ตนเป็นที่พึ่งของตน ก็คือจิตนี่แหละ


ทำไมพระพุทธเจ้าจึงบอกว่า อัตตาหิ อัตโน นาโถ
ทำไมต้องบอกว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
คนอื่นใครจะพึ่งได้ ทำไมพูดอย่างนี้
แล้ว ตน คือใคร?
ตน ก็คือจิตที่เราฝึกนี่ไง
ตนเป็นที่พึ่งของตน ก็คือจิตนี่แหละ
เมื่อผู้ใดตามรักษาจิต
ผู้นั้นชื่อว่ารักษาตน
ผู้ใดรักษาตน
ผู้นั้นย่อมพ้นจากบ่วงของมารได้

พระอาจารย์ธัมมทีโป

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ใครรู้สึกสติขาดบ่อยบ้าง ถ้ารู้สึกอย่างนี้ดี


มีสติ เดี๋ยวก็ขาดสติอีกแล้ว
ใครรู้สึกสติขาดบ่อยบ้าง
ถ้ารู้สึกอย่างนี้ดี
ถ้าใครรู้สึก สติฉันไม่เคยขาดเลย สติเที่ยง
อันนี้เวรกรรมแล้ว
จริงๆ แล้ว มันเกิดดับตลอดเวลา
กระทั่งจิตก็เกิดดับ 
จิตไม่ได้เที่ยง อย่าไปเข้าใจผิด
ถ้าเห็นว่าจิตเที่ยง เป็นมิจฉาทิฏฐิ
เรียกเป็น "สัสสตทิฏฐิ"...

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ปล่อยวางแม้กระทั่ง "สิ่งที่ถูก"


ความหลุดพ้น ปล่อยวางแม้กระทั่ง "สิ่งที่ถูก"
อย่าปล่อยวางโดย "ความยึดมั่นถือมั่น" 
อย่ายึดมั่นถือมั่น แม้กระทั่งในสิ่งที่ถูกต้อง
เมื่อเห็นว่าเราถูกแล้ว ก็เห็นว่าเราไม่ผิด
แต่ความเป็นจริงแล้ว "ความผิด" มันฝังอยู่ใน "ความถูก" 
แต่เราไม่รู้จัก นี่คือ "ทิฏฐิมานะ"
"ทิฏฐิ" คือความเห็น "มานะ" คือความยึดไว้ถือไว้
ถ้าเรายึดในสิ่งที่ถูกก็เรียกว่ามันผิด 
ถือถูกนั่นแหละ ยึดมั่นถือมั่นในความถูก 
ไม่เป็นการปล่อยวาง
เมื่อปัญญารู้แจ้งเห็นจริงแล้ว “วางทันที” 
วางตัวปัญญานั้นอีกที  เข้าสู่ "ความว่าง” 
อยู่กับ “ความว่าง”

หลวงปู่ชา สุภัทโท

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่น มันก็ละลายของมันไป


อะไรๆ ที่มีการปรากฎ มีการเกิด ย่อมดับเอง
มันก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันก็สลายไปเองเรื่อยๆ
แต่ความรู้สึกของเรามันจะลวงหลอกไป
การปรุงมันเกิดมาจากอวิชชา
ให้เกิดสังขาร ก็เลยปรุงแต่งขึ้นเรื่อยๆ 
ไม่ให้เราหยุดสักที เมื่อมันปรุงขึ้นมาอีก 
เราก็ว่า อันนี้เป็นของไม่แน่นอน ตัดบทมันไปเลย
ตัวที่ไปตัดก็เป็นสังขาร
มีเราหลงไปจัดการตามความคิด
เลยไม่หยุดซักที 
ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่น มันก็ละลายของมันไป.. 

พระอาจารย์ปกรณ์นันทน์ ฐิตธัมโม

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา