ทุกทุกวัน มี “ใจ” เป็นอาจารย์



ศึกษาธรรม มากครู ก็มากความ 
พยายาม ศึกษาจิต สัมฤทธิ์ผล
รู้เท่าทัน ให้ได้ ซึ่งใจตน 
ความสับสน ก็มลาย หายไปเอง

ศึกษาธรรม มากที่ ก็มากคิด 
ไม่เป็นหนึ่ง ประจักษ์จิต คิดพลิกผัน
ศึกษาธรรม เรียนรู้ใจ ให้เท่าทัน 
ทุกทุกวัน มี “ใจ” เป็นอาจารย์

พระอรหันต์จี้กง

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

การรู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง



จากหนังสือ เพียงแค่รู้สึกตัว โดย พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

จุดพลาดของนักภาวนา



จุดพลาดของนักภาวนาจุดหนึ่ง
ที่ทำให้ก้าวหน้าไม่ได้หรือได้ช้า คือ 
ความรู้สึกที่ว่าภาวนาแล้วจิตจะต้องมีสภาวะที่ดีๆ 
ก็เลยมุ่งจะทำจิตให้ดีไว้ 
ทั้งที่จิตจะดีหรือไม่ดีก็ไม่ตาม ต่างก็เป็นไตรลักษณ์เหมือนกัน
ดังนั้นเวลาที่จิตไม่ดี ถ้าแค่รู้แค่ดูจิตที่ไม่ดีได้
ก็จะเห็นไตรลักษณ์ได้
แต่ถ้ามัวแต่จะทำให้จิตดี หรือมัวแต่จะรักษาจิตที่ดีไว้
ก็จะไม่เห็นไตรลักษณ์
เพราะฉะนั้นจำหลักนี้ไว้นะครับว่า

“จิตจะดีก็ได้ จิตจะไม่ดีก็ได้
 ขอเพียงให้แค่รู้แค่ดูไปเท่านั้นพอแล้ว”

อ.สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ละความยึดมั่นในขันธ์ ๕ จึงหมดทุกข์



บางคนก็เข้าใจผิดนะ คิดว่าเมื่อรู้แจ้งรู้เท่าตามเป็นจริงแล้ว 
จะไม่ได้สัมผัสกับความทุกข์เสียเลย.. 
จิตที่ไม่ได้สัมผัสกับความทุกข์นั่นน่ะ 
มีแต่จิตเข้านิโรธสมาบัติโน่น..
แต่ว่าท่านผู้ละความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ 
ว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขาได้แล้ว 
ท่านก็ไม่เป็นทุกข์อย่างนี้นะ 
ให้เข้าใจ รู้ทุกข์อยู่นั่นแหละ แต่ว่าจิตใจไม่เป็นทุกข์ 
ไม่กระวนกระวาย ไม่หวั่นไหว อดได้ทนได้ 
มีสติ รู้เท่าอยู่ตามธรรมดา 
มีปัญญารู้แจ้งในขันธ์ ๕ ตามเป็นจริงอยู่
รู้ว่าขันธ์ ๕ นี้มันแปรปรวน มันกำลังจะแตกจะดับ 
ไม่ใช่เราแปรปรวน ไม่ใช่เราแตกเราดับ 
เราไม่มีอยู่ในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีอยู่ในเรา 
ก็ต้องใช้ปัญญาสอนจิตอย่างนี้ 
มันเป็นความจริงนะ เรียกว่าสอนความจริง 
ไม่ใช่ปั้นเรื่องเอาน่ะ 

หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา