จิตที่อิสระ จิตที่ปล่อยวาง


สมมตินั้นเป็นแค่ภาพ 
เป็นแค่สิ่งที่แทนให้รู้ภายนอก 
เป็นเครื่องหมายให้รู้ภายนอก 
ถ้าจะพูดภาษาอังกฤษ 
ก็เหมือนเป็น symbol ให้รู้ภายนอกเท่านั้น 
จริง ๆ สิ่งเหล่านั้นไม่มีอยู่ในใจจริง 
ให้ยอมรับความจริง สำเหนียกจุดนี้ให้มาก
เมื่อสำเหนียกเห็นตรงนี้แล้วก็ให้ยอมรับ 
ถ้ายอมรับก็เรียกว่าเคารพธรรมนั่นเอง 
เมื่อยอมรับแล้ว จิตนั้นจะไม่ดิ้นรน 
เพราะมันไม่กอบด้วยความหลง 
เมื่อไม่มีความหลงก็ไม่มีความดิ้นรนไป
ทั้งพอใจไม่พอใจ เพราะเห็นว่า
สิ่งที่รู้ขึ้นมาในจิตนั้นเป็นสิ่งสมมติหมด 
เรื่องราวทั้งหมดเป็นสิ่งภายนอกหมด ไม่มีอยู่ในใจจริง
ตั้งสติให้ตั้งมั่น ให้ดูมัน 
สมาธิตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวกับความรู้ภายในทั้งหมด 
ถ้าสติตั้งมั่น สมาธิตั้งมั่น 
ปัญญาก็จะเห็นแจ้งความจริงของสิ่งเหล่านี้ 
มันเกิดขึ้นแล้วดับไปหมด 
ไม่มีอะไรเป็นของเรา ไม่มีอะไรเป็นตัวเรา 
ไม่มีอะไรเป็นตัวตนของเรา เรียกว่าอนัตตาธรรม
ถ้าเห็นดั่งนี้ ความว่างจากความเป็นของเรา 
เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา ก็อยู่ตรงนั้นนั่นเอง 
สมมติมีอยู่ เมื่อไม่เอามัน ก็เท่ากับว่างจากสมมติตรงนั้น 
ความรู้มีอยู่ ถ้าไม่เอามัน ไม่หลงมัน 
ก็เท่ากับว่างจากความรู้ตรงนั้นนั่นเอง 
จิตที่ประกอบด้วยสติสมาธิปัญญาเห็นแจ้ง 
จึงเป็นจิตที่อิสระ จิตที่ปล่อยวางนั่นเอง

พระอาจารย์วิชัย กัมมสุทโธ
Image by byunilho on pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


คนเลยไม่เข็ดกับทุกข์


ถ้าเรามีความจำดีมากๆ 
ภาวนาระลึกไปในอดีตได้ยาว
จะรู้ว่าสังสารวัฏนี้น่ากลัวที่สุดเลย
สังสารวัฏเต็มไปด้วยความทุกข์ 
เราเกิดมา เราทุกข์ ..
จนตายแล้วตายอีกนับภพนับชาติไม่ถ้วน
แต่สังสารวัฏมันปิดบังตัวเอง
ทำให้เราลืมความทุกข์ไปทั้งหมด
ส่วนมากเราก็พอใจ
ที่จะพยายามให้ลืมความทุกข์ ความเศร้าโศก 
ความผิดหวังในอดีตให้หมด
แล้วตั้งความหวังเอาใหม่ 
คนเลยไม่เข็ดกับทุกข์

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

Image by makamuki0 on pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา