ผู้ไม่มี "ความยึดถือ"




ผู้ไม่มี "ความยึดถือ" 
ย่อมจะเข้าถึง "พุทธะ"


ท่านพ่อลี ธัมมธโร

จิตใจที่ว่างเปล่าเป็นบุญยิ่งกว่าบุญทั้งหลาย




การทำจิตใจให้ว่างเปล่า 
เพื่อตามรู้ตามดู กิเลสทั้งหลาย 
จึงชื่อว่าเป็นบุญ หรือการเข้าถึงความว่างเปล่า 
ด้วยสติรู้เข้าไป จนถึงจุดหมาย 
ย่อมเป็นบุญยิ่งกว่าบุญทั้งหลาย 
จิตใจที่ว่างเปล่าเป็นบุญยิ่งกว่าบุญทั้งหลาย


หลวงปู่ดาบส สุมโน

จิตเป็นอิสระจากอารมณ์ คือการปฏิบัติที่ถูกต้อง




การปฏิบัติอันใดที่จิตสามารถเพิกถอนตนเอง
ออกจากอารมณ์ทั้งหมด 
เป็นจิตอิสระ ไม่ขึ้นตรงต่ออารมณ์ทั้งหมด
ได้โดยถาวรตลอดไป 
ไม่ใช่เป็นอิสระเวลาใดเวลาหนึ่ง 
แต่เป็นอิสระยืนนานตลอดไปได้ 
คนนั้นถือว่าปฏิบัติได้ถูกต้อง


พระอาจารย์จรัญ ทักขญาโณ

พาใจออกจากการคิดถึงคนอื่น



เมื่อเราต้องการจะพรากใจของเราออกจากการคิดถึงคนอื่น 
ก็ต้องพาใจมาไว้ที่ตัวเรา...แล้ว * ตัวเรา * นี้คืออะไร 
ตัวเรานั้นมีอยู่สองส่วน ก็คือ กาย กับ ใจ 
การคิดถึงตัวเองก็คือการคิดถึงกายและคิดถึงความรู้สึกของเรานั่นเอง
การคิดถึงกาย ก็คือ การตั้งใจเฝ้าสังเกตกายตามความเป็นจริง
ว่ากายกำลังทำอะไรอยู่ และอยู่ในอิริยาบถไหน 
ส่วนการคิดถึงความรู้สึก ก็คือ การเฝ้าสังเกตความรู้สึกในใจของเรา
ว่าขณะนี้กำลังรู้สึกอย่างไรอยู่ 
เมื่อสังเกตได้ ใจก็จะอยู่กับตัวมันเอง 
เพราะไม่มีเวลาให้ใจไปคิดถึงคนอื่น 
ความกังวล หงุดหงิด รำคาญใจ จึงไม่มีโอกาสเกิดขึ้น


พระอาจารย์มานพ อุปสโม

อยู่อย่างมีสติ




อยู่อย่างมีสติ..
ถ้ามีสติ.....เขาจะดูแลของเขาเอง
ถ้ามีสติ.....เขาจะละความชั่วเอง
ถ้ามีสติ.....เขาจะทำความดีเอง
ถ้ามีสติ.....เขาจะบริสุทธิ์เอง

หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ

ระวังความคิดเห็นจะไปปิดบังความจริง




ความคิดก็คือความคิด ไม่ใช่ความจริง
ระวัง ความคิดเห็นจะไปปิดบังความจริง
จะพลาดจากการรู้ความจริง
เพราะติดอยู่ที่ความคิดเห็น


พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

หัวใจของการเจริญวิปัสสนา คือการตั้งใจดูความคิด




หัวใจของการเจริญวิปัสสนา
หรือการทำกัมมัฏฐาน 
หรือการเจริญสมาธินั้น ก็คือ 
การตั้งใจที่จะดูความคิด 
ทันใดที่เราตั้งใจจะดูความคิด 

สมาธิจะเกิดทันที 
แล้วเป็นสมาธิที่ไม่ต้องทำขึ้น 
เพราะความตั้งใจนั้นเอง 
ที่จะดูกระแสของความคิด


ท่านเขมานันทะ

ความสมบูรณ์ของชีวิตคือ ทำตัวเองให้เป็นผู้ไม่มีอะไรเลยในโลก




การที่ได้รู้-ได้เห็น-ได้เป็น-ได้มี...ทุกสิ่งทุกอย่างนั้น 
พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ว่าไม่ใช่ความสมบูรณ์ของชีวิต...
ความสมบูรณ์ของชีวิตนั้นคือ 
ทำตัวเองให้เป็นผู้ไม่มีอะไรเลยในโลก 
ถ้าเราทำตัวเองให้เป็นผู้มีอะไรอยู่แล้ว...จะไม่เห็นอะไรเลย
แต่ถ้าทำตัวเองให้เป็นผู้ไม่มีอะไรเลย...
ก็จะได้เห็นอะไรมากมายในโลกของความเป็นจริง


พระอาจารย์ชายแดน สีลสุทโธ

จิตใจที่กระเพื่อมออกของเราคือตัว “สมุทัย”




จิตใจที่กระเพื่อมออก ของเรานี่เอง 
คือตัว “สมุทัย” ที่เป็นสาเหตุแห่ง “ทุกข์” ในวัฏสงสาร ...
จึงต้องมี “มรรค” คือสติบารมีที่แข็งแกร่ง 
เป็นตัวแทนของพระศาสดา 
นำพาไปสู่ “นิโรธ” คือความพ้นทุกข์ได้


หลวงพ่อไม อินทสิริ

การดูจิต มุ่งให้เห็นความจริง




การดูจิต
ข้อ ๑. อย่าไปดักดู ให้ความรู้สึกเกิด แล้วค่อยรู้เอา
ข้อ ๒. ดูแบบคนวงนอก ดูห่างๆ เหมือนดูคนอื่น 
อย่าให้ใจไหลเข้าไปรวมกับอารมณ์
ข้อ ๓. ดูแล้วอย่าแทรกแซง ให้ทำจิตเป็นกลาง 
ไม่รักษา และไม่แก้ไข
เพราะเราปฏิบัติ ไม่มุ่งเอาดี ไม่มุ่งเอาสงบ
แต่มุ่งให้เห็นความจริงว่า ทุกสิ่ง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

คนสร้างบารมี ผู้อื่นมาก่อน


โดยปกติคนเรามักทำอะไรดีๆ ให้ตนเอง
แต่คนที่หวังความพ้นทุกข์ สร้างบารมี จะไม่ทำแบบนั้น 
อะไรที่ดีๆ เขาทำให้คนอื่นก่อน เราเอาไว้ทีหลัง
สมมติว่าเป็นอาหาร
ปกติคนเราก็เลือกกินอาหารดีๆ ส่วนไม่ดีให้คนอื่น
แต่คนที่สร้างบารมีจะไม่ทำอย่างนั้น
จะเว้นอันไหนดีๆ ให้คนอื่นไป เราเอาที่คนอื่นไม่ต้องการ
เป็นการสร้างบารมี เป็นผู้ที่มีความเสียสละ
ถ้าฝึกอย่างนี้ก็จะเป็นผู้ที่ใกล้กับความดับทุกข์เข้าไป
เพราะว่าจิตใจเสียสละ มันลดละความเห็นแก่ตัวได้

พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี

กำหนดรู้อารมณ์ปัจจุบัน ตัวกิเลสจะหายไป




แสงสว่างย่อมจะไปกำราบตัวมืดให้หายไปฉันใด
เมื่อมีการกำหนดรู้อารมณ์ปัจจุบันแล้ว
ตัวกิเลสก็หายไปได้ฉันนั้น
เมื่อมีสติอยู่ ตัวโมหะย่อมหมดไป
เมื่อประคองตัวสติสัมปชัญญะให้ตั้งมั่นอยู่แล้ว 
มันก็จะหมดสิ้นไปซึ่งอาสวะกิเลสทั้งหลาย
และจะถึงที่สุดแห่งทุกข์


หลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล

เสียดายกิเลส




การพิจารณาให้เห็นความไม่แน่นอนของชีวิต 
ไม่เหลือวิสัยของใคร แต่เราไม่ค่อยอยากทำ
เพราะกลัวจะเสียความรู้สึก 
กลัวชีวิตจะจืดชืด จะแห้งแล้ง 
พูดง่ายๆ ว่าเสียดายกิเลส ...
ครูบาอาจารย์ผู้ที่ข้ามพ้นไปแล้ว 
ท่านยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่ใช่อย่างนั้น 
ถ้าละกิเลสแล้ว ชีวิตจึงจะสดชื่นเบิกบาน 

พระอาจารย์ชยสาโรภิกขุ

ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ความฟุ้งซ่านหรือความเครียด




นักปฏิบัติธรรมจำนวนไม่น้อยมีความทุกข์
เวลาเกิดความฟุ้งซ่านหรือความเครียด 
แท้จริงแล้วปัญหาไม่ได้อยู่ที่ความฟุ้งซ่านหรือความเครียด 
แต่อยู่ที่ความรู้สึกเกลียดที่มีต่ออาการเหล่านั้นต่างหาก 
ถ้าหากมองว่ามันเป็นธรรมดาของใจ
หรือวางใจเป็นกลางต่ออาการเหล่านั้น 
ความทุกข์จะลดลงมาก ยิ่งผลักไสไล่ส่งมัน มันก็ยิ่งเป็นศัตรูกับเรา
แต่ทันทีที่ยอมรับมันหรือยิ้มรับมัน อย่างที่เราทำกับแขกผู้มาเยือน 
มันก็จะกลายมาเป็นมิตรกับเรา รบกวนเราน้อยลง 
และพร้อมจะจากไปในเวลาไม่นาน เหมือนอาคันตุกะที่รู้เวลาของตัวเอง


พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

ทำบุญสละความตระหนี่ กุศลจึงสมบูรณ์




การทำบุญ ทำกุศลเดี๋ยวนี้ ส่วนมากทำเพื่อพ่อ ทำเพื่อแม่ 
ทำเพื่อลูก ทำเพื่อสามีภรรยา..
บุญกุศลทำเพื่อพรรคพวก ทำเพื่อสามีภรรยาของตัวเอง 
ก็เรียกว่าทำเพื่อตนอยู่ 
การทำบุญ ทำกุศลจึงมีอานิสงส์ไม่สมบูรณ์...
การทำบุญทำกุศล ต้องทำด้วยศรัทธา 
ทำด้วยความเชื่อ ความเลื่อมใส
ทำมุ่งในการที่จะเสียสละความตระหนี่ของตนจริง ๆ 
อันนี้เป็นบุญ เป็นกุศลอย่างสมบูรณ์


หลวงปู่แบน ธนากโร

ภาวนาคือสร้างสติ




การภาวนาไม่มีกาลมีเวลาเรียกว่า อกาลิโก เว้นเสียแต่นอนหลับ
จะพูดจะคุยอยู่ก็เรียกว่าภาวนา ถ้ามีสติอยู่ 
เพราะสิ่งใดถ้าเกี่ยวกับจิตใจจัดว่าเป็นภาวนาทั้งนั้น 
อย่างแสดงธรรมจัดเป็นภาวนา 
ผู้ที่นั่งฟังธรรมก็จัดว่าภาวนา เพราะตั้งใจฟัง 
เรียกว่าสัมธัมมัสสวนมัย สัทธัมมัสเทศนามัย ...ตกลงภาวนานี้ 
สร้างความไม่ประมาท คือพยายามสร้างสติ

หลวงปู่คำดี ปภาโส 

มีสติ รู้กาย รู้ใจ จิตจะเห็นรูปนามตามจริง




การมีสติ รู้กาย รู้ใจอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัน 
จากสติธรรมดากลายเป็นมหาสติ กลายเป็นปัญญา 
กลายเป็นธัมมะวิจยะคือวิจัยธรรมแล้ว 
จิตจะเห็นรูปเห็นนามตามความเป็นจริงได้เอง

พระอาจารย์ชานนท์ ชยนนฺโท

ความสงบเกิดได้จากการฝึกละอารมณ์




ความสงบไม่ใช่ความที่หยุดคิด...
ความสงบเกิดได้จากการฝึกละอารมณ์ 
การฝึกละอารมณ์ทำได้โดยการเอาจิตมาไว้กับกาย 
ด้วยการอยู่กับปัจจุบันขณะ รู้ลมเข้าลมออก 
หรือรู้อิริยาบถที่กำลังเป็นอยู่ 

หรือรู้สิ่งที่กำลังทำอยู่ 
เมื่อหลงคิดก็ดึงกลับ ละอารมณ์ความหลงเพลินคิดทุกๆ ขณะ 
ทำบ่อยๆ ทำให้มาก เจริญให้มาก 
จิตจะสบายหลุดพ้นจากเครื่องติดข้อง 
ความเศร้าหมองจะคลายตัวหายไปจากใจ


ครูบาไตรภพ วัดป่าโคกเจริญธรรม

หลงติดในญาณ จะเนิ่นช้าในการบรรลุธรรม



“ญาณ” คือความรู้พิเศษ ที่เกิดขึ้นในระหว่างแห่งความสงบ
เป็นต้นว่า ญาณระลึกชาติได้ ญาณรู้จักเหตุการณ์ในอดีต
ญาณรู้จักเหตุการณ์ในอนาคต
รู้จักวาระจิต ความนึกคิดของบุคคลอื่นเป็นต้น
เหล่านี้ ล้วนแต่เป็นวิชาน่าอัศจรรย์ทีเดียว
แต่ถ้าหากว่าหลง และติดอยู่ในญาณเหล่านี้แล้ว
จะทำให้เกิดความเนิ่นช้า ในการปฏิบัติเพื่อเข้าสู่อริยสัจธรรม

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ทำสมาธิให้เกิดได้ทุกขณะ




ความเป็นจริง การยืน การเดิน การนั่ง การนอน 
ก็เป็นการปฏิบัติทั้งนั้น ทำสมาธิให้เกิดได้ทุกขณะ 
สมาธิหมายตรงเข้าไปว่า ความตั้งใจมั่น 
การทำสมาธิ ไม่ใช่การไปกักขังตัวไว้ 
บางคนก็เข้าใจว่า ฉันจะต้องหาความสงบ ...
จะไปนั่งไม่ให้มีเรื่องอะไรเกิดขึ้นเลย 
จะไปนั่งเงียบๆ อันนั้นก็คนตาย ไม่ใช่คนเป็น


การทำสมาธิคือทำให้รู้ ทำให้เกิดปัญญา 
ทำให้มีปัญญาสมาธิ 
สมาธิ คือความตั้งใจมั่นมีอารมณ์อันเดียว 
อารมณ์อันเดียว คืออารมณ์อะไร 
คืออารมณ์ที่ถูกต้องนั่นแหละ เรียกว่าอารมณ์อันเดียว


หลวงปู่ชา สุภัทโท

จงตามรู้อาการของจิต




อาการของจิต มันเคลื่อนไหวอย่างไร
จงตามรู้ให้หมด รู้หมดแล้วไม่มีอะไร
มาแสดงตนเป็นผู้เจริญและผู้เสื่อมต่อไป 
เหตุที่สิ่งเหล่านี้จะปรากฏดีๆ ชั่วๆ 
เนื่องจากเราตื่นเงาของตัวเอง 
(อาการของจิตนั้นเอง)

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

จิตจะสงบได้เพราะวางตัวตน



หากว่าเราเชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าจริงๆ 
มันก็ควรที่จะน้อมตัวลงสู่คำสอนของพระองค์ 
ละอัตตานุทิฏฐิลงไป ความเห็นว่ามีตัวตนมีเรามีเขานี่ 
ควรละจริงๆ เพียรละมันไปเรื่อยๆ 
ถ้าไม่ปล่อยวางความเห็นอย่างว่านี้แล้ว จิตสงบลงไม่ได้เลย 
จิตจะสงบลงไปได้ก็เพราะเราวางคำว่าตัวตนเราเขาลงไป 
เมื่อวางลงได้อย่างนี้ สุข มันก็ไม่ยินดีไปตามสุข 
ทุกข์เกิดขึ้น มันก็ไม่ยินร้ายไปตาม 
มีสติคุมจิตให้เป็นกลางอยู่อย่างนั้น 

หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

คนเราทุกคนใหญ่แต่กาย




คนเราทุกคนใหญ่แต่กาย 
ใหญ่แต่ชาติ ใหญ่แต่ชื่อ ใหญ่แต่ยศ ใหญ่แต่ความสำคัญตน 
แต่ความรู้ความฉลาดที่จะทำตนให้ร่มเย็นเป็นสุข 
ทั้งกายและใจโดยถูกทาง
ตลอดจนให้ผู้อื่นได้รับความร่มเย็นเป็นสุขด้วย
นั่นไม่ค่อยเจริญเติบโตด้วย และไม่สนใจบำรุงให้ใหญ่โตด้วย
จึงเกิดความเดือดร้อนกันอยู่ทุกหนทุกแห่ง
โดยไม่เลือกเพศวัยชาติชั้นวรรณะอะไรเลย


หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

เบื่อๆ อยากๆ มันก็เลยลำบากอย่างทุกวันนี




พวกเรานี้เหมือนกับมดแดงกัดเด็ก 
พอมันกัดขึ้นมาก็ร้องไห้ แล้วก็ขยับไปหน่อยหนึ่ง 
มดแดงก็ไล่กัดอีก ก็ขยับไปหน่อยหนึ่ง อย่างนั้นล่ะพวกเรา 
มันไม่เบื่อในโลกจริง ยังมองว่ามีความสุขจุดใดจุดหนึ่งอยู่ 
ถ้าเบื่อหน่ายคลายแล้วจะหลุดพ้น ...
นั่นคือพระอริยเจ้าที่ท่านเบื่อหน่าย คลาย 
แล้วก็หลุดพ้นจากอาสวกิเลส แต่พวกเรานี่มันไม่เบื่อจริง 
เบื่อๆ อยากๆ มันก็เลยลำบากอย่างทุกวันนี

หลวงพ่ออินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก

แก่นสารของชีวิตเริ่มที่มีสติรักษาจิต




แก่นสารของชีวิตเริ่มต้นตรงที่มีสติรักษาจิต
เมื่อจิตกลับเข้ามาอยู่กับตัวเองได้นานขึ้น ๆ
"อารมณ์ข้างนอก" ซึ่งมันเคยมีอิทธิพลต่อจิต 
เคยครอบงำจิต บีบคั้นจิต ทับถมจิต 
มันก็ดับไปได้... สลายไปได้ ...


พระอาจารย์ครรชิต สุทธิจิตโต

อุปสรรค ปัญหา คือของขวัญ




อย่าโอดครวญว่าอุปสรรค ปัญหา เป็น “มารผจญ”
มันคือของขวัญอันเสมอภาคที่ทุกคนจะต้องได้รับ
สำหรับคนอ่อนแอเท่านั้น ที่แก้ห่อของขวัญนั้นไม่ออก

พระอาจารย์อำนาจ โอภาโส

การฝึกหัดสมาธิภาวนา คือการตั้งสติอันเดียว




การฝึกหัดสมาธิภาวนา 
คือ การตั้งสติอันเดียว ให้รู้ตัวอยู่เสมอ 
มันคิดมันนึกอะไร ก็ให้รู้ตัวอยู่เสมอ 
ยิ่งรู้ตัวชัดเจนเข้า มันยิ่งเป็น เอกัคตารมณ์ 
นั่นแหละตัวสมาธิ


หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

ความดำริของใจเจ้าโง่




ตา หู จมูก ปาก ลิ้น กาย ใจ มิใช่กิเลส
รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ อารมณ์ มิใช่กิเลส 
อายตนะนอก อายตนะใน มิใช่กิเลส
ความดำริของใจเจ้าโง่ นี้ต่างหาก 
ที่มันพาให้เกิดเป็นกิเลส


หลวงปู่จาม มหาปุญโญ

เราไม่มีหน้าที่ละกิเลส เรามีหน้าที่รู้




เราไม่มีหน้าที่ไปละกิเลส เรามีหน้าที่ไปรู้มัน
ทันทีที่รู้ ก็เหมือนมีความสว่างเกิดขึ้
แล้วความมืดก็ดับลงทันที
โดยไม่ต้องหาทางทำลายความมืดเลย
เพราะฉะนั้น ไม่ต้องกังวลเรื่องหาทางละกิเลสนะ
หมั่นเจริญสติให้มากเข้าเถอ

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

เบื้องต้นของความเป็นพุทธะ




ความรู้สึกตัวหรือความรู้เนื้อรู้ตัวนี่แหละ
คือเบื้องต้นของความเป็นพุทธะ
พุทโธ, พุทธะ แปลว่า รู้, ตื่น, เบิกบาน
ถ้าเผลอ ใจเหม่อลอยอยู่
จะ รู้ ตื่น และเบิกบาน ได้อย่างไร


พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

ถ้าเห็นว่า จิตเผลอ ก็ใช้ได้




ถ้าเห็นว่า จิตเผลอ ก็ใช้ได้..
ได้สติ ความรู้ตัว
ถ้าเห็นว่าเห็นจิตเคลื่อน ก็ใช้ได้..
ได้สมาธิ จิตตั้งมั่น
ถ้าเห็นว่า จิตเกิด-ดับ ก็ใช้ได้..
ได้ปัญญา


พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล

มีปัญญาเต็มร้อยต้องคลายทั้งร้อย




ทางโลกทุกคนเป็นอัจฉริยะกันหมด
มีปัญญากันเต็มร้อย
แต่ในทางธรรม
มีปัญญาเต็มร้อยต้องคลายทั้งร้อย


พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร

"รู้" ตัวเดียว ตัดภพตัดชาติ




เราเอา “รู้” ตัวเดียว
จับ รู้ ตัวเดียว ..
จับ รู้ ไว้ ..
เราก็ได้กำไรตั้งหลายอย่างแล้ว
อะไรเกิดขึ้น เราไม่จับเลย
ตัดภพตัดชาติไปตั้งมากมาย
จนไม่รู้จะคณานับอย่างไร

ลุงหวีด บัวเผื่อน

เพราะคุ้นชินกับความคิด เลยไปกับความคิด




เพราะเราคุ้นชินกับความคิด เลยไปกับความคิด 
ท่องเที่ยวไปในวัฎสงสาร 
ไปเกาะเกี่ยวเอาทุกข์ เอาสุข เข้ามาตลอดเวลา 
ไม่คุ้นชินกับการรู้สึกอยู่กับกายเฉยๆ 
โดยไม่คิด ไม่ปรุงแต่ง
ไม่ท่องเที่ยวไปในวัฎสงสาร ไม่เวียนว่ายตายเกิด 
ไม่ไปเกี่ยวเอาทุกข์ เอาสุข มาเป็นของตน 
การที่เรามาปฏิบัติ ก็เพื่อทำให้เราคุ้นชิน
กับการที่ใจเป็นหนึ่งเดียวกับกาย

หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท

ตัวเรานี่เองที่เป็นต้นเหตุก่อทุกข์




พึงเข้าใจว่า ตัวเร นี่เองที่เป็นต้นเหตุก่อทุกข์อะไรต่างๆ 
เข้ามาสุมเผาใจตัวเอง ให้เศร้าหมองอยู่ตลอดวันเวลา 
แต่กลับไม่รู้ตัวกัน มองไม่ออกว่า 
ตัวเรานี่แหละเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ของเรา 
ก็ทุกข์เพราะเราไปยึดมั่นติดใน ตัวเรา 
วางไม่ลง ปลงไม่ตก หวงแหน ปกป้องตัวเราสุดชีวิต 
และดูเหมือนว่าการยึดเข้ามาจะง่ายกว่าที่จะปล่อยออกไปเสียอีก


ท่าน ก.เขาสวนหลวง

คนมีปัญญา ต้องรู้เท่าทันกิเลส




เมื่อได้ฝึกอบรม มีองค์พระพุทโธ
อยู่ในจิตใจแล้ว สมควรแล้ว
ก็จะรู้สิ่งที่ไม่เคยรู้ เห็นในสิ่งที่ไม่เคยเห็น
ที่ว่ารู้ รู้เรื่องอะไร? ก็รู้เท่าทันกิเลส
คนมีปัญญา ต้องรู้อย่างนี้นะ
อย่าไปรู้เรื่องอื่นๆ ยิ่งไปกว่ารู้เท่าทันกิเลส !


หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม

สาเหตุความทุกข์ ๑๐๐% อยู่ข้างในตนเอง




การมองออกไปภายนอกแต่เพียงมุมเดียวนั้น 
ทำให้ท่านเข้าใจอย่างผิดๆ ว่า 
สาเหตุของความทุกข์ของท่านมาจากสิ่งภายนอก
(แต่) นักวิปัสสนาทั้งหลาย
จะเข้าใจกระจ่างแจ้งว่า 
สาเหตุของความทุกข์ของตนนั้น 
ทั้ง ๑๐๐% อยู่ข้างในตนเอง 
ไม่มีอะไรจากภายนอกเลย...


ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า

เผลอคิดประทุษร้ายสิ่งภายนอก




เผลอคิดประทุษร้ายสิ่งภายนอก
กำลังถูกหลอกให้ประทุษร้ายจิตภายใน


พระอาจารย์อำนาจ โอภาโส

จิตว่างจากการยึดถือ




เมื่อใดบุคคลมาเห็น สักแต่ว่าได้เห็น
ฟังสักแต่ว่าได้ฟัง รู้สักแต่ว่าได้รู้
เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ สักแต่ว่าเกี่ยวข้อง 
ไม่หลงใหล พัวพันมัวเมา
เมื่อนั้นจิตก็จะว่างจากการยึดถือต่างๆ 
ปลอดโปร่ง แจ่มใส เบิกบานอยู่


จากหนังสือ คำตรัสของพระพุทธเจ้า โดยนิดดา หงษ์วิวัฒน์

สติมีหน้าที่ระลึก ไม่ใช่กำหนด




คำว่า “รู้สึกตัว” ก็คือไม่เผลอไป 
ไม่ใจลอยไป กับไม่ไปเพ่งเอาไว้ 
แค่รู้สึกถึงความมีอยู่ของกาย 
รู้สึกถึงความมีอยู่ของใจ 
คำว่ารู้สึกถึงความมีอยู่ของกาย ...
รู้สึกถึงความมีอยู่ของใจนี่แหละ
คือหน้าที่ของสติ 
สติมีหน้าที่ระลึก 
สติไม่ได้มีหน้าที่กำหนด


หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช