รู้...แบบสักแต่ว่า




การตามดูจิตนี่สำคัญ พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
"ผู้ใดตามดูจิต ผู้นั้นจะพ้นจากบ่วงของมาร"...
เรามีหน้าที่เพียงรับรู้รับทราบความเป็นไปของจิต
รู้แบบสักแต่ว่า...
คือรู้แบบปล่อยวาง วางเฉย ไม่ยินดียินร้าย
จะเป็นสภาวธรรมที่ดี หรือไม่ดี ก็รู้ไว้...
สิ่งนั้นจะเกิด ก็ไม่ว่าอะไร
สิ่งนั้นจะดับ ก็ไม่ว่าอะไร
รู้แบบยอมรับกับสิ่งที่จิตไปรู้
นี่คือ 

พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี

สิ่งที่จะใช้ยืนยาวคือ อริยทรัพย์




โลกียทรัพย์ กล่าวคือ รูป รส เสียง กลิ่น รส สัมผัส 
ก็พึ่งได้เพียงชั่วคราว 
สิ่งที่จะใช้ยืนยาวคือ อริยทรัพย์ 
อันได้เเก่ศรัทธา ศีล หิริ โอตัปปะ พหุสัจจะ จาคะ 
เเละ ปัญญาในทางธรรมสำคัญกว่า

หลวงปู่บุญกู้ อนุวฑฺฒโน

สุขหรือทุกข์ ขึ้นอยู่กับความคิดหรือมุมมอง



อะไรเกิดขึ้นกับเรา ไม่สำคัญเท่ากับว่า
เรามองหรือรู้สึกกับสิ่งนั้นอย่างไร
แม้มีสิ่งไม่ดีเกิดขึ้นกับเรา
แต่หากรู้จักมอง ก็ไม่เป็นทุกข์
กลับได้ประโยชน์ด้วยซ้ำ ในทางตรงข้าม
แม้มีสิ่งดีๆเกิดขึ้นกับเรา แต่ถ้ามองไม่เป็น
กลับเป็นทุกข์ ดังนั้นสุขหรือทุกข์
จึงขึ้นอยู่กับความคิดหรือมุมมองเป็นสำคัญ
กล่าวอีกนัยหนึ่ง สุขหรือทุกข์อยู่ที่ใจยิ่งกว่าอะไรอื่น

พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

ผู้ที่ฝึกจิตเข้าถึงฌาน 4 อยู่เสมอ



          ผู้ที่ฝึกจิตเข้าถึงฌาน 4 อยู่เสมอ จิตจะมีความสงบเยือกเย็น ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งภายนอก เพราะสิ่งภายนอกเข้ากระทบไม่ได้ หรือที่ชอบเรียกกันว่า "จิตนิ่ง" นั่งเอง เมื่อจิตนิ่งแล้ว ก็เปรียบเหมือนน้ำนิ่ง จะเห็นหลายๆ สิ่งหลายอย่างที่คนอื่นไม่เคยเห็น แม้กระทั่งเห็นจิตใจของคนอื่นได้ อย่างที่พระอาจารย์ต่างๆ สามารถตอบคำถามได้แบบจี้ใจ ก็เพราะท่านทราบจิตใจของเราแล้วนั่นเอง ทั้งนี้และทั้งนั้น ความรู้พิเศษเหล่านี้ ก็ไม่ควรยึดติด เพราะมันเป็นแค่ความรู้ทางโลก มิใช่ความรู้ทางธรรม ควรใช้สติปัญญาและเครื่องมือพิเศษเหล่านี้เข้าช่วยกันประหัตประหารกิเลส แบบนี้จะถูกต้องตรงตามคำสั่งและคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากที่สุด

                                                                                      หลวงปู่หลวง กตปุญโญ

ภาวนาแล้วเห็นภาพนิมิต



พวกที่ภาวนาแล้วเห็นภาพนิมิตต่างๆ มาปรากฏ 
ก็พากันเข้าใจไปว่าตนได้ญาณบรรลุมรรคผล
ทำให้เกิดความหลงงมงาย
ผลที่สุดก็เสื่อมไป โดยไม่ได้ประโยชน์อะไรจากธรรมะเลย

หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ

ธรรมะทวนกระแสโลก



          ถ้าหากมาพิจารณาตามธรรมะของพระพุทธเจ้าอย่างจริงจัง มันก็ถอดถอนได้ คลายกำหนัดได้ เพราะมันเห็นเป็นจริงอย่างนั้น ...มันไม่หลงใหลใฝ่ฝัน ไม่ได้บ้าได้บอไปตามสมมุติของโลก...จิตที่จะเบื่อได้ก็เพราะอาศัยพิจารณาทวนกระแส เขาว่าสวยงาม ความจริงมันเป็นอย่างไร มันเป็น อสุภะ อสุภํ เขาว่าของนั้นยั่งยืน แต่ทางธรรมะถือว่าเป็น อนิจฺจํ เขาว่าของนั้นเป็นของตนของตัว เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นเรา เป็นเขา แต่ธรรมะท่านถือว่าเ...ป็นอนัตตา คือไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ...เพราะธรรมะมันทวนสมมุติ ทวนกระแส ...มันไม่ได้ถือว่าสิ่งนั้นมันดี มันวิเศษ...ธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอนทวนกระแสอย่างนี้ เราผู้ฝึกภาวนาจงพยายามทวนกระแสของใจ อย่าปล่อยไปตามสัญญาอารมณ์ของกิเลสตัณหา เมื่อเราทวนกระแสได้เท่าใด จิตใจก็ยิ่งจะห่างไกลจากความทุกข์ จากความลุ่มหลง จากความเศร้าหมอง จากความขัดข้องเท่านั้น

                                                                                       พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร

ถ้ามีสติปัญญาเฉียบขาด จะมองเห็นทุกข์ของโลก



ถ้ามีสติปัญญาเฉียบขาด
จะมองเห็นทุกข์ของโลก 
มองเห็นโลกเป็นไฟ
เมื่อมองเห็นอย่างนั้น
ทำให้ไม่กล้าเข้าไปในไฟนั้น 
ถ้าเราเห็น เราจะไม่เข้า 
ที่เข้าไป เพราะเราไม่เห็น

หลวงพ่อทูล ขิปปปัญโญ

พระคุณต้องทดแทน ถ้าเคียดแค้นต้องอโหสิ


พระคุณต้องทดแทน 
ถ้าเคียดแค้นต้องอโหสิ
อเวรัง อะสะปัตตัง
พระพุทธเจ้าทรงสอน
ให้เราเป็นผู้ไม่มีเวร
ไม่จองเวร...

เป็นผู้อโหสิ

หลวงปู่ท่อน ญาณธโร

ศีล ทาน เมตตา มีภาวนาเป็นยอด



การเจริญภาวนาให้ผลยิ่งกว่า การรักษาศีล 
การให้ทาน และการเจริญเมตตา 
เพราะการภาวนาทำให้มี "สติ"
ไม่หลงทาง ไม่หลงโลก
ศีล ทาน เมตตา มีภาวนาเป็นยอดดังนี้

หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล 

ปฏิบัติตามธรรมคือการบูชาอันยอดเยี่ยม



          อานนท์! พุทธบริษัททั้ง ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทำสักการะบูชาเราอยู่ด้วยเครื่องบูชาสักการะทั้งหลายอันเป็นอามิส เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น หาชื่อว่าบูชาตถาคตด้วยการบูชาอันยิ่งไม่ อานนท์เอย! ผู้ใดปฏิบัติตามธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติธรรมให้เหมาะสม ผู้นั้นแลชื่อว่าสักการะบูชาเราด้วยบูชาอันยอดเยี่ยม

                                                               หนังสือ พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน อ.วศิน อินทสระ

ทางโลก คือ การแสวงหาสุขแล้วไปเจอทุกข์



         ทางโลก คือ การแสวงหาสุขแล้วไปเจอทุกข์ เหมือนกับปลาที่ฮุบไส้เดือนแล้วไปเจอเงี่ยงเบ็ด

         ทางธรรม คือ การกำหนดหยั่งรู้ทุกข์ แล้วปล่อยวางความสุข เหมือนกับการสละไส้เดือนเพราะเห็นโทษแห่งการติดเบ็ด

                                                                                    พระอาจารย์ชุมพล พลปญฺโญ


         Link to Peter Griffin's Photo

อย่ารู้โลกแล้วหลงธรรม ดุจข้ามแม่น้ำด้วยเรือ



อย่ารู้โลกแล้วหลงธรรม ดุจข้ามแม่น้ำด้วยเรือ 
ถึงฝั่งแล้วปล่อยเรือ ไม่แบกหามเรือไปด้วย
อัตตาเหมือนคลื่นหรือสัตว์ร้ายในน้ำ 
อนัตตาเหมือนเรือขี่เดินทาง 
เมื่อถึงฝั่งแล้วปลอดภัย ทิ้งเรือแล้วไปดังนี้ 
ไม่ควรยึดถือไว้โดยทั้งปวง

หลวงปู่หลุย จันทสาโร

ธรรมะเป็นเรื่องของความเพียร



          ธรรมะเป็นเรื่องของความเพียร ถ้าผู้ใดมีความเพียร และเพียรในทางที่ถูกต้องก็ย่อมจะสำเร็จได้ ธรรมะและการพ้นทุกข์ไม่มีทางลัด จะมาหวังลงทุนน้อยแต่ได้มาก ไม่มี! มีแต่ทางตรง และความเพียรถูกต้อง

                                                                                       พระอาจารย์ชายแดน สีลสุทโธ

ถ้าจิตของเราเป็นอิสระ



          ถ้าจิตของเราเป็นอิสระ พอรับรู้อารมณ์ต่างๆทางทวารต่างๆ ใจเราจะนิ่งเฉยมั่นคง นี่คือสมาธิ แล้วเราก็จะเห็นสิ่งต่างๆ มันเป็นของมันเช่นนั้นเอง นี่เรียกว่า จิตใจของเราเป็นอิสระแล้ว หลุดพ้นแล้วจากการเป็นทาสของอารมณ์ต่างๆ…
          ที่ตกเป็นทาสก็คือเมื่อเรารับรู้แล้วเราจะมีความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ ชอบ ไม่ชอบ เกิดความรู้สึกอยากได้คือความโลภ  เกิดความรู้สึกปฏิฆะคือความโกรธ นี่เรายังตกเป็นทาสของอารมณ์...

                                                                                                     หลวงพ่อโพธินันทะ

เรามีหน้าที่ หายใจเข้าออกสบาย…



พระพุทธเจ้าจึงสอนเราทำใจสบาย…
คือ หายใจเข้าออกสบาย…
เราไม่มีหน้าที่ ให้สงบหรือไม่สงบ
เรามีหน้าที่ หายใจเข้าออกสบาย…
เราไม่มีหน้าที่ ที่เราจะไปจัด ไปทำ ไปห้าม
เกิด แก่ เจ็บ ตาย นินทา สรรเสริญ
เรามีหน้าที่…หายใจเข้าออกสบายอย่างเดียว

หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม

อยากทําบุญให้รีบทํา



พระพุทธเจ้าบอกถ้ามีจิตเป็นบุญเป็นกุศล
อยากทําบุญให้รีบทํา
เพราะถ้าไม่รีบทํา กิเลสจะมา
ความหวง ความตระหนี่
จะไม่อยากทําแล้ว

พระอาจารย์อัครเดช (ตั๋น) ถิรจิตโต

เมื่อทุกข์เกิดขึ้นมาแล้ว ทุกข์นั้นก็ดับไป



...เมื่อทุกข์เกิดขึ้นมาแล้ว ทุกข์นั้นก็ดับไป
สุขเกิดขึ้นมาแล้ว สุขนั้นก็ดับไป 
นอกเหนือนี้ไม่มีแล้ว มันก็เป็นอย่างนี้ 
ถ้าเราไม่ไปติดในความรัก ไม่ติดในความชัง 
ไม่ติดในความสุข ไม่ติดในความทุกข์ 
เท่านั้นก็เรียกว่า เราเดินตามกระแสธรรม ของสมณะ..

หลวงปู่ชา สุภัทโท

หลักการของวิปัสสนา




หลักการของวิปัสสนาคือ การระลึกรู้อยู่ที่กายที่ใจ ในขณะปัจจุบัน 
ด้วยความไม่ยินดียินร้าย ทุกขณะของชีวิตเป็นเวลาของการเจริญสติ
ไม่ว่าจะกำลังอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม…กายกำลังทำอะไรก็ให้รู้
ในขณะนั้นถ้ามีความคิดฟุ้งซ่าน ก็ไม่ว่าอะไร ไม่ยินดียินร้า...
รู้ว่าฟุ้งแต่ไม่ฟุ้งด้วย เราเพียงแต่รับรู้รับทราบไว้เฉยๆ สงบก็รู้ คิดก็รู้... 
เรามีหน้าที่ระลึกรู้สภาวธรรมทั้งหลาย ตามที่มันปรากฏ 
ด้วยใจที่เป็นกลาง ปล่อยวางอยู่เสมอ
ไม่ต้องบังคับจัดแจงอะไรให้เป็นอะไร สามารถทำได้ทุกที่ ทุกเวลา

พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี

อย่าไปห้ามความคิด




ให้เห็นความคิด 
อย่าไปห้ามความคิด 
และอย่าไปยึดถือ ให้ปล่อยมันไป

หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ

ยศถาบรรดาศักดิ์ย่อมฆ่าคนโง่เขลา




ยศถาบรรดาศักดิ์ย่อมฆ่าคนโง่เขลา 
แต่สำหรับผู้มีปัญญาแล้ว 
มี เขาก็ไม่ติด ไม่มี เขาก็ไม่ติด 
ความเสมอภาคเป็นธรรมอันสูงยิ่ง

พระอาจารย์ชายแดน สีลสุทโธ


พระอริยะท่านไม่กลัวคำว่าตาย



          พระอริยะท่านไม่กลัวคำว่าตาย ท่านกลัวคำว่า Happy Birthday ...ท่านรู้แล้วว่า ถ้าท่านไม่รีบเพียรเพ่งภาวนาปฏิบัติเพื่อมรรคผลแล้วนี่ ท่านจะต้องมาเกิด...ความเกิดเป็นทุกข์ร่ำไป...ถ้าเรายิ่งเข้าใจแล้ว เราก็ไม่ปรารถนายินดีในชีวิต ที่ต้องมาเวียนจมอยู่กับความเกิดแก่เจ็บตายซ้ำๆ ซากๆ หมุนเวียนอยู่ไม่รู้จบ

                                                                                      พระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต

สุขโลกีย์มีเพียงชั่วคราว



...สุขโลกีย์มีเพียงชั่วคราว
ถ้ามุ่งความสุขยืนยาว ต้องปฏิบัติธรรม 
เหตุผลก็เพราะว่า โลกที่เราอาศัยอยู่นี้เป็นที่อาศัยชั่วคราว 
ที่อยู่ยืนยาว คือ ปรโลกต่างหาก

หลวงปู่บุญกู้ อนุวฑฺฒโน 

ดูแล้วเห็น เห็นแล้วไม่เป็น



สิ่งที่นำไปสู่ความปรกติ ก็คือภาวะที่ดู
ดูแล้วเห็น เห็นแล้วไม่เป็น ค่อยๆ ปรกติ จิตก็บริสุทธิ์ 
จิตที่บริสุทธิ์ไม่ถูก ปรุงแต่ง ก็เป็นพรหมจรรย์ 
พรหมจรรย์ ไม่ใช่หัวโล้น ห่มผ้าขาว ผ้าเหลือง ประพฤติพรหมจรรย์คือนี่ 
คือความรู้สึกตัว รู้มาก รู้ รู้บ่อยๆ รู้สึกตัวบ่อยๆ รู้มาก รู้
จิตมันก็ค่อยๆ บริสุทธิ์...

หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ


Link to Sofia Morgado's photo

เมื่อบุคคลรู้สึกตัว



          ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้สึกตัว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป

                                                                                                    (๒๐/๗๐) #ธรรมะ

"แก้แค้น" ที่ดีที่สุด คือ หยุดก่อเวรกรรม




"แก้ตัว" ช่วย อะไรไม่ได้ 
"แก้ไข" ช่วย ได้ทุกอย่าง
"แก้แค้น" ที่ดีที่สุด คือ หยุดก่อเวรกรรม
โกรธเขา เราทุกข์ ..อภัยเขา เราสุข
ศีล สมาธิ ปัญญา คือ มรรคา แห่งความสุข

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

ความรู้ของเราต้องทำให้รู้เห็นเอง



ที่เขาเขียนมาอ่านมาน่ะ มันเป็นความรู้ของเขา ไม่ใช่ความรู้ของเรา 
ความรู้ของเราต้องทำให้มันรู้เองเห็นเองขึ้นมา สัจธรรมมันอยู่ที่นี่

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

รู้...สักแต่ว่ารู้



พระพุทธองค์ตรัสสอนท่านพาหิยะว่า
"ดูก่อน พาหิยะ 
 เธอจงทำในใจโดยแยบคายว่า
 เห็น สักแต่ว่า เห็น
 ได้ยิน สักแต่ว่า ได้ยิน
 ทราบ สักแต่ว่า ทราบ
 รู้ สักแต่ว่า รู้"

ท่านพาหิยะรู้แจ้งธรรม
บรรลุเป็นพระอรหันต์ในเพศของฆราวาสทันที

รู้...สักแต่ว่ารู้

พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี

ผู้ดำรงจิตไว้อย่างมั่นคง



ผู้ดำรงจิตไว้อย่างมั่นคง 
ไม่หวั่นไหวไปกับ
กระแสความสุข, ความทุกข์ 
ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติ
ตามอริยมรรคอย่างเงียบๆ

ปรมาจารย์ตั๊กม้อ

เมื่อโลกลุกเป็นไฟอยู่เป็นนิตย์



เมื่อโลกลุกเป็นไฟอยู่เป็นนิตย์ 
ทำไมจึงยังจะร่าเริงบันเทิงอะไรกันอยู่เล่า 
เธอทั้งหลายถูกความมืดปกคลุมแล้ว 
ไฉนจึงไม่แสวงหาดวงประทีปกันเล่า

โก นุ หาโส กิมานนฺโท นิจฺจํ ปชฺชลิเต สติ...

อนฺธกาเรน โอนทฺธา ปทีปํ น คเวสถ.

ขุ.ธ. ชราวรรค ข้อ ๒๑, มจร. ข้อ ๑๔๖

เมื่อรู้เท่าแล้ววางเฉย...



เมื่อรู้เท่าแล้ววางเฉย เป็นความสุขอย่างยิ่ง ถ้ามีความรักความชังอยู่นั้น เป็นทุกข์อย่างยิ่ง

หลวงปู่หลุย จันทสาโร

ให้พยายามรักษาสติให้ได้



           เพราะสตินี้จะเป็นฐานสู่ความสงบของจิต จนเข้าสู่กระแสของปัญญาได้โดยง่าย...ทำไมต้องมีการฝึกหัดปฏิบัติธรรมอยู่เสมอ ไม่ว่าจะไปที่วัดไหน สำนักไหน ก็มีการให้ฝึกสมาธิ ฝึกเพื่ออะไร ก็ฝึกเพื่อให้สติเรากล้าแข็งนี่แหละ เมื่อเรามีสติอยู่เสมอ จะทำการทำงาน หรือคิดอะไรก็เป็นของง่ายไปหมด จึงเป็นที่มาของคำว่า "สติมา ปัญญาเกิด"
                                                                              หลวงปู่บัว สิริปุณโณ

เข้าถึง “ความไม่ต้องคิด” จึงรู้แจ้งในสรรพสิ่ง



          บุคคลผู้เข้าถึงวิถีทางแห่ง “ความไม่ต้องคิด” จึงรู้แจ้งในสรรพสิ่ง และได้ดื่มรสที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ได้ดื่มมาแล้ว และย่อมบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า ในกาลข้างหน้าต่อไป

                                                                     ท่านเว่ยหล่าง


การภาวนาคือ การเจริญจิตให้มีสติสมบูรณ์




การภาวนานั้น คือ การเจริญจิตให้มีสติสมบูรณ์
สามารถรู้เท่าทันเหตุแห่งทุกข์ 
จะได้ละเหตุนั้นก่อน จึงจะไม่ต้องรับทุกข์นั้น
หากจิตใจที่ไม่เคยฝึกอบรมภาวนาแล้ว 
ย่อมไม่มีคุณเครื่องป้องกันทุกข์ที่จะเกิดขึ้นได้เลย 

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

ไปนิพพานง่ายกว่าไปนรก



...ตัดอยากเสียตัวเดียว 
ยอมรับนับถือกฎของธรรมดาเสียตัวเดียว 
ทำใจวางเฉย ในเมื่อกฎธรรมดามันเกิด 
ถือว่าธรรมดาของมัน 
เท่านี้ อารมณ์ก็เข้าถึง พระนิพพาน
เข้าถึงอย่างไร เพราะตัว..วางเฉย..
เป็นตัวดับอารมณ์ ดับความจุ้นจ้าน 
ดับตัวเกาะ ไม่เห็นจะยากอะไร
การไปนิพพานง่ายกว่าไปนรกตั้งเยอะ

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

จิตของเราต้องควบคุมด้วยการภาวนา



          การภาวนาจึงเป็นการควบคุมไม่ให้จิตของเราตามอารมณ์ เหมือนกันกับสำลีหรือนุ่นที่เป็นของเบา ก็ต้องมีอะไรครอบไว้รักษาไว้ ลมพัดมามันจึงจะไม่ไปตามลม จิตของเราก็เหมือนกัน เราก็ต้องควบคุมด้วยการภาวนา

                                                                                                    พระอาจารย์วัน อุตตโม 

อยู่กับร้อนให้เป็น...



อยู่กับร้อนให้เป็น 
อยู่กับเย็นให้ได้ 
ถึงจะได้ชื่อว่า เป็นผู้รู้

หลวงปู่ชอบ ฐานสโม

เคลื่อนไหวอย่างมีสติ เป็นชีวิตที่มีสาระ




เราหายใจทิ้งมามากแล้ว

ขอให้พากันมาหายใจอย่างมีสติ อย่างผู้รู้

เราเคยปล่อยจิตใจเลื่อนไหลไปตามเรื่องตามราวมามากแล้ว

เรามาเริ่มตามดูรู้จิตใจ เราเคยเห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส มามาก

แต่ไม่เคยมีสติรู้ ขอให้เรามาเริ่มมีสติ

เห็น...มีสติ, ได้ยิน...ให้มีสติ, รู้...ให้มีสติ,
รู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส ยืน เดิน นั่ง นอน คู้ เหยียด
เคลื่อนไหวอย่างมีสติ เป็นชีวิตที่มีสาระที่สุด
มีประโยชน์ต่อชีวิตของเรามาก

เป็นการได้สะสมเหตุปัจจัย
แม้ว่าเรายังไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน
แต่นี่คือการสะสมเหตุปัจจัยต่อมรรคผลนิพพาน
เป็นการขัดเกลาอยู่ทุกขณะ ทุกวัน

พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี

Link to the Photo

อย่าหวังวาจาของคนอื่นอบรม



หัดวาง หัดคิด หัดยับยั้งใจ 
ค่อยคิด ค่อยทำ 
ค่อยๆ อบรมตัวเอง 
อย่าหวังวาจาของคนอื่นอบรม 
ทำอย่างนั้นเอาตัวไม่รอด 
ต้องคอยจับผิดตัวเอง 
คอยลงโทษตัวเอง 
คอยเป็นโจทก์ฟ้องตัวเอง 
เอาธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นตุลาการ

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

การทำจิตใจของตนให้มั่นคง...



ก า ร ทำ จิ ต ใ จ ข อ ง ต น ใ ห้ มั่ น ค ง
เป็นการสร้างความดีให้แก่จิตใจ
เ ป็ น ตั ว ค ว า ม ดี ที่ เ ป็ น แ ก่ น แ ท้ 
ของความดีทั้งปวง
ซึ่ ง จ ะ ป้ อ ง กั น ค ว า ม ทุ ก ข์
ไม่ให้มากระทบใจได้ทุกอย่าง

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

พระพุทธเจ้าว่าให้ปล่อยมันเสีย



          นักปราชญ์คือพระพุทธเจ้าเห็นโทษของโลกจึงมีความเบื่อหน่าย พระพุทธเจ้าว่าให้ปล่อยมันเสีย อย่าถือมันอีก มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ตัว มันมีแต่คิดแต่อ่าน หาแต่โทษมาเผาเจ้าของ วางมันเสีย อย่าไปไว้ท่ามัน มันจะไปยังไงก็ไป ให้ทำจิตทำใจ ทำความรู้ไว้ให้เหมือนกับมหาปฐพี มหาปฐพีนั้น สัตว์ทั้งหลายจะมาทำดีก็ตาม มาทำร้ายก็ตาม มนุษย์จะมาทำดีก็ตาม ทำร้ายก็ตาม มหาปฐพีไม่มีความหวั่นไหว จะทำอย่างไรก็ตาม ทำใจให้เป็นอย่างนั้น นั่นแหละพระนิพพาน พระพุทธเจ้าว่า ใครทำใจได้อย่างนั้นแล้ว ได้อยู่เป็นสุขถึงพระนิพพาน ทำใจอย่างนั้นแล้วจะมีทุกข์อะไรเล่ามาเผามาผลาญดวงจิตของเรา เราไม่ถือไว้

                                                                                                      หลวงปู่ขาว อนาลโย

ให้รู้สึกทุกครั้งที่คิด



           ให้เรารู้สึก ทุกขณะ ทุกครั้ง ทุกคราว ที่มันคิดขึ้นมา ให้มันเป็นเพียง รู้เท่า รู้ทัน มัน จนในที่สุด เมื่อสติเรามีมากขึ้นๆๆ ความคิด มันก็หมดไปๆ

                                                                                             หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ

สติอันเดียว เป็นบ่อเกิดของสมาธิ




สติอันเดียว เป็นบ่อเกิดของสมาธิ
ให้เห็นความแจ้ง ความสว่าง ความสงบ ขึ้นในใจ

หลวงปู่ทา จารุธมฺโม

ไม่ยึดถือความเห็นใดๆ ทั้งสิ้น



...จะห้ามจิตไม่ให้คิดในทุกๆ กรณีย่อมไม่ได้
ก็แต่ว่าเมื่อจิตคิดปรุงไปในเรื่องราวใดๆ 
ถึงวัตถุ สิ่งของ บุคคลอย่างไร 
ก็ให้กำหนดรู้ว่าจิตคิดถึงเรื่องเหล่านั้น 
ก็สักแต่ว่าความคิด ไม่ใช่สัตว์บุคคล เราเขา
ไม่ยึดถือวิจารณ์ความคิดเหล่านั้น
ทำความเห็นให้เป็นปกติ 
ไม่ยึดถือความเห็นใดๆ ทั้งสิ้น 
จิตย่อมไม่ไหลตามกระแสอารมณ์เหล่านั้น ไม่เป็นทุกข์

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

จิตจะสงบหรือไม่สงบเป็นเรื่องของจิต



 จิตจะสงบหรือไม่สงบเป็นเรื่องของจิต
 เรามีหน้าที่ทำความเพียร

 พระอาจารย์ชาญชัย อธิปญฺโญ

ธรรมทั้งหลายไม่พึงถือมั่น



ธรรมทั้งหลายไม่พึงถือมั่น เป็นยอดพุทธสติ นั่นก็คือ รู้ สักแต่รู้

หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต

เราเถลไถลอยู่



เราเถลไถลอยู่ 
เราจึงไม่สามารถที่จะข้ามแม่น้ำอันเต็มไปด้วยอันตราย 
เพื่อให้พ้นอันตรายเหล่านั้นได้ 
ไม่มีสติ ไม่มีปัญญา 
เพราะเหตุนั้นเราจึงจำเป็นต้องได้รับความทุกข์ 
ความเศร้าหมองทางจิตใจอยู่เสมอ

หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ

ทุกอิริยาบถเป็นโอกาสแห่งการเจริญสมาธิภาวนา



          การปฏิบัติธรรมมิได้หมายถึงการปลีกตัวออกจากกิจวัตรประจำวัน หากควรผสานให้กลมกลืนกับทุกอิริยาบถ ไม่ว่าการกิน การดื่ม การทำงาน ล้วนเป็นโอกาสแห่งการเจริญสมาธิภาวนาทั้งสิ้น 

                                                                                                         ท่านติช นัท ฮันห์

ถ้ากลัวตาย ต้องตายไม่สิ้นสุด



ถ้าเรากลัวความตาย 
ไม่อยากจะพูดถึง 
ไม่อยากจะคิดถึง 
ก็ต้องเจอความตาย
อยู่เรื่อยไม่มีที่สิ้นสุด 
นั้นแหละคือตัวอปมงคล 
ต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ
ต้องตายซ้ำซากๆ ไม่มีที่สิ้นสุด 

พระอาจารย์ชยสาโร

ผู้ปฏิบัติไม่ควรบังคับจิตให้อยู่นิ่งๆ




ในการฝึกจิตนั้น
ผู้ปฏิบัติไม่ควรบังคับจิตให้อยู่นิ่งๆ
เพราะจิตใช้กำลังบังคับไม่ได้
เพียงแต่ประคองจิตให้รู้ชัดถึงลมหายใจที่เข้า-ออก
เมื่อลมหายใจเข้ายาวก็รู้ว่ายาว สั้นก็รู้ว่าสั้น
และเมื่อลมหายใจออกยาวก็รู้ว่ายาว สั้นก็รู้ว่าสั้น...
หากจิตเผลอไปคิดถึงเรื่องอื่นก็ไม่เป็นไร
เอากลับมารับรู้ลมหายใจใหม่
เผลออีกก็เอากลับมาอีกไม่ท้อถอย
อย่างนี้เรียกว่ามีความเพียร

พระอาจารย์ชาญชัย อธิปญฺโญ

ใครจะทำอย่างไร...ก็วางเฉยได้




ใครจะทำอย่างไร...ก็วางเฉยได้
ไม่ปากเปราะ...ไม่อารมณ์ร้อน
ไม่ตอบโต้ใครง่ายๆ...เฉยเป็น นิ่งเป็น
ที่มาฝึก ก็เพราะเราต้องการสิ่งเหล่านี้

หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ