การทำสมาธิไม่ใช่วิธีการตรัสรู้


การทำสมาธิไม่ใช่วิธีการตรัสรู้
และไม่ใช่วิธีการบรรลุผลอะไรเลย
มันคือความสงบนั้นเอง
การเกิดขึ้นจริงของปัญญาคือ
การประจักษ์ความจริงสูงสุด
แห่งความเป็นหนึ่งเดียวของสรรพสิ่ง

ท่านโดเก็น

Meditation is not a way to enlightenment, 
Nor is it a method of achieving anything at all. 
It is peace itself. It is the actualization of wisdom, 
the ultimate truth of the oneness of all things.

Image by ELG21 from pixabay 

จาก Fb.แช่ แห้ง

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ปฏิบัติแบบไม่ต้องปฏิบัติ


สุขทุกข์ก็มีด้วยกันทุกรูปทุกนาม 
แต่ทุกๆ ชีวิตอยากจะแก้ไขความจริง 
เวลามีทุกข์มาก็วิ่งหนี เวลามีสุขมาวิ่งหาและยึดไว้ 
ทั้งๆ ที่ไม่รู้ความจริงว่าสุขกับทุกข์
ก็เหมือนกลางวัน กลางคืน 
แค่อยู่เฉยๆ เดี๋ยวก็มืดแล้ว 
อยู่เฉยๆ เดี๋ยวก็สว่าง 
สุขและทุกข์ที่เกิดขึ้นในใจก็เช่นกัน
รู้ซื่อๆ รู้อยู่เฉยๆ เดี๋ยวอาการนั่นก็ดับลงเอง 
จงไปฝึกรู้อย่างนี้ทุกวัน นี่เรียกว่าปฏิบัติแบบไม่ต้องปฏิบัติ 
ไม่คิด ไม่จำ ไม่ทำ แค่ฝึกรู้สังเกตอาการเท่านั้น
ยากตรงไหน ไม่ได้ยากเลย ยากตรงที่จะทำให้มีให้เป็น 
แต่กลับไม่ให้ธาตุรู้ เรียนรู้ในสิ่งที่มี ที่เป็น 
เพราะการคิดจะทำคือการปรุงแต่ง 
แต่การฝึกรู้แนวนี้ก็คือปฏิบัติแบบ ไม่ต้องคิด ไม่ต้องจำ 
แค่รู้ซื่อๆ อย่าหวังในอนาคต แต่จงใช้รู้อยู่กับปัจจุบันขณะ 
เพราะการใช้ความคิดเป็นการปรุงแต่ง 
ไม่ได้อยู่กับความเป็นจริง การที่ไม่ใช้คิด
แต่ใช้รู้ซื่อๆ จะอยู่กับของจริงๆ ของสดๆ ได้ 
ของจริงๆ ของสดๆ นี้ จึงเรียกว่าสัจธรรม 
คือความจริงที่เขาแสดงอาการอยู่ตลอด
แค่ฝึกรู้สังเกตอาการเท่านั้น
.
เสียเวลาดับทำไมให้ต้องเหนื่อย 
นั่นคือหมดภาระหมดหน้าที่ไม่ต้องทำอะไร
แค่รู้ซื่อๆ รู้ตรงๆ ไปกับอาการนั้น 
รู้จะตกงานไปเอง เพราะรู้ไม่ต้องทำอะไร 
ให้รู้นั้นรู้ไปเลย ไม่ต้องจำไว้ ไม่ต้องคิดไว้ว่าจะรู้ 
.
เหมือนที่เคยบอกว่าการปฏิบัติ 
ถ้าเราใช้สติ หรือฝึกสติ ฝึกสมาธิ เดินจงกรม 
ก็ต้องมีผู้กระทำ แต่วิปัสสนาแบบฝึกรู้นั้น ไม่ต้องทำอะไร 
จึงสบาย แค่รู้อย่างเดียว เพียงแค่รู้ 
เพียงแค่รู้อาการกาย รู้อาการใจทำงาน 
.
และต้องรู้ให้ถูกด้วย รู้กาย รู้ใจ คือรู้ธาตุสี่ทำงาน 
รู้เย็น ร้อน อ่อน แข็ง รู้แค่สี่อาการ ไม่ต้องรู้อาการอื่น 
รู้ใจก็คือ รู้ความรู้สึก รู้ความจำ รู้ความคิด รู้อาการ
รับรู้ ที่กำลังทำงาน รู้แค่ภายในกาย ภายในใจ 
กายภายนอก ใจที่ส่งออกนอกไม่ต้องออกไปตามรู้ 
รู้อยู่ที่กาย เดี๋ยวใจส่งออกก็จะกลับมาเอง 
.
รอบๆ ตัว กายใจของคนอื่น ไม่ต้องไปสนใจ 
ตัดทิ้งให้หมด เพราะไม่ใช่ภาระ ไม่ใช่หน้าที่ของรู้
ที่จะไปรู้เรื่องของเขา ฉลาดเรื่องคนอื่นมาเยอะแยะไปหมด 
แต่กลับโง่เรื่องตัวเอง ไม่รู้จักอารมณ์ของตัวเอง 
แต่รู้จักคนนั้นรู้จักคนนี้หมด คนนั้นไม่ดี คนนี้ดี 
คนนั้นไม่เข้าท่า คนนี้เข้าท่า คนนั้นทำอย่างนั้น 
คนนั้นไม่ควรทำอย่างนี้ แต่ตัวเอง ไม่เคยรู้เลย
ว่าอะไรควร หรือไม่ควร ใจตัวเองเป็นอย่างไรไม่รู้ 
เพราะว่ามาหลง หลงว่ากายใจนี้เป็นตัวเป็นตน 
หลงว่ากายใจนี้ เป็นของๆ เรา 
ทั้งๆ ที่ใจเราใจเขา มันก็คือ
ธรรมชาติอันเดียวกันที่บังคับไม่ได้..

พระอาจารย์ชานนท์ ชยนนฺโท

Image by ELG21 from pixabay 


ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา