การภาวนาเปลี่ยนคนได้




การภาวนานี่ อาตมาถือเป็นเรื่องสุดยอด 
เพราะการภาวนานี่มันเปลี่ยนคนได้ 
มันเปลี่ยนชีวิตได้ เปลี่ยนจิตใจได้ ...
เปลี่ยนจิตใจจากจิตใจไม่ดีเป็นคนดี 
จากจิตใจไม่มีธรรมเป็นธรรม 
จิตใจไม่เห็นกายว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา 
มาภาวนาแล้วมองเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา 
นี่มันอัศจรรย์ตรงนี้ มันเปลี่ยนได้จริงๆ 
โยมท้อแท้ไม่ได้

หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล

ความรู้ว่าเฉยนั่นแหละเป็นตัวใจ



         ผู้ใคร่อยากรู้ใจแท้ ถึงแม้ยังไม่เป็นสาวกพุทธะปัจเจกพุทธะ สัมมาสัมพุทธะก็ตาม ขอให้ศึกษาพอเป็นสุตพุทธะเสียก่อน คือ จงกลั้นลมหายใจไปสักพักหนึ่งลองดู ในที่นั่นจะไม่มีอะไรทั้งหมด นอกจากความรู้เฉยๆ ความรู้ว่าเฉยนั่นแหละเป็นตัวใจ...

                                                                     หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี พูดถึงหลวงปู่ดูลย์ อตุโล

เวทนามันก็เป็นเวทนา จิตมันก็เป็นจิต



“แม้ว่าเราเจ็บป่วยขึ้นมา”
เราก็ยังรู้สึกว่า เวทนามันก็เป็นเวทนา 
จิตมันก็เป็นจิต เป็นคนละอย่างกันอยู่ 
รู้จักเจ็บไหม... รู้จัก รู้จักสบายไหม... รู้จัก 
แต่เราไม่ไปอยู่ในความสบายและความไม่สบายนั้น...
อยู่แต่ในความสงบ สงบอย่างไร
สงบจากความสบายนั้น สงบจากความทุกข์นั้น ..
คือหมายความว่าท่านไม่มีสุขไม่มีทุกข์ 
ท่านรู้ว่ามันสุขมันทุกข์อยู่เหมือนกัน
แต่ท่านไม่ไปแบกมันไว้ เวทนานั้นมันก็ไม่เกิด

หลวงปู่ชา สุภัทโท

ฝึกการละอารมณ์ ด้วยการกำหนดรู้ลมหายใจ



...คนที่ยังไม่ฟุ้งซ่าน แต่กำลังหลงเพลินกับอารมณ์ 
ควรรีบฝึกฝนใจตนไว้ก่อนแต่เนิ่นๆ 
ฝึกการละอารมณ์ 
ด้วยการกำหนดรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก 
ทำบ่อยๆ วันละสามหน ห้าหน หนละห้านาที ...

หรือจะน้อยกว่านั้นก็ตามสะดวก ขอให้ได้ทำ 
เพียงกำหนดรู้ลมหายใจ ทำทุกวัน ทำทุกวัน 
นั่นก็คือการฝึกจิต...

ครูบาไตรภพ วัดป่าโคกเจริญธรรม
มูลนิธิวิศวาธารอโรคยาธรรมศาลฯ

รู้ทันมันก็ดับลง




ตัวสติน่ะ รู้ทันมันก็ดับลง 
ไม่ได้ดับยากหรอก
ตัวสตินี่มันพร้อมกัน
คิดผิดก็ตาม สติมันรู้แล้วก็ดับ 
คิดถูกก็ตาม พอใจก็ตาม 
ไม่พอใจก็ตาม 
มันเกิดขึ้นแล้วก็รู้
พร้อมดับลงกับที่นั่นแหละ


หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

ความรู้ที่นำไปสู่การสิ้นทุกข์ นั่นคืออภิญญาจิต



อภิญญาคือความรู้ยิ่ง 
รู้เรื่องอริยสัจจ์ในจิตตัวเองนี้แหละ 
ความรู้ที่นำไปสู่การสิ้นทุกข์ นั่นคืออภิญญาจิต 
ความรู้ที่ไปรู้ว่าจิตคนโน้นคนนี้ คิดอย่างนั้นอย่างนี้ 
นั่นคือคนที่ไม่รู้เท่าทันความคิดของตัวเองทั้งนั้น ......

หลวงตาสุริยา วัดป่าโสมพนัส 
(ส.มหาปัญโญภิกขุ)

เห็นธรรม คือเห็นจริงตามที่มันเป็น




ธรรมะ ในที่นี้หมายถึง ของมีอยู่เป็นอยู่ในโลกนี้ทั้งหมด 
มันเป็นอยู่อย่างนั้น มีอยู่อย่างนั้น เรียกว่า ธรรมะ
คำว่า เห็นธรรม คือเห็นจริงตามของที่มันเป็นเองนั่นเอง 
มันเป็นอยู่อย่างไร ให้เข้าใจว่ามันเป็นอยู่อย่างนั้น 
เรียกว่าเห็นสภาพของธรรมะ ตรงนี้แหละเป็นของสำคัญ เห็นได้ยาก ...
เพราะคนเรานั้นเห็นอะไร ดูอะไร ก็อยากดูของใหม่เรื่อยไป 
ของเก่าเลยลืมเสีย มันก็เลยไม่ชัดไม่เจนขึ้นมา 
หากันไปเถิด หาธรรมะ หาเท่าไรก็หาไป 
ถ้าไม่เห็นสภาพตามเป็นจริงแล้ว ก็ไม่เห็นธรรมะอยู่นั่นเอง


หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

เขาด่า เขาว่า สติมีไหม



เขาด่า เขาว่า 
สติมีไหม มีธรรมะที่หูไหม หูมีทรัพย์ไหม 
ถ้าหูท่านมีทรัพย์จริง มันจะสปาร์คออกไปนะ 
เสียงมันก็กลับไปหาเจ้าของเดิม 
หูจะไม่ยอมรับ ...
จิตจะไม่ออกมา รับเรื่องบ้าๆ บอๆ... 
อาตมาพูดอยู่เสมอ มึงด่าใคร กูด่ามึง 
อ๋อด่ามึง ไม่ได้ด่ากู เท่านี้ ยังคิดกันไม่ได้ 
ตะลึงตะลานกระเสือกกระสนโกร

หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

ประกาศตนเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า ยังไม่พอ




ผู้ที่ประกาศตนเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า 
หรือเป็นบริษัทของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
ถ้าได้ประกาศปฏิญาณตนอย่างนี้แล้ว 


อย่าไปถือว่ามันพอแล้ว
ได้ที่พึ่งพอแล้วเท่านั้นก็เฉยเมยเสีย
ปล่อยจิตให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไปเสียอย่างนี้ ไม่สมควร
เพียงแค่คำกล่าวปฏิญาณตนถึงเท่านั้นน่ะ 
มันไม่เป็นที่พึ่งอันมั่นคงได้


หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

รู้ทันความคิด ใจว่าง ใจสว่าง



เพราะจิตไม่มีตัวตน...
เมื่อไม่มีตัวตน เราก็ต้องใช้วิธีจับจิต แบบไม่มีตัวตน
ก็คือ ใช้การภาวนา เอาจิตเข้าไปไว้ตรงใดตรงหนึ่ง
ให้จิตเป็นหนึ่ง เมื่อจิตใจจดจ่ออยู่เป็นหนึ่ง 
ก็ปรากฏความคิดขึ้นมา คิดไปเรื่องโน้น เราก็ตั้งสติ ...
คิดไปเรื่องนี้ เราก็รู้สติว่าเราคิดอะไร 
พอเรารู้ทันหนักเข้าๆ มันก็รวมเป็นใจว่าง 
ใจว่าง ใจสว่าง นั่นคือ ตัวรู้ทันจิต 
ทำให้เกิดปัญญาญาณรอบรู้เท่าทันจิตตัวเอง
เกิดความสุขสงบขึ้นมา

หลวงพ่อสนอง กตฺปุญโญ

การยึดมั่นถือมั่นในกายใจ ว่าเป็น“เรา”




การยึดมั่นถือมั่นในกายใจ
ว่าเป็น“เรา”นั่นละ
คือสุดยอดของทุกข์

พระอาจารย์มหาวิเชียร ชินวังโส

ทำความรู้...เฉย เป็นอารมณ์ จะมีสติสัมปชัญญะ




คิดก็รู้...เฉย เลิกคิดเราก็รู้...เฉย 
ทำความรู้...เฉย เป็นอารมณ์แล้ว
จะมีสติสัมปชัญญะ ความรู้ตัวอยู่ทุกขณะ

หลวงปู่สังวาลย์ เขมโก

ดูความพอใจและความไม่พอใจบ่อยๆ จะเข้าถึงความเป็นกลาง



รักษาใจดวงเดียวคือการให้ใจของเราอยู่ด้วยความเป็นกลางๆ
ไม่ยินดีและไม่ยินร้ายกับ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสที่มากระทบ
ด้วยการรักษาดูว่าความพอใจเกิดขึ้น ความไม่พอใจเกิดขึ้น
เห็นความพอใจเป็นเรื่องธรรมดา เห็นความไม่พอใจเป็นเรื่องธรรมดา
ดูความพอใจ และดูความไม่พอใจบ่อยๆ เข้า
แล้วเราก็จะเข้าถึงความเป็นกลางได้
ก็คือไม่แทรกแซงทั้งความพอใจ และไม่แทรกแซงทั้งความไม่พอใจ

พระอาจารย์ชานนท์ ชยนนฺโท

การเจริญสติ คือการฝึกจิตให้มีนิสัยรู้เฉย



ก า ร เ จ ริ ญ ส ติ...
ก็คือการฝึกจิตให้มีนิสัยรู้เฉย
เห็นอย่างที่มันเป็น 
ไม่ต้องไปทำอะไรกับมัน
ไม่ต้องตีราคาว่าดีหรือชั่ว......
เพราะถ้าตีราคาว่าดี...ก็อยากจะยึดครอง
ถ้าตีราคาว่าชั่ว...ก็อยากจะผลักไส

พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

ผู้อยู่เป็นสุขในโลก




เรื่องความผิดหวัง อนิจจัง มันมีอยู่ทั่วโลก 
และมีประจำโลกแต่ไหนแต่ไรมา
ผู้ปฏิบัติทำจิตของตนไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม
เพราะความรู้เท่าเข้าถึงของจริงเท่านั้น 
จะอยู่เป็นสุขในโลก...

พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร

รักษาใจให้อยู่กับตัวเองนานๆ



พวกเราทั้งหลายรู้จักวิธีการปฏิบัติจิตใจแล้ว 
พยายามรักษาจิตใจของตัวเองไว้ให้ดี 
อย่าปล่อยจิตใจอันนี้ตกไปเป็นทาสของอารมณ์ 
อย่าปล่อยจิตใจอันนี้ไปติดอยู่กับวัตถุ บุคคล 
พยายามรักษาเขาให้อยู่ในร่างกายของตัวเองได้ตลอด ...
ถ้าเรารักษาเขาให้อยู่กับตัวเองได้นานๆ 
จิตใจดวงนี้ก็จะเกิดสติธรรมปัญญาธรรม 
เป็นภาษาธรรมในจิตใจของผู้ปฏิบัติที่ไม่มีขอบเขต 
ซึ่งเกิดขึ้นได้ในผู้ปฏิบัติเท่านั้น

พระอาจารย์ชายแดน สีลสุทโธ

พระพุทธเจ้าให้ใช้สติตามดูจิต



ศีลของพระอริยเจ้ามีข้อเดียว นั่นคือการมีสติเป็นปรกติ
เพราะศีลหมายถึงการปฏิบัติตนด้วยความปรกติของจิต
ที่ประกอบไปด้วยสติแน่วแน่
ไม่หลงลืมหน้าหลังงัวเงียด้วยอวิชชา ดังพระพุทธเจ้าตรัสว่า
เธอจงตามดูจิตที่ไปไกลแสนไกล เธอจะพ้นบ่วงแห่งมาร
แล้วทรงให้ใช้อะไรตามดูจิตเล่า ก็สตินั่นแหละ ไม่ใช่อะไรอื่น

หลวงพ่อประสิทธิ์ ถาวโร

พยายามกำหนดจิต ให้อยู่ในร่างกาย




พยายามกำหนดจิต
ให้มันอยู่ในร่างกาย นี้คือฉันทะ
ความพอใจในการกำหนดรู้
อยู่ภายในร่างกาย 
นี้เป็นอีกวิธีที่ทำให้เราตื่น

หลวงพ่อวิชัย เขมิโย

อย่าให้จิตส่งออก ให้สติอยู่ที่ผู้รู้เท่านั้น



พูดตามปริยัติ “สติ” แปลว่าความระลึกได้ในกิจที่ได้กระทำ 
แม้คำพูดทั้งในอดีตและปัจจุบัน 
ในทางปฏิบัติ “สติ” แปลว่าระลึกอยู่ที่ใจ ไม่ให้รู้ไปตามสิ่งอื่น 
ถึงจะมีสัญญาอะไรก็ไม่ให้เคลื่อนไหวไปตามอาการนั้น 
กำหนดรู้นิ่งไว้อย่างนั้น ระลึกอยู่ที่ใจ 
ใจก็หมายถึงผู้รู้ .... ตามธรรมดาสติมักจะส่งไปภายนอก 
ชอบเล่นอารมณ์ สังขารที่ปรุงแต่งไม่ว่าจะคิดดี คิดร้าย คิดไม่ดี ไม่ร้าย 
เราจะต้องพยายามฝึกหัดละวางอารมณ์เหล่านี้ 
อย่าให้จิตส่งออกไปภายนอก ให้สติอยู่ที่ผู้รู้เท่านั้

หลวงปู่คำดี ปภาโส

บังคับทุกข์ให้ดับจะเป็นสมุทัย



ทุกข์เกิดขึ้นก็รู้ว่าทุกข์เกิดขึ้น 
ทุกข์ตั้งอยู่ก็รู้ว่าทุกข์ตั้งอยู่ 
มันจะดับหรือไม่ดับ ไม่ได้ไปบังคับมัน 
ถ้าไปบังคับก็กลายเป็นสมุทัย 
ให้ทุกข์โผล่มามากขึ้น 

ทุกข์ที่มีอยู่จะทุกข์มากขึ้น 
ทุกข์จะดับเมื่อไร มันก็ดับของมันเอง 
ขนาดเมื่อเกิดมันก็ยังเกิดของมันเอง มันตั้งอยู่เอง 
เราจะบังคับให้มันดับ มันก็ไม่ดับถ้าไม่ถึงกาลเวลา


หลวงพ่อคำสด อรุโณ

การ “รู้เฉยๆ” เป็นคุณสมบัติเดิมของจิต



ภาวะแห่งการ “รู้เฉยๆ” เป็นคุณสมบัติเดิมของจิต
แต่พอหลงไปอยู่กับ “ความรู้สึก ความนึกคิด อารมณ์ต่างๆ”
จะเริ่มมีคุณสมบัติเปลี่ยนไป
การที่เรา “มองเห็นการเปลี่ยนแปลง” ที่เปลี่ยนไป
ระหว่างภาวะจิตเดิมที่มันไม่มีอะไร กับความรู้สึกนึกคิด ที่ปรุงแต่งไป
เราจะมองเห็น 2 อย่างนี้ชัดตรงนี้แหละ
จะทําให้เราเริ่มรู้จัก “กระบวนการ ในการเฝ้าดูจิต” ของเรา
หลวงพ่อคําเขียน ท่านใช้คําว่า
“ดูกายเห็นจิต ดูคิดเห็นธรรม”

พระอาจารย์ครรชิต อกิญจโน

แก้ใจภายใน ไม่แก้ภายนอก



ดูใจภายใน ภาวนาภายใน
ภายนอกจะเป็นอะไรเป็นเรื่องของภายนอก 
บางอย่างแก้ไม่ได้ มาจากผลของกรรม 
คนเราทำไว้อย่างไร ก็จะได้รับผลอย่างนั้น 
ใครจะแก้ได้ 
แก้ในใจนั่นแหละ ไม่ให้ไปทุกข์ไปร้อน 
กับความติเตียน นินทาว่าร้ายป้ายสี

หลวงปู่สิม พุทธาจาโร

เมื่อ "รู้เท่า" ก็จะ "ปล่อยวาง" เอง




ตราบใดที่เรายังไม่พ้นทุกข์ 
อารมณ์ที่เป็นกิเลสทั้งหลาย 
มันก็ย่อมเกิดๆ ดับๆ อยู่ 
เกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไป 
เกิดขึ้นมาก็ดับไป 
การฝึกฝนอบรมจิตใจ
จึงเป็นจุดที่สำคัญที่สุดในชีวิตของพวกเรา 
เมื่อใจของพวกเรา “รู้เท่า” นั้น 
เขาจึงจะ ปล่อยวาง ของเขาเอง...


หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป

จิตเราเป็นแค่ธาตุรู้



          จิตเราเป็นแค่ธาตุรู้ มีแค่ธาตุรู้ สัมผัสรู้ นี่คือ จิตเราจริงๆ สิ่งที่มันไปปรุงแต่งนานานั้น มันไม่ใช่จิต มันเกี่ยวกับสังขาร สังขารเขาเรียกว่า เป็นมหาโจร โจรห้าร้อย ทุกข์ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั่นแหละ เขาเรียกมหาโจร ทำให้เราต้องเป็นทาสของมัน เป็นทาสของสังขาร ...

                                                                                          หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล

ปัญญาเกิดจากจิตสงบ




ความมีปัญญา ย่อมเกิดแต่การปฏิบัติอบรมจิตให้สงบ
จิตสงบเพียงไร ปัญญาย่อมยิ่งเพียงนั้น 
และเมื่อจิตวุ่นวายเพียงไร ปัญญาย่อมหย่อนเพียงนั้น

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

รักษาจิตเท่านั้น




รักษาจิตเท่านั้น
ถ้าจิตมันยอมรับความจริง
มันก็พ้นทุกข์ได้

หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ

ถ้าเข้าใจจิต ก็ไม่ต้องแสวงหา



...ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถ
ทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ 
แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้
ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น 
ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ...
ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหา
แม้แต่อย่างใดเลย...

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

พระพุทธเจ้า ท่านสอนน้อยนิดเดียว




พระพุทธเจ้า ท่านสอนน้อยนิดเดียว
ไม่ได้สอนมากหรอก
สอนให้เห็น “ใจ” ของตน
เท่านั้นแหละเป็นพอ

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

ทำสมาธิ ถ้าไม่สงบ อย่าน้อยใจ



          การปฏิบัติสมาธิแต่ละครั้ง แม้ว่าจิตไม่สงบเป็นสมาธิ อย่าไปน้อยอกน้อยใจว่าเราภาวนาไม่ได้ผล เราภาวนาแต่ละครั้ง จิตเขาจะสะสมกำลังเอาไว้ทีละเล็กทีละน้อย บางครั้งเราตั้งใจให้จิตเป็นสมาธิ ภาวนาแทบเป็นแทบตาย มันก็ไม่เป็น แต่บางครั้งอยู่เฉยๆ พอมีอารมณ์อะไรมากระทบ จิตมันวูบลงไปได้สมาธิ แล้วผลที่มันเกิดเป็นสมาธิอย่างนั้นมันมาจากไหน มาจากที่เราปฏิบัติ จิตสงบบ้าง ไม่สงบบ้าง เป็นบางครั้งบางคราว แล้วมันจะสะสมพลังงานของมันเอาไว้ ได้จังหวะเหมาะเมื่อไร มันก็เกิดขึ้นเมื่อนั้น

                                                                                           หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

ผู้ประสบความสำเร็จ...




ผู้ประสบความสำเร็จ
ล้วนแต่เดินในเส้นทางแห่งความลำบาก 
ผู้ล้มเหลว
ล้วนแต่เดินผ่านเส้นทางแห่งความสบาย

พระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม

อารมณ์ไม่ใช่กิเลส




"อารมณ์ไม่ใช่กิเลส"... 
แต่การที่เราไป "ยึดมั่นสำคัญมั่นหมาย
ในอารมณ์" นั้นๆ ต่างหากล่ะ คือ "กิเลส"

พระอาจารย์อังคาร อัคคธัมโม

การที่จะไม่มีตัวตน ก็ต้องไม่ยึดถือ




ถ้าท่านรู้จักความไม่มีตัวตน ท่านก็ไม่ตายแล้ว 
เพราะความไม่มีตัวตน จะตายได้อย่างไร 
เอาอะไรที่ไหนตาย 
การที่จะไม่มีตัวตน 
ก็ต้องไม่ยึดถือในสิ่งใดๆ ทั้งหมด 
การไม่ยึดถือในสิ่งใดๆ ทั้งหมด 
ก็ต้องเห็นไปตามความจริงว่า 
ไม่มีตัวตนของเราในที่ไหนๆ ใดๆ เลย



พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ 
(จันทร์ สิริจนฺโท)

เวลาภาวนา ไม่มีตัวตน แต่ความรู้ไม่ว่าง



เวลาภาวนา ต้องไม่มีตัวไม่มีตน 
ไม่มีอะไร เป็นอาการว่างไปหมด 
แต่ความรู้ไม่ว่าง
ให้ย้อนเข้ามาพิจารณาธรรมะว่า 
เราตกอยู่ในกองทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ...
เราเป็นผู้รู้ผู้เดียว 
แม้ที่สุดก็ไม่มีเราในรู้นั้น 
ไม่ยึดมั่นยึดถืออะไรอีก 
วางหมด มันเบา ไม่หนักแล้ว

หลวงปู่ท่อน ญาณธโร

จงมีเมตตา "จิต" ตน



จิตใจของเรา จงอยู่เป็นสุขเป็นสุขเถิด 
อย่าได้ส่งออกไปเบียดเบียนผู้อื่นเลย
จิตใจของเรา จงอยู่เป็นสุขเป็นสุขเถิด 
อย่าได้ส่งออกไปลักเล็กขโมยทรัพย์สินของผู้อื่นเลย
จิตใจของเรา จงอยู่เป็นสุขเป็นสุขเถิด ...
อย่าได้ส่งออกไปเสียดสีกับร่างกายผู้อื่นเลย
จิตใจของเรา จงอยู่เป็นสุขเป็นสุขเถิด 
อย่าได้ส่งออกไปทำในสิ่งที่ผิดศีลเลย
นี้แหละการมีเมตตาตน...
ผู้มีเมตตาจิตตน ด้วยสติบารมี ด้วยสมาธิบารมี ย่อมอยู่ได้ดี

หลวงพ่อไม อินทสิริ

ฝึกฝนดูใจ ได้เห็นธรรม



          เมื่อพวกเรายืน เดิน นั่ง นอน ฝึกฝนอบรมดูจิตดูใจของเราอย่างนี้ เราก็ใกล้จะได้เห็นธรรมะ เพราะธรรมะนี้ไม่ได้อยู่ไกล ธรรมะนี้เปิดเผยอยู่แล้ว รูปนี้ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าถ้าใจของเรานี้มีปัญญาเมื่อไร ก็จะเห็นเมื่อนั้น ไม่ใช่เราจะเห็นธรรมะที่ไหน เห็นที่ใจนี่เอง

                                                                                                พระอาจารย์อนันต์ อกิญจโน

เมื่อมีสติ เราจะเห็นตัวเราตามที่เป็นจริง



เมื่อมีสติ เราจะเห็นตัวเราตามที่เป็นจริง โดยไม่โกหกตัวเอง 
เห็นความเห็นแก่ตัว ความทุกข์และเหตุเกิดทุกข์ 
เห็นว่าเราทำให้คนอื่นเจ็บปวดบ้าง โกหกตัวเองบ้าง 
สติจึงก่อให้เกิดปัญญาเพื่อพัฒนาชีวิต 
ผู้ที่เจริญสติอย่างบริบูรณ...
จะเป็นอิสระ ไม่ยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในโลก 
หลุดพ้นจากความอ่อนแอของมนุษย์ 
มีใจมั่นคง ไม่โลเล

พระคันธสาราภิวงศ์ วัดท่ามะโอ

จะพ้นทุกข์ ต้องเห็นความจริง



ถ้าเห็นด้วยปัญญาว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา 
เห็นทุกข์เป็นทุกข์ เห็นสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง 
เห็นสิ่งที่ไม่ใช่ของเรา ว่าไม่ใช่เป็นของเรา 
ถ้าเห็นตามความจริง ก็จะไม่มีความอยากให้อยู่กับเราไปนานๆ 
หรืออยากให้เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ ...
เพราะเรารู้ว่าเราไม่สามารถที่จะไปควบคุมบังคับสิ่งต่างๆ
ให้เป็นไปตามความอยากของเราได้
นี่คือปัญญาที่จะถอนรากของกิเลสตัณหาต่างๆ 
คือความหลง ความไม่รู้ความจริงนี้ให้หมดไป 
ผู้ที่ต้องการที่จะหลุดพ้นจากความทุกข์อย่างถาวร 
จำเป็นที่จะต้องเจริญปัญญาเพื่อให้เห็นความจริงของสิ่งต่างๆ

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

การรู้เท่าทันชีวิต คือการเป็นผู้ดู ผู้สังเกตการณ์



การรู้เท่าทันชีวิต คือการเป็นผู้ดู 
ผู้สังเกตการณ์ มิใช่คนลงไปเล่น 
เหมือนยืนดูเขาเล่นละคร 
เหมือนยืนอยู่บนสะพาน ดูกระแสน้ำที่ไหลไปๆ 
ไม่ต้องเข้าไปเป็นผู้เล่นละครเอง...
ปล่อยให้ความสุขและความทุกข
ไหลลอยผ่านมาแล้วผ่านไป จิตใจก็สบาย

พระอาจารย์ชานนท์ ชยนนฺโท

รู้เรื่องพระพุทธเจ้าก็ไม่ช่วยให้เราพ้นทุกข์




รู้เรื่องพระพุทธเจ้าก็ไม่ช่วยให้เราพ้นทุกข์ 
แต่พระพุทธเจ้าสอนให้เรามารู้เรื่องเรเพื่อที่จะพ้นทุกข์

หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ

ทำลายความอยาก ได้บุญมากขึ้น




ถ้าท่านทำลายความอยากของท่านให้เบาบางลงได้
ท่านจะได้บุญกุศลมากขึ้นเหลือเกิน...
บุคคลผู้กำจัดความอยากของตนให้เบาบางลงได้
ย่อมบรรลุถึงความไม่กระวนกระวายแห่งจิต
และเมื่อปราศจากเหตุแห่งความทุกข์โศก
หรือความกลัวแล้ว
เขาย่อมเห็นว่าสิ่งต่างๆ ที่เขามีอยู่นั้น
เกินความต้องการของเขาเสียด้วย
เขาจึงไม่ต้องทนทุกข์กับความขาดแคลนเลย


หลวงพ่อเลี่ยม ฐิตธมฺโม

เรามั่นใจหรือยังว่าจะไม่มาเวียนว่ายตายเกิดอีก



ใจของเราเป็นมาตรฐานแล้วหรือยัง
ใจของเราเป็นอริยบุคคลแล้วหรือยัง
ใจของเราเป็นพระอรหันต์แล้วหรือยัง
เรามั่นใจหรือยังว่าจะไม่มาเวียนว่ายตายเกิดอีก
ถ้ายังไม่มั่นใจต้องเตรียมพร้อม...
ถ้ากลับมาเกิดอีก
ก็ต้องกลับมาแก่เจ็บตายอีก 
ไม่เป็นอย่างอื่น

หลวงพ่ออินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก

เราจะรู้ธรรมเห็นธรรม เราต้องดูตัวเอง



การศึกษาธรรมะต้องเอาตนเองเป็นหลัก
เราอย่าไปเอาคนอื่นเป็นหลัก เอาตนเป็นที่พึ่งของตน
เอาความรู้ความฉลาดของตนเป็นเครื่องวัดความดี ความชั่ว
ถ้าเราไม่รู้ไม่เข้าใจตัวเองแล้ว ก็เหมือนกับว่า
เราไม่รู้ธรรม ไม่เห็นธรรม...
เราจะรู้ธรรมเห็นธรรม เราต้องดูตัวเอง
รูปธรรม นามธรรมมันอยู่ตรงนี้...

หลวงปู่คำบ่อ ฐิตปัญโญ

ตัววิปัสสนาคือ ตัวละ



ตัวนั่งพิจารณา นั่งคิดนึก นั่นมันตัววิตก...
การพิจารณาวิปัสสนาที่ถูกต้องนั้นไม่ใช่นั่งคิดอย่างนั้น..
คือ เมื่อเห็นรูปจากนิมิต ที่เกิดขึ้น จะสวยจะงามหรือไม่สวยไม่งามก็ ละ
ได้ยินเสียงก็ ละ ปวดขึ้นมาก็ ละ นึกคิดขึ้นมาก็ ละ
ได้กลิ่นก็ ละ รสเกิดขึ้นที่ลิ้นก็ ละ
ละกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
นี่คือตัววิปัสสนา ตัววิปัสสนาคือ ตัวละ ฝึกให้จิตมันละ ให้มันทิ้ง
ให้มันปล่อย ให้มันวาง
เมื่อฝึกอยู่อย่างนี้ทุกวัน จิตมันรู้ มันก็คุ้นเคย
แล้วมันก็ไม่รับสิ่งเหล่านั้นต่อไป มันก็เบื่อหน่ายต่อกามคุณ...

หลวงปู่สรวง ปริสุทโธ

การปฏิบัติธรรมก็คือ การรับผิดชอบตนเอง




 การปฏิบัติธรรมก็คือ การรับผิดชอบตนเอง
ทุกคนมีสิทธิที่จะไม่ทุกข์ ไม่โกรธ ไม่หลง 
การกระทำบางอย่างเป็นกิริยาเฉยๆ 
การกระทำบางอย่างจึงเป็นกรรม 
ความหลงเมื่อเกิดขึ้นกับเรา ...

เรามีสิทธิที่จะไม่หลง 
เมื่อความทุกข์เกิดขึ้นกับเรา 
เรามีสิทธิที่จะไม่ทุกข์ 
ทุกคนก็ทำได้ แก้ได้ เปลี่ยนได้ 
ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะจำนนต่อความทุกข์


หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ