รู้ที่เราพึ่งพาได้คือ"ความรู้สึก" ไม่ใช่ "ความคิด"


สิ่งที่เป็นอยู่ในขณะนี้ 
ถ้าเราไปพึ่งพาการคิด 
มันก็จะบอกให้เราพยายามทำให้มันดีขึ้น 
หรือให้หนีไปจากความทุกข์อันขมขื่น
ที่มีอยู่ในทุกๆ อย่างตามธรรมชาติ 
เราหนีความทุกข์ของร่างกายไม่ได้ 
แต่มันก็มีความมหัศจรรย์แบบเล่นแร่แปรธาตุ (alchemy) 
ที่มากับการรู้ การรู้ที่เราพึ่งพาได้คือ"ความรู้สึก" ไม่ใช่ "ความคิด" 
พวกเราเห็นว่าอารมณ์ของเรานั้นเปลี่ยนไปเรื่อยๆ 
ไม่ต้องทำอะไรเลย รู้อย่างเดียว
เราต้องไม่ไปง่วนอยู่กับการรู้ของผู้คิด 
เราต้อง"รู้จากความรู้สึก" 
ผู้ที่รู้สึก มันจะมีรสชาติของความเป็นจริง
ซึ่งความคิดให้รสชาติแบบนั้นกับเราไม่ได้

พระอาจารย์สุมโนภิกขุ

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา





การปฎิบัติจริงๆ นั้นไม่มีรูปแบบ


การปฎิบัติ
ไม่ใช่เดินจงกรมอย่างเดียว 
นั่งสมาธิอย่างเดียว
อิริยาบถใดก็ได้
หากเรามองว่าขันธ์ห้าไม่ใช่เรานี้ 
ปฎิบัติแล้ว 
สถานที่ไหนก็ได้
หากเรามีสติอยู่กับกาย 
มีสติอยู่กับเวทนา 
มีสติอยู่กับจิตและธรรม 
คือ เราปฎิบัติแล้ว
การปฎิบัติจริงๆ นั้นไม่มีรูปแบบ
พระอรหันต์ในสมัยพุทธกาล
ท่านตรัสรู้ในท่ายืนบ้าง ท่าเดินบ้าง 
ท่านอนบ้าง ไม่ได้นั่งหลับตาเลย

พระอาจารย์ชานนท์ ชยนนฺโท

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



การ "รู้เท่าทันอารมณ์"ในภาษาธรรม


ในขณะที่เกิดสัมพันธภาพกับภายนอก
จิตก็ควรจะกำหนดให้อยู่ในจิต
เมื่อเห็นก็กำหนดให้ "รู้เท่าทัน" การเห็น
แต่ไม่ถึงกับต้องรำพึงรำพันออกมาว่า
เห็นแล้วนะ เห็นแล้วหนอ อะไรหรอก
เพราะขณะจิตหนึ่งๆ นั้น มันไม่กินเวลาอะไร
เมื่อรู้เท่าทันแล้ว ก็ไม่ต้องไปรำพึงรำพัน 
เป็นการปรุงแต่งเพิ่มเติมอีก
ในการ "กำหนดให้รู้ให้เท่าทัน"นั้น 
อย่าได้ถูกลวงด้วยสัญญาแห่งภาษาคนภาษาโลก 
ดังเช่นการรู้เท่าทันคนที่จะมาหลอกลวงเรา เป็นต้น
การ "รู้เท่าทันอารมณ์"ในภาษาธรรมนั้น 
หมายความว่า ความ " รู้ " 
จะต้องทันกันกับการรับอารมณ์ของทวารทั้ง ๕
เช่น ในขณะที่ตาเห็นรูป 
จะต้องมีสติรู้อยู่อย่างเต็มที่สมบูรณ์ 
มีความรู้ตัวพร้อมอยู่ตลอดเวลา โดยไม่จำเป็นต้องรู้อะไร
เมื่อเป็นเช่นนี้ "ทุกข์" 
อันอาศัยปัจจัยคือ การเห็น เป็นต้นนั้น ย่อมไม่เกิด
และเราก็สามารถมองอะไรได้อย่างอิสระเสรี
โดยที่รูปหรือสิ่งที่เรามองเห็น
ไม่อาจมีอิทธิพลอันใดเหนือเราได้เลยแม้แต่น้อย

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา





ทานที่ไม่มีอานิสงส์มาก



บุญที่ทำในรูปของการถวายทานนั้น 
ไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือเงินก็ตาม 
จุดหมายสูงสุดอยู่ที่
การลดความยึดติดถือมั่นในตัวกูของกู 
ยิ่งลดได้มากเท่าไร
ก็ยิ่งเข้าใกล้นิพพานอันเป็นประโยชน์สูงสุด
ที่เรียกว่า “ปรมัตถะ” 
ซึ่งสูงกว่าสวรรค์ในชาติหน้า (สัมปรายิกัตถะ)
หรือความมั่งมีศรีสุขในชาตินี้ (ทิฏฐธัมมิกัตถะ) 
แต่หากทำบุญเพราะหวังแต่ประโยชน์ส่วนตน 
อยากได้เข้าตัวมาก ๆ แทนที่จะสละออกไป 
ก็ยิ่งห่างไกลจากนิพพาน 
หรือกลายเป็นอุปสรรคขวางกั้นนิพพานด้วยซ้ำ 
อันที่จริงอย่าว่าแต่นิพพานเลย 
แม้แต่ความสุขในปัจจุบันชาติ ก็อาจเกิดขึ้นได้ยาก 
เพราะจิตที่คิดแต่จะเอานั้นเป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์
ในทานมหัปผลสูตร อังคุตตรนิกาย 
พระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระสารีบุตรว่า
ทานที่ไม่มีอานิสงส์มากได้แก่ 
“ทานที่ให้อย่างมีใจเยื่อใย ให้ทานอย่างมีจิตผูกพัน 
ให้ทานอย่างมุ่งหวังสั่งสมบุญ” 
รวมถึงทานที่ให้เพราะต้องการเสวยผลในชาติหน้า เป็นต้น

พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา