คิดก็สงบ ไม่คิดก็สงบ


จิตฝึกให้นิ่งขนาดไหน
สุดท้ายจิตก็ทำหน้าที่ ไปนึกไปคิดตามปกติ  
สิ่งที่สามารถละออกได้จริงๆ คือ
ส่วนความยึดในการนึกการคิด  
แต่จะแช่ให้จิตไม่นึกไม่คิดตลอดไปนั้น
มิอาจเป็นไปได้  
เราควรเข้าใจสภาพตามจริงของจิตว่า มันไม่นิ่ง 
ความยึดมั่นก็ถูกวางลงจากความเข้าใจ  
เกิดสภาวะสักแต่ว่าในจิตขึ้น  
อุปาทานในจิตก็ถูกเพิกถอนออก  
คิดก็สงบ  ไม่คิดก็สงบ

ครูบาไตรภพ วัดป่าโคกเจริญธรรม

Image by flutie8211 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

จงอย่าสนใจจริยาของผู้อื่น กรรมของผู้อื่น


พระธรรมคำสอน "สมเด็จองค์ปฐม"

จงอย่าสนใจจริยาของผู้อื่น กรรมของผู้อื่น
ใครเขาทำกรรมชั่วเขาก็ตกเป็นทาส
ของกิเลสน่าสงสารอยู่แล้ว
จงอย่าไปซ้ำเติมเขา
จักเข้าตนเอง เพราะจิตเรา
ไปยินดียินร้ายกับกรรมชั่วของเขา
เป็นการเบียดเบียนตัวเราเอง
สร้างกรรมต่อกรรมให้เกิด
มิใช่ตัดกรรม
หากเข้าใจจุดนี้ การตัดกรรม
ก็เร็วขึ้น จึงต้องใช้ปัญญาพิจารณา
ให้เห็น เอาพรหมวิหาร ๔ เป็นหลัก
วางอารมณ์ของจิตให้ถูก

ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

Image by NickyPe from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

รู้ทันมันก็ทำให้ใจสงบลง


การปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน 
ท่านอนุญาตให้คิดได้ เพราะว่าสิ่งสำคัญ 
ไม่ได้อยู่ที่ว่าคิดน้อยหรือคิดมาก
 สิ่งสำคัญอยู่ที่ว่ารู้ทันความคิดหรือเปล่า 
นี่สำคัญกว่า 
.
คิดน้อยแต่ไม่รู้ทัน 
หรือสงบแต่ไม่รู้ตัวว่าสงบ
 หรือหลงในความสงบ อันนี้ไม่ดี 
แต่ถ้าไม่สงบรู้ว่าไม่สงบ อันนี้ดีกว่า
 มันจะคิดน้อยคิดมาก ก็ไม่สำคัญ
เท่ากับว่ารู้ทันความคิดนั้นหรือเปล่า 
อันนี้เป็นการฝึกให้รู้ทันความคิด 
.
และไม่ใช่แค่ความคิดอย่างเดียว 
รู้ทันอารมณ์ด้วย 
ไม่ว่าอารมณ์ฝ่ายบวกหรือฝ่ายลบ 
แค่รู้ทันก็ทำให้ความคิด
และอารมณ์เหล่านั้นมันสงบ 
หรือว่ามันหมดพิษสงลง 
เพียงแค่รู้ทันมันก็ทำให้จิตสงบได้ 
.
เป็นความสงบไม่ใช่เพราะไม่รู้ 
เป็นความสงบไม่ใช่เพราะห้ามคิด 
แต่เป็นความสงบเพราะรู้ คือรู้ทัน 
รู้ทันความคิดและอารมณ์ 
รวมทั้งรู้จักธรรมชาติของใจด้วย 
หลวงพ่อเทียนท่านเคยพูดว่า “ยิ่งคิดก็ยิ่งรู้” 
คิดในที่นี้หมายถึงคิดฟุ้งซ่าน 
เพราะฉะนั้นปล่อยให้มันคิดฟุ้งซ่านไป 
รู้ที่ว่านี้คือรู้ทัน 
ใหม่ๆ คิดฟุ้งซ่านไปสัก ๑๐๐ เรื่อง 
อาจจะรู้ทันสัก ๑๐ - ๒๐ เรื่อง หรือ ๑๐ - ๒๐% 
แต่พอทำไปๆ มันก็จะรู้ทันมากขึ้น ๓๐-๔๐% 
ต่อไปมันก็จะรู้ทันมากขึ้นเป็น ๕๐- ๖๐% เป็นต้น 
แล้วพอรู้ทันมันก็ทำให้ใจสงบลงได้ไม่ยาก 
.
อันนี้มันเป็นวิธีการหนึ่ง 
ที่ช่วยทำให้เรามีความพร้อม 
ในการรับมือกับความไม่สงบ
 หรือพร้อมเจอความไม่สงบเมื่อมันเกิดขึ้น 
คือเมื่อมันเกิดขึ้นแล้วก็รู้ทันมัน 
ไม่ปล่อยให้มันเข้ามาครอบงำใจ 
หรือไม่ไหลไปตามมัน 
แล้วพอเราพร้อมเจอความไม่สงบ 
ในที่สุดเราจะพบกับความสงบเอง 
“ฝึกใจให้พร้อมเจอความไม่สงบ”

พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

Image by neelam279 from pixabay

Cr.Fb.Achara Klinsuwan

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

รู้แจ้งตัวตนของเรา คือการเข้าถึงพระพุทธเจ้า


พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า 
ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา  
พวกท่านทั้งหลายจงมีธรรมเป็นที่พึ่ง 
จงอย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย   
คือพระพุทธเจ้าท่านสอนให้ปฏิบัติ 
จะถึงพระพุทธองค์ได้  
ก็คือต้องปฏิบัติให้รู้แจ้งในตัวตนของเรานี้  
เมื่อรู้แจ้งตัวตนของเรานี้ 
นั่นก็คือเป็นการเข้าถึงพระพุทธเจ้า 
คือถึงพระธรรม  เพราะพระธรรมนั้น 
กับพระพุทธเจ้าเป็นอันเดียวกัน 

หลวงปู่ดาบส สุมโน

Image by TheDigitalArtist from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา





 

การปฏิบัติธรรมก็เพื่ออะไร


ควรหาโอกาสตัดกระแสความประมาท 
ตัดกระแสความฟุ้งซ่านเป็นช่วงๆ 
แม้แต่การเดินจากบ้านไปที่จอดรถ 
จากที่ทำงานไปขึ้นรถ หรืออยู่ในลิฟท์ 
สามารถใช้เวลาสั้นๆ ๒ นาที ๓ นาที ๕ นาที
เป็นโอกาสให้เราได้ตั้งสติขึ้นมาใหม่   
...
ความเครียด
มักจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นทีละเล็กละน้อย 
แต่ถ้าเราตั้งสติขึ้นมาใหม่เป็นระยะๆ 
ก็จะสามารถปล่อยได้ จะไม่เก็บสะสม 
ทำให้ไม่เหน็ดเหนื่อยง่าย  
...
สังเกตดูว่า 
ถ้าจิตใจเราเศร้าหมอง  หรือเครียด 
เบื่อหน่าย  จะเปรียบเหมือนคนจน 
 คือไม่มีอะไรดีๆ ที่จะให้ผู้อื่น  
เพราะตัวเราเองก็ไม่มีความสุข  
ผู้ที่จะให้ความสุขผู้อื่นได้นั้น   
ตัวเองต้องมีความสุขก่อน   
ถ้าเราไม่มีความสุข 
แล้วจะเอาความสุขจากที่ไหนไปให้ผู้อื่น
 ดังนั้น  การปฏิบัติธรรมก็เพื่ออะไร 
 ก็เพื่อที่จะมีความสุขให้กับตัวเอง  
และเพื่อที่จะให้ความสุขแก่ผู้อื่นด้วย   
......
#ให้เวลาคุณภาพ
พระธรรมพัชญาณมุนี วิ.
(พระอาจารย์ชยสาโรภิกขุ)

Image by NickyPe from pixabay

Cr.Fb.Achara Klinsuwan

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ไม่มีอะไรจะมาเป็นปฏิปักษ์ต่อใจเรา


ผู้มีธรรมะไว้ในใจ  คือ ผู้มีปัญญาไว้ในใจ 
เมื่อมีปัญญาไว้ในใจ ก็รู้ธรรมะ คืออารมณ์ทั้งหลาย
อารมณ์ทั้งหลายมัน คือ...โลก 
ที่มากระทบทางตาบ้าง  หูเราบ้าง  
จมูกเราบ้าง  ลิ้นเราบ้าง  
ทางกายทางจิตบ้าง 
มันจะมาจากไหนก็ตาม มันมาถึงสภาพพอดีแล้ว  
มัน...ก็จะสลายตัวไป 
อารมณ์ดี ก็ตาม อารมณ์ชั่ว ก็ตาม 
เมื่อมันมาถึงจิตของพระโยคาวจรเจ้าทั้งหลาย 
ผู้บรรลุถึงธรรมะแล้ว 
อันนั้น...ไม่มีอะไรจะให้ร้ายได้ 
มีแต่ให้ผล มีแต่เพิ่มพูนบารมีทั้งหลาย 
มีแต่...ให้ความรู้ 
มีแต่...ให้ความเห็น 
ไม่มีอะไรจะมาเป็นปฏิปักษ์ต่อใจเรา 

หลวงปู่ชา สุภัทโท

 Image by jplenio from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ความสุข คือ “การไม่มี”


คนเราชอบแปลคำว่าความสุข
เป็น “การมี”
มีรถ..มีบ้าน..มีเงิน..มีอำนาจ
แต่ที่จริงแล้ว ความสุข 
คือ “การไม่มี”
ไม่มีทุกข์..ไม่มีห่วง..ไม่มีโรค..ไม่มีภัย
สิ่งที่มี..ส่วนใหญ่ มีเพื่อให้คนอื่นได้เห็น
สิ่งที่ไม่มี..จึงจะเป็นของตนเองจริง

นิรนาม

Image by jplenio from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมตรัสบอก


ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ย่อมตรัสบอกปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นก่อน
ว่าเธอจงชำระศีลให้บริสุทธิ์ก่อน
จงเจริญสมาธิ
จงทำกัมมัสสกตปัญญาให้ตรง ดังนี้...
แต่ว่า เมื่อบุคคลผู้กระทำเคยประกอบแล้ว
ประกอบทั่วแล้ว
พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมตรัสบอก
สุญญตาวิปัสสนาทีเดียว
ซึ่งเป็นภาวะสุขุมลึกซึ้ง
อันเป็นปทัฏฐานแห่งพระอรหัตตมรรค

อรรถกถาอัจฉราสูตร

Image by imprimable from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ความโกรธคืออะไร


มีคนถามนักบุญคนหนึ่งว่า
“ความโกรธคืออะไร”
ท่านก็ตอบได้อย่างสวยงามยิ่ง
“ความโกรธคือการลงโทษ
ที่เราให้แก่ตัวเอง
เพราะความผิดของคนอื่น”

นิรนาม

A saint was asked “What is anger?” 
He gave a beautiful answer. 
“It is a punishment we give to ourself, 
for somebody else’s mistakes. 

Unknown

Image by chulmin1700 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




 

ความสุข


ความสุขมิใช่การที่ได้อะไรมา 
หรือ การเสียอะไรที่ไม่ต้องการออกไป 
แต่มันคือ 
ความปกติและสงบแห่งใจ
ในทุกๆ ขณะที่เกิดการรับรู้

การเดินทาง แห่งจิตวิญญาณ

Image by sujithta from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

เพียงรู้ทันอารมณ์ทั้งสุขและทุกข์


ใจ..นี้แหละเป็นผู้สร้างปัญหา
ไปหลงอารมณ์ว่าเป็นตัวเป็นตน 
เลยถูกอารมณ์ผูกรัดเอาไว้ 
ใจ..จึงว้าวุ่นหาความสงบในชีวิตไม่ได้ 
ผู้มีปัญญาท่านจึงศึกษาอารมณ์ 
เพื่อแก้จิตแก้ใจไม่ติดข้องกับมัน
เห็นอารมณ์ก็ตั้งอยู่ตามสภาพของมัน 
เป็นเพียงสภาวะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเท่านั้น 
สุขเกิดขึ้นก็รู้ ทุกข์เกิดขึ้นก็รู้ 
จิตตามรู้อารมณ์ทุกขณะ 
ถ้าจิตโน้มไปหาสุข เราก็ดึงมันไว้ 
ถ้าจิตเอียงไปทางทุกข์ เราก็ดึงมันไว้  
จะดึงมันด้วยวิธีใด
ที่จริงไม่ใช่การดึงอะไรหรอก 
เพียงรู้ทันอารมณ์ทั้งสุขและทุกข์
ว่ามันเป็นตัว "วัฏฏะ" หมุนวน
แปรเปลี่ยนไปตามเหตุตามปัจจัย
เมื่อรู้เท่าธรรมดาของโลกอยู่อย่างนี้ 
โดยไม่ติดข้องในอารมณ์ทั้งปวง 
จะเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้...

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

Image by FelixMittermeier from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา






 

คือแค่อยู่กับร่างกายตัวเอง


การภาวนาไม่ใช่เรื่องของการทำถูก 
หรือการบรรลุถึงสภาวะในอุดมคติ 
มันเกี่ยวข้องกับความสามารถ
ในการอยู่ที่นี่กับตัวเอง...
คือแค่อยู่กับร่างกายตัวเอง

ภิกษุณีเพม่า โชดรัน

Image by Kranich17 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




 

ทางแห่งอรหัตตผล


พระพุทธเจ้าตรัสถามพระสารีบุตร
สามครั้งสามคราว่า
พระอรหันต์มีมากน้อยปานใด 
พระสารีบุตรหาตอบไม่ 
พระองค์จึงทรงถามใหม่ว่า 
ทางใดคือทางแห่งอรหัตตผล 
พระสารีบุตรรีบตอบทันทีว่า 
ให้รู้แจ้งในอริยสัจจสี่ 
พระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสว่า ถูกแล้ว 
เธอไม่ควรใส่ใจว่าผู้ใดคือพระอรหันต์ 
แต่ควรใส่ใจว่าทำอย่างไร
จึงก้าวสู่ทางแห่งอรหัตตผล

สมสุโขภิกขุ

Image by TheDigitalArtist from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ล้วนมาจาก ความรู้ ตัวสูเอง


จงรู้จัก   “ตัวเอง"    คำนี้หมาย
ว่าค้นพบ    แก้วได้     ในตัวท่าน
หานอกตัว    ทำไม    ให้ป่วยการ
ดอกบัวบาน    อยู่ในเรา    อย่าเขลาไป

ในดอกบัว    มีมณี     ที่เอกอุตม์
เพื่อมนุษย์    ค้นหา    มาให้ได้
“การตรัสรู้     หรือรู้     สิ่งใดใด
ล้วนมาจาก     ความรู้    ตัวสูเอง” ฯ
.
ท่านพุทธทาสภิกขุ

Image by meineresterampe from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




 

มีคุณค่าประดุจเพชร


ธรรมชาติของธรรมชาติ..
มีคุณค่าประดุจเพชร..
ในยามที่เราไม่ไปยึดติดและครอบครอง..
ต่อเมื่อครอบครอง ยึดติดขึ้นมาแล้ว..
สิ่งที่เคยมีค่าประดุจเพชร..
จะกลับกลายเป็นแหล่งกำเนิดทุกข์ขึ้นมาทันที..

ตื่นทางปัญญา จิตกลับสู่เดิมแท้
(อิโตมิ จัง)

Image by Briam-Cute from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

เปลี่ยนใจคนอื่นเป็นของยาก


เปลี่ยนใจคนอื่นเป็นของยาก 
และเป็นไปไม่ค่อยได้
เปลี่ยนใจตัวเองก็เป็นของยาก
แต่ยังพอเป็นไปได้
ถ้าเปลี่ยนคนอื่นก็ไม่ได้ 
แล้วเปลี่ยนตัวเองก็ไม่ได้
ความทุกข์ก็จะเกิดได้ง่ายๆ

คุณพศิน อินทรวงค์

Image by Kranich17 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




 

ฌานเสื่อม


การภาวนานี้เพื่อให้จิตมันตื่นรู้ 
จิตมันมีกำลัง รักษาจิตไว้ 
ไม่ให้มันเสื่อม 
คนที่ขาดองค์ภาวนาองค์บริกรรมนั้น 
จะทำให้ฌานเสื่อม ทำให้จิตเสื่อม 
เมื่อฌานเสื่อมจิตเสื่อมนี้จะเป็นการ
เปิดโอกาสให้อกุศลกรรม หรือพญามาร 
หรือวิบากกรรมนั้นได้เข้ามาแทรกแซง เข้าใจมั้ยจ๊ะ
.
"ฌานเสื่อม" เป็นอย่างไร 
ฌานเสื่อมนั้นหมายถึงว่าจิตเรานั้น
ไม่เท่าทันในอารมณ์ ในโทสะ โมหะ โลภะ 
นี่เรียกว่าฌานเสื่อม 
คือว่าเมื่อเกิดโทสะขึ้นมาก็ระงับไม่ทัน 
เช่นว่ามีคนด่า อดทนไม่ได้เกิดโทสะจริตขึ้นมา 
อยากจะฟาดจะฟันปากไอ้ผู้นั้น 
นี่เค้าเรียกว่าตบะแตก ฌานเสื่อม 
เข้าใจมั้ยจ๊ะ 
ดังนั้นบุคคลได้เจริญฌานแล้ว 
ได้มีคุณวิเศษแล้วขอให้รักษาไว้ให้ดี 
นั่นคือภาวนาไว้

สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี

จากเพจ ธรรมะมหัศจรรย์ ตามรอยธรรมสมเด็จโต สถานปฏิบัติธรรมพรหมรังสี

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา








 

แต่อย่าไปเป็น นักภาวนา


ภาวนาให้เป็น
แต่อย่าไปเป็น นักภาวนา
ให้ใจเหมือนใบไม้แห้ง
ที่พร้อมจะสลายไป
อย่าเป็นใบไม้สดที่เพิ่งก่อตัว
เพื่อจะไปเป็นอะไร อะไรก็ตาม
การภาวนา ถ้าปฏิบัติเพื่อสนองตน
ต่อให้คิดว่า รู้ มากแค่ไหน
รู้ ละเอียด ลึก อย่างไร
ก็เหมือนวนอยู่ในน้ำวน
มีแต่จะดูดกลืนจิต ให้ลงต่ำไปเรื่อยๆ

พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

Image by pasja1000 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




 

ตั้งใจปฏิบัติให้ได้เป็นเศรษฐีธรรม


ท่านทั้งหลายมีสมบัติเงินทองอะไร
อย่าไปภาคภูมิใจนะ ให้ภาคภูมิใจกับศีลบริสุทธิ์ 
สมาธิแน่นหนามั่นคง 
ปัญญามีความแพรวพราวภายในใจ 
จิตใจหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงโดยชอบ
อยู่ที่ไหนสง่างาม นี่มหาเศรษฐีธรรม 
เศรษฐีนอกนั้นโลกเขามีแล้วอย่าไปแย่งตำแหน่งเขา 
เอาเศรษฐีธรรมไม่มีใครมาแย่ง 
ตั้งใจปฏิบัติให้ได้เป็นเศรษฐีธรรม 
พระพุทธเจ้า-พระอรหันต์ท่านเป็นเศรษฐีธรรมทั้งนั้น  
หาความทุกข์ไม่มี มีแต่บรมสุขเต็มเนื้อเต็มตัว 
ดับแล้วปั๊บไปนิพพานเลย 

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

Image by StockSnap from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




 

ไม่ปล่อยให้ความคิดลากเราไป


หลับแล้วฝัน เรียกหลับตาฝัน 
ตื่นปุ๊ปคิดปุ๊บ อันนั้นเรียกว่า ลืมตาฝัน 
คนหกเจ็ดพันล้านคนยังอยู่ในความฝัน 
กลางวันลืมตาฝัน กลางคืนหลับตาฝัน 
พระพุทธเจ้าไม่ได้ห้ามคิด 
แต่ไม่ปล่อยให้ความคิดลากเราไป 
ถ้าเราสั่งให้ตัวเราคิด ก็คือ 
ขึ้นหลังม้าแล้วควบม้าไป 
แต่ถ้าความคิดลากเราไป 
คือ ตกจากหลังม้า แล้วถูกม้าลากไป

พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

Image by stephencphotog from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

หัวใจสติ หัวใจอริยมรรค


ปฏิบัติทางสั้นที่พระพุทธองค์
ทรงแสดงไว้ก็คือ 
"ภิกษุเองจะพึงวางกังวลในขันธ์ห้าเสีย" 
นี่คือ หัวใจสติ หัวใจอริยมรรค 
ถ้าวางกังวลได้ในขันธ์ห้า
จิตพ้นเกี่ยวข้องขันธ์ห้า 
ก็พ้นทิฏฐิทั้งสิ้น เพราะพ้นสังขารทั้งสิ้น 
ถึงจิตวิสังขาร คือ จิตแท้ ไม่ใช่สังขาร 
ไม่มีสังขาร ไม่ใช่ภพโลกคนเทวดา 
สัตว์โลกทุกชนิด 
หรือที่พระนักปฏิบัติ เรียก จิตเป็นกลาง

หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต

Image by ELG21 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ตัวปฏิบัติ คือ การไปเห็นจิตที่มันคิด


หลวงพ่อเทียนบอกว่า 
การรู้กายเคลื่อนไหว ยังไม่ใช่ตัวปฏิบัตินะ
ตัวปฏิบัติ คือ การไปเห็นจิตที่มันคิด 
นั่นคือตัวปฏิบัติที่แท้จริง 
ฉะนั้น การไปเห็นจิตมันคิด เห็นความคิด
เห็นกิเลสที่มากับความคิด 
พวกนี้เป็นตัวปฎิบัติที่จะสามารถละเหตุของความทุกข์
คือ สมุทัยได้ 
.
การรู้กายที่มันเคลื่อนไหว 
คือ การกระตุ้นจิตให้ตื่น 
ถ้าจิตไม่ตื่น กิเลสมันจะตื่น 
ถ้ากิเลสตื่น มันก็จะเป็นใหญ่เหนือจิตใจเรา 
การรู้การเคลื่อนไหว เป็นแค่เหตุ 
นำไปสู่การเห็นการคิดเป็นผล 
.
เมื่อใครฝึกเจริญสติ"ดี"แล้ว 
ท่านบอกไปดูความคิดเลยก็ได้ 
เน้นว่า ต้อง "ดีแล้ว" นะ 
คือ ผ่านความหลงแล้วจิตตื่นมา
แล้ว จึงค่อยไปดูความคิด 
ถ้าไปดูความคิด สติยังไม่ตั้งมั่นพอ
มันจะไปไม่ถึงจิต มันจะไม่ใช่การตื่นรู้ 
แต่มันจะกลายเป็นการใช้ความคิดเข้าไปรู้ 
เป็นเรื่องของสมอง ไม่ใช่จิต 
แต่ถ้ารู้สึก "สัมผัสรู้" ปุ๊บนี่ จิตมันจะดีดตัวออกมา 
เป็นผู้รู้ทันทีเลย
เรียกว่าเป็นวิปัสสนา แปลว่า รู้ ดู เห็น"

อ. กำพล ทองบุญนุ่ม 

Image by Mammiya from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




 

อย่าพึงเสพสองฝั่ง


ในธัมมจักรกัปปรัตนสูตรว่า...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อย่าพึงเสพสองฝั่ง  
ท่านพึงเดินท่ามกลาง
สองฝั่ง คือ...อะไรเล่า
คือ ความรักหนึ่ง   ความชังหนึ่ง  
ถ้าเราไปยึดอย่างไหนๆ  ก็เป็นทุกข์
เพราะฉะนั้น  ท่านไม่ให้ไปยึดเอา  
ท่านให้เดินท่ามกลาง  
เหมือนกับเราเดินทางรก แวะข้างนี้  ก็หนาม  
แวะข้างนั้น ก็ถูกหนาม
เรา ไม่แวะแล้วเดินตรง ก็ไม่มีทุกข์ไม่ใช่เรอะ
ฉันใด  จิตของเรา
ถ้าเราหลง แวะไปหาความรัก 
 แล้วไม่ได้ตามประสงค์  ก็เป็นทุกข์
แวะไปทางชัง ไม่อยากได้เห็น ได้ยิน
พอได้เห็น ได้ยิน  ก็เป็นทุกข์ ไม่ใช่เรอะ
มัน ต้องไม่แวะซี
เดินท่ามกลาง...
สิ่งใดเกิดขึ้น ให้รู้...แต่...อย่าไปยึด

หลวงปู่ฝั้น   อาจาโร

Image by basilsmith from pixabay

เพจ วัดพระธาตุขุนบง

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




 

รู้ทันแล้วหยุดเลย


คิดเรื่องนั้นบ่อยๆ 
ส่งใจไปเรื่องนั้นบ่อยๆ
พูดเรื่องนั้นบ่อยๆ 
รำพึงรำพันถึงมันบ่อยๆ 
นี่แหละ "ตัวอุปาทาน"
ละอุปาทานคือ หยุดเลย
รู้ทันแล้วหยุดเลย
หยุด! หยุด! มันก็จบที่จิตเรา
ทุกเรื่องจบที่จิตเลย
.
พระอาจารย์ครรชิต สุทฺธิจิตโต

Image by basilsmith from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

จุดเริ่มต้นของปัญญา


การยอมรับความจริงอย่างที่มันเป็น 
เป็นจุดเริ่มต้นของปัญญา

ท่านมิงจูร์ รินโปเช

Image by Sponchia from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ให้ “รู้” ไว้อย่างเดียว


อย่ายินดียินร้ายในสิ่งต่างๆ
ให้ “รู้” ไว้อย่างเดียว
(ถ้าเราไปยินดี เดี๋ยวพอสิ่งที่ไม่ชอบเกิดขึ้น
ก็จะเกิดยินร้าย
ก็เลยกลายเป็นอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ
ไปตามสิ่งที่สัมผัสพบเห็น
แต่ถ้าเรารู้ไว้อย่างเดียว
อะไรเกิดก็รู้ อะไรดับก็รู้
ก็จะไม่มีอาการขึ้นๆ ลงๆ)

ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก

Image by Sponchia from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา