“ความว่าง”

 


“ความว่าง”
ไม่ใช่ ความมี กับ ความไม่มี
ความว่าง เหนือนั่นไปอีก
เหนือความมีหรือความไม่มี
ความมี ความไม่มี เป็นคู่กลับ
กลับไป กลับมา
แต่ความว่างเหนือนั่นไปอีก
“ว่าง” คือ ความไม่ยึดถือ
ถ้าไปยึดถืออะไรแล้ว เรียกว่า “ไม่ว่าง”
.
ท่านพุทธทาสภิกขุ

Image by pizar_heryanto from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



เมื่อนั้นแหละ คือ พุทธะ


มีโยมพูด  ฉันไม่คิด ฉันไม่ปรุงแต่งแล้ว
ที่รู้ว่าฉันไม่มีความคิด ไม่ปรุง
นั้นแหละ คิดไปแล้ว ปรุงไปแล้ว
ว่า ตัวเองไม่มีความคิด ว่าฉันไม่คิด ฉันไม่ปรุง
เมื่อใดเธอคิดว่า เธออิสระ  ฉันอิสระแล้ว
เธอก็ไม่ได้อิสระในทันที
.
เมื่อใดเธอคิดว่าเธออยู่ในความว่าง 
เธอก็ไม่ได้อยู่ในความว่าง ซะแล้ว
เมื่อใดเธอคิดว่าเธอได้รู้ธรรมแห่งพุทธะของเธอ 
เธอก็ยิ่งห่างไกลจากพุทธะ
รู้ที่บริสุทธิ์ รู้ที่ธรรมชาติ รู้ตามความเป็นจริง
รู้ที่มีเธอใส่อะไรลงไป 
มันก็ไม่บริสุทธ์ มันก็ไม่ธรรมชาติ มันไม่ตามจริง
แต่มันตามใจเธอ 
.
ถ้าเธอรู้จักมายา รู้จักสมมุติ
เธอคือ ผู้รู้แจ้ง
เมื่อไหร่เธอคิดว่า " ฉันเป็นผู้รู้แจ้ง"
เธอก็คือ " ผู้ที่ยังหลงในมายาสมมุติ"

++++++++++++
เมื่อจิตไม่ต้องแสวงหา นั้นแหละจิตไม่เกิด
เมื่อไม่ยึดมั่นในอารมณ์
เมื่อนั้นแสดงว่าจิตไม่ถูกทำลาย
เมื่อนั้นแหละ คือ พุทธะ
++++++++++++

ความว่าง ความบริสุทธิ์  ความอิสระ  หนึ่งเดียว
ตัวรู้ สิ่งถูกรู้  รู้บริสุทธ์  รู้ตัวทั่วพร้อม 
ข้อธรรมอะไรๆ เรียกอะไรๆ ก็ตาม
เมื่อเธอนึกถึงสิ่งเหล่านี้เเธอก็ติดบ่วงมายาทันที
เมื่อเธอมีการกระทำใดๆ เธอ เชื่อว่ามีอยู่
ก็ตกเป็นนักแสดงหรือ ผู้เล่นทันที
ความหลุดพ้น อยู่ตรงหน้าเธอเอง 
แต่เธอไม่ยอม ติดแค่ความคิดที่เธอคิดว่าเป็นเธอ
เห็นว่าใครกำลังคิด 
จุดสำคัญที่ว่า ความคิดนั้นใช่เธอไหม
บางทีเรานึกว่าเราหลุดพ้นแล้ว 
แต่ไม่รู้ที่กำลังคิดอยู่นั้น ไม่ได้หลุดพ้นนะ 
เธอกำลังปรุงแต่ง โดยไม่รู้ตัว

พระอาจารย์ปกรณ์นันทน์ ฐิตธัมโม

Photo by Niranjan _ Photographs on Unsplash

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา