ความว่างของพระอรหันต์


ความว่างของพระอรหันต์ 
ไม่ใช่จิตว่างโล่งอย่างไม่มีอะไร 
ว่างจากกิเลส ความยินดี ยินร้าย 
ความพอใจ ไม่พอใจ 
มันว่างจากอันนี้ต่างหาก 
จิตของพระอรหันต์ไม่ใช่จิตว่าง 
ยิ่งคิดมากกว่าเรา แต่ว่าพอท่านคิดอะไรขึ้นมา 
สติของท่านตามทันพั๊บๆๆ 
ท่านไม่ยึดอะไรไว้เป็นปัญหาให้ตัวเองเดือดร้อน

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


อุเบกขาในวิปัสสนาญาณ



อุเบกขาในวิปัสสนาญาณนั้น 
ก็คือการเลิกการปรุงแต่ง 
ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น 
ลิ้นได้รส กายสัมผัส ใจไม่นำมาคิด 
สักแต่ว่าเห็น สักแต่ว่าได้ยิน 
สักแต่ว่าได้กลิ่น สักแต่ว่าได้รส สักแต่ว่าสัมผัส 
เมื่อใจไม่คิด ความดีความชั่วก็ไม่เกิด 
กุศลกรรมและอกุศลกรรมไม่เกิด 
ในเมื่อสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ไม่เกิดเพราะขาดการปรุงแต่ง 
คำว่า "ไม่เกิด" ก็คือ "ดับ" นิโรธคือความดับก็ปรากฏขึ้น 
โอกาสที่เราจะเข้าถึงพระนิพพานจึงจะมีได้

หลวงพี่เล็ก สุธมฺปญฺโญ

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

การสละสมบัติในโลก



การสละสมบัติในโลกเพื่อแลกนิพพานสมบัติ
ก็เหมือนสละกองขี้หมู ขี้หมา 
ขี้วัว ขี้ควาย เพื่อแลกกับทองคํา

พระอาจารย์ชุมพล พลปญฺโญ

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

ทุกข์ต้องลดน้อยลง



ผลของการปฏิบัตินี่ ทุกข์ต้องลดน้อยลง
จะเป็นอริยะขั้นไหนนี่ ไม่สำคัญเท่ากับความทุกข์ลดน้อยลง

อ.กำพล ทองบุญนุ่ม

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


การดำรงอยู่อย่างเป็นสุขในขณะปัจจุบัน


การดำรงอยู่อย่างเป็นสุขในขณะปัจจุบัน 
คือคำสอนที่สำคัญมากในพุทธศาสนา 
เราไม่จำเป็นต้องวิ่งไปในอนาคต เพื่อแสวงหาความสุข 
เพียงแต่นำกายและใจมาดำรงด้วยกันอย่างตั้งมั่น 
เธอจะสามารถสัมผัสกับความสุขที่มีมากเพียงพออยู่แล้ว

ท่านติช นัท ฮันห์

 ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


การปฏิบัติธรรมไม่ใช่เรื่องรู้มาก


การปฏิบัติธรรมไม่ใช่เรื่องรู้มาก
เป็นเรื่องที่ "รู้เข้ามาหาจิต" เท่านั้นเอง
แล้วก็ "ปล่อยวาง" สิ่งที่เป็นทุกข์เป็นโทษ
เหมือนกับกวาดอะไรทิ้งออกไป​ 
เหลือแต่จิตสงบ จิตว่าง
หรือจิตเป็นปรกติในลักษณะอย่างเดียวกัน
แล้วก็ดูให้ทั่วถึง ดูมัน รู้มัน อยู่อย่างนี้เรื่อยไป
ไม่ต้องไปดูอะไรมาก ถ้าดูมากหลายอย่างแล้วมันจะวุ่น
ดูไป รู้ไป แล้วมันจะปล่อยวางออกไปได้

ท่าน ก.เขาสวนหลวง

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



จิตอยู่กับลม จิตก็เป็นกลางๆ


การฝึกละความผูกติดในอารมณ์ 
ด้วยการรู้ลมหายใจเรื่อยๆ พอรู้ไปเรื่อยๆ 
จิตก็จะมาอยู่กับลมโดยอัตโนมัติได้ 
จิตอยู่กับลม จิตก็เป็นกลางๆ 
จิตเป็นกลางๆ นั่นแลคือหนึ่งในอริยมรรค 
หรือจะกล่าวว่าอริยมรรคทั้งแปดข้อ มารวมลงตรงจิตกลางๆ
การรู้ลมหายใจ ทำให้ใจเป็นกลางๆ 
ก็คือการฝึกละความผูกติดในอารมณ์ 
หรือจะกล่าวว่าฝึกละตัณหาก็ใช่ 
ฝึกละอุปาทานก็ใช่ ฝึกละความเพลินหลงก็ใช่

ครูบาไตรภพ วัดป่าโคกเจริญธรรม

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



ความว่างกับความสงบ


ความว่างกับความสงบแตกต่างกันตรงที่
ความสงบต้องไม่มีความคิด ไม่มีอารมณ์
ต้องมีการกำกับกำหนด
ให้มีแต่ความสงบเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ส่วนความว่าง แม้ว่าจะมีความคิดหรือมีอารมณ์เกิดขึ้นบ้าง
แต่เมื่อย้อนดูจิตก็ยังว่างๆ อยู่ โดยไม่ต้องบังคับแต่อย่างใด
จิตที่ว่างจะเบากว่าจิตที่เป็นสมาธิ
เพราะไม่ต้องกำหนดหรือบังคับ
จึงเป็นจิตที่พร้อมจะเดินด้านปัญญาต่อไป
เพราะสามารถใช้สังขารความคิด
มาพิจารณาธรรมตามความจริงได้...

ลุงหวีด บัวเผื่อน

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


จงพยายามรักษาใจตัวเดียวก็พอ


จงพยายามรักษาใจตัวเดียวก็พอ
แล้วอย่าไปรักษาสิ่งอื่นให้มันยุ่ง
เพราะธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นใหญ่
ถ้าเรารักษาใจตัวเดียวได้แล้ว ก็เท่ากับว่า 
เรารักษาธรรมของพระพุทธเจ้าได้ทั้งหมดเลย
ให้คอยระวังดูใจ อย่าให้มันไปเกิด
คือเกิดยินดียินร้ายในสิ่งทั้งปวง
อย่าให้มันเกิดเลย ก็หมดทุกข์เท่านั้น

หลวงปู่คูณ สิริจันโท

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ดีแล้วไม่วางดี



การทำบุญหรือปฏิบัติธรรมให้ระวังอยู่จุดหนึ่ง 
คือพอทำไปเรื่อยๆ จิตมันจะ "ติดดี" 
จิตติดดีก็มีข้อเสีย 
"กูดีนะ ทำไมมึงไม่สวดมนต์แบบกู กูดีอยู่คนเดียว" 
เอาละเริ่มละนะ คือ 
"ดีแล้วไม่วางดี"... 
คนเราถึงมีตัวตน ยึดมั่นถือมั่นในความดีของตัวเอง...

ครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้า

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


เอาแค่คำว่า "ทำ" ออก แต่อย่าออกจากธรรม



เอาแค่คำว่า "ทำ" ออก แต่อย่าออกจากธรรม
ธรรมได้จากการไม่ทำ ไม่ทำก็ทำได้
เช่น ไม่ต้องเป็นผู้หายใจ มันก็หายใจของมันเองได้
เมื่อมันหายใจเองได้แล้ว
ก็เพียงรู้ว่ามีลมหายใจอยู่
โดยไม่ต้องไปพยายามบังคับลมหายใจ
ให้เป็นอย่างนั้น ให้เป็นอย่างนี้
ทำอย่างนี้นี่แหละจึงจะได้ธรรม

พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

ความรู้สึกตัวลดความยึดมั่นถือมั่น


ความรู้สึกตัวหรือความรู้ตัว 
เป็นพื้นฐานให้เกิด “รู้” อีกชนิดหนึ่ง 
คือ รู้ความจริง หรือเห็นธรรมชาติ
ของกายและใจตามความเป็นจริง 
เห็นกระทั่งว่า มันไม่ใช่ “กู”หรือ “ของกู” 
ดังนั้นจึงช่วยไถ่ถอนจิตจากความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนได้ 
กล่าวอีกนัยหนึ่ง เมื่อใดที่รู้สึกตัว “ตัวกู”ก็หายไป 
แม้ปุถุชนยากที่จะรู้สึกตัวได้ต่อเนื่อง 
แต่ละวันๆ อาจหลงมากกว่ารู้ 
แต่ความรู้สึกตัวที่เพิ่มพูนขึ้น 
ย่อมช่วยลดความยึดติดถือมั่นในตัวตน 
ความทุกข์จึงบรรเทาเบาบางตามไปด้วย 
สิ่งที่มาแทนที่คือความปกติสุข สดชื่น เบิกบาน

พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา