ในขณะที่เกิดสัมพันธภาพกับภายนอก
จิตก็ควรจะกำหนดให้อยู่ในจิต
เมื่อเห็นก็กำหนดให้ "รู้เท่าทัน" การเห็น
แต่ไม่ถึงกับต้องรำพึงรำพันออกมาว่า
เห็นแล้วนะ เห็นแล้วหนอ อะไรหรอก
เพราะขณะจิตหนึ่งๆ นั้น มันไม่กินเวลาอะไร
เมื่อรู้เท่าทันแล้ว ก็ไม่ต้องไปรำพึงรำพัน
เป็นการปรุงแต่งเพิ่มเติมอีก
ในการ "กำหนดให้รู้ให้เท่าทัน"นั้น
อย่าได้ถูกลวงด้วยสัญญาแห่งภาษาคนภาษาโลก
ดังเช่นการรู้เท่าทันคนที่จะมาหลอกลวงเรา เป็นต้น
การ "รู้เท่าทันอารมณ์"ในภาษาธรรมนั้น
หมายความว่า ความ " รู้ "
จะต้องทันกันกับการรับอารมณ์ของทวารทั้ง ๕
เช่น ในขณะที่ตาเห็นรูป
จะต้องมีสติรู้อยู่อย่างเต็มที่สมบูรณ์
มีความรู้ตัวพร้อมอยู่ตลอดเวลา โดยไม่จำเป็นต้องรู้อะไร
เมื่อเป็นเช่นนี้ "ทุกข์"
อันอาศัยปัจจัยคือ การเห็น เป็นต้นนั้น ย่อมไม่เกิด
และเราก็สามารถมองอะไรได้อย่างอิสระเสรี
โดยที่รูปหรือสิ่งที่เรามองเห็น
ไม่อาจมีอิทธิพลอันใดเหนือเราได้เลยแม้แต่น้อย
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
ที่มา : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น