เมื่อเข้าใจคำว่า พุทธ คำเดียว


จงตื่นเดี๋ยวนี้ !
คำว่า "พุทธ" ในภาษาจีน
บัญญัติขึ้นตามภาษาสันสกฤต
ออกเสียงว่าฝู (Budh)
เป็นคำประสมมีสองส่วน
ส่วนทางซ้ายมีสองขีด แปลว่า ตัวตน
ส่วนทางขวา แปลว่า ความไม่มี
.
เมื่อไม่มีตัวตน ก็ไม่มีการแบ่งย่อยเป็นบุคคล
ไม่มี ฉัน เธอ เขา พวกเรา พวกอื่น
ไม่จำแนกว่าเป็นสัตว์ต่างๆ พืชต่างๆ
ไม่แยกว่าเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต
.
เป็นการว่างจากความคิดปรุงแต่งทั้งปวง
เมื่อเข้าใจคำว่า พุทธ คำเดียว
ก็เหมือนเข้าใจศาสนาพุทธทั้งหมด
.
ในวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร
ของศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน
ได้ขยายความว่า
อัตตา บุคคล สัตว์ ชีวะ
ล้วนไม่มีอยู่จริงในปรมัตถสัจจะ
เป็นเพียงรูปและนามที่สมมติขึ้น
เพื่อการสื่อสารกันเท่านั้น
.
เมื่อเจาะลึกแยกแยะด้วยปัญญาแล้ว
ก็จะพบแต่ความว่างเปล่า
เหมือนลอกกาบกล้วยออกจนหมด
ก็ไม่พบแก่น มีแต่ภาวะที่
เสมือนว่ามี แต่ความจริงไม่มี
เรียกว่า อนัตตา
.
ที่สุดแม้กระทั่ง ทุกข์
ทุกขสมุทัย นิโรธ และ มรรค
ก็เป็นเพียงนามสมมติ
ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้น
เพื่อใช้สอนสาวก
ถ้ายังติดสมมติ ยังคิดเป็นรูปคิดเป็นนามอยู่
ก็ชื่อว่ายังติดอยู่ในรูปภพและอรูปภพ
ยังมีอุปาทานที่ละเอียดแฝงอยู่
จึงยังไม่พ้นไปจากความทุกข์
.
ต่อเมื่อทิ้งความยึดมั่นถือมั่นเหล่านี้ลงเสียสิ้น
จึงจะออกจากความทุกข์ได้
เหมือนคนตื่นจากความฝัน ว่ามีตัวมีตน
มีความเป็นโน่นเป็นนี่
ในตอนจบของพระสูตรยังลงท้ายว่า
ให้เจริญสติ จนเกิดโพธิสวาหะ
แปลว่า ทำให้ตื่นขึ้นเดี๋ยวนี้

จากเพจศาสนาและวิทยาศาสตร์

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ธรรมชาติแท้จริงของเรา ตื่นรู้อยู่แล้ว


ใครๆ มักเข้าใจว่า 
การตรัสรู้คือการบรรลุภาวะจิตใหม่ 
ราวกับภาวะนั้นเป็นเป้าหมายให้เข้าถึง 
หรือเป็นสิ่งนอกกายที่ต้องขวนขวายให้ได้มา 
.
แต่พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า 
จิตที่ยึดมั่นถือมั่นของพระองค์
นั่นแหละคือปัญหา 
ที่ผ่านมาทรงมองเห็นความจริง
กลับหัวกลับหางไปหมด 
.
หลังจากพยายามควบคุมจิต 
และปฏิเสธความจำเป็นพื้นฐาน
ของร่างกายมาหลายปี 
พระองค์ทรงตัดสินพระทัยไม่พยายาม
ที่จะได้มาซึ่งการตรัสรู้ 
หากเพียงแต่นั่งมองจิตให้เห็นว่า 
จะเรียนรู้อะไรได้บ้างจากการสังเกต
สิ่งที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน 
พระองค์ทรงทำเยี่ยงนี้ขณะประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ์ 
และได้พบว่า ธรรมชาติแท้จริงของเรานั้น
ตื่นรู้อยู่แล้ว บริบูรณ์อยู่แล้วอย่างที่มันเป็น 
และแท้จริงแล้วสิ่งที่ทรงแสวงหา
ก็มีอยู่แล้วในพระองค์เอง 
.
ปัญญาที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ
เป็นสิ่งง่ายๆ แต่ยากที่จะรับได้ 
คำสอนของพระองค์ทำให้เรารู้ว่า 
มีส่วนหนึ่งของตัวเราซ่อนอยู่เงียบๆ 
โดยที่เราไม่รู้ นี่คือความย้อนแย้ง
อย่างยิ่งในวิถีพุทธ 
ที่ว่าเราฝึกฝนเพื่อจะได้รู้สิ่งที่มีอยู่แล้วในตน 
ดังนั้นจึงไม่ได้เข้าถึงสิ่งใด 
ไม่ได้ได้มาซึ่งสิ่งใด ไม่ได้ไปสู่ที่ใด 
เราแสวงหาเพื่อเปิดเผย
สิ่งที่มีอยู่แล้วตรงนั้นเสมอมา

ท่านมิงจูร์ รินโปเช
จากหนังสือ “รักโลก”

Image by oasis502 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา