วิธีสงบใจที่ดีที่สุด “หายใจยาวและลึก”



...สงบใจได้แม้เมื่อตนอยู่ในอันตราย หรือประสบทุกข์
อย่าให้เสียใจ หมดสติ สะดุ้งดิ้นรนจนสิ้นปัญญาแก้ไข
เกิดความท้อถอยไม่ทำอะไรต่อไป
ความสงบไม่ตื่นเต้น เป็นเหตุให้เกิดปัญญา ประกอบกิจให้สำเร็จได้สมหวัง
เราจะแก้ไขเหตุร้ายที่เกิดขึ้นแก่เราได้นั้นก็มีทางจะทำอยู่ ๒ ขั้น
๑.ต้องสงบใจมิให้ตื่นเต้น  ๒.ต้องมีความมานะพยายาม
วิธีสงบใจที่ดีที่สุด “หายใจยาวและลึก”

ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต

ฝึกใจยามตื่นนอน



          สวัสดีในเช้าของวันใหม่ ...ขอทุกท่านจงสลัดความง่วงเหงาหาวนอน ความซึมเศร้าหงอยเหงา ความหดหู่ใจทั้งหลาย ความเคียดแค้น พยาบาทมาดร้าย ทิ้งออกไป หายใจเข้าลึกๆ มีสติกำหนดรู้ หายใจออกยาวๆ มีสติกำหนดรู้ เราจะสังเกตได้ว่า ในขณะที่เรากำหนดรู้ลมหายใจนั้น แม้จะเป็นการหายใจเพียงครั้งเดียว แต่เพราะการที่เราเอาจิตไปจดจ่อกับลมหายใจ ใจเราจะเบาสบายขึ้นในขณะนั้นทันที การที่เรากำหนดดูรู้ลมนั้น คือการฝึกอานาปานสติสมาธิ แม้ทำเพียงรู้ลมหนึ่งคู่เข้า ออก ก็เป็นอานาปานสติได้...

                                                                               ครูบาไตรภพ วัดป่าโคกเจริญธรรม
                                                                              มูลนิธิวิศวาธารอโรคยาธรรมศาลฯ

เราไม่ยอมต่อสู้ราคะด้วยปัญญา



ที่เรารักไม่มีสถานีจบ

ก็เพราะเราอยู่ใต้อำนาจกิเลสแห่งราคะมาก
เราไม่ยอมต่อสู้มันด้วยปัญญา พิจารณาสิ่งปฏิกูลโสโครก
และไม่แยกลงไปเป็นดินน้ำลมไฟ 

เรารักและกำหนัด ให้มันชนะกำหนัด มันก็ย่อมเป็นไปไม่ได้...

คล้ายๆ กับทิ้งฟืนใส่ไฟ ให้ชนะไฟย่อมเป็นไปไม่ได้
อันนี้เป็นด้านปัญญาอันคมกล้า 
เราจะเอาสมาธิล้วนๆ ปราบมันไม่ได้ดอก
เราต้องเอาปัญญาปราบความหลงของตน

หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต 

ฝึกตายเสียตั้งแต่ก่อนตาย



เราจะพึ่งคนอื่นไม่ได้ ตายเราก็ตายคนเดียว 
ไม่มีใครมาช่วยตายด้วยเลย...
มีแต่ตัวเองเท่านั้นแหละที่ช่วยประคองจิตใจตัวเอง
ให้ตั้งมั่นอยู่ไม่ฟุ้งซ่าน เลื่อนลอย
ไปเกาะ ไปข้อง อยู่ที่ต่างๆ ในโลกนี้
ไม่เศร้าโศก ไม่เสียใจ 
ปล่อยวางความอาลัย ความเกี่ยวข้องทั้งหมดลงไป
นี่เรียกว่า จะต้องฝึกตายเสียตั้งแต่ก่อนตาย 

หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

คนไม่ฉลาดมัวชื่นชมขันธ์ ๕



          ...ผู้ฉลาดก็รีบเร่งใช้ขันธ์ ๕ นี้ทำความดีเข้าไป ไม่ปล่อยให้ขันธ์ ๕ นี้ทรุดโทรมไปเสียเปล่า... คนไม่ฉลาด ก็เมื่อได้ขันธ์ ๕ มานี้แล้ว ก็มาชื่นชมกับขันธ์ ๕ นี้ ก็เพลิดเพลินมัวเมาอยู่แต่ในกามคุณ คือ รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสต่างๆ ไม่มีโอกาสที่จะได้ฝึกตนเลย...

                                                                                                    หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ