ผู้รู้ต้องสอนต้องพิจารณา


การปฏิบัติก็เช่นกัน 
เมื่อเราดูจิตของเราอยู่ 
ผู้รู้ดูจิตเจ้าของ 
ผู้ใดที่ตามดูจิต 
ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงมาร
จิตอันหนึ่ง ผู้รู้อันหนึ่ง 
รู้ออกมาจากจิตนั่นแหละ 
ผู้รู้จะตามดูจิต 
ผู้รู้นี้จะเกิดปัญญา 
จิตนั้นคือความนึกคิด 
ถ้าพบอารมณ์นั้นก็แวะไป 
ถ้าพบอารมณ์อีกมันก็แวะไปอีก 
มันเข้าจับทันที เหมือนกับควายนั่นแหละ
เมื่อมันเข้าจับ ผู้รู้ต้องสอนต้องพิจารณา 
จนมันทิ้ง อย่างนี้จึงสงบได้ 
จับอะไรมาก็มีแต่ของไม่น่าเอา 
มันก็หยุดเท่านั้น 
มันก็ขี้เกียจเหมือนกัน 
เพราะมีแต่ถูกด่าถูกว่าเสมอ 
ทรมานมันเข้า ทรมานเข้าไปถึงจิต 
หัดมันอยู่อย่างนี้แหละ

หลวงปู่ชา สุภัทโท

Image by Erik_Karits from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




 

อย่าเอามาเป็นอุปกรณ์ในการทำลายตัวเอง


ตัดความคิด ตัดอย่างไร
ตัดความคิด หยุดความคิด
หยุดมันได้ไหม
คำว่า ‘ตัด’ คือ ตัดอะไร
‘ตัดใจ’ ไม่ใช่ไป ‘ตัดคิด’
ตัดใจ.. ตัดใจที่ไม่ไปยุ่งกับมัน
ไม่ไปกับมัน
.
นั่นคือ การตัดความคิด ตัดใจ
ตัดใจที่ไม่ไปยุ่งกับมัน ไม่ไปกับมัน
นั่นเรียกว่า ‘ตัด’
.
‘หยุดคิด’ ไม่ได้ หมายความว่า
หยุดความคิด
แต่หยุดจิตที่จะไปทำอะไร
หยุดพฤติกรรมของจิต..
ที่จะไปทำอะไรกับความคิด
หยุด หยุด หยุด อยู่แค่ 'รู้' มันพอ
เอามันมาเป็นอุปกรณ์ในการฝึก
อย่าเอามาเป็นอุปกรณ์ในการทำลายตัวเอง
.
อารมณ์ทั้งหลายทั้งปวง
เขาคือ อุปกรณ์ในการฝึกเรา
แต่เราชอบเอามาทำร้ายตัวเราเอง
เจ็บตัวฟรี แล้วก็ไม่มีอะไรดีเลยภาวะพวกนี้
และเดี๋ยวเขาก็จะผ่านไป ผ่านไป

พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท

Image by asundermeier from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา