คำว่า "สุญญตา" (ความว่าง) ก็มีทั่วไปในพระไตรปิฎก
และยังตรัสกำชับไว้ว่า
ข้อความเรื่องใดไม่เกี่ยวกับเรื่องสุญญตา
ข้อความเรื่องนั้นไม่ใช่ตถาคตภาษิต..
เรื่องสุญญตานี้มิใช่เล็งถึงแต่ความว่างเฉย ๆ
แต่เล็งถึงการทำให้จิตว่าง
จากสิ่งที่มากลุ้มรุมหุ้มห่อจิตให้เศร้าหมอง
ให้มีจิตว่างจากกิเลสโดยเฉพาะ
คืออุปาทานอันเป็นตัวการแห่งทุกข์โดยตรง
ดังพระพุทธภาษิตว่า
" จงเห็นโลกโดยความเป็นของว่างทุกเมื่อเถิด" ดังนี้เป็นต้น
จิตที่เห็นสิ่งทั้งปวงโดยความเป็นของว่างอยู่นั้น
คือจิตที่ว่างจากอุปาทานซึ่งย่อมจะว่างทุกข์ด้วยโดยอัตโนมัติ
ซึ่งในที่นี้เราเรียกว่า "จิตว่าง" ..
การปฏิบัติเพื่อทำจิตให้ว่างจากอุปาทาน
ประเด็นเดี่ยวนี้เท่านั้น ที่เป็นเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนา
การปฏิบัตินอกนั้นมีทั่วไปแม้ในศาสนาอื่น
ดังนั้นพระไตรปิฏกที่แท้จะมุ่งสอน
แต่เรื่องทำจิตให้มีสุญญตาแต่อย่างเดียว
และสุญญตาถึงที่สุดนั้นคือสิ่งที่เรียกว่า นิพพาน
ท่านพุทธทาสภิกขุ
ที่มา : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา