ที่พึ่งแห่งจิตที่แท้จริง


จิตเป็นธาตุรู้ 
มีธรรมชาติรู้อารมณ์ 
สิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่จิต
การอยู่กับผู้รู้ คือ 
ความรู้ตัวอยู่ เรียกว่า ผู้รู้
ความยินร้ายก็อยู่ที่จิต 
ความยินดีก็อยู่ที่จิต
ถ้ามีสติรู้ทันแล้ว
กิเลสจะเข้าครอบงำไม่ได้
.
ที่พึ่งแห่งจิตที่แท้จริง
คือใจที่ตื่นรู้อยู่ภายใน 
กับปัจจุบันขณะ
เรียนรู้สิ่งใดๆ ในโลก
ล้วนเป็นประโยชน์
แต่หามีประโยชน์ที่แท้จริง
เท่ากับการเรียนรู้กายและใจตนเอง
.
อารมณ์ภายนอกล้วนไม่เที่ยง
อารมณ์ภายในเสื่อมสลายทุกขณะดุจกัน
.
เราอาจจะคิดเรื่องความจริง...
แต่เราลืมความจริงว่าเรากำลังหลงคิด
.
สติจำเป็นในทุกที่ ในทุกเรื่อง 
กับทุกสิ่ง กับทุกอย่าง
เป็นธรรมะที่มีอุปการคุณมาก 
เพราะมันไม่ล่องลอย
ไม่ลืมใจ มันต้องมีที่ตั้ง 
.
ที่ตั้งของมัน คือกายและใจ
เมื่อใดที่เราคิดเบียดเบียน 
ปัญญาเราจะดับ
.
สมาธิมันเป็นกิริยาของจิต 
ไม่ใช่กิริยาของกาย
ร่างกายเป็นเพียงเครื่องมือ
ที่ใช้ในการสื่อสารกับโลกเท่านั้น
.
กายและใจเหมือนเหรียญสองด้าน
เมื่อไหร่เรารู้ที่กาย เราจะรู้ที่ใจด้วย
ทุกสิ่งไม่มีตัวตน
เพราะอาศัยสิ่งอื่นเกิดขึ้น
มีตัวกูขึ้นมาเมื่อไหร่บรรลัยเมื่อนั้น 
มีเราขึ้นมาเมื่อไหร่ บรรลัยเมื่อนั้น
.
เราชอบคิดเรื่องความจริง 
แต่ความจริง คือ กำลังหลงคิดอยู่
เราชอบปรุงแต่งเรื่องความรู้ 
แต่ไม่รู้ว่า กำลังปรุงแต่งอยู่
.
ไม่ไหลต่อเนื่องเป็นเรื่องราว
แต่รู้สึกเข้ามาตรงๆ 
ถึงความใสที่ไร้ตัวตน
ตามเห็นบ่อยๆ 
จะรู้ว่า...เกิด...ดับ...บังคับไม่ได้
.
พวกเราอย่าทิ้งสติ
ที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน
จากกายที่เคลื่อนไหว 
การรู้จักอิริยาบถใหญ่
รู้จักอิริยาบถย่อย 
เพื่อให้รู้จักสภาวะต่างๆ ของรูปธรรม
สักแต่ว่าอาศัยเป็นที่ตั้งแห่งรู้
เพื่อไม่เป็นที่อาศัยแห่งความไม่รู้
“ให้มีฉันทะในการปฏิบัติ
แต่อย่ามีตัณหาในผล”

“กวีธรรม”
พระอาจารย์อำนาจ โอภาโส

Image by congerdesign from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น