การภาวนาเป็นการควบคุมไม่ให้จิตตามอารมณ์
...ภาวนา เราต้องใช้ปัญญาควบคุมจิตใจของเรา ให้มีจิตได้ทบทวนตรวจค้นความรู้สึกสำนึกในจิตของเราอยู่เสมอ ไม่ให้มันล่วงเลยไปตามอารมณ์ คือไม่ตามใจ โดยมากคนเราไม่มีภาวนา ก็คือตามอารมณ์ คิดตามอารมณ์ พูดตามอารมณ์ ทำตามอารมณ์ แล้วแต่อารมณ์เป็นใหญ่
การภาวนาจึงเป็นการควบคุมไม่ให้จิตของเราตามอารมณ์ เหมือนกันกับสำลีหรือนุ่นที่เป็นของเบา ก็ต้องมีอะไรครอบไว้รักษาไว้ ลมพัดมามันจึงจะไม่ไปตามลม จิตของเราก็เหมือนกัน เราก็ต้องควบคุมด้วยการภาวนา ตรวจค้นจิตของเรา จึงเรียกว่า โอปนยิโก น้อมเข้ามาในตน ทบทวนเข้ามาหาจิตของเรา ความรู้สึกนึกตรวจค้นอยู่เสมอ ทบทวนจิตของเราให้รู้ผิดรู้ถูก รู้ดีรู้ชั่วของจิต
พระอาจารย์วัน อุตตโม
การฝึกทางโลกุตตระ คือทำให้หมดอุปาทาน
การฝึกทางโลกุตตระ คือทำให้มันหมดอุปาทาน
ปฏิบัติให้หมดอุปาทาน ให้พิจารณาร่างกายนี้แหละ
พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำอีกให้มันเบื่อ
ให้มันหน่าย จนเกิดนิพพิทา ซึ่งเกิดได้ยาก
มันจึงเป็นของยาก ถ้าเรายังไม่เห็นก็ยิ่งดูมันยาก
หลวงปู่ชา สุภัทโท
กามคุณเปรียบภัย คือวังน้ำวน
กามคุณ ๕ อย่าง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
เปรียบด้วยภัย คือ วังน้ำวน
ใครหลงติดกามคุณทั้ง ๕ นี้
ก็จะติดเหมือนลิงติดตังอยู่ในวังน้ำวน
และมีแต่จะถูกกระแสน้ำดูดจมลงอย่างไม่ต้องสงสัย
หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
สุปฏิปันโนคือ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ...
คำว่า สุปฏิปันโน ก็คือ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ด้วยการเอากายและใจเป็นหลักของอรรถของธรรม ทำจิตใจให้ผ่องใส... เอากายเราเป็นหลักธรรม เพื่อศึกษา พิจารณา ว่าธรรมะอยู่ไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร... กายเป็นเพียง "หลักธรรม" ต่อเมื่อได้ลงมือปฏิบัติ จึงจะเป็น "ธรรม" จริงๆ เรียกว่ามีปัญญามาปฏิบัติให้สมกับตน
หลวงปู่คำบ่อ ฐิตปัญโญ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)