การปฏิบัติธรรมทุกระดับต้องมีอุเบกขา


การปฏิบัติธรรมในทุกระดับ
ไม่ว่าจะเป็นทาน เป็นศีล เป็นภาวนา
ถ้าเรามีไม่มีอุเบกขา
โอกาสที่จะก้าวหน้าก็เป็นไปโดยยาก
.
ในเรื่องของการให้ทาน
ถ้าเราไม่มีอุเบกขาในการให้ทาน
ให้แล้วบางคนก็ยังตามไปตรวจว่า
ของที่ทำไปท่านได้เอาไปใช้เอาไปฉันจริงหรือเปล่า?
นั่นคือลักษณะของการขาดอุเบกขาในการให้ทาน
ทำแล้ว ให้คนอื่นไปแล้ว
แต่ยังไม่ขาดจากใจตัวเอง ยังยึด ยังเกาะอยู่
โอกาสที่จะติดอยู่แค่กามาวจรภูมิก็มีมาก
.
ในการรักษาศีล เมื่อเราล่วงละเมิดศีลโดยไม่ได้เจตนา
ถ้าเรามีอุเบกขา ก็คือปล่อยวาง
แล้วตั้งหน้าตั้งตาชำระศีลให้บริสุทธิ์ใหม่
แต่ถ้าหากเราไม่มีอุเบกขา
เราก็จะไปเศร้าหมองอยู่ตรงนั้นว่า
เรารักษาศีลมาได้ตั้งนานแล้ว
ไม่น่าที่จะบกพร่อง
ลักษณะอย่างนั้น ถ้าเราตายตอนนั้น
สภาพจิตเศร้าหมองจะนำเราไปลงอบายภูมิ
.
ส่วนในเรื่องของการภาวนานั้น
สมาธิทุกระดับจะมีตัวอุเบกขาอยู่เสมอ
ตั้งแต่อุเบกขาของปฐมฌาน
อุเบกขาของฌานที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕
ตัวที่ ๕ นี่ชัดเจนที่สุดเลย
ก็คือเหลือแต่อารมณ์อุเบกขาล้วน ๆ
เรียกว่า ปัญจมฌาน
สำหรับบุคคลที่มาสายพระโพธิสัตว์
จะเข้าถึงตรงจุดนี้ได้
ฉะนั้น...ถ้าเราขาดตัวอุเบกขา
ซึ่งปนอยู่ในเอกัคตารมณ์
ก็คืออารมณ์ที่ตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว
เราก็ไม่สามารถที่จะเข้าถึงสมาธิภาวนา
ในแต่ละระดับได้อย่างแท้จริง
.
ส่วนอุเบกขานั้นในวิปัสสนาญาณนั้น
ก็คือการเลิกการปรุงแต่ง ตาเห็นรูป
หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส
กายสัมผัส ใจไม่นำมาคิด
สักแต่ว่าเห็น สักแต่ว่าได้ยิน
สักแต่ว่าได้กลิ่น สักแต่ว่าได้รส
สักแต่ว่าสัมผัส เมื่อใจไม่คิด
ความดีความชั่วก็ไม่เกิด
กุศลกรรมและอกุศลกรรมไม่เกิด
ในเมื่อสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ไม่เกิด
เพราะขาดการปรุงแต่ง
คำว่า "ไม่เกิด" ก็คือ "ดับ" นิโรธ
คือความดับก็ปรากฏขึ้น
โอกาสที่เราจะเข้าถึงพระนิพพานจึงจะมีได้
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. (หลวงพี่เล็ก สุธมฺมปญฺโญ)
เจ้าอาวาสวัดท่าขนุน จ.กาญจนบุรี
Image by Pexels from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

กรรมขวางบุญ


เราเป็นพุทธศาสนิกชนที่เข้าวัดทำบุญสร้างกุศลกัน
เพียงหวังปรารถนาให้ชีวิตของตนดีขึ้น
และเป็นไปอย่างที่ใจเราต้องการ
หรือทำเพื่อความสบายใจ ทำตามที่เขาทำๆกันมา
ซึ่งการเข้าวัด ย่อมมีการทำบุญ และเกิดการขวางบุญเป็นธรรมดา
.
ขอยกตัวอย่างพอประมาณ ดังนี้ :-
.
เขาจะเดินเข้าไปในโบสถ์วัด...เราก็ไปขวางทางเดินเขา
บางครั้งเขาไหว้พระอยู่...เราก็คุยกันเสียงดัง
เกิดเป็นกรรมขึ้นมา
.
ไม่เฉพาะในวัดเท่านั้น แม้แต่เวลาจะมีการให้ทานเช่น
                                                          แม่ลูกเดินไปเจอขอทาน
แล้วลูกจะให้ทานแก่ขอทานนั้น
แต่แม่มาปรามไว้ว่า...อย่าให้
เพราะกลัวขอทานเป็นมิจฉาชีพ
ซึ่งถึงขอทานนั้นจะเป็นมิจฉาชีพจริงหรือไม่
.
มีซองผ้าป่ามาที่บ้าน
แฟนกำลังใส่เงินทำบุญไป 100 บาท
แต่เราไปบอกแฟนว่า 20 ก็พอ
เพราะแทนที่แฟนจะได้สร้างกุศลในปัจจัย 100 บาท
กลับถูกขวางให้เหลือ เพียง 20 บาทเท่านั้น
.
ไปหลอกเขาว่านี่น้ำเก๊กฮวย แต่ที่จริงเป็นเหล้า
เป็นการขวางไม่ให้เขารักษาศีลได้สำเร็จ
ทั้งยังไปทำลายศีลเขาอีกด้วย
.
มีผู้ฟังธรรมหรือแสดงธรรมอยู่
ก็ไปทำให้ผู้ฟังเขาไม่สนใจฟัง
โดยคุยเรื่องอื่นๆ ขึ้นมาแทรก
และควรระวังควบคุมถ้านำบุตรหลานท่านไป
.
เขานั่งสวดมนต์อยู่ ก็ไปชวนคุยออกนอกเรื่อง
เพราะแทนที่เขาจะได้สวดมนต์สร้างกุศลต่อ
กลับต้องมาหยุด เพราะคำพูดของเรา
.
เขานั่งสมาธิอยู่ เราเปิดเพลงเสียงดัง
คุยโทรศัพท์เสียงดัง จนทำให้เขาต้องหยุดนั่งสมาธิไป
หรือนั่งได้ลำบากยิ่งขึ้น
.
และอาจเป็นกรรมที่เราคาดไม่ถึง ซึ่งสรุปได้ว่า..
ทุกสิ่งที่เป็นการสร้างกุศล
แต่มีผู้ที่มาลดทอน ก่อกวนให้สร้างไม่สำเร็จนั้น
ย่อมเรียกว่า การขวางบุญ
.
จะสำเร็จได้ยาก เหมือนมีอะไรที่เป็นอุปสรรค
เข้ามาขวางตลอดเวลา
อาจตาบอด หูหนวก ปางแหว่ง มีปัญหาทางช่องปาก
เป็นผู้ที่เขลาเบาปัญญา
เกิดมาเตี้ยผิดปกติ หรือที่เรียกว่าคนแคระ
.
ที่สุดแล้วต้องไปชดใช้กรรมในอบายภูมิ
อย่างแสนสาหัสยาวนานต่อเนื่อง
เพราะการขวางบุญ เหมือนเราไปขวาง
ทางสว่างของชีวิตผู้อื่น
เมื่อเราขวางทางสว่างของผู้อื่น
เราย่อมรับผลของกรรมนั้นเช่นเดียวกัน
.
วันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๗.๐๓ น. :-
การบรรยายธรรมจากการกราบสมเด็จองค์ปฐมในสมาธิ
บันทึกธรรมโดย ธรรมรัตน์

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา