อานุภาพของการรู้สึกตัวล้วนๆ


เมื่อมีการเคลื่อนไหวของกาย เราก็รู้สึก 
จะเดินก็รู้สึก นั่งก็รู้สึก นอนก็รู้สึก
จะเคลื่อนไหวทำอะไรก็ตาม
เพียง "เติมความรู้สึกตัวเข้าไป"
ไม่มีอะไรมาก เมื่อเรารู้สึกตัวไปเรื่อยๆ 
จิตเราจะผ่อนคลาย 
เพราะหมดการปรุงแต่ง
มันจะเห็นสิ่งแปลกปลอมที่เกิดขึ้นกับจิต
(ความคิด อารมณ์ต่างๆ) 
และจะจัดการกับสิ่งผ่านมา
โดยการปล่อยให้สิ่งนั้นผ่านไป 
โดยไม่ได้ทำอะไร 
เป็นเพียงการเกิดขึ้นและดับไปเอง
เป็นการเห็นว่า ไม่มีตัวตนอยู่จริง 
นี่คือ อานุภาพของการรู้สึกตัวล้วนๆ

อาจารย์กำพล ทองบุญนุ่ม

Image by ELG21 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา





 

รู้อารมณ์คือรู้ทุกข์


ในขณะที่กำลังรู้อารมณ์ใด 
อารมณ์หนึ่งอยู่นั้น นั่นคือกำลังทำหน้าที่รู้ทุกข์ 
 (การยึดมั่นถือมั่นในกายใจว่าเป็น "เรา" 
นั่นแหละ คือสุดยอดของทุกข์) 
หน้าที่ที่ควรทำในทุกข์คือ "การรู้" (ปริญญกิจ) 
ไม่ใช่ "การละทุกข์"
ในขณะที่กำลังรู้ทุกข์อยู่นั่นเอง 
ตัณหาอันเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ที่เรียกว่า "สมุทัย" เกิดไม่ได้ 
เรียกว่ากำลังทำหน้าที่คือ "การละ" 
เหตุแห่งทุกข์ไปในตัวเสร็จสรรพ (ปหานกิจ) 
ในขณะที่กำลังรู้ทุกข์อยู่นั้น 
กิเลสสงบระงับชั่วคราว (ตทังคนิโรธ) 
เรียกได้ว่ากำลังทำหน้าที่  "ประจักษ์แจ้ง" ในนิโรธอยู่ 
(สัจฉิกิริยากิจ)

พระอาจารย์มหาวิเชียร  ชินวังโส

Image by LevaNevsky from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา