สิ่งที่ต้องใส่ใจเพียงสิ่งเดียวของเธอ


เหนือสิ่งอื่นใด ไม่ต้องปรารถนา
ที่จะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต
สิ่งที่ต้องใส่ใจเพียงสิ่งเดียวของเธอควรจะเป็น
ยามที่ความคิดเกิดต่อเนื่องกัน
เพื่อหลีกเลี่ยงการยึดติดกับความคิดใดความคิดหนึ่ง
เหล่านั้น...

ท่านโดเก็น

Above all, don’t wish to become a future Buddha;
Your only concern should be,
As thought follows thought,
To avoid clinging to any of them.
---
Dogen Zenji 

[From the book "The Practical Peacemaker: 
How Simple Living Makes Peace Possible"]

Image by romanticfatman from pixabay

ที่มา  เพจมนษิธาร  Monsitharn

        (บ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา เดิม)

 

สิ่งเหล่านี้จะอ่อนกำลังลง เมื่อเธอเชื่อว่ามันไม่ใช่เรา


ทุกๆ สภาวะอารมณ์ ความคิด โกรธ อิจฉา 
มันก็แค่ผุดขึ้นมา แล้วก็หายไปแน่นอน 
แต่เอามาเป็นเรา เธอก็อ่วมฟรี 
หรือพยายามทำให้มันน้อยหรือไม่มี ก็อ่วม 

มันก็แค่ผุดมา แค่เห็นมันผุดขึ้น สลายไป 
ไม่มีใครเป็นเจ้าของสิ่งเหล่านี้เลย 
หายตัว คืนให้ธาตุ ให้โลกเขาไป 
จนเห็นสิ่งเหล่านี้เหมือนน้ำที่กลิ้งบนใบบัว 
สิ่งเหล่านี้จะอ่อนกำลังลง
เมื่อเธอเชื่อว่ามันไม่ใช่เรา 

จะมีอะไรทำร้ายใจเธอได้  
แต่เชื่อว่าเป็นเรา เธอก็อ่วม 
ไปแก้ไข ไปสู้ กำจัด เพียร ละ 
ยิ่งทำก็ยิ่งปรุงแต่งโดยไม่รู้ตัว
ทั้งที่จริงถึงเธอจะทำอะไรๆ ก็ตาม 
หรือไม่ทำ มันก็หายไปเองอยู่ดี 
นี้แหละเข้าใจธรรมที่ไม่มีผู้กระทำ

พระอาจารย์ปกรณ์นันทน์ ฐิตธัมโม

Image by Lancier from pixabay

ที่มา  เพจมนษิธาร  Monsitharn

        (บ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา เดิม)


 

พื้นฐานของการปฏิบัติธรรม


พื้นฐานของการปฏิบัติธรรม

การปฏิบัติธรรมไม่ใช่การมานั่งสมาธิเท่านั้น
มันคือการใช้ชีวิตโดยมีธรรมะเป็นหลักของใจ
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ฝึกที่จะเป็นคนที่เสียสละออกไป
ฝึกที่จะเป็นคนที่ให้อะไรออกไป
ในทางสภาวธรรมแล้ว 
ผู้ให้ย่อมลอยสูงขึ้น
เป็นวิถีของความสุขเบาสบาย

จิตที่คิดจะเอามันจะหนัก
.. จะดึงเราจมลงต่ำ
.. จะทำให้เราเจอแต่ความร้อน 
.. ความหนัก ความอัดแน่นต่างๆ

จิตที่คิดจะให้มันจะเบา
แล้วมันจะลอยขึ้น
สภาวธรรมเป็นเช่นนั้นนะ
เพราะฉะนั้นญาติโยม
ปรารถนาที่จะมีชีวิตที่ดีมีความสุข
.. ก็ฝึกฝนที่จะขัดเกลาตนเอง
.. ฝึกที่จะเป็นผู้ที่เสียสละ
.. สละแม้กระทั่งความสุขความสบายส่วนตัว
.. เพื่อผู้อื่น เพื่อส่วนรวมขึ้นมา

ฝึกที่จะเป็นผู้ให้ 
การให้การสละออก ให้โดยที่เรา
.. ไม่ได้คิดที่จะเอาอะไรกลับมา
.. ไม่ได้หวังสิ่งใดตอบแทน
.. ไม่ได้มีเงื่อนไขอะไร

#เป็นการขัดเกลาจิตใจตัวเอง
.. ขัดเกลาความตระหนี่
.. ขัดเกลาความหวงแหน
.. ขัดเกลามลทินในจิตใจ
.. ขัดเกลาความโลภ
.. ขัดเกลาความโกรธความหลงในจิตใจ

ฝึกที่จะเป็นผู้ที่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น
ฝึกที่จะทำอะไรเพื่อผู้อื่น
ทรัพย์สมบัติเงินไม่กี่บาทของเรา
อาจจะประทังชีวิตของใครหลาย ๆ คนก็ได้

ถุงอาหารถุงหนึ่งของเรา
ที่เราอิ่มแล้วเหลือพอแล้ว
อาจจะช่วยชีวิตต่อลมหายใจ
ของใครหลาย ๆ คนก็ได้
ยิ่งคนนั้นเขาเป็นหัวหน้าครอบครัว
เขาอาจจะไปต่อโอกาสให้ลูกเมียเขา
ในชีวิตอีกมากมายก็ได้

ฝึกที่จะทำอะไรเพื่อผู้คนอื่น
แทนที่เราจะมองแต่ตัวเอง
แล้วก็จม แล้วก็ทุกข์
มองไปถึงคนอื่นบ้าง
ที่เขาได้รับความทุกข์ต่าง ๆ
.. แล้วใจเรามันจะเบาขึ้น
.. ใจเราจะเบิกบานขึ้น
.. ใจเราจะกว้างขวางขึ้น

จิตใจที่คับแคบที่หมกมุ่นกับตัวเอง
จะมีแต่ความร้อนความหนักอยู่ร่ำไป
จิตใจที่คิดถึงผู้อื่น
จิตใจที่กว้างขวางออกไป
จะเป็นจิตใจที่เบาสบาย
และจิตใจที่เบิกบานออกมา

ความสุขไม่ใช่สิ่งที่หายาก
ถ้าเราเข้าใจวิถีของการฝึกปฏิบัติธรรม
มันไม่ได้หมายความว่า
เราต้องมีเงิน มีทรัพย์สมบัติมากมาย
เราถึงจะมีความสุข
เมื่อไหร่ที่จิตใจเราเป็นจิตใจที่ดีงาม
นั่นแหละความสุขก็เกิดขึ้น
เพราะจิตที่เป็นกุศลคือจิตที่มีความสุข

จิตที่เป็นอกุศลคือจิตที่มีความทุกข์
ตรงกันข้าม...
ต่อให้โยมมีทรัพย์สมบัติมากมาย
แต่มีแต่จิตที่เป็นอกุศล
โยมก็ไม่มีความสุขหรอก
จิตอกุศลบางจิตอาจจะมีความสุข
แต่มันเป็นความสุขแบบเร่าร้อน
เรียกว่าจิตที่ประกอบด้วยโลภะ
มันก็มีความสุขนะ เช่น
ไปทำอะไรสนองความต้องการตัวเอง
เหมือนจะมีความสุข แต่ว่ามันมีโทษภัย
มีความเร่าร้อนตามมามาก
มันมีความเสียหายตามมา
สุดท้ายโยมก็ต้องมาเจ็บปวด
มาเสียใจ มาทรมานอยู่ร่ำไป
มาตามล้างตามเช็ด ตามแก้ปัญหา
ไม่หวาดไม่ไหวทีเดียว

แต่สุขจากการทำความดี
จากการเพาะบ่มจิตใจที่ดีงาม
.. จิตใจที่อ่อนโยน
.. จิตใจที่โอบอ้อมอารี
.. จิตใจที่มีความเสียสละ
.. จิตใจที่เป็นผู้ให้ผู้สละออก
.. จิตใจที่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น
จะเป็นจิตที่เบาสบายเป็นจิตที่มีความสุข
เป็นจิตที่เป็นวิถีที่ลอยขึ้นมา

ตรงนี้แหละคือพื้นฐานของการปฏิบัติธรรม
เริ่มต้นตั้งแต่ฝึกฝนขัดเกลาตนเอง
ตั้งแต่ในเรื่องกายภาพทีเดียว
.
ธรรมบรรยาย โดย พระมหาวรพรต กิตฺติวโร
บ่ายวันที่ 20 พฤษภาคม 2566

Image by Rattakarn_from pixabay

ที่มา  เพจมนษิธาร  Monsitharn

        (บ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา เดิม)






 

ถ้าความโกรธเป็นของเราจริงๆ


หญิงคนหนึ่งต้องการทราบวิธีจัดการกับความโกรธ 
อาตมาถามว่าเมื่อความโกรธเกิดขึ้น 
มันเป็นความโกรธของใคร 
เขาบอกว่ามันเป็นของเขา 
ถ้าเป็นความโกรธของเขาจริงๆ
ก็น่าจะบอกให้มันหายไปได้ใช่ไหม? 
แต่จริงๆ  ตัวเองก็สั่งไม่ได้ 
การยึดความโกรธไว้เป็นสมบัติส่วนตัว
ย่อมทำให้เกิดความทุกข์ 
ถ้าความโกรธเป็นของเราจริงๆ 
มันก็ต้องเชื่อฟังเรา หากมันไม่เชื่อฟังเรา 
นั่นก็หมายความว่ามันเป็นเพียงภาพลวงตาเท่านั้น 
อย่าตกหลุมพรางความโกรธ
เมื่อไหร่ก็ตามที่จิตเป็นสุขหรือทุกข์
ก็อย่าไปหลงมัน 
มันเป็นภาพลวงตาทั้งหมด

หลวงปู่ชา สุภัทโท

A woman wanted to know how to deal with anger. 
I asked when anger arose whose anger it was. 
She said it was hers. Well, if it really was her anger, 
then she should be able to tell it to go away, shouldn't she?
 But it really isn't hers to command. 
Holding on to anger as a personal possession 
will cause suffering. If anger really belonged to us, 
it would have to obey us. If it doesn't obey us, 
that means it's only a deception. Don't fall for it. 
Whenever the mind is happy or sad, 
don't fall for it. It's all a deception.

From: "No Ajahn Chah - Reflections", Dhamma Garden, 1994”

Image by Engin_Akyurt from pixabay

ที่มา  เพจมนษิธาร  Monsitharn

        (บ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา เดิม)





 

นั่นเป็นส่วนหนึ่งของการทำสมาธิ


การทำสมาธิเป็นสภาวะของจิตใจ
ที่มองทุกสิ่งด้วยความใส่ใจอย่างครบถ้วน 
ไม่ใช่แค่บางส่วนเท่านั้น 
และไม่มีใครสอนวิธีการใส่ใจให้เธอได้ 
หากระบบใดสอนให้เธอรู้จักการใส่ใจ 
แสดงว่าเธอใส่ใจระบบและนั่นไม่ใช่การใส่ใจ 
การทำสมาธิเป็นศิลปะที่ยิ่งใหญ่
ที่สุดอย่างหนึ่งในชีวิต 
และไม่มีใครสามารถเรียนรู้มันจากคนอื่น
นั่นคือความงดงามของมัน 
ไม่มีเทคนิคจึงไม่มีเจ้าของ 
เมื่อเธอเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเอง 
ระวังตัวเอง ดูวิธีการเดิน 
วิธีการกิน สิ่งที่พูด การนินทา 
ความเกลียดชัง ความอิจฉาริษยา 
- หากเธอตระหนักถึงทุกสิ่งในตัวเอง
โดยไม่คิดถึงสิ่งอื่นใด 
นั่นเป็นส่วนหนึ่งของการทำสมาธิ 
ดังนั้นการทำสมาธิสามารถเกิดขึ้นได้
เมื่อเธอนั่งอยู่ในรถบัสหรือเดินในป่า
ที่เต็มไปด้วยแสงและเงา ฟังเสียงนกร้อง 
หรือมองหน้าภรรยาหรือลูกของเธอ...


Meditation is a state of mind which looks at everything with complete attention, totally, not just parts of it. And no one can teach you how to be attentive. If any system teaches you how to be attentive, then you are attentive to the system and that is not attention. Meditation is one of the greatest arts in life – perhaps the greatest, and one cannot possibly learn it from anybody, that is the beauty of it. It has no technique and therefore no authority. When you learn about yourself, watch yourself, watch the way you walk, how you eat, what you say, the gossip, the hate, the jealousy – if you are aware of all that in yourself, without any choice, that is part of meditation. So meditation can take place when you are sitting in a bus or walking in the woods full of light and shadows, or listening to the singing of birds or looking at the face of your wife or child…

ท่านกฤษณมูรติ

Image by Παῦλος from pixabay

ที่มา  เพจมนษิธาร  Monsitharn

        (บ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา เดิม)


 

เพื่อให้เห็นกระบวนการที่มันทำหน้าที่เอง


จะดูกาย ดูเวทนา ดูจิต หรือ แม้แต่ธรรม
ตัวรู้ และ สิ่งถูกรู้ อาการของจิต
ที่ดูเพื่อให้เห็นกระบวนการที่มันทำหน้าที่เอง
มิใช่เรา ไม่ได้เป็นเจ้าของ 
แต่ที่สำคัญจะเห็นใครกำลังคิด 
ใครกำลังพิจารณา 
ถ้าเห็นมันคิดเอง มิใช่เรา 
นั้นแหละเริ่มต้นของการแยกรูปและนาม 
ส่วนใหญ่ไปเป็นความคิด 
ไปเป็นอาการ ไปเป็นเจ้าของรู้ 
เหมือนจะแยกได้ 
แต่โดนความคิดหลอกซะแล้ว 
ไปเป็นเจ้าของความคิด 
ที่กำลังคิดอยู่นี่ใคร

พระอาจารย์ปกรณ์นันทน์ ฐิตธัมโม

Image by REIGNCONCEPT from pixabay

ที่มา  เพจมนษิธาร  Monsitharn

        (บ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา เดิม)



 

เธอไม่ใช่จิต




ถ้าเธอรู้ว่า เธอไม่ใช่จิต
แล้วมันจะเกิดความแตกต่างตรงไหน
ถ้ามันจะวุ่นวายหรือมันจะสงบ
เธอไม่ใช่จิต

If you know you are not the mind, then what difference does it make 
if it's busy or quiet? You are not the mind.

Sri Nisargadatta Maharaj.

Image by tookapic from pixabay

ที่มา  เพจมนษิธาร  Monsitharn

        (บ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา เดิม)




 

จงทำจิตใจให้ว่างจากความยึดถืออย่างเดียว


...พระพุทธองค์ ทรงประสงค์จะให้เรา
ออกไปจากกรงขังมากกว่า
ที่จะให้เพลินใจอยู่ในกรง 
จึงได้ตรัสไว้อย่างเด็ดขาดว่า 
ต้องไม่ยึดถือสิ่งใดหมด 
รวมทั้งความยึดถือในพระองค์เองด้วย
.
พระองค์ทรงประกาศพระองค์เอง
เป็นเพียงผู้คอยชี้ทางให้คนเดินไป 
ถ้าเราจะมาติดแจอยู่กับพระองค์แล้ว 
มันก็ไม่มีการเดินกันเท่านั้นเอง.
ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา และไม่ควรยึดมั่นนี้ 
เป็นหลักที่ตายตัวในพระพุทธศาสนา
 ศีล สมาธิ ปัญญา หรือที่เรียกว่าไตรสิกขานี้ 
เป็นเพียงยานพาหนะมีไว้อาศัยเดินทาง 
ไม่ใช่สำหรับยึดถือ หรือหาบหาม
เอาไว้ด้วยความหวงแหน.
.
พระรัตนตรัยเป็นเพียงเครื่องหมาย
ของความที่รอดพ้นออกไปได้
สำหรับให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้จะเดินไปเท่านั้น. 
ไม่มีตัวตนสำหรับให้ยึดถือ
ขืนยึดถือก็เกิดเป็นปฏิรูป หรือของปลอมขึ้นมา.
ถ้าไม่รู้จักปล่อยวางกันบ้าง ก็จะกลายเป็น
ภูเขาขวางทางขึ้นมาเท่านั้น 
จงทำจิตใจให้ว่างจากความยึดถืออย่างเดียวเถิด 
หน้าที่ทั้งปวงก็จะหมดลงทันที 
ไม่ต้องมีใครเป็นผู้ลุถึงนิพพาน 
นอกไปจากจิตซึ่งหมดความยึดถือว่า…
ตัวมันเองเป็นตัวตนอย่างเด็ดขาดแล้ว.

ท่านพุทธทาสภิกขุ

Image by Pexels from pixabay

ว่างจากตัวตน ว่างจากความยึดถือ
คือการเดินตาม
คือการเคารพในพระรัตนตรัย

ที่มา  เพจมนษิธาร  Monsitharn

        (บ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา เดิม)


 

ทำไมธรรมะจึงดูซับซ้อนเข้าใจยาก


ทำไมธรรมะจึงดูซับซ้อนเข้าใจยากนัก 
ก็เพราะว่าจิตที่ใช้ในการรับรู้ธรรมะเองนั่นแหละ
ที่ซับซ้อนใช้เหตุผล มันเยอะเกินไป พยายามจะเข้าถึง
ธรรมมิอาจใช้ตัว หรือ ความคิดที่จะเข้าถึง 
เพราะมีอยู่แล้ว เลยบังสิ่งเดิมแท้
ที่มีทุกคน ที่มีตลอดเวลา 
.
เพราะยังใช้ความคิด ตรรกะ  สัญชาตญาณ ความรู้ 
ความเชื่อ ความเห็น ความหมาย 
คติ อคติ  ทิฐิ อุปทาน
เลยมีมวลหนักมิอาจก้าวข้ามห้วงเวลาได้
ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสมอง 
ต้องส่งคำสั่งไปยังร่างกายมันจึงต้องใช้เวลา 
เลยมีแรงโน้มถ่วงและความเร็วจำกัดลง เลยมีขอบเขต
ความคุ้นเคยต่อการตอบสนองเองระบบร่างกาย
ความคิด และ จิต จึงบังสภาวะเดิมแท้หรือนิพพาน
.
การแยกความคิดออกจากร่างกาย
และปล่อยให้เป็นไปโดยไม่ต้องคำนึงถึง 
ให้เป็นอัตโนมัติ สู่ธาตุบริสุทธิ์
.
จิต คือ ไร้กำแพงขวางธรรมเดิมแท้
ไร้จิต คือ ไร้ประตู
ที่ไม่เข้าใจธรรมมะ เรายึดในเหตุผลเราเยอะไป
โดยมีความเข้าใจ หรือ ไม่เข้าใจ ยาก ง่าย
สร้างประตู และ กำแพง ขวางกั้นเอง
ล้วนมาจากความคิดเรา 
.
แต่ความจริงสิ่งที่คิด สิ่งที่ไม่ใช่เรา นั้น
เป็นผู้หว่านเมล็ดพันธ์ ให้เราตกสู่กระแสทั้งปวง
.
หนทางที่แท้จริง คือ ไม่มีหนทาง
แต่ไม่มีหนทางนั้นแหละ คือ หนทางเอง

พระอาจารย์ปกรณ์นันทน์ ฐิตธัมโม

Image by photoeightyeight from pixabay

ที่มา  เพจมนษิธาร  Monsitharn

        (บ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา เดิม)


 

ล้วนคือโซ่ตรวน


ทั้งความสุขและความทุกข์ล้วนคือโซ่ตรวน 
หนึ่งนั้นทำด้วยทองคำ อีกหนึ่งนั้นทำด้วยเหล็ก 
แต่ทั้งสองก็แข็งแกร่งพอกันในการพันธนาการเรา
และฉุดรั้งเราออกจากการตระหนักรู้
ในธรรมชาติที่แท้จริงของตัวเรา

สวามี วิเวกนันทะ (ค.ศ.1863 - 1902) 
นักบวชและนักปราชญ์ฮินดูท่านสำคัญ
ผู้เผยแผ่ปรัชญาเวทานตะและโยคะ สู่ตะวันตก

Photo by Michael Carruth on Unsplash

ที่มา  เพจมนษิธาร  Monsitharn

        (บ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา เดิม)



 

ความเกียจคร้านฆ่าความทะเยอทะยาน


ความเกียจคร้านฆ่าความทะเยอทะยาน
ความโกรธฆ่าปัญญา
ความกลัวฆ่าความฝัน
อัตตาฆ่าการเติบโต
ความอิจฉาริษยาฆ่าความสงบสุข
ความสงสัยฆ่าความมั่นใจ
(ถึงตอนนี้ให้อ่านจากขวาไปซ้าย)

Laziness kills ambition.
Anger kills wisdom.
Fear kills dreams.
Ego kills growth.
Jealousy kills peace.
Doubt kills confidence.
(Now read that from Right to Left)

Unknown

Photo by Jonny Gios on Unsplash

ที่มา  เพจมนษิธาร  Monsitharn

        (บ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา เดิม)


 

เป็นเพียงความยึดมั่น ในความไม่ยึดมั่น


อย่าเอาความไม่ยึดมั่นหรือความปล่อยวาง 
มาเป็นข้ออ้างที่จะปล่อยปละละเลย
ที่เห็นง่ายๆ ก็คือ คนที่เอาความไม่ยึดมั่น 
ขึ้นมายึดไว้ แล้วไม่ทำอะไร ไม่เอาอะไร 
แล้วก็บอกว่าฉันไม่ยึดมั่น
แต่เขาไม่รู้ตัวว่าเขาทำไป
ตามความไม่ยึดมั่นที่เอามายึดไว้
คือเป็นเพียงความยึดมั่น
ในความไม่ยึดมั่นเท่านั้น 
เป็นความยึดมั่นซ้อนเข้าไปอีก 
ความไม่ยึดมั่นที่แท้นั้นเป็นไปเองด้วยปัญญา 
ไม่ต้องเอาความไม่ยึดมั่น ขึ้นมายึดไว้
เพราะฉะนั้น อย่าปล่อยวาง
เพียงด้วยความไม่ยึดมั่นที่ยึดถือเอาไว้ 
และอย่าเอาความปล่อยวางมาเป็นข้ออ้าง
ที่จะปล่อยปละละเลย เพราะอันนั้น
ไม่ใช่ความปล่อยวางอะไรเลย 
แต่เป็นความประมาทแท้ๆ

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

Photo by Tonmoy Iftekhar on Unsplash

ที่มา  เพจมนษิธาร  Monsitharn

        (บ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา เดิม)


 

วันที่เธอจะหาทางออกของตัวเองเจอ


วันที่เธอตัดสินใจว่า จะใส่ใจกับการรู้ความคิด
แทนที่จะเข้าไปอยู่ในความคิด
นั่นคือวันที่เธอจะหาทางออกของตัวเองเจอ

The day you decide you are more interested in being aware of your thoughts 
than you are in the thoughts themselves – that is the day you will find your way out.

Michael Singer

Photo by Clarence E. Hsu on Unsplash

ที่มา  เพจมนษิธาร  Monsitharn

        (บ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา เดิม)



 

นี่คือปาฏิหาริย์แห่งการยอมรับ


อย่ามองหาความสงบ 
อย่ามองหาสภาวะอื่นนอกเหนือจาก
สภาวะที่เธอเป็นอยู่ตอนนี้ 
มิฉะนั้นเธอจะสร้างความขัดแย้งภายใน
และการต่อต้านโดยไม่รู้ตัว 
จงให้อภัยตัวเองที่ไม่สงบ 
ทันทีที่เธอยอมรับความไม่สงบของเธออย่างสมบูรณ์ 
ความไม่สงบของเธอก็จะกลายเป็นความสงบ 
อะไรก็ตามที่เธอยอมรับอย่างเต็มที่
จะพาเธอไปที่นั่น จะนำเธอไปสู่ความสงบสุข 
นี่คือปาฏิหาริย์แห่งการยอมรับ

Don't look for peace. Don't look for any other state than the one you are in now; 
otherwise, you will set up inner conflict and unconscious resistance. 
Forgive yourself for not being at peace. The moment you completely accept your non-peace, 
your non-peace becomes transmuted into peace. Anything you accept fully will get you there, 
will take you into peace. This is the miracle of surrender

Eckhart Tolle

Photo by Antonio Gabola on Unsplash

ที่มา  เพจมนษิธาร  Monsitharn

        (บ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา เดิม)



 

แค่รู้เฉยๆ ก็เป็นการปฏิบัติธรรมที่สมบูรณ์


เคล็ดลับของการปฎิบัติคือ 
อย่าเข้าไปเป็น ให้เป็นผู้รู้ เป็นผู้ดู 
อย่าเข้าไปเป็นมัน 
ถ้าเข้าไปเป็นมัน ไม่ใช่นักปฏิบัติ 
เพราะเวลาเราไม่ปฏิบัติ 
เราก็เข้าไปเป็นอยู่แล้ว
.
เวลาเกิดความโกรธ เราก็โกรธ 
เวลาเกิดความรัก เราก็รัก 
แต่นักปฏิบัติจะต้องเห็น เห็นความโกรธ 
เห็นความรัก เห็นความเบื่อ 
เห็นความขี้เกียจ 
แต่ไม่ได้เข้าไปเป็นผู้ขี้เกียจด้วย 
นี่ปลอดภัยแล้ว
.
ทุกข์จะเกิดขึ้นที่กายมากน้อยแค่ไหน 
แต่ใจเป็นผู้เห็น ความคิดจะปรุงแต่ง
ให้ใจเราเศร้าหมองแค่ไหน 
ใจเราก็ไม่ได้ไปเศร้าหมองด้วย 
เป็นแค่ผู้เห็น ปลอดภัยแล้ว
.
ถ้าเราฝึกบ่อยๆ เจริญสติบ่อยๆ 
รู้สึกบ่อยๆ บริกรรมในความรู้สึกบ่อยๆ 
ต่อไปจิตจะรู้เอง 
สติจะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ 
ต้องทำบ่อยๆ แล้วเขาก็จะเกิดขึ้นเอง 
เหมือนเราสอนให้เขารู้สึกตัว 
ต้องอาศัยความเพียร ความอดทน 
จึงจะเห็นผล แล้วต้องต่อเนื่องด้วย
.
ไม่ใช่ขณะปฏิบัติเอาจริงเอาจัง 
แต่พอออกไปทานข้าว ฟุ้งเหมือนเดิม 
ต้องให้ต่อเนื่อง จะได้ประโยชน์มาก 
เหมือนเราตำน้ำพริก ตำครั้งเดียวก็ยังกินไม่ได้ 
ต้องตำหลายๆ ครั้ง จึงจะกินได้ 
ทานข้าวคำเดียวก็ยังไม่อิ่ม 
ต้องทานหลายๆ คำ
.
การปฏิบัติก็เหมือนกัน 
ต้องรู้บ่อยๆ รู้บ่อยๆ จึงจะได้ผล 
เรื่องธรรมะไม่ใช่เรื่องยากเย็น 
เรื่องยากคือความคิด ปฏิบัตินี่ไม่ยากหรอก 
มันยากตอนที่จะไม่ได้ปฏิบัติ
.
ง่ายๆ แค่รู้สึก 
เวลากายเคลื่อนไหวก็รู้ เวลาใจคิดก็รู้ 
แค่รู้เฉยๆ 
ก็เป็นการปฏิบัติธรรมที่สมบูรณ์แล้ว 
จบลงที่ความรู้สึกตัวเท่านั้น

อ.กำพล ทองบุญนุ่ม

Photo by Eneko Uruñuela on Unsplash

ที่มา  เพจมนษิธาร  Monsitharn

        (บ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา เดิม)


 

เมื่อนั้นความสงบที่แท้ของเธอ...


เมื่อเธอเข้าใจได้ว่า ไม่มีใครหรือสิ่งใดเป็นของเธอ
เมื่อนั้นความสงบที่แท้ของเธอ จึงจะเริ่มต้นขึ้น

When you understand that nothing and no one belongs to you, 
your true peace begins.

Unknown

Image by Jhollu7 from pixabay

ที่มา  เพจมนษิธาร  Monsitharn

        (บ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา เดิม)


 

เธอไม่ไช่มัน




หนึ่งในเรื่องพื้นฐานที่สุดที่ต้องจดจำ
ไม่เพียงแค่เธอแต่กับทุกคนคือ
ไม่ว่าเธอจะพบอะไรในการเดินทางภายใน
เธอไม่ไช่มัน เธอเป็น... ผู้รู้ผู้ดูผู้เห็นมัน
มันอาจเป็นความว่าง
อาจเป็นความสุข อาจเป็นความเงียบ
แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องจำไว้ ก็คือ
ไม่ว่าสิ่งที่ประสบจะสวยงาม
และน่าหลงใหลเพียงใด
เธอก็ไม่ใช่มัน
เธอคือคนที่กำลังประสบกับมันแค่นั้น

ท่าน Osho

One of the most fundamental things to be remembered — not only by you but by everyone — is that whatever you come across in your inner journey, you are not it. You are the one who is witnessing it. It may be nothingness, it may be blissfulness, it may be silence, but one thing has to be remembered: however beautiful and however enchanting an experience you come across, you are not it. You are the one who is experiencing it.


Image by Pexels from pixabay


ที่มา  เพจมนษิธาร  Monsitharn

        (บ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา เดิม)

 

มันเห็นไม่ชัด...มันก็หลง


มันเห็นไม่ชัด...มันก็หลง
อย่างปลาน่ะ ปลามันกินเบ็ดเห็นไหมนั่น  
ไอ้ความเป็นจริง 
ปลาไม่กินเบ็ดหรอก...มันกินเหยื่อ
ถ้ามันเห็นเบ็ดจริงๆ 
มันไม่กินหรอก ปลาน่ะ  มันจะเกี่ยวปากมัน  
ลองสิ  มันไปกินเหยื่อ
แต่บังเอิญมันมีเบ็ดติดเกี่ยวปากมัน ไม่หลุดเสียแล้ว
พวกเราทั้งหลายเหมือนกัน  
ถ้าเห็น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง 
ตามความจริงแล้ว 
ไม่เอา...

หลวงปู่ชา สุภัทโท

Image by Gaara15 from pixabay

ที่มา  เพจมนษิธาร  Monsitharn

        (บ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา เดิม)






 

ธรรม มิใช่ที่รู้ถูก หรือ รู้ผิด


ปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ
ไม่ต้องเถียงกันแบบไหนถูก ผิด 
ตัววัด ไม่ใช่มาจับผิดว่า ใครถูก หรือใครผิด
แต่ให้เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นมาภายในใจ 
พ้นทุกข์ หรือ ทุกข์มากกว่าเดิม
.
รู้มากมาย  แต่ยังทุกข์ 
เพราะเป็นทาสขององค์ความรู้  
ไม่เหมือนที่ตนรู้ เถียงกันเอาเป็นเอาตาย
ทะเลาะ จนเป็นศัตรูกัน อยู่ร่วมโลกกันไม่ได้
เพราะความเห็นไม่ตรงกัน 
ธรรม มิใช่ที่รู้ถูก หรือ รู้ผิด
แต่มันเห็นว่า ทั้งถูก และ ผิด 
มันสักแต่ว่า
มันก็แค่มายา แค่สิ่งที่ผุดขึ้นแล้วดับไป
ไม่มีใครเป็นเจ้าของถูก และผิด 
จนผ่านสิ่งที่รู้ได้ วางความเห็นได้  ไร้มวลหนัก
นั้นถึงจะรู้ว่า มันคือ มายา 
มันเป็นสมมุติ
.
สิ่งที่ยาก  สำหรับปุถุชน
สอนยากคือ เชื่อว่า 
ตนเองเป็นแค่ปุถุชนคนธรรมดา
มิอาจรู้ธรรม  
เพราะสอนธรรม หรือ ชี้แนะเมื่อไหร่
มันก็จะคิดว่าทันที 
ว่าตนเองเป็นแค่ปุถุชนคนธรรมดา
มิอาจรู้ธรรม  
ขอให้ทนฟังอาจารย์ไปเรื่อยๆ 
.
ปุถุชน คนธรรมดา ก็ไม่มีอยู่จริง
อาจารย์สอนสิ่งที่ยากที่สุด คือ 
สลายความเชื่อ  
สลายอุปาทานที่มีมานับชาติไม่ถ้วน
มีใครไปขวางเล่าไม่ให้รู้ธรรม

พระอาจารย์ปกรณ์นันทน์ ฐิตธัมโม

Image by mkupiec7 from pixabay

ที่มา  เพจมนษิธาร  Monsitharn

        (บ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา เดิม)