การกดข่มใจคือการหนีความจริง



จากหนังสือ เพียงแค่รู้สึกตัว โดย พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


เมื่อใดให้ความเจ็บปวดเป็นอิสระ




เมื่อใดให้ความเจ็บปวดเป็นอิสระ 
เราจะเป็นอิสระจากความเจ็บปวด


อ.ประเสริฐ อุทัยเฉลิม

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

จงเฝ้าดูความโกรธเหมือนเฝ้าดูลูกน้อย



จงเฝ้าดูความโกรธของเธอเหมือนกำลังเฝ้าดูลูกน้อย 
อย่าปฎิเสธหรือเกลียดชังมัน 
การปฎิบัติภาวนามิได้หมายความว่า
เธอจะต้องออกไปทำสงครามต่อสู้กับข้าศึกอีกฝ่ายหนึ่ง 
การระลึกรู้ลมหายใจจะช่วยผ่อนคลายให้ความโกรธสงบลง
และสติก็จะเข้ามาแทรกแทนที่
เพียงชั่ว ๑๕ นาที ที่เราเปิดเครื่องทำความร้อน 
ไออุ่นก็จะไหลไปทั่วห้องที่เย็นเยือก 
จากนั้นก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น 
เธอไม่จำเป็นต้องกำจัดหรือสะกดกลั้นอะไรเลย 
ไม่แม้กระทั่งความโกรธ 
เพราะความโกรธเป็นเพียงพลังประเภทหนึ่งเท่านั้น 
และพลังทั้งหลายย่อมแปรเปลี่ยนไปได้
การปฎิบัติภาวนาคือศิลปะในการให้พลังอย่างหนึ่ง
เข้าไปแปรเปลี่ยนพลังอีกอย่างหนึ่ง 
ทันทีที่แม่กอดลูกเอาไว้ 
ลูกจะรู้สึกได้ถึงพลังแห่งความรักที่ปลอบโยน
และลูกจะเริ่มรู้สึกผ่อนคลาย 
แม้สาเหตุที่ทำให้ลูกไม่สบายยังคงมีอยู่ 
แต่การที่ได้อยู่ในอ้อมกอดแห่งสติ
ก็เพียงพอแล้วที่จะช่วยให้ผ่อนคลายลงได้บ้าง

ท่านติช นัท ฮันห์
จากหนังสือ คำสอน ว่าด้วยรัก

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

ยอมรับความจริง เห็นความเป็นจริงในกาย



จากหนังสือ เพียงแค่รู้สึกตัว โดย พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

พระไตรปิฎกที่แท้จริงอยู่ในใจของเรา



ความจริงพระไตรปิฎกมี ๒ ฉบับ
ฉบับที่เป็นสมมุติ คือ ฉบับที่เป็นแบบแปลนที่ท่านสอนไว้
อันนั้นน่ะเป็นเพียงแผนผังหรือแผนที่เท่านั้น
ให้เรามาหาตำราจริง หาพระไตรปิฎกที่แท้จริงที่อยู่ในใจของเรา..
เราอย่าทิ้งใจของเรา คอยดูแลว่าสิ่งใดจะมากระทบ ส่วนใดบ้าง
เมื่อกระทบแล้ว มีอาการใดเกิดขึ้นอีกบ้าง ทั้งดีทั้งชั่ว
ให้เรารู้เห็นตลอด ๒๔ ชั่วโมง ยกเว้นเวลาหลับสนิท
นี่คือพระไตรปิฎกฉบับดั้งเดิมขนานแท้
ที่พระพุทธเจ้าสั่งสอนเรามา

ลุงหวีด บัวเผื่อน

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

ภาวนาเพื่อใจไม่เสพติดความคิด



การภาวนาไม่ใช่เพื่อไม่ให้มีความคิดในใจเลย 
นั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ 
แต่เพื่อรักษาใจให้พ้นจากการเสพติดความคิด 
เราเรียนรู้ที่จะปล่อยวางการคิด
ที่ทำให้เราเพลียใจหรือเศร้าหมอง 
ซึ่งเป็นสิ่งที่ขวางกั้นไม่ให้ความสงบ
และปัญญาเกิดขึ้นได้

พระอาจารย์ชยสาโรภิกขุ

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา