อย่างไรจึงเรียกว่า “รู้สึกตัว”


ถาม : อย่างไรจึงเรียกว่า “รู้สึกตัว” คะ ?
พระอาจารย์ : ลองมองต้นไม้นั่นซิเห็นมั้ย .. 

เวลามอง  “เห็นแต่ต้นไม้” หรือ 
“เห็นต้นไม้แล้วรู้สึกถึงความมีอยู่ของกายด้วย” 

ถ้าเห็นแล้วรู้สึกถึงความมีอยู่ของกายด้วยในขณะนั้น นั่นเรียกว่า “รู้สึกตัว” 
ณ ขณะนั้นจิตก็หลุดออกมาจากโลกของความคิดด้วย 

ไม่ว่าใจจะไหลไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (ความคิด) ก็ยังคงไม่ลืมกาย 
ไม่จมไปกับอารมณ์ใดๆ ให้ฝึกมีจิตรู้ที่ตั้งมั่นโดยมีกายเป็นฐาน 

ยกตัวอย่างเปรียบความคิดเป็นสายลมที่พัดผ่านมาผ่านไป 
จิตที่ตั้งมั่นโดยมีกายเป็นฐานก็เพียงแค่รู้ เท่านั้น 
ไม่ข้องแวะหรือยึดเอาอารมณ์ใดๆไว้ 

ส่วนใหญ่เราจะให้เคาะนิ้ว พุทโธ โดยพุทโธ ก็เป็นตัวแทนความคิด 
ที่ให้พุทโธ เพราะพุทโธเป็นคำกลางๆ ไม่มีความยินดียินร้าย 
หลักก็คือ รู้กายไม่ถลำไปในกาย รู้พุทโธไม่ถลำไปในพุทโธ 

คำสอนพระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต
Cr.Pum Methavee

Image by mariya_m from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

เพราะไม่มีจุดหมาย


เพราะไม่มีจุดหมาย
ฉันจึงไม่เคยหลงทาง
ท่านอิ๊กคิว
Having no destination
I am never lost
Ikkyu
(1394-1481)
ศิลปะการมีจุดหมาย
โดยไม่ตั้งเป้าหมาย
เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติธรรม

ที่มา  เพจมนษิธาร  Monsitharn

        (บ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา เดิม)