ตัณหา จะเกิด ก็ด้วยความไม่รู้
ความจริงในขันธ์ห้า
..ปล่อยอุปาทานขันธ์แล้ว
ตัณหาย่อมดับไป
เพราะไม่มีที่อาศัย
เปรียบเหมือนหนองน้ำที่แห้งลงเป็นลำดับ
จนแห้งสนิท..ปลาย่อมอาศัยอยู่ไม่ได้
พระอาจารย์บัณฑิต สุปัณฑิโต
Photo by Ravi N Jha on Unsplash
หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท
Image by Pexels from pixabay
***********************************
หมายเหตุ : “อันธพาล” ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายว่า คนชั่วร้าย, คนเกเร พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้สั้นๆ ว่า “คนเกะกะระราน”
.
แต่ “อนฺธพาล” ในภาษาบาลีหมายถึงคนคิดผิด คือไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก ไม่มีความสามารถที่จะคิดและที่จะกระทำให้ถูกต้องได้
.
คนเรานั้นเกี่ยวข้องกันตามวาระกรรม หากสิ้นภพชาตินี้ ต่อไป ก็จะไปเป็นบุตร ธิดา สามี ภรรยา ฯลฯ ของคนอื่นต่อไป ดังนั้น จึงไม่มีใครที่เป็นอะไรกับใครจริงๆ ทุกความสัมพันธ์ก็แค่ชั่วคราว หากเข้าใจได้ดังนี้ ก็จะลดความรู้สึกเป็นเจ้าข้าวเจ้าของในกันและกัน ลดความคาดหวังในกันและกัน และที่สุดก็ลดความทุกข์ ไปจนถึงสิ้นทุกข์เพราะ "ผูกพัน" ลงได้