ไอ ซี ยู แปลว่า กูมองมึง


“เมื่อกายไม่สบาย เราพากายเข้าห้อง ไอ ซี ยู
เมื่อใจไม่สบาย เราก็พาใจเข้าห้อง ไอ ซี ยู
ไอ ซี ยู แปลว่า กูมองมึง
คือกลับมาศึกษาที่ตนเอง
กลับมาทำความเข้าใจตนเอง
กลับมาฝึกควบคุมตนเองให้เป็น”

“ผู้ใดควบคุมตนเองได้มากจะมีความทุกข์น้อย
ผู้ใดควบคุมตนเองได้น้อยจะมีความทุกข์มาก
ผู้ใดควบคุมตนเองไม่ได้เลยจะ ท. ท. ท.
คือ ทุกข์ ทับ ท่วม ถม
ทุกข์ ทับ ท่วม ถม ถ้าไม่ถึงทางธรรม
ทุกข์ ทับ ท่วม ถม ถ้าไม่ถอนอุปาทาน
อุปาทาน แปลว่า ความยึดมั่นถือมั่นที่ทำให้เกิดทุกข์”

“คิดทุกคำที่พูด     ไม่พูดทุกคำที่คิด
คิดก่อนพูด          ไม่พูดก่อนคิด
คิดทุกสิ่งที่ทำ      ไม่ทำทุกสิ่งที่คิด
คิดก่อนทำ          ไม่ทำก่อนคิด
คิดก่อนคิด          และก็คิดก่อนคิด”

พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

แสดงธรรมบรรยายที่ รร.รุ่งอรุณ

Image by vitalworks from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ไม่มีความคิดใดที่ไม่ใช่ความว่าง


เมื่อแสงอาทิตย์ตกลงบนผลึกแก้ว
สีของแสงสายรุ้งปรากฏขึ้น
แต่ไม่มีสิ่งใดให้จับต้องได้
ความคิดหลากหลายรูปแบบ
ไร้การสิ้นสุด ไม่ว่าจะเป็น
ความศรัทธา ความเมตตากรุณา  
ความคิดร้าย ความปรารถนา 
ก็ไร้ตัวตนที่จับต้องได้เช่นเดียวกัน
ไม่มีความคิดใดที่ไม่ใช่ความว่าง
ถ้าเธอรู้ธรรมชาติของความคิด
ในทันทีที่ความคิดเกิด ว่ามันว่าง
ความคิดก็จะสลายไป
ความยึดมั่น และโทสะ
ก็จะไม่รบกวนจิตใจเธอ
อารมณ์หลงผิดจะสลายไปโดยตัวของมันเอง
กรรมเชิงลบ ก็ไม่พอกพูน
ดังนั้น ทุกข์ก็จะไม่เกิดตามมา

ลามะ ดิลโก รินโปเช

When sunlight falls on a crystal, lights of all colors of the rainbow appear; 
yet they have no substance that you can grasp. Likewise, all thoughts 
in their infinite variety – devotion, compassion, harmfulness, desire – 
are utterly without substance. There is no thought that is something 
other than voidness; if you recognize the void nature of thoughts 
at the very moment they arise, they will dissolve. 
Attachment and hatred will never be able to disturb the mind. 
Deluded emotions will collapse by themselves. 
No negative actions will be accumulated, so no suffering will follow.

DILGO KHYENTSE RINPOCHE 
The Void Nature of Thoughts.

Image by RostislavUzunov from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา