ความรู้ไม่ได้มาจากความคิด


ผมคิดตั้ง 99 ครั้งและไม่ได้อะไรเลย
พอผมเลิกคิด และไปว่ายน้ำเงียบๆ
ความจริงก็ปรากฏแก่ผมตอนนั้น
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

I think 99 times and find nothing. I stop thinking, swim in silence, 
and the truth comes to me.

Albert Einstein

Image by janeb13 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ลักษณะของผู้ปฏิบัติธรรมเป็นอย่างไร?


ลักษณะของผู้ปฏิบัติธรรมเป็นอย่างไร?
โดย ท่าน อ.กำพล ทองบุญนุ่ม
.
"การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง 
ผู้ปฏิบัติต้องกอรปด้วยความเพียร 
ถอนความพอใจไม่พอใจออกเสียได้
ด้วยการ "มีสติรู้เท่าทัน"
.
การปฏิบัติธรรม คือ การเจริญสติ 
เปรียบเหมือนการเดินทาง ระหว่างทาง
เราต้องประสบกับทั้งสิ่งที่น่าพึงพอใจและไม่พอใจ 
ผู้ปฏิบัติธรรม จึงต้องเป็นผู้รู้เท่าทันอารมณ์ที่ตนประสบ
.
-รู้จักใช้ชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติ
-มีชีวิตที่เรียบง่าย ถูกต้องดีงาม ไม่ใช่มักง่าย 
-"ความเย็น" เป็นอุปนิสัยของผู้ปฏิบัติธรรม 
  ใครอยู่ใกล้ก็มีแต่ความเย็นอกเย็นใจ
-รู้จักยืดหยุ่น ผ่อนสั้นผ่อนยาว รอได้ คอยได้
-เป็นผู้ไม่ถือสาหาความ รู้จักให้อภัย 
-ทำสิ่งที่มากให้น้อย 
-ทำสิ่งที่ใหญ่ให้เล็ก 
-ทำสิ่งที่ยากให้ง่าย
-ปล่อยวาง ไม่ยึดติดในสิ่งที่หลายทั้งปวง
-ไม่เป็นคนเจ้าทุกข์ คือ รู้จักยอมรับความจริง
-มีสติอยู่เสมอๆ ในทุกแห่ง ทุกสถานที่ ทุกเวลา
.
เราจะดูคนที่มีคุณธรรม มีธรรมะมากน้อย ก็ดูที่ "สติ"
นักปฏิบัติธรรมต้องมีนิสัย ไม่เพ่งโทษผู้อื่น 
เพราะทำให้ไม่มีความสุข 
ในทางตรงกันข้าม มักจะกลับมาดูใจตนเองแทน 
ไม่ทำตนแปลกแยกจนดูขัดเขินด้วยทิฎฐิมานะ 
ด้วยการสร้างภาพ นั่นมาจากใจที่ไม่เป็นอิสระ
เรายังพูดคุยกันอย่างปกติ แต่พูดคุยอย่างมีสติ 
ไม่หลงลืมตน 
.
นักปฏิบัติธรรม(ตัวจริง) 
-จะไม่วางฟอร์ม 
-มีเรื่องพูดก็พูด หมดธุระก็หยุด 
-พูดเมื่อจำเป็น แต่เป็นผู้ฟังอย่างมีสติ
-ใครพูดผิดเราก็ฟังได้ ใครพูดถูกเราก็ฟังได้"

จาก ฟังธรรมแล้วนำมาเล่า 

เครดิตคุณ  Nongahe Nishapa

Image by geralt from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา