปคิดนึกเอาอะไรต่อมิอะไร
เข้ามายุ่งเหยิงอยู่ภายในจิต ไม่เสียสละออกไป
ความทุกข์ความเดือดร้อนก็ย่อมบังเกิดมีขึ้น
ในจิตใจที่มีความยึดมั่นถือมั่นนั้น

หลวงปู่สิม พุทธาจาโร

Image by mariya_m from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

อย่างไรจึงเรียกว่า “รู้สึกตัว”


ถาม : อย่างไรจึงเรียกว่า “รู้สึกตัว” คะ ?
พระอาจารย์ : ลองมองต้นไม้นั่นซิเห็นมั้ย .. 

เวลามอง  “เห็นแต่ต้นไม้” หรือ 
“เห็นต้นไม้แล้วรู้สึกถึงความมีอยู่ของกายด้วย” 

ถ้าเห็นแล้วรู้สึกถึงความมีอยู่ของกายด้วยในขณะนั้น นั่นเรียกว่า “รู้สึกตัว” 
ณ ขณะนั้นจิตก็หลุดออกมาจากโลกของความคิดด้วย 

ไม่ว่าใจจะไหลไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (ความคิด) ก็ยังคงไม่ลืมกาย 
ไม่จมไปกับอารมณ์ใดๆ ให้ฝึกมีจิตรู้ที่ตั้งมั่นโดยมีกายเป็นฐาน 

ยกตัวอย่างเปรียบความคิดเป็นสายลมที่พัดผ่านมาผ่านไป 
จิตที่ตั้งมั่นโดยมีกายเป็นฐานก็เพียงแค่รู้ เท่านั้น 
ไม่ข้องแวะหรือยึดเอาอารมณ์ใดๆไว้ 

ส่วนใหญ่เราจะให้เคาะนิ้ว พุทโธ โดยพุทโธ ก็เป็นตัวแทนความคิด 
ที่ให้พุทโธ เพราะพุทโธเป็นคำกลางๆ ไม่มีความยินดียินร้าย 
หลักก็คือ รู้กายไม่ถลำไปในกาย รู้พุทโธไม่ถลำไปในพุทโธ 

คำสอนพระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต
Cr.Pum Methavee

Image by mariya_m from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

การรักษาศีล คือการรักษาจิตให้เป็นหนึ่งเดียว


การรักษาศีลไม่ใช่เที่ยวท่องจำตามตำราข้อนั้นข้อนี้
การรักษาศีล คือการรักษาจิตให้เป็นหนึ่งเดียว
ศีลทุกๆ ข้อรวมที่จิตดวงเดียว
เมื่อเราสำรวมจิตดีแล้ว ศีลก็สมบูรณ์
สมาธิก็จะตามมา และวิปัสสนาตัวปัญญา
ก็จะตามมาเป็นลำดับ โดยไม่ต้องไปบังคับ

หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร

Image by kalyanayahaluwo from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

พุทธะจะปรากฏโดยไม่ต้องแสวงหา


เมื่อยังใช้ตัวตนแสวงหาพุทธะ 
ไม่ว่าจะนานอีกกี่ชาติก็ไม่เจอ
ต่อเมื่อปล่อยวางความยึดถือตัวตนได้นั่นแหละ
พุทธะจะปรากฏโดยไม่ต้องแสวงหา
ฉะนั้น อย่าใช้ตัวตนแสวงหาพุทธะ
อย่าใช้ตัวตนทำพุทธะให้เกิด
อย่าใช้ตัวตนเพื่อจะบรรลุถึงพุทธะ
แต่ให้ทำความรู้จักตัวตนจนเข้าใจ
และเจริญมรรคจนละความเห็นผิดว่ามีตัวตน
ไปจนถึงปล่อยวางความยึดถือตัวตนลงได้

อ.สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา

Image by kalyanayahaluwo from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

การรู้จักให้อภัย ถือเป็นการเอาภัยออกจากตัว


การรู้จักให้อภัย ถือเป็นการเอาภัยออกจากตัว 
อาตมาอยากให้ลองสังเกตใจเราดู 
ขณะที่ "ให้อภัย" คนอื่น เราจะรู้สึกเบาสบายขึ้นทันที 
ให้หมั่นฝึก "ให้อภัย" คนบ่อยๆ จนเป็นนิสัย 
เมื่อจิตเสพคุ้นกับสภาวะที่เบาสบายอยู่เสมอ 
เราก็จะรับรู้ผลแห่งการ "ให้อภัย" ในที่สุด
พระพุทธเจ้าทรงกล่าวเรื่องเกี่ยวกับอภัยทานไว้ว่า 
เป็นการให้ทานที่ไม่ต้องลงทุนด้วยวัตถุ
และเป็น ทานสูงสุด 
ใครมี อภัยทาน ประจำใจ ผู้นั้นก็เข้าถึงปรมัตถบารมี
ซึ่งเป็นบารมีสูงสุดที่จะทำให้เข้าถึงพระนิพพานแล้ว

พระอาจารย์นวลจันทร์  กิตติปัญโญ  

Image by GoranH from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




 

สุขในพระนิพพานเป็นสุขที่ไม่ยึดถือ


สุขในพระนิพพานเป็นสุขที่ไม่ยึดถือ 
สุขไม่เอาอะไรเข้ามา และไม่มีอะไรออกไป
แผดเผากิเลสราคะ กิเลสโทสะ 
กิเลสโมหะ ทั่วภายนอกภายในให้หมดสิ้นไป
นี่แหละถึงเรียกได้ว่า ความสุขแล้วก็สุขจริง
สุขตลอดกาล อนันตสุข สุขตลอดเรื่อง 
ไม่กลับกลอกหลอกลวง
ส่วนสุขในโลก แม้จะสุขขนาดไหน 
ก็ยังเป็นความสุขอันหลอกลวงอยู่นั่นเอง

หลวงปู่สิม พุทธาจาโร

Image by Noel_Bauza from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ต้องการเพียงเข้าใจธรรมชาติในตนเอง


คนที่ปฏิบัติธรรม
เขาไม่ต้องการใครมาเข้าใจเขา
เขาต้องการเพียงเข้าใจธรรมชาติในตนเองเท่านั้น
เมื่อใดที่เขาเข้าใจตนเอง
เขาจะเห็นถูกผิดในใจตนเอง
จึงเข้าใจผู้อื่นได้ง่าย
จิตจะทรงอุเบกขาธรรมเป็นวิหาร
และจิตจะง่ายต่อการเกิดเมตตาอัปปมัญญา
เป็นเมตตาที่ไม่มีเงื่อนไขและไร้ขอบเขต

การเดินทาง แหงจิตวิญญาณ

Image by Leolo212 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวล


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่จงใจ 
ไม่ดำริ และไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด 
สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารัมณปัจจัย
เพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ 
เมื่อไม่มีอารัมณปัจจัย 
ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงไม่มี 
เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว ไม่เจริญขึ้นแล้ว 
ตัณหาจึงไม่มี เมื่อไม่มีตัณหา คติในการเวียนมาจึงไม่มี 
เมื่อไม่มีคติในการเวียนมา จุติและอุปบัติจึงไม่มี 
เมื่อไม่มีจุติและอุปบัติ ชาติ ชราและมรณะ 
โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสต่อไปจึงดับ 
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ 
ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

เจตนาสูตรที่ ๓ / ๑๕๐

ความคิดดับทุกข์ย่อมดับ

Image by Leolo212 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ก็เพราะเหตุเห็นไม่จริงนั่นแหละ..


..ใครๆ ก็เห็นกายกันทุกคนละ แต่มันไม่เห็นจริง 
ไม่เห็นเป็นอนัตตา ไม่เห็นเป็นทุกขัง 
ไม่เห็นตามสภาพเป็นจริง
ทุกอย่างจึงปล่อยวางไม่ได้ 
จึงได้ทุกข์ ที่เราเดือดร้อนกันอยู่ทุกวี่ทุกวันนี้
ก็เพราะเหตุเห็นไม่จริงนั่นแหละ..

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

Image by sbtlneet from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ความสุขไม่ได้อยู่ที่ไหน


ความสุขไม่ได้อยู่ที่ไหน 
แต่อยู่ตรงนี้และเดี๋ยวนี้แล้ว  
เพียงแต่เปลี่ยนมุมมอง วางใจให้ถูก  
เราก็จะพบความสุขได้เสมอ 
.  
ความสุขไม่ได้เกิดจากทรัพย์สมบัติ 
เกียรติยศ และอำนาจ 
แต่อยู่ที่ว่าเรามีสติรู้ทันอารมณ์ของตน 
และมีปัญญารู้เท่าทันธรรมดาโลก หรือไม่   
หากมองเป็น ไม่เพียงพบความสุขรอบตัวเท่านั้น 
หากยังสามารถสัมผัสความสุข
ที่มีอยู่กับตัวเราแล้วด้วย
.
เมื่อใดก็ตามที่เราตระหนักว่า
ความสุขนั้นตามติดเราไปตลอด  
ไม่ว่าอยู่ที่ไหน อยู่ในสถานการณ์ใด 
มีอะไรมากระทบ เราก็สามารถพบความสุขได้เสมอ

พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

Image by Ri_Ya from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

เราอย่าไปเอาชนะมัน เราอย่าไปยอมแพ้มัน


อารมณ์ชนิดใดก็ตาม
เราอย่าไปเอาชนะมัน
เราอย่าไปยอมแพ้มัน
ให้เรา...ตั้งอยู่ในความสงบ  เรียกว่า...
"น้ำไหลนิ่ง" ความสงบท่ามกลางความไม่สงบ 
น้ำไหลนิ่ง  หยุด...นิ่ง...รู้...
น้ำไหลนิ่ง...
เป็นความสงบ ที่อยู่...ท่ามกลางความไม่สงบ
เปรียบเหมือน...น้ำไหลนิ่ง
อารมณ์ที่มันเกิดขึ้นภายในจิตเรา
ความพอใจ  ความไม่พอใจ
ความรัก  ความชัง
ความดีใจ  ความเสียใจ
ความโกรธ  ความพยาบาท อะไรก็ตาม  
มันจะเป็นอารมณ์ชนิดใด ก็ตาม
เราอย่าไปเอาชนะมัน
เราอย่าไปยอมแพ้มัน
ให้ตั้ง อยู่...ในความสงบ  
ความสงบ ที่อยู่...ท่ามกลางความไม่สงบ 
เปรียบเหมือน...น้ำไหลนิ่ง...หยุด...นิ่ง...รู้...
ดู...ความเกิด-ดับ  
ของอารมณ์ทั้งหลาย ทั้งปวง
ไม่ไป ข้องเกี่ยวกับมัน 
แม้แต่...
ลม กับกาย  ความสงบนั้น...
ก็มิได้ไปยุ่งเกี่ยวอะไรด้วยเลย
แล้วเราจะ...
พ้นจาก...บ่วงของมาร

หลวงปู่ชา  สุภัทโท  

Image by Leolo212 from pixabay

เพจ วัดพระธาตุขุนบง

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา