ถ้าผู้ปฏิบัติมองเห็นมันเป็นธรรมชาติ
แต่ละอัน แต่ละอย่าง แต่ละชนิด
จิตก็จะรู้จักวาง รู้จักยอมรับ
จิตที่ยอมรับได้ เรียกว่ามันปลง
มันปลงก็คือมันลง มันยอม
เมื่อยอม มันก็หลุดได้
คนเรานั้นถ้าไม่ยอม ก็มีแต่ทุกข์เพิ่ม
เหมือนคนที่ถูกมัดไว้แล้วดิ้น
ยิ่งดิ้นก็ยิ่งบาดเจ็บ
ยิ่งดิ้นก็ยิ่งบาดเจ็บ
ถ้าเราโดนโซ่มัดไว้
โดนลวดหนามมัดไว้
ถ้าเราดิ้นจะเจ็บมากขึ้นอีก
แต่ถ้าเราอดใจ ข่มใจ
ควบคุมใจ ตั้งสติ
ทำตัวเองให้อยู่เฉย ๆ นิ่ง ๆ
มันก็จะไม่บาดเจ็บ
แล้วมันก็จะหลุดได้
หลุดด้วยทางจิตใจ
คนที่ติดคุก ติดตะราง
ถูกขังในคุก
ถ้าใจเขาวิตกวุ่นวาย
เขาก็ติดคุกทางใจด้วย
แต่ถ้าใจเขาไม่วุ่นวาย
กายติดแต่ใจไม่ติด
ใจมันก็ไม่ทุกข์
ตรงกันข้าม
คนที่ร่างกายไม่ได้ติดคุก
จะเดินไปไหน จะอยู่ที่ไหน
ไปได้ตามใจชอบ
แต่ว่าจิตใจยึดมั่นถือมั่น
เขาก็กลับเป็นทุกข์...
ติดคุกทางใจ
มันก็เป็นทุกข์ ทุกข์ใจนี่หนักกว่า
อยู่ตรงไหนก็ทุกข์ที่นั่น
แต่ทางใจนี้ เราสามารถฝึกหัด
ปรับ พัฒนาขึ้นได้
...
พระภาวนาเขมคุณ วิ.
(พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี)
Image by ELG21 from pixabay
ที่มา : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา