ผู้ที่รู้จักธาตุรู้จะเป็นตัวของตัวเอง




เราเกิดมาไม่มีประมาณแต่เราไม่เคยเห็นตัวเองเลย 
มัวเข้าใจว่าตัวเอง คือ กาย เวทนา สัญญา สังขาร 
และวิญญาณ ซึ่งนั่นผิดทั้งหมด
เราคือธาตุรู้หรือจิตต่างหาก
ซึ่งก็คือความรู้สึกนั่นเอง ...

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า 
ให้ทวนกระแสเข้ามาสู่ภายใน 
เราจึงควรทวนกระแสเข้ามาภายใน
แล้วก็จะพบธาตุรู้หรือจิตได้ไม่ยาก
ธาตุรู้ ก็คือ ผู้หลับผู้ตื่นหรือตัวชีวิตหรือตัวเป็นโดยตรง 
ธาตุรู้ไม่มีตัวตน ไม่มีสีสัน 
ไม่มีนิมิตเครื่องหมายใดๆ 
ธาตุรู้เป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เพราะไม่มีตัวตนแต่สามารถรู้สึกได้
ความแตกต่างระหว่างผู้ที่รู้จักธาตุรู้ กับผู้ที่ไม่รู้จักธาตุรู้ 
ก็คือ ผู้ที่รู้จักธาตุรู้แล้วนั้นจะเป็นตัวของตัวเอง 
สามารถควบคุมตัวเองได้ เพราะมีการรู้ตัวโดยตลอด 
ผู้ที่รู้จักธาตุรู้นั้นจะอยู่กับตัวเองเสมอ 
คือไม่ไหลไปตามความคิด สมมุติว่าเราอยู่จันทบุรี 
แล้วเราคิดไปที่ต่างจังหวัด กรุงเทพฯ หรือต่างประเทศ 
ธาตุรู้นี้จะอยู่กับตัวเอง ไม่ลืมตัวเอง 
เพราะธาตุรู้กับตัวเองคืออันเดียวกัน
แต่ผู้ที่ไม่ได้อยู่กับธาตุรู้ เมื่อคิดไปต่างจังหวัด 
กรุงเทพฯ หรือต่างประเทศ 
ธาตุรู้ก็จะลืมตัวเองและตามความคิดนั้นไปทุกหนทุกแห่ง 
นั่นหมายความว่าจิตไม่เป็นปัจจุบันธรรม 
เป็นจิตที่ขาดสติสัมปชัญญะ เป็นผู้ที่ทำก่อนคิด 
จึงมักเป็นผู้ที่ผิดพลาดในการกระทำอยู่เสมอ


ลุงหวีด บัวเผื่อน

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


การปล่อยวาง


จากหนังสือ เพียงแค่รู้สึกตัว โดย พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



เริ่มต้นก่อนจะปฏิบัติในรูปแบบ


เริ่มต้นก่อนจะปฏิบัติในรูปแบบ กราบพระก่อน 
ระลึกถึงพระพุทธเจ้า 
ทำความรู้สึกเหมือนท่านอยู่กับเรา 
ท่านกำลังอยู่ต่อหน้าเรา 
เรากราบท่านด้วยใจอ่อนน้อม 
ใจเราจะเป็นบุญเป็นกุศลขึ้นมานะ 
สมาธิจะเกิดขึ้นทันทีเลย
เรียกว่าเป็น พุทธานุสติ ได้สมาธิขึ้นมาทันที
พอใจมันมีสมาธิแล้วนะ แล้วก็ภาวนาต่อ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


สุขในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส


สุขในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ฯลฯ
ที่เราปรารถนามากเป็นพิเศษ
แสดงว่าเราเคยเสวยแล้วในชาติก่อนๆ
เราจึงคิดถึงมันในชาตินี้
คิดอยู่แค่นี้ก็น่าจะเกิดความสลดสังเวชในตัวเองได้

ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



รู้ที่เราพึ่งพาได้คือ"ความรู้สึก" ไม่ใช่ "ความคิด"


สิ่งที่เป็นอยู่ในขณะนี้ 
ถ้าเราไปพึ่งพาการคิด 
มันก็จะบอกให้เราพยายามทำให้มันดีขึ้น 
หรือให้หนีไปจากความทุกข์อันขมขื่น
ที่มีอยู่ในทุกๆ อย่างตามธรรมชาติ 
เราหนีความทุกข์ของร่างกายไม่ได้ 
แต่มันก็มีความมหัศจรรย์แบบเล่นแร่แปรธาตุ (alchemy) 
ที่มากับการรู้ การรู้ที่เราพึ่งพาได้คือ"ความรู้สึก" ไม่ใช่ "ความคิด" 
พวกเราเห็นว่าอารมณ์ของเรานั้นเปลี่ยนไปเรื่อยๆ 
ไม่ต้องทำอะไรเลย รู้อย่างเดียว
เราต้องไม่ไปง่วนอยู่กับการรู้ของผู้คิด 
เราต้อง"รู้จากความรู้สึก" 
ผู้ที่รู้สึก มันจะมีรสชาติของความเป็นจริง
ซึ่งความคิดให้รสชาติแบบนั้นกับเราไม่ได้

พระอาจารย์สุมโนภิกขุ

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา





การปฎิบัติจริงๆ นั้นไม่มีรูปแบบ


การปฎิบัติ
ไม่ใช่เดินจงกรมอย่างเดียว 
นั่งสมาธิอย่างเดียว
อิริยาบถใดก็ได้
หากเรามองว่าขันธ์ห้าไม่ใช่เรานี้ 
ปฎิบัติแล้ว 
สถานที่ไหนก็ได้
หากเรามีสติอยู่กับกาย 
มีสติอยู่กับเวทนา 
มีสติอยู่กับจิตและธรรม 
คือ เราปฎิบัติแล้ว
การปฎิบัติจริงๆ นั้นไม่มีรูปแบบ
พระอรหันต์ในสมัยพุทธกาล
ท่านตรัสรู้ในท่ายืนบ้าง ท่าเดินบ้าง 
ท่านอนบ้าง ไม่ได้นั่งหลับตาเลย

พระอาจารย์ชานนท์ ชยนนฺโท

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



การ "รู้เท่าทันอารมณ์"ในภาษาธรรม


ในขณะที่เกิดสัมพันธภาพกับภายนอก
จิตก็ควรจะกำหนดให้อยู่ในจิต
เมื่อเห็นก็กำหนดให้ "รู้เท่าทัน" การเห็น
แต่ไม่ถึงกับต้องรำพึงรำพันออกมาว่า
เห็นแล้วนะ เห็นแล้วหนอ อะไรหรอก
เพราะขณะจิตหนึ่งๆ นั้น มันไม่กินเวลาอะไร
เมื่อรู้เท่าทันแล้ว ก็ไม่ต้องไปรำพึงรำพัน 
เป็นการปรุงแต่งเพิ่มเติมอีก
ในการ "กำหนดให้รู้ให้เท่าทัน"นั้น 
อย่าได้ถูกลวงด้วยสัญญาแห่งภาษาคนภาษาโลก 
ดังเช่นการรู้เท่าทันคนที่จะมาหลอกลวงเรา เป็นต้น
การ "รู้เท่าทันอารมณ์"ในภาษาธรรมนั้น 
หมายความว่า ความ " รู้ " 
จะต้องทันกันกับการรับอารมณ์ของทวารทั้ง ๕
เช่น ในขณะที่ตาเห็นรูป 
จะต้องมีสติรู้อยู่อย่างเต็มที่สมบูรณ์ 
มีความรู้ตัวพร้อมอยู่ตลอดเวลา โดยไม่จำเป็นต้องรู้อะไร
เมื่อเป็นเช่นนี้ "ทุกข์" 
อันอาศัยปัจจัยคือ การเห็น เป็นต้นนั้น ย่อมไม่เกิด
และเราก็สามารถมองอะไรได้อย่างอิสระเสรี
โดยที่รูปหรือสิ่งที่เรามองเห็น
ไม่อาจมีอิทธิพลอันใดเหนือเราได้เลยแม้แต่น้อย

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา





ทานที่ไม่มีอานิสงส์มาก



บุญที่ทำในรูปของการถวายทานนั้น 
ไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือเงินก็ตาม 
จุดหมายสูงสุดอยู่ที่
การลดความยึดติดถือมั่นในตัวกูของกู 
ยิ่งลดได้มากเท่าไร
ก็ยิ่งเข้าใกล้นิพพานอันเป็นประโยชน์สูงสุด
ที่เรียกว่า “ปรมัตถะ” 
ซึ่งสูงกว่าสวรรค์ในชาติหน้า (สัมปรายิกัตถะ)
หรือความมั่งมีศรีสุขในชาตินี้ (ทิฏฐธัมมิกัตถะ) 
แต่หากทำบุญเพราะหวังแต่ประโยชน์ส่วนตน 
อยากได้เข้าตัวมาก ๆ แทนที่จะสละออกไป 
ก็ยิ่งห่างไกลจากนิพพาน 
หรือกลายเป็นอุปสรรคขวางกั้นนิพพานด้วยซ้ำ 
อันที่จริงอย่าว่าแต่นิพพานเลย 
แม้แต่ความสุขในปัจจุบันชาติ ก็อาจเกิดขึ้นได้ยาก 
เพราะจิตที่คิดแต่จะเอานั้นเป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์
ในทานมหัปผลสูตร อังคุตตรนิกาย 
พระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระสารีบุตรว่า
ทานที่ไม่มีอานิสงส์มากได้แก่ 
“ทานที่ให้อย่างมีใจเยื่อใย ให้ทานอย่างมีจิตผูกพัน 
ให้ทานอย่างมุ่งหวังสั่งสมบุญ” 
รวมถึงทานที่ให้เพราะต้องการเสวยผลในชาติหน้า เป็นต้น

พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา





ความสุขอยู่ที่การวางของจิต


แท้จริงความสุขอยู่ที่การวางของจิต 
คือ จิตปล่อยวางอารมณ์นั่นเอง

พระอาจารย์จรัญ ทักขญาโณ

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



การทำจิตที่เจริญกุศลไม่ใช่สิ่งที่เล็กน้อย


การทำจิตให้อ่อนน้อมถ่อมตน 
การทำจิตให้ละความเป็นอัตตาตัวตน 
การทำจิตให้ลดทิฏฐิมานะ 
การทำจิตให้มีเมตตา 
การทำจิตให้รู้จักกุศลอกุศล 
การทำจิตที่เจริญกุศลไม่ใช่สิ่งที่เล็กน้อย 
เป็นอุปนิสัย เป็นเหตุปัจจัย
ให้มรรคผลนิพพานเกิดขึ้นในเบื้องหน้า 
ถ้าเราประมาทสิ่งเหล่านี้ 
เท่ากับเราตัดนิสัยอรหัตตมรรค 
อรหัตตผลของเรานั่นเอง นั้นคือกรรม

พระอาจารย์วิชัย กัมมสุทโธ

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


หน้าที่เราไม่ใช่พยายามเปลี่ยนแปลง


จากหนังสือ เพียงแค่รู้สึกตัว โดย พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


เรียนธรรมะ คือมาเรียนรู้ทันอารมณ์ตัวเอง


ถ้าสติและปัญญาเข้าไปทัน เราก็จะหายโกรธ
แล้วเราก็จะรู้ว่า สิ่งที่ทำให้คนเราเข้ากันไม่ได้
มีความทุกข์อยู่ร่ำไป มีความไม่สงบอยู่ร่ำไปนี้
ก็คือการที่เราไม่รู้ทันตัวปรุงแต่งของใจเรานี่เอง
ไม่ว่าจะเป็นโกรธก็ดี โลภก็ดี รักก็ดี ชังก็ดี
นี่เขาเรียกว่าเรียนธรรมะ
คือมาเรียนรู้ทันอารมณ์ตัวเอง

หลวงพ่อสนอง กตฺปุญโญ

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ให้รู้ทันว่าจิตกำลังคิด ไม่ใช่รู้เรื่องที่จิตคิด



ถ้าเมื่อไรเราหลงไปอยู่ในโลกของความคิดความฝันนะ
เราจะรู้กายรู้ใจตัวเองไม่ได้
แต่ถ้าเมื่อไรเราหลุดออกจากโลกของความคิดความฝันนะ
เราจะรู้กายรู้ใจโดยอัตโนมัติ จะรู้อัตโนมัติเลย
เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเราคือต้องรู้สึกตัว
ตื่นขึ้นมาจากโลกของความคิดให้ได้
วิธีการที่ง่ายที่สุดที่เราจะตื่นออกมาจากโลกของความคิดคือ
"ให้เรารู้ทันว่าจิตคิด" ตรงนี้ฟังให้ดีนะ
"ให้เรารู้ทันว่าจิตกำลังคิดอยู่ ไม่ใช่รู้เรื่องที่จิตคิด
คนทั้งหลายรู้เรื่องราวที่จิตคิด แต่ไม่รู้ว่าจิตกำลังคิดอยู่

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



ความรู้อยู่ที่ใจไม่ปรุงแต่ง


นักวิทยาศาสตร์เขาใช้ความรู้ "ระบบการคิด"  
มันจึงเข้าไม่ถึงใจที่สิ้นความปรุงแต่ง 
พระพุทธเจ้า พระอริยสงฆ์สาวก  พระอรหันต์เท่านั้น
ที่เข้ามาถึง "ใจที่ไม่ปรุงแต่ง" 
แล้วความรู้ก็อยู่ในนั้นทั้งหมด...

หลวงตาณรงค์ศักดิ์  ขีณาลโย

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

พุทโธตัวจริง



พุทโธตัวจริงแล้ว
คือการทำจิตให้ว่าง 
ทำจิตให้สงบ ทำจิตให้ปกติ  
ทำให้มีความรู้สึกตัวอยู่เสมอ  
อยู่ภายในนั้นแหละ เป็นตัวพุทโธ  
เรียกว่า พุทโธตัวจริง

หลวงปู่ดาบส สุมโน

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

ความว่าง หมายถึง...


จากหนังสือ เพียงแค่รู้สึกตัว โดย พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


เมื่อความไม่ยึดถือมีอยู่ในผู้ปฏิบัติ


เมื่อจิตไม่ยึดถือ แม้มันจะเจ็บขนาดไหนก็ตาม 
เจ็บนั้นก็เป็นเหมือนกับว่า 
มันเจ็บอยู่ในตัวคนอื่น 
คือธาตุดินเขาเจ็บ 
ธาตุน้ำเขาเจ็บ ธาตุไฟ ธาตุลมเขาเจ็บ 
จิตใจผู้ภาวนาไม่เข้าไปยึดถือว่า 
เราเจ็บไข้ได้ป่วย เราจะแตกจะตาย 
หรือว่าเราจะตายก็ไม่เข้าไปยึดถือ 
เมื่อความไม่ยึดถือมีอยู่ในผู้ปฏิบัติ 
เจ็บมันก็เข้าไปไม่ถึง อะไร ๆ มันก็เข้าไม่ถึง
เหมือนกับมันเป็นอยู่อีกโลกหนึ่ง อีกแผ่นดินแผ่นหนึ่ง 
เมื่อผู้ใดภาวนาเข้าใจอย่างนี้แล้ว ก็จะปล่อยวางได้ 

หลวงปู่สิม พุทธาจาโร

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



ธรรมแสวงหาธรรมดาสามัญ



โลกแสวงหาความเป็นเลิศ
ธรรมแสวงหาธรรมดาสามัญ

ท่านเขมานันทะ

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

นิพพาน ไม่ใช่จุดสิ้นสุด


นิพพาน ไม่ใช่จุดสิ้นสุด
แต่เป็นจุดเริ่มต้น ของ
การมีชีวิตในโลกสมมติ
อย่างไม่ยึดติดในสมมติ

หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา





ย่อมอิสระ หลุดพ้น เอง


เมื่อแสงแห่งปัญญา ส่องสว่างในใจ
ความมืดมนก็จักมลายหายไปเอง
เมื่อไม่ต้องการสิ่งใดๆ แล้วนั้น 
ย่อมอิสระ หลุดพ้น เอง
เมื่อใดที่จิตว่าง จึงจะได้เห็นโลกทั้งหลาย 
ไร้ความหมาย ด้วยประการทั้งปวง...
"สพเพ ธมมา นาลํ อภินิเวสาย” 
สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

พระอาจารย์ปกรณ์นันทน์ ฐิตธัมโม

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


หาพระอรหันต์ที่ตัวเอง


จะหาพระอรหันต์ที่ไหนกัน 
ถ้าจะหาก็หาที่ตัวเองนั่นล่ะ 
ท่านถูกบังอยู่ เอาสิ่งบังออกซิ
แล้วจะพบพระอรหันต์ที่ "ความไม่มีอะไร" 
ตั้งชื่อให้สภาพนั้นว่า "สุญญตา"

อ.ประเสริฐ อุทัยเฉลิม

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



การฝึกใจให้หนักแน่นเป็นหน้าที่


การฝึกใจให้หนักแน่นให้ตั้งมั่นอยู่ในบุญในกุศล 
ตั้งมั่นอยู่ในสติในปัญญานี้ 
เป็นหน้าที่ของเราทุกคน
ผู้ต้องการความสุขอันเป็นแก่นสาร ผู้เบื่อหน่ายต่อความทุกข์ 
เราจะต้องพยายามฝึกจิตใจนี้ให้หนักแน่น ให้มีที่พึ่งอันมั่นคงไว้ 
เมื่อเวลาความตายมาถึงเข้า จิตใจนี้ก็จะไม่ได้หลงไม่ได้ลืมตัว 
มันจะไม่หวั่นไหวไปตามทุกขเวทนาต่างๆ นั้น 
มันจะนึกถึงความดีได้ 
นึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ได้ 
นึกถึงบุญกุศลที่ทำมาได้

หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

ไม่ใช่ปฏิบัติแล้วจะเอาผลเลย


ไม่ใช่ปฏิบัติแล้วจะเอาผลเลย
ไม่ใช่อย่างนั้นนะ 
มันต้องพอใจสร้างเหตุ  พอใจปฏิบัติ 
ปฏิบัติแล้วก็ต้องไม่อยากด้วย 
ถ้าอยากเมื่อไหร่ มันผิดทางเลย 
มันมีอัตตา มันสร้างตัวตนขึ้นมา 
มันถึงต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า 
เราปฏิบัตินี่ เพียงแค่พอใจสร้างเหตุ
พอใจปฏิบัติ เท่านั้น 
ส่วนผลเป็นยังไงแล้วแต่สภาวธรรม 
จะช้าจะเร็ว มันก็ไม่เป็นไร

พระอาจารย์ครรชิต สุทธิจิตโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

ผู้ปฏิบัติเพื่อความเห็นภัย



ผู้ปฏิบัติเพื่อความเห็นภัย
ต้องเป็นผู้มีสติระลึกรู้อยู่กับใจตลอดเวลา
ไม่พลั้งเผลอได้เป็นการดี
ความไม่พลั้งเผลอนั่นแล
คือทำนบเครื่องป้องกันกิเลสต่างๆ
ที่ยังไม่เกิด ไม่ให้มีโอกาสเกิดขึ้นได้
ที่มีอยู่ซึ่งยังแก้ไม่หมด
ก็ไม่กำเริบลำพอง

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

ที่เรียกว่ามีดวงตาเห็นธรรม



ถ้าวันใดเข้าใจธรรมะแล้ว 
เห็นว่ากายกับใจไม่ใช่ตัวเรา 
อันนี้แหละที่เรียกว่ามีดวงตาเห็นธรรม 
พระโสดาบันมีดวงตาเห็นธรรม 
คือได้เห็นความจริงว่ากายกับใจไม่ใช่เรา 
ตัวเราไม่มี

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


วิมุติ คือ จิตถอยเข้าสู่ “ความว่าง”


วิมุติ คือ จิต  มันถอยเข้าสู่ “ความว่าง”
ท่านผู้ถึงวิมุติ มันก็เป็น “สักแต่ว่า” 
มันเป็นกิริยาของจิต มันเป็นความรู้สึก 
“ของเก่าๆ" มันก็ยังมีอยู่ แต่ “มีอยู่ สักแต่ว่ามี” 
มีก็เหมือนกับว่า มันไม่มี 
มัน “ขาดอุปาทาน” ขาดความยึดแน่น 
ไม่สำคัญมั่นหมาย ว่ามันเป็นจริงเป็นจัง 
เห็นเป็นสักว่า เห็นด้วย “ปัญญา” 
เท่ากับ “ถอนอุปาทาน” ในตัวมันแหละ

หลวงปู่ชา สุภัทโท

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

การละอวิชชาตัณหาคืออะไร


ทุกข์เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ เป็นสิ่งที่ควรรู้ 
คือให้สติดูมัน ให้ระลึกรู้มัน 
สมุทัยคือสิ่งที่ควรละ 
คือละตัณหา ละอวิชชานั่นเอง 
อวิชชาตัณหาเป็นสมุทัย 
การละอวิชชาตัณหาคืออะไร 
ไม่เอา "เรา" เข้าไปในนั้นน่ะ 
เป็นกลางนั่นเอง 
ถ้าเอาเราเข้าไปในขันธ์ ๕ 
ไปยึดขันธ์ ๕ เมื่อไร นั้นล่ะเป็นอวิชชา

พระอาจารย์วิชัย กัมมสุทโธ

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

จิตที่ไปไม่เอา ให้เอาดวงจิตที่รู้อยู่


การฝึกหัดทำจิตในสมาธิภายใน ให้ทำอยู่เสมอไม่ว่าเวลาใด
จิตให้มีความระลึกอยู่ในดวงจิต ดวงที่ "รู้อยู่ภายใน"
คอยระวังจิตดวงในไม่ให้หลงทางตาม "สังขารจิต"
จิตที่ไปไม่เอา ให้เอาดวงจิตที่รู้อยู่ 
ดวงจิตที่รู้อยู่นี้ไม่ได้ไปที่ไหน 
ตั้งแต่เกิดมาก็อยู่ภายในนี้เอง 
ขณะใดที่จิตสังขารมันไป
ก็ยังรู้อยู่ว่า จิตของเราไปไหน
ขณะจิตสังขารมันกลับมาก็ว่ามันกลับมา 
ให้ทุกคนกำหนดให้ได้ว่า 
จิตดวงในนี้อยู่ภายในนี้แล้ว ไม่ต้องไปหาที่อื่น 

หลวงปู่สิม พุทธาจาโร

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



เราไม่ควรปฏิบัติเพื่อควบคุมความคิด



เราไม่ควรปฏิบัติเพื่อควบคุมความคิด 
แต่ปฏิบัติเพื่อไม่ให้ความคิดมาควบคุมเรา 
ดังนั้นแม้จะมีความคิดเกิดขึ้นในใจ 
เราก็เพียงแต่รู้เท่าทันมัน 
เท่านี้มันก็ควบคุมจิตเราได้ยาก

พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

ดูละคร ก็เจริญสติได้


จากหนังสือ เพียงแค่รู้สึกตัว โดย พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

นักฟังเทศน์ที่ดี



ธรรมชาติเทศนา ทั้งกลางวัน กลางคืน 
ทั้งภายนอกและภายใน
ประกาศอยู่ตลอดเวลา 
แต่ทำไมจิตจึงไม่เห็น 
เหตุเพราะอวิชชา 
นักฟังเทศน์ที่ดี 
(คือ) มองเห็นความแปรปรวนของสังขาร  
เพราะจิตเขาไม่มัวเมา มีสติ ไม่ประมาท

หลวงปู่หลุย จันทสาโร

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

เป็นแค่ผู้เห็น ปลอดภัยแล้ว


เคล็ดลับของการปฎิบัติคือ อย่าเข้าไปเป็น 
ให้เป็นผู้รู้ เป็นผู้ดู 
อย่าเข้าไปเป็นมัน ถ้าเข้าไปเป็นมัน ไม่ใช่นักปฏิบัติ 
เพราะเวลาเราไม่ปฏิบัติ เราก็เข้าไปเป็นอยู่แล้ว
เวลาเกิดความโกรธ เราก็โกรธ 
เวลาเกิดความรัก เราก็รัก 
แต่นักปฏิบัติจะต้องเห็น 
เห็นความโกรธ เห็นความรัก 
เห็นความเบื่อ เห็นความขี้เกียจ 
แต่ไม่ได้เข้าไปเป็นผู้ขี้เกียจด้วย นี่ปลอดภัยแล้ว
ทุกข์จะเกิดขึ้นที่กายมากน้อยแค่ไหน แต่ใจเป็นผู้เห็น 
ความคิดจะปรุงแต่งให้ใจเราเศร้าหมองแค่ไหน 
ใจเราก็ไม่ได้ไปเศร้าหมองด้วย 
เป็นแค่ผู้เห็น ปลอดภัยแล้ว

อ.กำพล ทองบุญนุ่ม

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




จุดอ่อนของมันก็คือการถูกรู้ถูกเห็น


เมื่อเรามีสติรู้ทันความคิดและอารมณ์บ่อย ๆ 
ต่อไปก็จะรู้ทางว่าความคิดจะมาแบบไหน อารมณ์จะมาไม้ไหน 
คนเราเวลาจมอยู่ในอารมณ์ 
อารมณ์เหล่านี้จะพยายามครองจิตครองใจให้นานที่สุด 
มันมีลูกไม้หลายอย่าง เช่นเวลาเราโกรธ 
ความโกรธจะสั่งให้จิตส่งออกนอก 
ไปจดจ่ออยู่กับคนที่พูดไม่ดีกับเรา ทำไม่ดีกับเรา 
เราก็จะโกรธแล้วก็ด่าเขากลับ หรือถึงขั้นทำร้ายร่างกายเลย 
อันนี้เป็นอุบายอย่างหนึ่งของความโกรธ 
มันต้องการให้จิตเราส่งออกนอก 
จะได้ไม่หันกลับมาดูใจจนรู้ทันว่ามีอารมณ์เกิดขึ้น
ทันทีที่รู้ทันว่ามีอารมณ์เกิดขึ้น มันจะฝ่อหรือสลายตัวไป 
เพราะจุดอ่อนของมันก็คือการถูกรู้ถูกเห็น 
ยิ่งมีสติรู้ทันมันเร็วเท่าไร 
มันก็ครอบงำจิตใจเราได้น้อยเท่านั้น 
ดังนั้นเราจึงควรหมั่นสังเกตความคิด 
หมั่นดูจิตใจ หมั่นมองตนบ่อย ๆ 
หากไม่อยากพลาดท่าเสียทีเพราะอารมณ์อกุศลเหล่านั้น

พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



อภิญญาไม่ใช่ปัญญา



ผู้สำเร็จฌานแล้ว จะต้องมาเวียนว่ายตายเกิด
เพราะ จิตไม่มีปัญญา 
ลักษณะของการรู้จริง เห็นจริง 
ที่เรียกว่า อภิญญา เป็นลักษณะอย่างนี้
ไม่ได้จัดเข้าในลักษณะของปัญญา 
ที่จะเอาตัวรอดจากอำนาจของกิเลส
เพราะฉะนั้นสมาธิในฌาน
จึงเป็นสมาธิที่ไม่สามารถจะ
ทำให้ผู้ปฏิบัติได้สำเร็จมรรคผลนิพพาน 
ถึงจะมีบ้างก็มีจำนวนน้อย

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา