จิตโง่คือจิตที่กระเพื่อมออกจากกาย




จิตเป็นอวิชชาคือจิตไม่รู้ 
หรือเรียกว่า จิตโง่ ...
จิตโง่คือจิตที่ กระเพื่อมออกจากกาย 
ออกจากคำบริกรรม 
จิตที่กระเพื่อมออก ...
ย่อมหาความสงบสุขไม่เจอ

หลวงพ่อไม อินทสิริ

ไม่ให้ไปตามอาการภายนอก




จะหยุด จะอยู่ ไม่หยุด ไม่อยู่ อย่างไรก็เรื่องของจิต
หน้าที่ของเราทุกคนต้องมีข้อวัตร ให้มีสติ สมาธิตั้งใจให้มั่น
รวมจิตรวมใจให้มาอยู่ภายใน ไม่ให้ไปตามอาการภายนอก
จิตใจคนเราอยู่ภายในหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ
ให้อยู่ภายในนี่แหละ ไม่ต้องคิดไปที่อื่น...คิดไกลออกไปก็ยิ่งหลงเท่านั้น


หลวงปู่สิม พุทธาจาโร

คนสมัยนี้ เขาเป็นทุกข์เพราะ “ความคิด”




คนสมัยนี้ เขาเป็นทุกข์เพราะ “ความคิด”
ที่ใจเป็นทุกข์เพราะเกิด “ยึดมั่น”
แล้วมีการปรุงแต่งในความคิดขึ้น
และอุบายที่จะละความทุกข์
ก็คือหยุดการปรุงแต่ง แล้วปล่อยวางให้เป็น
นี้คือหลักการ ..
แต่การจะทำเช่นนั้นได้ต้องอาศัยภาวนา
ทำใจให้สงบ จึงจะเกิดพลัง
มีสติปัญญา มองเห็นเหตุผล 
แล้วจิตก็จะมีการปล่อยวางได
เมื่อละความยึดมั่นได้ ความทุกข์ในสิ่งนั้นก็หมดไป

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

มือเท้าที่ใจมีคือความคิด



กิเลสไม่มีมือไม่มีเท้า 
ไม่อาจเข้ายึดใจผู้ใดได้
แต่มือเท้ามีในใจทั้งหลาย 
วิ่งไปกอดกิเลสร้ายอย่างโง่งง

มือเท้าที่ใจมีคือความคิด 
ปรุงแต่งจิตให้โลภและโกรธหล
เพื่อปัญญาแจ่มใสให้มุ่งตรง 
อัญเชิญพระพุทธองค์ครองความคิด

ไม่ให้คิดแต่งปรุงอย่างยุ่งยาก 
“พระพุทโธ” ถวายฝากกายและจิต
“พระพุทโธ”ระลึกรู้อยู่เป็นนิตย์ 
เป็นพระพรชีวิตเหนือพรใด

 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ให้รู้อยู่ตรงจิต ตรงใจทุกขณะ




ขอให้ รู้อยู่ตรงจิต ตรงใจทุกขณะ ไปให้ได้ 
การปฏิบัติธรรมก็จะเป็นการทำได้ง่ายๆ 
จิตก็สงบ มันสงบจากการทำชั่ว ศีลก็บริสุทธิ์อยู่ในตัว
หยุดดู หยุดรู้ หยุดปล่อย หยุดวาง ดับหมด 

แล้วให้ทรงภาวะของจิตที่มีความรู้ 
ความรู้ในลักษณะที่ “ว่างอยู่ในตนเอง” ไว้
ถ้าว่างอย่างนี้ได้ติดต่อ นิพพานก็ปรากฏอยู่ที่จิต 
เป็นการดับสนิทของทุกข์ได้ทุกขณะ 
ถ้าว่างอย่างนี้ได้ติดต่อ นิพพานก็ปรากฏอยู่ที่จิต
เป็นการดับสนิทของทุกข์ได้ทุกขณะ
ดับความโกรธ ความโลภ ความหลงได้ขณะไหน ก็เป็นนิพพานขณะนั้น
เป็นนิพพานทีละเล็กละน้อยไปก่อน จนกว่าเป็นนิพพานจริง
คือ โลภ โกรธ หลง หรือกิเลส ตัณหาสลายตัวหมดสิ้น
เหมือนกับตาลยอดด้วนไม่มีงอกเลย

ท่าน ก.เขาสวนหลวง

ให้ดูหัวใจเจ้าของทันที




ถ้ามีอะไรมันกระเทือนขึ้นในใจ
ให้ดูหัวใจเจ้าของทันที...
เพราะเรามาแก้ใจ มาระงับดับกิเลสที่ใจ…
สมมุติไม่พอใจคนนั้น
ความไม่พอใจนี้ คือ 
เรื่องของเราเองเป็นผู้ก่อขึ้นมา
นี่จับตัวนี้ก่อน ฟาดตัวนี้ให้มันพังลงไปซิ ..
.. จึงเรียกว่า ผู้มาแก้กิเลส
ต้องดูตัวนี้สิ ไปดูอะไรข้างนอก


หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

ไม่ควรยึดมั่นแม้นิพพาน




พวกที่ทำวิปัสสนาไม่สำเร็จ ก็เพราะคอยจ้องจับเอาความสุขอยู่เรื่อยไป 
มุ่งนิพพานตามความยึดถือของตน
มันก็ดับไม่ลงหรือนิพพานไม่ลง มีตัวกูขึ้นมา
ในนิพพานแห่งความยึดมั่นถือมั่นของตนเองเสียเรื่อย
เพราะฉะนั้นถ้าจะภาวนากันบ้าง ก็ต้องภาวนาว่า
ไม่มีอะไรที่ควรยึดมั่นถือมั่น แม้แต่สิ่งที่เรียกว่า “นิพพาน” นั้น
มีพระบาลีว่า “สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย”
สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ดังนี้


ท่านพุทธทาสภิกขุ

ปล่อยวางความรู้เป็นสัมมาทิฏฐิ





ความรู้ความเห็นอันใดที่มันเกิดขึ้นแล้ว
จิตของเรารู้สึกปล่อยวาง
ไม่ยึดเอาไว้สร้างปัญหาให้เดือดร้อน
อันนั้นเรียกว่า "สัมมาทิฎฐิ"
ทีนี้สิ่งใดที่รู้ขึ้นมาแล้
ยึดเอาไว้สร้างปัญหาให้ยุ่งยาก
อันนั้นเป็น "มิจฉาทิฎฐิ"

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย 

ทุกข์เป็นบ่อเกิดของปัญญา




อันผู้พิจารณาทุกข์ 
เมื่อเห็นสภาพตามเป็นจริงแล้ว 
ทุกข์นั้นไม่ใช่มันจะมาครอบงำผู้ที่เห็นทุกข์ 
แต่การพิจารณาทุกข์นั้น กลายเป็นวิหารธรรมเครื่องอยู่ 
มันเป็นการฟอกฝนจิตใจให้ใสสะอาด 
อันเป็นบ่อเกิดของปัญญา ให้ฉลาดเฉียบแหลมขึ้นทุกที


หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

ความทุกข์เป็นครูสอนธรรมแก่ชีวิต





บุคคลที่ยังไม่เห็นทุกข์ เพราะมัวหลงอารมณ์ 
ยังหลงเชื่อความคิดและความรู้สึกอยู่ 
ส่วนผู้ที่เห็นว่ากายและใจคือตัวทุกข์แล้ว 
จะเปลี่ยนแปลงชีวิตและหักดิบออกจากทุกข์ 
ความทุกข์จึงกลายเป็นครูสอนธรรมแก่ชีวิต
สอนให้เข้มแข็ง สอนให้อดทนอดกลั้น 
สอนให้ต่อสู้ สอนให้รอคอย
สอนให้รู้จักช่วยเหลือตนเอง และช่วยเหลือผู้อื่น

พระอาจารย์ชานนท์ ชยนนฺโท

แก้ได้โดยให้รู้เท่าทัน




อวิชชามันก็มาจากนิสัยสันดา
ซึ่งเป็นความเคยตัวเคยใจของแต่ละคน
เพราะฉะนั้น เวลาสังขารขึ้นมา
เราแก้ได้โดยให้รู้เท่าทัน
ความคิด นึก ตรึก ตรอง ปรุงแต่ง...
ที่เกิดมาจากนิสัยสันดานเราทุกความคิด

หลวงปู่ทา จารุธมฺโม

ตัวปรุงแต่งดับ ทุกข์ก็ไม่มี




สังขารก็คือ จิตที่่คิดปรุงแต่ง
ถ้าหากจิตหยุดคิดแล้ว
ไม่มีอะไรสักอย่าง
เตสัง วูปสโม สุโข
สังขารทั้งหลายสงบระงับดีแล้ว
ทุกข์เกิดจากสังขาร
ตัวปรุงตัวแต่งดับไปแล้ว 
ทุกข์นั้นก็ไม่มี


หลวงปู่แบน ธนากโร

ไม่มี “สังขาร” ย่อมมีธรรมที่มั่นคง




แม้นได้สมบัติทิพย์สักสิบแสน 
ก็ไม่เหมือนรู้จริงทิ้ง “สังขาร”
ใจที่รู้ธรรมดาทั้งห้าขันธ์
ใจนั้นก็ขาวสะอาดหมดมลทิน
มีเกิดย่อมมีดับ 
ไม่มี “สังขาร” ย่อมมีธรรมที่มั่นคง
ให้มีสติรู้ทันอาการสังขารที่ไม่เที่ยง
อยู่เสมอจนใจเคย
จึงจะละขันธ์ห้าได้จริง

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ปลดเปลื้อง “ตนเอง” ออกจาก “ความคิดปรุงแต่ง”




พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้อง “ตนเอง”
ออกจาก “ความคิดปรุงแต่ง” เท่านั้น 
พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

ธรรมชาติที่แท้จริง



          หากเราพิจารณาให้ดี ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจของเรา ที่รวมเรียกว่าอายตนะ ๖ เรามีสติรับรู้การกระทบทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับอายตนะทั้ง ๖ แล้วดับไปอยู่ทุกขณะ สุดท้ายเราจะเห็นความจริงว่า ทุกอย่างในโลกนี้ล้วนแล้วแต่สมมุติ ทำไมจึงว่าสมมุติ? ก็เพราะว่ามันไม่เที่ยงแท้คงทน จะตั้งอยู่อย่างนั้นชั่วกัลปาวสานก็หาไม่ จะช้าหรือเร็วก็ต้องดับเหมือนกันหมด นั้นแหละคือธรรมชาติที่แท้จริง

                                                                                              หลวงพ่อประสิทธิ์ ถาวโร

ทบทวนให้ไตรลักษณญาณแจ่มแจ้งในใจเสมอ




สำหรับผู้ปฏิบัติธรรม ทวนกระแสจิตเข้ามาภายในนี่แหละ 
มาเพ่งพินิจทั้งกลางวันกลางคืน 
ยืน เดิน นอน นั่ง ทำธุรกิจการงานใดๆ ก็ดี 
อย่าไปลืมกายลืมจิต อันนี้ต้องหมั่นทบทวนอยู่เสมอๆ 
ทบทวนให้ไตรลักษณญาณมันแจ่มแจ้งอยู่ในใจเสมอ ...
อันนี้นับว่าสำคัญมาก มันจะทำให้อริยมรรคนั้นแก่กล้าขึ้นไปโดยลำดับ 
เพราะว่าผู้ปฏิบัติในอริยมรรคก็มุ่งหวัง
ให้เกิดญาณความรู้แจ้งในสังขารธรรมทั้งปวง 
นี่เองน่ะจุดสำคัญ
เมื่อมารู้แจ้งในสังขารธรรมทั้งปวงตามเป็นจริงแล้ว ก็จะปล่อยวาง 
เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นสิ่งที่ไม่ควรยึดควรถือ
เมื่อญาณความรู้เกิดขึ้นแล้ว มันจะมองเห็นแต่ของไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน
เห็นแต่ความแปรผันอ่อนไหวแห่งสรรพสิ่งทั้งปวง 
ทั้งภายในทั้งภายนอก ทั้งหยาบ ทั้งละเอียด 
อันใดก็มีสภาวะเหมือนกันหมด

หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

อบรมจิตให้มากๆ ให้จิตเห็นโทษของอารมณ์




“ความสุขที่จริง คือ ความสงบ 
ไม่ใช่ความสุขที่จิตต้องวิ่งตามอารมณ์ตลอดเวลา”…
ถ้าเราต้องการความสุขที่สงบจากอารมณ์
เราต้องสลัดอารมณ์น้อยใหญ่ทั้งหมดที่ปรุงแต่งขึ้นมาทิ้งไปให้ได้... 
แต่ไม่ใช่แยกจิตเหมือนแยกคนสองคนออกจากกัน...
เราต้องอบรมจิตให้เห็นโลกโดยความเป็นโลก 
ให้เห็นอารมณ์น้อยใหญ่ที่มีอยู่ในจิต 
อบรมจิตให้มากๆ ให้จิตเห็นโทษของอารมณ์ 
จึงจะพรากจิตออกจากอารมณ์ได้อย่างถาวร


พระอาจารย์จรัญ ทักขญาโณ

เท่าทันอารมณ์คือสุขแท้จริง




การจะพัฒนาจิตของเรา
ให้พบกับความสุขที่แท้จริงนั้นก็คือ 
เราก็ต้องรู้เท่าทันในอารมณ

พระอาจารย์อนันต์ อกิญจโน

สติอยู่กับปัจจุบันเป็นอารมณ์ที่เป็นปรมัตถ์




ถ้าบุคคลได้เจริญสติ
ดูความคิด ดูจิต ดูใจ ดูความปรุงแต่งเป็น
คนนั้นก็จะสามารถทำจิตใจให้อยู่กับปัจจุบัน
เวลาที่จิตคิดไปสู่เรื่องอดีต อนาคต
สติที่รู้ความคิด รู้จิต รู้ใจ ก็จะกลับมาสู่ปัจจุบัน
เรื่องอดีต เรื่องอนาคต ก็ขาดไป
การที่สติอยู่กับปัจจุบันเป็นอารมณ์ที่เป็นปรมัตถ์
จิตจะมีความเบาขึ้น มีความสบาย มีความผ่องใส


พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี

ชีวิตมีค่าก็ตอนที่กำหนดรู้




การกำหนดที่ติดต่อสืบเนื่อง ทำให้พลังสมาธิเติบกล้า
เห็นการเกิดดับของรูปนามอยู่โดยตลอด
ทำให้เห็นพระไตรลักษณ์ชัดแจ้ง
ดังนั้นจึงต้องคอยกำหนดอารมณ์
ที่เกิดขึ้นทางกาย เวทนา จิต และธรรมอยู่ตลอดเวลา 
ชีวิตมีค่าก็ตอนที่กำหนดรู้


หลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล

จิตวิปัสสนาก็เพื่อให้รู้เท่าทันสังขาร




จิตวิปัสสนาก็เพื่อให้รู้เท่าทันสังขาร 
ไม่ติด ไม่หลงในสังขาร 
จนเกิดเบื่อหน่าย 
ไม่ติดในธาตุ 
ในขันธ์ทั้งหลาย 
บริสุทธิ์ด้วยไตรลักษณ์


หลวงปู่หลุย จันทสาโร

ลบสังขารด้วยไตรลักษณ์ได้




ปฏิบัติผิดนั้น 
ลบสังขารด้วยไตรลักษณ์ไม่ได้ 
ประพฤติไปตามสังขาร 
ปฏิบัติถูกนั้น 
คือลบสังขารด้วยไตรลักษณ์ได



หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

แก่นคำสอน คือการมีสติ มีปัญญา เห็นความคิด



เมื่อมาปฏิบัติกรรมฐาน หรือวิปัสสนา
เราควรจะเอาเฉพาะสิ่งที่สามารถป้องกันไม่ให้ทุกข์เกิด 
สามารถดับทุกข์ที่ต้นเหตุของมัน สามารถทำลายโมหะ 
เราเอาเฉพาะแก่น แก่นของคำสอนที่ข้าพเจ้าพูดถึงอยู่นี้
คือการมีสติ มีปัญญา เห็นความคิด 
เมื่อความคิดเกิดขึ้น เห็นมัน รู้มัน เข้าใจมัน 
รู้มันในทุกลักษณะที่มันเกิดและรู้ถึงวิธีป้องกันมิให้มันมาลวงเรา

หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ

คนที่ฝึกตนแล้วประเสริฐที่สุด




บรรดามนุษย์ด้วยกัน “”
คำว่าฝึกตนนั้น หมายถึง ฝึกจิตของตนให้ดีงาม 
รับได้ทนได้ แม้ในภาวะที่คนทั่วๆ ไป รู้สึกว่าไม่น่าจะทนได้
การฝึกจิตก็เหมือนการฝึกยกน้ำหนัก ต้องค่อยทำค่อยไป 
เมื่อได้ที่แล้วก็เป็นจิตที่ทนทาน และมีอภินิหารเป็นอัศจรรย์


จากหนังสือพระอานนท์ พุทธอนุชา โดย อ.วศิน อินทสระ

การปิดอบายภูมินี้ไม่ใช่เรื่องยาก




อย่ามองว่า การปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงมรรคผลนั้น
เป็นสิ่งที่สูงเกินไป ไม่เช่นนั้นมันก็บั่นทอนเราหมดว่า
เราไม่มีวาสนาบารมีที่จะไปถึงตรงนั้น
ความคิด มันหลอกเราเรื่อย ๆ ..
การปิดอบายภูมินี้ไม่ใช่เรื่องยาก
เพียงแต่เรามีสติปัญญา ให้รู้จักหา ผู้รู้ ให้เจอ
แล้วอยู่กับ ผู้รู้ ให้ได้ ๒๐ - ๓๐ % ในแต่ละวัน
แค่นี้ก็ปิดอบายภูมิแล้ว..

ลุงหวีด บัวเผื่อน

ปฏิบัติเพื่อละความเห็นผิด




ความเป็นจริงแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวตน 
มีแต่ความเห็นผิดที่เข้าไปยึดขันธ์ห้า
ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาว่าเป็นตัวเป็นตน 
เราไม่ได้ปฏิบัติเพื่อละตัวตนอะไร 
เพราะไม่มีตัวตนที่จะให้ละ
ปฏิบัติเพื่อละความเห็นผิด


อ.สุภีร์ ทุมทอง

ถ้านักภาวนารู้เห็นความตายของตัวเอง




ถ้านักภาวนารู้เห็นความตายของตัวเอง 
น่าจะเอามรณานุสสติมาพิจารณาเป็นหลัก 
เพราะว่าเมื่อมันรู้เห็นความตายแล้วมันได้หลายกรรมฐาน 
มรณานุสสติกรรมฐาน อสุภกรรมฐาน ธาตุกรรมฐาน อัฐิกรรมฐาน 
แล้วลงผลสุดท้าย มันจะมองเห็นอนัตตา ความไม่มีตัวมีตน
พอจิตมารู้ว่า กายนี้ก็มีแต่ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ 
ไหนเล่าสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา มีที่ไหน ถ้าผ่านความรู้เห็นอย่างนี้ 
จะไม่มีความสงสัยของใจในธรรมะคำสอนของพระพุทธองค์เลย


หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

จงทิ้งทั้งเทพและมาร






ทพ คือ กุศลธรรม มาร คือ อกุศลธรรม 
เทพ คือ สุข มาร คือ ทุกข์
เทพ คือ ความยินดี มาร คือ ความยินร้าย
เทพ คือ ความสำเร็จของชีวิต มาร คือ อุปสรรคของชีวิต
เทพ คือ ความมีสุขภาพดี มาร คือ ความเจ็บไข้...
จงทิ้งทั้งเทพและมาร
เพราะทั้งเทพและมารล้วนก่อให้เกิดภาระแก่จิตใจ...
วิธีการที่จะทำให้พ้นจากความเป็นเทพหรือมารได้นั้น จึงมีอยู่ประการเดียว
นั่นคือแสวงหาความเป็นพุทธะของตนให้พบ
คือความสะอาด สว่าง สงบ ที่มีอยู่แล้วภายในจิตของตน

พระอาจารย์มหาวิเชียร ชินวังโส

การที่จะบรรลุธรรมได้ ขึ้นอยู่กับกำลังของอินทรีย์ด้วย




การที่จะบรรลุธรรมได้
ขึ้นอยู่กับกำลังของอินทรีย์ด้วย
อินทรีย์ หมายถึง 
ศรัทธา-ความเชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้า
วิริยะ-ความเพียร สติ-ความรู้สึกตัว ...
สมาธิ-ความตั้งใจมั่น 
ปัญญา-รู้เห็นว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา

พระอาจารย์ครรชิต สุทธิจิตโต

การพ้นทุกข์ที่แท้จริง มีหนทางเดียว



การพ้นทุกข์ที่แท้จริง มีหนทางเดียว คือต้องศึกษา เรียนรู้ ตามดู 
และค้นคว้าหาความจริงเรื่องของกายและใจ 
ดูที่กายและใจของตน มิใช่ดูคนอื่น หรือดูอารมณ์อื่นภายนอกตน 
อารมณ์ภายนอกที่เกิดขึ้น เมื่อกระทบใจ สุดท้ายก็ไปปรากฏอยู่ที่ใจ   
ดังนั้น การกระทบสัมผัสกับอารมณ์ 
จึงต้องรีบเข้ามาดูความรู้สึกนึกคิด ว่ามันดี หรือร้ายประการใด 
ดูมันเกิดและดูมันดับ
จนเห็นความไร้สาระของมัน

พระอาจารย์ชานนท์ ชยนนฺโท

การบรรลุธรรม เกิดจากความรู้ทัน




พวกเราควรสลัด “ภาพลวงตา” ที่ว่า การปฏิบัติธรรม 
คือการที่ต้องเพียรพยายามทำอะไรที่ยากๆ ตั้งมากมายหลายอย่าง
อันเป็นความปรุงแต่งในฝ่ายดีหรือกุศลาภิสังขาร
ที่มีรากเหง้ามาจากอวิชชา..เพราะที่แท้จริงแล้ว
ความเพียรพยายามปรุงแต่งในฝ่ายดีนั่นแหละ
เป็นเครื่องขัดขวางการบรรลุธรรม
ในขณะที่การบรรลุธรรม เกิดจากความรู้ทัน
และก้าวข้ามความปรุงแต่งทั้งปวงได้ต่างหาก


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

เมื่อจิตไหล ก็ให้รู้ ดูที่จิต




เมื่อจิตไหล ก็ให้รู้ ดูที่จิต
หลงครุ่นคิด ก็ให้รู้ ดูเอาไว้
เมื่อจิตเผลอ ก็ให้รู้ ดูเข้าไป
ผลสุดท้าย มีแต่รู้ “กู” ไม่มี


 พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

ธรรมที่ไม่เกิด ไม่ตาย ที่มีอยู่ในปัจจุบัน



สมเด็จพระบรมศาสดาท่านทรงกำชับสาวกมากที่สุดว่า.....
“ให้พยายาม ปฏิบัติให้ถึง ธรรมที่มันไม่เกิด ไม่ตาย ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
แม้จะมีอะไรอยู่.....ก็เหมือนไม่มี .....ได้ก็เหมือนเสีย เสียก็เหมือนได้
เพราะนี่คือ “ความสงบ” สงบจากความสุข สงบจากความทุกข์
เมื่อถึงธรรมที่ “มันไม่เกิด ไม่ตาย ที่มีอยู่ในปัจจุบัน” แล้ว......
ภพสิ้นแล้ว....พรหมจบแล้ว....ไม่มีภพอื่นชาติอื่น....อีกแล้ว...

หลวงปู่ชา สุภัทโท

แค่เราเกลียดคนชั่ว...




แค่เราเกลียดคนชั่วนะโยม
จิตใจก็เศร้าหมอง
เราไม่ได้ดีกว่าเค้าเท่าไหร่หรอก
เราก็แค่สร้างกิเลสอีกตัวนึงขึ้นมา
โดยการไปเกลียดความชั่วของเค้า


พระอาจารย์อำนาจ โอภาโส

หยุดคิดคือหยุดสังสารวัฎ




ตัณหาต่างๆ ความรัก ความเกลียด 
ความกลัว มาจากความคิด
หยุดคิดคือหยุดสังสารวัฎ
เริ่มจากกระทบปั๊บกลับมาดู
ห้ามคิดไม่ได้ ..ธรรมชาติเค้าต้องคิด
เราเป็นผู้ดูเฉยๆ ใช้คำว่า “สักแต่ว่า”
ถ้ากลับมาดูทัน มันไม่เป็นเรื่องยาว 
แรกๆ จะใช้เวลาหน่อย ต่อไปจะเห็นชัด
ว่าโลกทั้งโลก สังสารวัฎ
อยู่ตรงสังขารการปรุงแต่งนี้เอง


หลวงพ่อมนตรี อาภัสสโร

ผู้ปฏิบัติธรรมต้องฝึกให้มีประสบการณ์อยู่กับปัจจุบัน




ผู้ปฏิบัติธรรมต้องฝึกให้มีประสบการณ์
อยู่กับปัจจุบัน ฝึกประสบการณ์ทุกๆ วัน 
จะมีครั้งหนึ่งจิตที่มันคิดขึ้นมา 
แล้วเราไม่ปรุงแต่งมัน ปล่อยมันดับเอง 
แค่เราเห็นแว้บเดียว จิตมันจะชุมฉ่ำ ...
มีปีติขึ้นมาทันที
เมื่อเราอยู่กับปัจจุบันชัดเจน เราไม่ปรุงแต่ง
ไม่ยุ่งกับมัน ให้เป็นธรรมชาติ 
การกระทบผัสสะจะหายไป 
จิตมันจะทำงานของมันโดยธรรมดา

หลวงตาสุริยา วัดป่าโสมพนัส 
(ส.มหาปัญโญภิกขุ)

ยิ่งปฏิบัติธรรม ยิ่งเป็นคนธรรมดา




เรายิ่งปฏิบัติธรรมมากขึ้นเท่าไร 
เราก็จะยิ่งเป็นคนธรรมดามากขึ้นเท่านั้น 
ต้องบอกว่า ...“ยินดีต้อนรับสู่ความเป็นคนธรรมดา” 
แล้วจะเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมดาๆ
ชีวิตของเราก็จะธรรมดาเพิ่มขึ้นด้วย 
แต่เดิมเราเคยเป็นคนมีความสำคัญ 
ถ้าปฏิบัติธรรมไปคิดว่าตัวเองสำคัญเพิ่มขึ้น
ไม่ถูก เป็นความสำคัญผิด


อ.สุภีร์ ทุมทอง

ถ้ามุ่งหวังต่อแดนพ้นทุกข์




   ถ้ามุ่งหวังต่อแดนพ้นทุกข์กันจริงๆ แล้ว...
ก็แค่จิตใจดวงเดียว 
รักษาไม่ให้เขากินอารมณ์

พระอาจารย์ชายแดน สีลสุทโธ

อยู่กับผู้รู้ คือการปฏิบัติธรรม




การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องจริงๆ ก็คือ อยู่กับผู้รู้ 
และจะทำอะไร ทำได้ทั้งนั้น 
อย่างหลวงปู่เจี๊ยะ ท่านตีขวานตีเหล็ก ตีทั้งวันๆ ตีเพื่ออะไร 
ถึงอย่างไรก็อย่าให้ขาด อย่าให้สติขาดจากผู้รู้ 
อันนั้นเป็นพอแล้ว เป็นพอเลย 
นั่นแหละคือการปฏิบัติธรรม พร้อมไปกับการปฏิบัติทางโลก 
ก็คือ เราไม่ได้แยก อันนี้ทางโลก อันนี้ทางธรรม...


ลุงหวีด บัวเผื่อน

มึงตายเมื่อไหร่ กูสบายเมื่อนั้น




... เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด 
ขอให้จิตอยู่ในความสงบ 
อยู่ในอารมณ์พระกรรมฐานก็แล้วกัน 
แยกกายสังขารให้เป็น แยกจิตสังขารให้เป็น 
วางเฉย ให้อยู่ในอารมณ์สังขารุเบกขาญาณ 
คือทุกข์กายต้องระงับ แต่จิตไม่เกาะติดอยู่กับมัน 
ยอมรับสภาวะทุกข์ของกายโดยดุษฏี 
บอกมันไว้เสมอๆ ว่า มึงตายเมื่อไหร่ 
กูสบายเมื่อนั้น


หลวงปู่บุดดา ถาวโร

อย่าทำลายตนเองด้วยการเอาใจหู




คนที่ติเรานั้น อาจเป็นมิตร
คนที่ป้อยอเรานั้น อาจเป็นศัตรู
การขัดสีของตะไบ ทำให้พระพุทธรูปสวยงาม
คำจริงใจระคายหู คำปลิ้นปล้อนฟังไพเราะ
คนที่หวังดีแก่เราที่สุด อาจพูดไม่ไพเราะ
อย่าทำลายตนเองด้วยการเอาใจหู


พระอาจารย์ชุมพล พลปญฺโญ

จงทำตามธรรม



จงทำตามธรรม
แต่อย่าทำตามความคิด

ปรมาจารย์ตั๊กม้อ

รากแก้วแห่งการภาวนา




คนภาวนาเอาแต่รากฝอย
มันเลยคุยกันแต่เรื่องส่งออก แผ่ออก
คุยแต่ธรรมะขี้โคลนขี้หมา
ต้องภาวนาให้เจอรากแก้วนะ อย่าไปมัวเอาแต่รากฝอย
พ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านสอนเอารากแก้วทุกองค์...
มีแต่คนไม่รู้นั่นสอนเอาแต่รากฝอย
รากแก้วคืออะไร? คือ มีสติคอยกำกับจิตเสมอ
ให้มันดิ่งลงไปจนเจอจิตเลย นั้นละของจริง !
อย่าลืมล่ะ สติสำคัญมาก ให้แอบมองจิตเสมอๆ
มันเป็นไง? อยู่แบบไหนนะ? 
แอบคอยดูอยู่เรื่อยๆ นะ


หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล