ไม่มีปัญหาและไม่มีฉัน



คนที่ยังไม่มีปัญหามักปฏิเสธว่า “ฉันไม่มีปัญหา” 
เมื่อเริ่มสว่างขึ้นมาน้อยหนึ่งก็ยอมรับว่า “ฉันมีปัญหา” 
ขั้นต่อไปก็คือ “ฉันนี่แหละคือปัญหา”
ในที่สุดแล้ว....จึงจะไม่มีปัญหาจริงๆ และไม่มีฉันด้วย 

ชยสาโรภิกขุ

โครงการมอบรอยยิ้มให้ผู้ป่วยด้วยธรรมะ


กลุ่มปฏิบัติธรรมของผู้เขียนเคยนำหนังสือ ารมณ์ขันและความศักดิ์สิทธิ์ของสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ไปแจกให้ผู้ป่วยในโรงพยาบาล เราได้เห็นรอยยิ้มและเสียงหัวเราะของผู้ป่วยที่ได้อ่าน เพียงเท่านี้ก็นำความปิติมาสู่ใจพวกเรา ที่ได้มอบความสุขอย่างมีสาระธรรมให้แก่ผู้ที่กำลังทุกข์เพราะความเจ็บไข้

ตอนนี้ ญาติธรรมท่านหนึ่งมีดำริที่จะนำหนังสือเล่มนี้ไปมอบให้แก่ผู้ป่วยและมูลนิธิของโรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อเป็นการมอบธรรมทานและความสุขให้ผู้ป่วยอีกครั้ง จึงขอเรียนเชิญท่านที่สนใจมอบรอยยิ้มให้แก่ผู้ที่กำลังทุกข์ มาร่วมบุญกันนะคะ

หนังสือเล่มนี้ราคาเล่มละ 25 บาท ความหนา 88 หน้า ท่านที่สนใจร่วมบุญ สามารถโอนเข้าบัญชีเลขที่ 010-418248-7 ธนาคารไทยพาณิชย์ ชื่อบัญชี อาภา เชี่ยวเวช...เพียงเล่มเดียว ก็ยินดีค่ะ แต่คงต้องใช้เคาน์เตอร์ธนาคารนะคะ และถ้าท่านร่วมบุญแล้ว โปรดแจ้งที่ความคิดเห็นข้างล่างนี้ เราจะได้ทราบและโมทนากับท่าน

และถ้าท่านสนใจจะนำหนังสือนี้ไปแจกเป็นธรรมทานหรือในงานพิธีต่างๆ ทางเราก็ยินดีเช่นกันค่ะ เราคิดค่าจัดพิมพ์เล่มละ 25 บาท + ค่าจัดส่งตามจริง หรือท่านจะมารับด้วยตัวเองที่สถานธรรมของเรา ก็ยินดีนะคะ

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือขนาดพ็อคเก็ตบุ๊ค ความหนา 88 หน้า กระดาษถนอมสายตา ราคาเล่มละ 25 บาทค่ะ



ติดต่อได้ที่

คุณสาธิญาวี      โทร 089-531-8327 
คุณวัสสวดี        โทร 081-814-8609 และ
คุณตรีญาดา      โทร 083-303-3745


มาร่วมมอบธรรมทานและรอยยิ้มให้ผู้กำลังทุกข์ด้วยกันนะคะ

พยายามทำความรู้ตัวให้มาก



          การฝึกหัดปฏิบัติอบรมจิตใจ ให้เริ่มต้นจนเกิดความรู้ตัวเสียก่อน พยายามทำความรู้ตัวให้มาก มีสติ นั่งก็รู้ เดินก็รู้ มีความสุขก็ รู้ มีความทุกข์ ก็รู้ ถ้าหากว่าเราอบรมความรู้ให้โดยรอบแล้ว เราทั้งหลายไม่ต้องสงสัย จะต้องได้พุทโธแน่นอน พุทโธจะต้องบังเกิดขึ้นในตัวของเราแน่นอน

                                                                                                     หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ

จิตว่างรู้ที่ว่าง คิดรู้ที่คิด



         ถ้าหากว่าท่านผู้ใดขี้เกียจ หรือไม่มีอะไรจะคิดก็ให้กำหนดจิตรู้ที่จิตเฉยๆ ถ้าจิตว่างรู้ที่ความว่าง ถ้าจิตคิดรู้ที่ความคิด ว่างรู้ที่ความว่าง คิดรู้ที่ความคิด ไล่ตามกันไปอย่างนี้ เมื่อเราฝึกหัดจนคล่องตัว จนชำนิชำนาญ ทีหลังเราอาจจะไม่ได้ตั้งใจกำหนดรู้อารมณ์จิตหรือความคิด สติก็ทำหน้าที่ตามรู้คอยควบคุม เมื่อมีสติสัมปชัญญะ จิตของเราก็รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว อะไรผิด อะไรถูก มันจะรู้ของมันขึ้นมาเอง

                                                                                            หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน