กิเลสคือการคิดปรุงแต่งทั้งหมด




กิเลสคืออะไร กิเลสคือการคิดปรุงแต่งทั้งหมด” 
การปรุงแต่งทั้งหมดเป็นความทุกข์ทั้งหมดเลย 
ถ้ามีความคิดปรุงแต่งเกิดขึ้น กระเพื่อมเพียงเล็กน้อย 
สำหรับคนที่มีจิตละเอียดแล้ว จะรู้สึกเหมือนกับถูกมีดเสียบแทง 
มันเจ็บปวดเหลือเกิน ...
เมื่อก่อนเราอยู่กับความคิดปรุงแต่งตลอดเวลา แต่ไม่มีความรู้สึกอะไร 
แต่พอทำจิตสงบแล้ว จะเห็นว่าการคิดปรุงแต่งเป็นศัตรู 
เป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการ...

พระอาจารย์จรัญ ทักขญาโณ

ไม่ใช่ห้าม ให้รู้ทัน



ถ้าไม่อยากเกิดแล้วนะ.. ให้เจริญสติ เห็นความจริงในใจ คือเห็นกิเลสในใจ
มีราคะให้รู้ทันราคะ มีโทสะให้รู้ทันโทสะ มีโมหะให้รู้ทันความหลงความเหม่อ
ไม่ต้องไปห้ามมัน..เพียงแต่อย่าผิดศีล ให้รู้ทัน !!
อย่าไปด่าเขา อย่าไปตบเขา อย่าไปตีเขา
ให้รู้ทันว่า..ตอนนี้มี “สิ่งหนึ่ง” เกิดขึ้นในใจ...
เบื้องต้นนะ..ให้เห็นสภาวะที่เกิดขึ้นในใจตัวเองก่อน
จะเป็นราคะ โทสะ หรือโมหะ ..อะไรก็ได้ ที่มันเกิดขึ้นน่ะ
พอรู้ทัน ขณะรู้ก็เกิดสติ กิเลสก็ดับ
กิเลสเหล่านั้นก็จะแสดงความจริงออกมาว่า “มันไม่เที่ยง”
ไม่ใช่ห้ามมันไม่ให้เกิดนะ ..ห้ามไม่ได้ !!

พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล

ความเห็นที่เป็นมรรค



สภาวะอันไหน ก็เกิดขึ้นมาเพื่อให้จิตเราดู เรารู้ เราเห็น
เห็นอะไรหรือ ก็เห็นว่ามันเกิดแล้วก็ดับ เห็นว่ามันไม่ใช่เรา 
ไม่ใช่ของเรา เพราะฉะนั้นการปฏิบัตินี่ ก็เป็นปัญญาญาณตรงนี้
ถ้ามันเห็นอย่างนี้ มันก็ไม่อยากยึดอะไร 
เพราะมีแต่ความเกิด ดับ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา จิตก็คลายออกๆ ...
นี่ เป็นปัญญา ตรงนี้เขาเรียกว่า มรรค เป็นการเดินอริยมรรคแล้ว

พระอาจารย์ครรชิต สุทธิจิตโต

สมาธิตามธรรมชาติ



สมาธิที่ดีนั้นจะต้องมีความรู้สึกตัวอยู่เสมอ
และสามารถพิจารณาสิ่งต่างๆ ได้ตามความเป็นจริง
เมื่อผู้ปฏิบัติมีความรู้สึกตัว ไม่คิดออกนอกตัว
ก็จัดว่าจิตเป็นสมาธิแล้ว
เรียกว่า สมาธิตามธรรมชาติ...

หลวงพ่อกนฺตสิริ (กนฺตสิริ ภิกฺขุ)

ใจสงบตั้งมั่น จะพบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ที่ใจ



ถ้าใจของเราทุกคนมีความสงบตั้งมั่น 
คุณสมบัติของธรรมนั้นก็มีกันทุกหัวใจ 
แต่ข้อสำคัญคือใจเราที่ยังไม่สงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ 
ที่ทำให้เรายังไม่เห็นอะไรในตัวเอง 
ยังไม่เห็นพระพุทธเจ้า คือพุทโธอยู่ในตัวเอง ...
ต่อเมื่อเราทำใจของเราให้สงบตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว 
เราจะอ๋อ!! คุณของพระพุทธเจ้าอยู่ตรงนี้ 
พระธรรมเจ้าก็อยู่ตรงนี้ พระอริยสงฆ์ก็อยู่ตรงนี้ 
เราจะอ๋อเลย เราจะได้ไม่ไปหาที่อื่นไกล

หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก

ไม่ใช่ "ละ" แต่ต้อง "รู้"





การที่จะปฏิบัติให้ถึงมรรคผล..นั้น จึงไม่ต้องคิดละอะไรทั้งสิ้น 
ที่แท้การคิดว่า จะละความโลภ ..โกรธ ..หลง ..มันกลับไม่ถูกอุบาย... 
เราต้องดูให้รู้เห็นสิ่งนั้นตามความเป็นจริง ว่ามันไม่ใช่เรา 
และรู้ว่าเรายึดมันไว้ด้วยอำนาจความหลง ...
เพราะเหตุที่เรามี “อวิชชา” คือความไม่รู้แจ้ง ทำให้เราไม่รู้จักตนตามความเป็นจริง 
เป็นเหตุให้สำคัญเอาขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ...
ซึ่งไม่ใช่ตน ว่าเป็นตน จิตจึงยึดขันธ์ ๕...ไม่ยอมปล่อยวาง 
เราจะนึกปล่อยนึกวางอย่างไรก็ไม่ได้ผล
ครั้นเราทำการดูอยู่ จนรู้เห็นตามความเป็นจริงว่าไม่ใช่ตน 
“วิชชา” ก็เกิดขึ้น “อวิชชา” ดับไป ความหลงก็ดับไปด้วย 
ความยึดคืออุปาทานในขันธ์ทั้ง ๕ ก็ดับด้วย...
เราไม่ต้องตั้งใจปล่อย ไม่ต้องตั้งใจวาง ไม่ต้องตั้งใจละอะไรทั้งสิ้น 
หลักความจริงมีอยู่อย่างนี้

หลวงปู่เจือ สุภโร

จากเทศนาธรรมเรื่อง กุณฑลิยสุตตกถาเทศนา
ที่กระทรวงศึกษาธิการ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ 

ใจที่วางไว้ผิด



ใครทำอะไรเราก็ไม่เลวร้าย
เท่ากับใจที่วางไว้ผิด 
แต่หากวางใจไว้ถูกแล้ว 
ไม่ว่าอะไรก็ไม่สามารถ
ยัดเยียดความทุกข์ หรือขโมย...
ความปกติสุขไปจากเราได้

พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

ใจที่แท้จริงไม่เป็นอะไร



... การที่เราทำจิตให้สงบก็เพื่อให้รู้จักใจ
รู้จักว่าใจอยู่ที่ไหน ใจมีลักษณะเป็นอย่างไร
ไม่ใช่ว่า...เพื่อลม เพื่อพุทโธอย่างเดียว
ลมก็เพื่อเข้าไปหาใจ พุทโธก็เข้าไปรู้ใจ เข้าไปดูใจ
เมื่อเห็นใจ รู้จักใจดีแล้ว...
ก็จะรู้ว่าใจที่แท้จริงไม่เป็นอะไร
ไม่เป็นสัตว์ ไม่เป็นบุคคล ไม่เป็นตัวตน 
ไม่เป็นเรา ไม่เป็นเขา ไม่มีกู ไม่มีมึง 
มีแต่รู้เท่านั้นแหละ...

ครูบาเจ้าเพชร วชิรมโน

พุทโธ




พุทโธ
อยากได้ความรู้
ก็จงดูภายใน
อยากได้ปัญญา
ก็จงเปิดตาใจ...
เอาพุทโธนอก
ไปล่อพุทโธใน
เมื่อพุทโธเกิดแล้ว
จงทิ้งพุทโธไป


พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

คนดูตัวเอง ไม่ตกต่ำ



คนดูตัวเอง ดูในกายใจของเราเองนี้
ไม่เพ่งโทษคนอื่น
นั้นแหละเขาจะเจริญรุดหน้าไปเรื่อย 
ไม่ตกต่ำเลย เชื่อเถอะ


หลวงพ่อประสิทธิ์ ถาวโร

งานของศาสนาดีกว่างานทางโลก




งานของศาสนาดีกว่างานทางโลก 
งานทางโลก ทำไร่ ทำนา หลายร้อยปี 
ทำแล้ว ก็ตกเป็นของคนอื่นหมด 
ส่วนงานทางศาสนา เช่น ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา 
เพียงแม้เล็กน้อย ชั่วครู่ยามต่อวัน 
กลับให้กุศลเป็นผลบุญ อยู่นานตั้งกัปทีเดียว


หลวงปู่หลุย จันทสาโร

วิธีปฏิบัติให้เห็นตัวไม่ตาย




วิธีปฏิบัติให้เห็นตัวไม่ตา 
คือ ให้มีสติรู้ปัจจุบันที่กายกับจิต
หรือรู้ปัจจุบันที่รูปกับนาม 
ใช้โทรศัพท์เบอร์เดียวกัน 
ระหว่างกายกับจิต 
หากอันหนึ่งตายก็พูดกันไม่รู้เรื่อง

หลวงปู่บุดดา ถาวโร 

ขณะภาวนา ต้องให้ความคิดหยุดโดยธรรมชาติ



ขณะการปฏิบัติหรือขณะการฝึกฝนหรือการภาวนานี้
อย่าไปพยายามหยุดความคิด หรืออย่าไปบังคับความคิด
แต่เราจะต้องปล่อยให้มันหยุดของมันเองโดยธรรมชาติของมันเอง
เห็นมันเข้ามา แล้วมันก็ผ่านไป
ถ้าเราพยายามที่จะหยุดมันแสดงว่าความคิดนั้นมันจะรบกวนเรา
แท้จริงมันมีเพียงกระแสคลื่น ในดวงจิตของเราเท่านั้น
กระแสนั้นสงบขึ้น จิตของเราก็จะผ่องแผ้ว
ที่เรียกว่า จิตประภัสสร นั่นเอง

หลวงพ่อโพธินันทะ

ทุกข์นี้พระพุทธเจ้าไม่ได้ให้ละ



ทุกข์ควรกำหนด ทุกข์นี้พระพุทธเจ้าไม่ได้ให้ละ
ถ้าละทุกข์เลย นี่มันจะฟั่นเฟือนเลย มันจะทำไม่ได้
เพราะทุกข์อันนี้มันเป็นผลของวิบากกรรม
เป็นมนุษย์นี่มีทุกข์ไหม...มี
พระพุทธเจ้าบอกให้กำหนด ให้จับตัวนี้เป็นโจทย์...
แล้วไปละไอ้ตัวความอยาก 
ที่อยากให้ทุกข์หายไง...

พระอาจารย์สงบ มนัสสันโต

บุคคลผู้มีอำนาจมากที่สุด และควรแก่การสรรเสริญ



บุคคลผู้มีอำนาจมากที่สุด
และควรแก่การสรรเสริญนั้น
คือผู้ที่สามารถเอาตนของตนเอง
ไว้ในอำนาจได้ สามารถชนะตนเองได้ 
ผู้ชนะตนได้ ชื่อว่าเป็นยอดนักรบในสงครา...
เธอทั้งหลายจงเป็นยอดนักรบในสงครามเถิด
อย่าเป็นผู้แพ้เลย

พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน

การปล่อยวาง



การปล่อยวาง
คือจิตมันรู้เท่าเห็นจริง...

หลวงพ่อทูล ขิปปปัญโญ

ธรรมที่ต้องนึกถึงเนืองๆ



..ถ้าตั้งใจภาวนาอยู่เสมอว่า..
เรามีความแก่เป็นธรรมดา 
ความเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นธรรมดา 
ความตายเป็นธรรมดา 
เราต้องพลัดพรากจากของรัก ...
เมื่อผู้ใดมานึก มาเจริญในธรรมเหล่านี้อยู่ 
จิตใจจะสบาย.. 
เพราะพระพุทธเจ้าตรัสเตือนไว้ว่า
..เป็นธรรมที่เราต้องนึกถึง
อยู่เนืองๆ ติดต่อกันไป

หลวงปู่สิม พุทธาจาโร

ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ




“..ปริยัติ เรียนรู้ คัมภีร์ 
ปฏิบัติ ดี รู้ทัน กิเลส 
ปฏิเวธ รู้แล้ว ละวาง..”


ท่านพ่อลี ธัมมธโร

สมาธิที่เกิดจากการไม่เอาขันธ์ ๕



เวลาเราปฏิบัติสมาธินี่ เราก็อยากจะให้มันสงบตลอด...
ทีนี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
“เมื่อจิตตั้งมั่น ก็ให้รู้ว่าจิตตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ก็ให้รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น”
พอจิตมันไม่ตั้งมั่น ก็คือมันไม่มีสมาธิ เราก็ไปยินร้าย
พอจิตมันตั้งมั่น มีสมาธิ เราก็ยินดี ก็เลยหลงทั้งคู่ เข้าใจยัง
พระพุทธเจ้าบอกจิตตั้งมั่นก็ให้รู้
จิตไม่ตั้งมั่นก็ให้รู้ มันแค่ความรู้อันหนึ่งเฉยๆ...
มันไม่สำคัญความรู้นั้นเป็นตัวตนเมื่อไหร่
มันไปสู่ความตั้งมั่น ความสงบอีกอันหนึ่ง
ความตั้งมั่น ความสงบตรงนี้ มันเป็นสมาธิโลกุตระนั่นเอง
เป็นสมาธิที่เกิดจากการไม่เอาขันธ์ ๕ นั่นเอง

พระอาจารย์วิชัย กัมมสุทโธ

อภัยทานเป็นบุญสูงสุด



         ..การให้ธรรมทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ “อภัยทาน” แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้อภัยทานก็คือ “การไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู” ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อ “ละโทสะกิเลส” และเป็นการเจริญ “เมตตาพรหมวิหารธรรม”

                                                                                   สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
                                                                                                  สกลมหาสังฆปริณายก

รู้เท่าใจ คือรู้เท่าธรรม



ถ้ารู้เท่าใจโดยสิ้นเชิงแล้ว 
ก็รู้เท่าธรรมโดยสิ้นเชิงทั้งนั้น 
ถ้าไม่มีอุปทานยึดว่าใจเป็นตัวตน
เราเขาสัตว์บุคคล 
ก็ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่า ธรรมทั้งหลายเป็นเราเขา...
สัตว์บุคคลไปในตัว ก็จบปัญหากันไปเท่านั้น
ที่ไม่จบปัญหา ก็เพราะรู้ตามสัญญา
ความจำได้หมายรู้...

หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต

นิโรธเป็นของดับ




นิโรธเป็นของดับ
เพราะรู้เท่าแล้ว จิตไม่เกิดยินดี ยินร้าย 
ดับไปเช่นนี้ ชื่อว่า นิโรธ

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

การดูใจไม่สามารถรักษาร่างกายได้...



การดูใจไม่สามารถรักษาร่างกายได้ 
โรคภัยไข้เจ็บไม่ได้หายไป 
แต่ใจที่ผ่านการฝึกมาดีแล้วจะมั่นคง 
ไม่เดือดร้อน 
ไม่ว่ากายจะเจ็บปวดแค่ไหน ...
หรือแม้กระทั่งในเวลาที่ใจจะต้องจากร่างกายนี้ไปก็ตาม

พระอาจารย์มานพ อุปสโม

ทางได้กับทางเสียมันมาด้วยกัน



อะไรได้มาก็ได้มา เสียไปก็เสียไป ให้รู้เท่าทันมันเสมอ
อย่าดีดอย่าดิ้นว่าได้มาไม่ยอมให้เสีย เป็นไปไม่ได้...
สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งแปรปรวน
จิตใจผู้มีธรรมภายในใจแล้ว เรียนรู้ทั้งที่ได้มาทั้งที่เสียไป ไม่เสียใจนะ
คนที่มีแต่จะเอาท่าเดียว ทางเสียไม่มี ผู้นี้จะเป็นทุกข์มาก
เพราะทางได้กับทางเสียมันมาด้วยกัน บวกกับลบมันไปด้วยกันนั้นแหละ ...

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

การทำให้ความลำบากคลี่คลาย ต้องกระทำเมื่อจิตใจสงบเยือกเย็น



ไม่ว่าจะเผชิญกับความยากลำบากอย่างใด
ให้มั่นใจว่า การทำให้ความลำบากนั้นคลี่คลาย
จะต้องกระทำเมื่อจิตใจสงบเยือกเย็นเท่านั้น
ใจที่เร่าร้อน ไม่อาจนึกคิดให้ปลอดโปร่งได
ใจที่เร่าร้อน ไม่อาจช่วยให้ร้ายกลายเป็นดีได้...

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช 
สกลมหาสังฆปริณายก

ฝึกจิตทุกๆ ขณะที่มีเวลาดูลมหายใจ



สงบใจ ฝึกจิตทุกๆ ขณะที่มีเวลาดูลมหายใจ
จะเดิน นั่ง นอน ขับรถ หรืออื่นๆ ก็ทำสมาธิได้
ไม่จำเป็นต้องรอเวลาที่จะนั่งหลับตา
เพราะการทำสมาธิหมายถึง
การเอาจิตมาไว้กับกาย
คือทำอะไรก็รู้ชัด หรือจะดูลมหายใจเข้าออกก็ได้
ซึ่งการทำสมาธินี้ ไม่เกี่ยวกับท่วงท่ากิริยาเลย
ทำได้ทุกที่ทุกเวลา

ครูบาไตรภพ วัดป่าโคกเจริญธรรม
มูลนิธิวิศวาธารอโรคยาธรรมศาลฯ

เมื่อสิ่งใดมากระทบ จะรู้ว่า "มั่น"หรือ"คงที่" ได้...



เมื่อสิ่งใดมากระทบ จะรู้ว่า "มั่น"หรือ"คงที่" ได้
ต่อเมื่อความยินดี หรือ ไม่ยินดีไม่เกิดนั่นแหละ
ทำกรรมฐาน
ถ้าผู้ใดทำได้บริบูรณ์ กายและจิตจะไม่หวั่นไหว

หลวงปู่เจือ สุภโร

จิตที่ไม่หลงอารมณ์



ถ้ามาพิจารณาเห็นจิตเป็นอย่างหนึ่ง
อารมณ์เป็นอย่างหนึ่งแล้ว
ก็เรียกว่าเรามีความรู้สึกแล้ว ...
ไอ้ความรู้นั้นเป็นจิต 
สิ่งที่เข้ามากระทบนั้นเป็นอารมณ์ ...
เมื่อเรารู้ว่าจิตเป็นจิตแล้ว 
อารมณ์ก็เป็นอารมณ์แล้ว 
จิตเราก็ไม่หลงอารมณ์อีก

หลวงปู่ชา สุภัทโท

ไม่ต้องไปกำหนดละอะไร มันก็ดับไปเอง



...หัดพิจารณาสอนจิตให้รู้เท่าตามเป็นจริงว่า 
ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา 
ย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา
ทั้งฝ่ายดีก็ดี ฝ่ายชั่วก็ดี 
ไม่มีอะไรที่จะเป็นแก่นเป็นสารอยู่ได้ ...
เมื่อมันเห็นแจ้งด้วยปัญญาอย่างนี้ 
ก็ไม่ได้ถือมั่นในเรื่องที่กระทบกระทั่งนั้น ...
เมื่อจิตไม่ยึดถือ ไม่หวั่นไหวตามแล้ว มันก็ดับไปเอง 
ไม่ต้องไปกำหนดละอะไร 
มันก็ดับไปเองแหละ... 

หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

ตัวกลางๆ นั่นแหละคือตัวใจ...




เราไปหากันแต่อารมณ์ ไม่หาใจ เลยไม่รู้จักว่า มันแยกกันออก…
ใจไม่มีอะไรเลย ความคิดนึกปรุงแต่งไม่มี 
อดีตไม่มี อนาคตไม่มี มีความรู้สึกแต่ปัจจุบันเท่านั้น
ส่วนอารมณ์ เช่น ความรักลูก...รักสิ่งต่างๆ ทั้งหมด 
มันพาให้ไปคิดถึงเรื่องของคนที่เรารักนั้น ปรุงแต่งอดีตอนาคต... 
นั่นจึงเรียกว่าอารมณ์ มันไม่อยู่คงที่ ไม่อยู่ในที่เดียว ไม่ลงปัจจุบัน
ถ้าหากลงปัจจุบันก็หมดเรื่อง 
มันวางเรื่องต่างๆ ที่คิดนึกปรุงแต่งทั้งหมด
อารมณ์ก็ไม่มี อยู่เฉยๆ เป็นกลางๆ ไม่คิดนึก เข้าถึงใจเลย 
ตัวกลางๆ นั่นแหละคือตัวใจ...



ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น



          สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เป็นคำสอนที่เป็นคำสรุปของธรรมทั้งหลาย...คือทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ดีก็ตาม ไม่ดีก็ตาม สิ่งที่น่าปรารถนาก็ตาม ไม่น่าปรารถนาก็ตาม ของละเอียดของหยาบ ก็ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ทางออกจากกองทุกข์ ทางออกจากความเศร้าหมองภายในจิตใจของเรา มันอยู่ตรงที่ว่า เราไม่ยึดมั่นถือมั่น

                                                                                                        พระอาจารย์ปสันโน

กัมมัฏฐานทุกอย่างนั้นไม่ต่างกัน



          กัมมัฏฐานทุกอย่างนั้นไม่ต่างกัน บางคนก็ว่ากายคตาสติ ต้องมาดูผม ขน เล็บ ฟัน หนัง แล้วถ้าดูลมเรียกอานาปานสติ แต่ทั้งการดูลม และดูอาการ ๓๒ ของร่างกาย หรือดูอสุภะ พองหนอ ยุบหนอ อะไรก็ตาม ต่างก็รวมอยู่ในหมวดที่เรียกว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน แสดงว่ากัมมัฏฐานทั้งหมดนั้นเป็นอันเดียวกัน เพราะเป้าหมายอันดับแรกคือ ให้มีสติควบคุมจิตให้อยู่กับตัวเราก่อน

                                                                                              พระอาจารย์ครรชิต สุทธิจิตโต

สังขารทั้งหลายเหมือนฟองน้ำ เหมือนพยับแดด



สังขารเป็นของเกิดดับ ความปรุงความแต่ง ไม่ใช่เรา
สังขารทั้งหลายเหมือนฟองน้ำ ...เหมือนพยับแดด
เราไปยึดฟองน้ำ เราไปยึดพยับแดด ไม่ได้ประโยชน์อะไร
พยับแดดมันมีประจำ ฟองน้ำก็มีอยู่เป็นประจำ ไม่ขาดจากโลก
แม้แต่พระพุทธเจ้าท่านก็ไม่ได้สอนวิธีการ
ที่จะไปห้ามไม่ให้พยับแดดเกิดขึ้น ไม่ให้ฟองน้ำเกิดขึ้น
เพียงแต่สอนว่า พยับแดดสักแต่ว่าพยับแดดเท่านั้น
ฟองน้ำก็สักแต่ว่าฟองน้ำเท่านั้น
ไม่มีอะไรเป็นสาระแก่นสาร ตัวตน
...ไปยึดแล้วสร้างตัณหาให้แก่เจ้าของเองด้วย

หลวงปู่แบน ธนากโร

ตราบใดที่ยังติดสมมติ เราไปไม่รอด



          การปฏิบัติที่เป็นขั้นนั้นขั้นนี้ แท้จริงเวลาถึงขั้นนั้นๆ เขาไม่ได้บอกว่า เขาเป็นอะไร เราเองไปสมมติเขาต่างหาก ตราบใดที่เรายังติดสมมติเหล่านี้ เราไปไม่รอด

                                                                                           ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก

การเจริญวิปัสสนาทุกวินาที คุณพ่อคุณแม่ได้มีหุ้นส่วนด้วย



การเจริญวิปัสสนาทุกวินาที คุณพ่อคุณแม่ได้มีหุ้นส่วนด้วย
ถ้าไม่ใช่พ่อแม่ของเราที่ได้ให้ชีวิตเรามา 
เราจะได้มาเดิน มาอยู่ปฏิบัติอย่างนี้หรือ 
เราต้องทำอวัยวะที่เป็นมรดกของพ่อแม่ให้มานี้
ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและพ่อแม่...
การกราบ การเดิน การนั่งสมาธิ บุญของเรา พ่อแม่ได้กับเราด้วย

หลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล

แม้ความดี...ก็สักแต่ว่าสร้าง



          ....หลักการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ เป็นองค์ประกอบของการประพฤติปฏิบัติของผู้ที่ปรารถนาที่จะไม่ติดยึดความสุขความทุกข์ คนเราเมื่อละความชั่วได้แล้วมันก็ติดความดี...ติดความดีมันก็ยังเป็นอัตตาอยู่... มันก็มีภพมีชาติขึ้นมา มันก็ไม่พ้นทุกข์อยู่นั้นแหละ ...ทีนี้ถ้าจะให้มันหมด แม้ความดี...ที่เราสร้างขึ้นมาในตัวของเรา ก็สักแต่ว่าสร้างเท่านั้น ไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นอัตตา ว่าเราเป็นคนมีความดีอย่างนั้น มีความสุขอย่างนั้น ความสุขเป็นของเรา เราเป็นความสุข นั่นแหละคำว่าอัตตา...

                                                                                                         หลวงพ่อทอง จนฺทสิริ

การเจริญสติ เพื่อให้ใจอยู่เหนือโลก...




...ถ้ายังขืนติดบุญ ติดดี ติดสุข ติดสงบ ติดเหตุผล 
ใจก็ยังสร้างภพชาติแห่งความเป็นมนุษย์ เทวดาและพรหมอยู่
ถ้าติดบาป ใจก็จะสร้างภพชาติแห่งสัตว์นรก เปรต อสุรกายและเดรัจฉานอยู่
...การเจริญสตินั้น ก็เพื่อให้ใจอยู่เหนือโลก 
เหนืออารมณ์ พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด...

พระอาจารย์มหาวิเชียร ชินวังโส

รู้เท่าความคิด




คิดแล้วไม่หลงยินดีไม่หลงยินร้ายไปกับเรื่องที่คิดนั้น 
...คิดเรื่องอะไรขึ้นมาก็รู้เท่าเรื่องนั้น 
รู้อย่างไร..รู้ว่าเรื่องทุกสิ่งทุกอย่างมันเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
ไม่มีอะไรเป็นแก่นสาร ไม่มีอะไรเป็นตัวเป็นตน 
นี่แหละการ “รู้เท่าความคิด” รู้อย่างนี้เองนะ...
เมื่อรู้อย่างนี้อยู่เสมอจิตมันก็ไม่ยึดถือแล้ว 
...มันก็ปล่อยวางไปเรื่อยๆ 
คิดเรื่องอะไรขึ้นมาไม่ยึดถือ แล้วมันก็ดับไป 
จิตใจก็เป็น “อุเบกขาญาณทัสสนะ” อยู่อย่างนั้น


หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

ศีลปรมัตถ์มีข้อเดียว คือการมีสติเป็นปรกติ




ศีล มี ๒ ประเภท คือ ศีลบัญญัติ เช่น ศีล ๕, ศีล ๘, ศีล ๒๒๗
ซึ่งยังเป็นของสมมุติ เพราะพระพุทธเจ้ามาบัญญัติศีลเหล่านั้น
หลังจากมีพระรัตนตรัยแล้วด้วยซ้ำ 
อย่าถือมั่นว่า ศีล ๒๒๗ ทำให้เกิดพระอรหันต์
เพราะเมื่อพระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนาใหม่ๆ 
มีพระอรหันต์เกิดขึ้นแล้ว แต่ศีลบัญญัติเหล่านี้ยังไม่มีสักข้อ 
ต่อเมื่อภิกษุรุ่นหลังปฏิบัติตนไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมตามสมณวิสัย 
พระองค์จึงทรงบัญญัติศีลเหล่านี้ขึ้นเพื่อควบคุมความประพฤติของภิกษุเหล่านั้น 


ส่วนศีลอย่างที่สองคือศีลปรมัตถ์ เป็นศีลของพระอริยเจ้า 
มีข้อเดียวนั่นคือการมีสติเป็นปรกติ


หลวงพ่อประสิทธิ์ ถาวโร

กุศลกรรมสูงสุด...




ในบรรดากุศลกรรมทั้งปวง 
กุศลกรรมสูงสุด
คือการรู้จักควบคุมจิตใจของตนเอง

ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า