หากใจคุณ ไม่เกี่ยวข้องกับความคิด


หากใจคุณ ไม่เกี่ยวข้องกับความคิด
ปีศาจ ก็หาคุณไม่เจอ
ความทุกข์ หาคุณไม่ได้
ปัญหาชีวิต ความดี และ ความชั่ว
ไม่มีอะไร แตะต้องคุณได้
ใจ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับความคิด
เป็นสมบัติ ที่สำคัญที่สุดของคุณ
ไม่ขึ้นอยู่กับ พระเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า
หินยาน มหายาน หรือ … เซน
ถ้าอยากจะข้ามห้วง มหรรณพ (โอฆะ)
ก็ต้องใช้ เข็มทิศอันเดียวเท่านั้น
เข็มทิศ ซึ่งอยู่ในตัวคุณเสมอ
เมื่อคุณใช้สิ่งนี้ คุณจะพบว่า
ทิศทางที่ถูกต้องของคุณ
ปรากฏอย่างชัดเจน ต่อหน้าคุณตลอดเวลา

พระอาจารย์ซึงซัน

พระอาจารย์เซน ชาวเกาหลี

จากหนังสือ เข็มทิศแห่งเซน

Image by FelixMittermeier from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ณ ประตูของสัจธรรม


การได้เห็นการเกิดดับของความคิด
ที่ผุดขึ้นมาในจิตบ่อยๆ
เป็นการเฝ้าดูอยู่ 
ณ ประตูของสัจธรรม

หลวงตาสุริยา วัดป่าโสมพนัส
หนังสือ การรู้ธรรม แบบรู้แจ้ง

Image by Erik_Karits from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

คำว่า โลกวิทู รู้โลก


คำว่า โลกวิทู รู้โลก 
ไม่จำเป็นต้องไปนับเม็ดหินเม็ดทรายในแผ่นดิน
มีเท่าไร ในท้องมหาสมุทรมีเท่าไร 
ในแผ่นดิน มีต้นไม้ภูเขาเท่าไร 
มีทรัพย์สมบัติ สัตว์ บุคคลเท่าไร 
คำว่า โลกวิทู 
รู้เพลงของโลก รู้กลมายาของใจตัวเอง
ที่ไปสำคัญโลกว่า เป็นอะไร 
จึงไปยึดมั่นสำคัญผิดกลายเป็นพิษแก่ตัวเอง 
จนปรากฏเป็นกิเลสตัณหาอวิชชาขึ้นมา
ให้เที่ยวเวียนว่ายตายเกิด ในสงสาร
ทุกข์แล้วทุกข์เล่าไม่มีวันจบสิ้นสักที 
โลกวิทู 
รู้ตามเป็นจริงซึ่งสภาวธรรมทั้งหลาย 
แล้วปล่อยวางไว้ตามสภาพของเขา เท่านั้น

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

Image by qimono from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

เราไม่ได้แสวงหาในสิ่งที่ไม่มี


การปฏิบัติธรรมเป็นการค้นหาปัญญา
ที่มีในธรรมชาติของจิต
ปัญญาที่จะเกิดการบูรณาการต่อชีวิตโดยตรง 
พุทธธรรมที่แท้จะไม่มีคำว่าประยุกต์ใช้
คนที่ไม่เข้าถึงธรรมจะไม่มีธรรมให้อาศัยใช้
เราไม่ได้แสวงหาในสิ่งที่ไม่มี
แต่หาปัญญาที่รู้แจ้งว่า “ไม่มี” ต่างหาก

หลวงตาสุริยา วัดป่าโสมพนัส

หนังสือ การรู้ธรรม แบบรู้แจ้ง

Image by Skitterphoto from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

จิตเป็นเสรีรุ่งโรจน์โชติการ


พระศาสดาตรัสว่า...
จิตเป็นเสรีรุ่งโรจน์โชติการ
ไม่มีเรื่องราวต่างๆ เข้าไปอยู่ในที่นั้น
ถูกอารมณ์ดีมากระทบ  ก็มิได้ดีด้วย
ถูกอารมณ์ร้ายมากระทบ  ก็มิได้ร้ายด้วย
ที่มีเรื่องราวก็เพราะ
มันหลงสังขาร (ความคิดปรุงแต่ง) นี่เอง
หลงอัตตานี่เอง
พระศาสดาจึงให้มองดูจิตของเรา
ให้รู้ตามความเป็นจริง
สภาวะธรรมเหล่านี้ไม่เป็นแก่นสาร
เป็น .. อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

หลวงปู่ชา  สุภัทโท

Image by ELG21 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

การเผลอไหลเข้าไปอาศัยอยู่ใน ความคิดปรุงแต่ง


การเผลอไหลเข้าไปอาศัยอยู่ใน
ความคิดปรุงแต่ง
คือการเข้าไปอาศัยในภพ – ชาติ – ทุกข์ฯ
เผลอเพลินไปในการปรุงแต่งด้วยเจตนาใด
ในขณะนั้นจะลืมความจริงของกาย – ใจ
ว่าไม่ใช่ตัวตน
แต่จะหลงอยู่ในเวทนาอารมณ์จากเจตจำนงนั้น
การเข้าไปอาศัยอยู่ในเจตนา
คือกรรมภพ – ชาติ
จึงพ่วงเอาโสกะความคร่ำครวญ
ทุกข์โทมนัสคับแค้นใจ
ครั้นมีสติหลุดออกมารู้สึกตัว
ถึงตัวใจที่ปกติอยู่ก่อน
ความคิดจากเจตนานั้นจึงดับ
คือกรรมภพดับ – ชาติดับ
ความคร่ำครวญรำพึงรำพัน
ทุกข์คับแค้นใจจึงดับ

พระอาจารย์อำนาจ โอภาโส

หนังสือวิธีพ้นทุกข์พบสุข

Image by ID 1681551 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

แล้วตัณหา จะมาจากไหนอีกเล่า?


จิตที่ดิ้นรน (ตัณหา) เพราะการปรุงแต่ง
นั่นคือแก่นแท้ ของความทุกข์
ปัญหาทั้งหมด มาจาก การปรุงแต่ง
ถ้าจิต สามารถ หยุดการปรุงแต่ง
และไม่ยึดมั่นในร่างกายนี้ได้
แล้วตัณหา จะมาจากไหนอีกเล่า?

ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก

Image by ID 1681551 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

สิ่งเดียวกันตลอดกาล


อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด 
ถ้ามันต้องเกิดก็ห้ามไม่ได้ 
ไม่ว่าจะดีหรือร้าย สำคัญที่การวางใจ ..
สำคัญที่ใช้ชีวิตในแต่ละวัน
ด้วยจิตใจเเบบใด (ตื่นหรือหลง)
บางวันเราอาจเจอสิ่งแย่ๆ 
(เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดจะเกิดมันก็เกิด) 
แต่ใจเราไม่ได้แย่ตาม ใจยังคงสงบนิ่ง 
อยู่เหนือเหตุการณ์ที่เกิดได้ 
 นับว่า ทรงธรรม(ดำรงอยู่ในธรรม)
.
ภายนอกไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น 
ตั้งอยู่หรือดับไป ก็เป็นแค่ภายนอก ชั้นนอก 
แต่จิตเดิมแท้ชั้นในยังคงสภาพเดิม 
ไม่อาจแปรปรวนไปกับสิ่งที่เกิดภายนอก 
รู้เท่านี้พอว่า แม้สิ่งภายนอกเกิด 
แต่จิตเดิมแท้ไม่ได้เกิดด้วย 
ยังคงสภาพเดิมเป็นอมตะ การรู้ชัดในสิ่งนี้ 
ช่วยให้เราไม่หวั่นไหว เข้าถึงความไม่หวั่นไหว
 แม้ผู้อื่นหวั่นไหวก็ตาม
.
แต่ใจเราจะถูกรักษาไว้ได้ ยังคงสะอาด 
สงบเช่นเดิมเท่าเดิม 
นิพพานเป็นเช่นไร สงบเช่นไร  
จิตเดิมแท้ที่อยู่ภายในเราก็เป็นเช่นนั้น 
หนึ่งเดียวกัน สิ่งเดียวกันตลอดกาล

อิโตมิ จัง

Image by Nennieinszweidrei from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

บางคนอาจอยู่ในสถานปฏิบัติธรรม


บางคนอาจอยู่ในสถานปฏิบัติธรรม
แต่จิตเตร็ดเตร่ไปทั่วเมือง
บางคนอาจเตร็ดเตร่ไปรอบเมือง
แต่จิตกำลังปฏิบัติธรรม 

ท่านดุดจม รินโปเช

ผู้นำสายสำนักธรรมนยิงมา 
ท่านแรกในอินเดีย
หลังการลี้ภัยครั้งใหญ่ของชาวทิเบตสู่อินเดีย
---------------------
"One can be in retreat and yet the mind wandering around the town , 
One can be wandering around the town , and yet the mind~ in Retreat "

~ H.H. Dudjom Rinpoche 
(words to Semo Lhanzey when she was admiring someone in retreat)

Image by Roses_Street from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

การฝึกทางจิตเพื่อหลุดพ้นจากสิ่งเศร้าหมอง


ถ้าจิตใจของเรายังวิ่งตามอารมณ์อยู่ตลอดเวลา
มันไม่เข้มแข็ง ไม่สดชื่นและไร้ที่พึ่งที่ปลอดภัยแท้
ถึงจะอ่านหนังสือ จะฟังเทศน์ฟังธรรม 
ถึงจะมีปรัชญาชีวิตที่ลึกซึ้ง
ถึงเวลาวิกฤติ มีสิ่งกดดันบีบคั้น 
หรือรับทุกขเวทนามากๆ ความรู้ลืมหมดเลย
เพราะเราขาดพลังจิต นิวรณ์ครอบงำเสียแล้ว...
การฝึกทางจิตเพื่อหลุดพ้นจากสิ่งเศร้าหมองนี้
ไม่ได้อยู่ที่การนั่งหลับตาเพียงอย่างเดียว
สาระสำคัญคือการมีสติรู้ตัว
อยู่ในทุกอิริยาบถ ทุกกิจกรรม 
ในทุกเวลา ในทุกสถานที่

พระอาจารย์ชยสาโรภิกขุ

Image by Nennieinszweidrei from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

คันธสาระ (ธรรมสาระ) 5 ประการ


คันธสาระ (ธรรมสาระ) 5 ประการ

1. ศีล 
คือการที่จิตของเราปราศจาก รอยด่างของทุจริต ความชั่ว 
ความผิด ความริษยา ความตระหนี่ ความโกรธ การใช้กำลังข่มขู่ 
และการผูกเวร
.
2. สมาธิ 
คือการที่จิตของเราไม่มีอาการหวั่นไหว ในทุกเหตุการณ์ที่เข้ามาแวดล้อมเรา 
ไม่ว่ามาดีหรือมาร้าย
3. ปัญญา 
คือการที่จิตของเราเป็นอิสระจากเครื่องห่อหุ้มรึงรัด ... 
...หมายถึงการที่เราส่องปัญญาเราอยู่เนืองนิจ ลงที่จิตเดิมแท้ของเรา...
หมายถึง ความที่เราเป็นผู้พ้นเด็ดขาดจากการที่จะทำชั่วทุกประเภท
หมายถึง ความที่ว่าแม้เราทำความดีทุกสิ่งทุกอย่าง
ถึงกระนั้นเราก็ไม่ปล่อยให้ใจของเราเกาะเกี่ยวอยู่กับผลแห่งความดี และ
หมายถึง เรายอมเคารพนับถือผู้ที่สูงกว่าเรา อ่อนน้อมต่อผู้ที่ต่ำต้อยกว่าเรา 
เห็นอกเห็นใจคนที่หมดวาสนาและคนยากจน..
.
4. ความหลุดพ้น (วิมุตติ) 
คือความที่ใจของเราขึ้นถึงขั้นเป็นอิสระเด็ดขาดไม่เกาะเกี่ยวอยู่กับสิ่งใด 
ไม่ผูกพันตัวเองอยู่กับความดีและความชั่ว
.
5. ความรู้อันเราได้รับในขณะที่ 
 ลุถึงความหลุดพ้น...
เมื่อจิตของเราไม่เกาะเกี่ยวกับความดีและความชั่วแล้ว 
เรายังจะต้องระวัง ไม่ปล่อยให้จิตนั้นอิงอยู่กับ
ความว่างเปล่าหรือตกลงไปสู่ความเฉื่อย..
ยิ่งกว่านั้นเรายังจะขยายความรู้ของเรา ให้กว้างออกไปจนกระทั่ง
เราสามารถรู้จักจิตของเราเอง 
สามารถเข้าใจโดยทั่วถึงในหลักแห่งพุทธธรรม ทำตนเป็นฉันญาติมิตร
กับสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ที่เราเกี่ยวข้องด้วย 
บำบัดความรู้สึกว่า "ตัวตน" 
และความรู้สึกว่ามีว่าเป็นเสียให้หมดสิ้น
.
คันธสาระอันประกอบด้วยองค์ห้าประการนี้ ย่อมอบอวลออกมาจาก
ภายในและเราไม่ควรแสวงหามันจากภายนอก...

สังฆปริณายกที่ 6 ท่านเว่ยหลาง

พุทธทาสภิกขุ...แปล

Photo by 五玄土 ORIENTO on Unsplash

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ดูกายเห็นจิต ดูคิดเห็นธรรม


ภาวะแห่งการ "รู้เฉยๆ" เป็นคุณสมบัติเดิมของจิต
แต่พอ "หลง” ไปอยู่กับความรู้สึก 
ความนึกคิด อารมณ์ต่างๆ 
จะเริ่มมีคุณสมบัติเปลี่ยนไป
การที่เรา "มองเห็นการเปลี่ยนแปลง" ที่เปลี่ยนไป 
ระหว่างภาวะจิตเดิม ที่มันไม่มีอะไร ไม่เป็นอะไร
กับความรู้สึกนึกคิด ที่ปรุงแต่งไป…
ตรงนี้แหละ จะทําให้เราเริ่มรู้จัก
"กระบวนการ ในการเฝ้าดูจิต" ของเรา
หลวงพ่อคําเขียน ท่านใช้คําว่า
 "ดูกายเห็นจิต ดูคิดเห็นธรรม"

พระอาจารย์ครรชิต อกิญจโน

Image by zhugher from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

กลับสู่สภาวะก่อนเกิดความคิด


ปรมาจารย์เซน ผู้ยิ่งใหญ่ กล่าวว่า
การบรรลุ ธรรมชาติที่แท้จริงนั้น
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ ความเข้าใจ
ความเข้าใจ เป็นเพียงภาพลวงตา
หากเธอ อยู่บนทางแห่งพุทธะ
เธอต้องตัดการยึดติด กับความคิด
และกลับสู่ สภาวะก่อนเกิดความคิด
บางครั้งเรียก สภาวะนี้ว่า "ความไม่คิด"

การบรรลุนั้น ง่ายมาก และอยู่ไม่ไกล
เพียงถามตัวเองอย่างลึกซึ้งว่า
"ใคร คือข้าฯ"   หรือ   "ข้าฯ คือใคร"
ที่ปรากฏเป็นเพียง    "........." (ความเงียบ)
นี่ ... เป็นธรรมชาติที่แท้จริง ...อยู่แล้ว
“ก่อนเกิด      ใคร คือข้าฯ
เกิดแล้วมา    ข้าฯ คือใคร"

ปรมาจารย์ตั๊กม้อ (พระโพธิธรรม)

โดย ชีวา นาวิน จากเพจ เซน 

Image by zhugher from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

จงใช้ชีวิตให้กลมกลืนสมดุล


กิเลสคือโพธิ  แต่โพธิก็เกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่มีกิเลส
แม้ "ความว่าง" และ "ความมี" แตกต่างกัน
แต่มันก็ต้องอาศัยกันและกันอย่างแยกไม่ออก
.
หากปราศจากความว่าง ความมีก็เกิดไม่ได้
และความมีจะดำรงอยู่ไม่ได้  หากปราศจากความว่าง
แก้วน้ำใบนี้ บรรจุน้ำได้เพราะมันว่าง รถวิ่งได้เพราะถนนว่าง
โบสถ์วิหาร บ้านเรือน อาศัยได้เพราะข้างในว่างเปล่า
นก ผีเสื้อ เครื่องบิน โบยบินอย่างเสรีได้ 
เพราะอากาศมีความว่าง
.
ความว่างจึงมีคุณต่อ "ความมี" อย่างสูง
และความมีก็ขับเน้นให้ความว่าง มีคุณค่าโดดเด่นอย่างอัศจรรย์
.
โลกใบนี้ เกิดเพราะเหตุปัจจัยแห่งการอิงอาศัย 
จงใช้ชีวิตให้กลมกลืนสมดุล
อย่าแสวงหาความมี จนนอนอัดควันพิษ แห่งความอยากจนเป็นทุกข์
และอย่าแสวงหาความว่าง จนทิ้งหน้าที่ ความรับผิดชอบของตน
ในฐานะสมมุติแห่งความเป็นมนุษย์
.
หลับตาหรือลืมตา ยืน นั่ง หรือนอน
ชายหรือหญิง หนุ่ม สาว คนแก่ ฆราวาสหรือนักบวช
การดิ้นรนหนีโลก เพื่อพ้นทุกข์  มิใช่สิ่งจำเป็นเลย
หากเธอมีปัญญาเสียแล้ว
เธอจะเห็นว่านิพพานอยู่ในสังสารวัฏ
เธอไม่จำเป็นต้องปฏิเสธอะไร และกอดรัดอะไร
เธอไม่จำเป็นต้องหนี หรือ สู้ พ้นจากอะไร 
.
นิพพานบนดินได้ บนความมีได้ บนความว่างได้ 
ในชีวิตปัจจุบัน ที่นี่ เดี๋ยวนี้
และธรรมะแท้ คือ ธรรมปัจจุบัน
ที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้นี่แหละ 
แต่ไม่หลงปัจจุบัน
.
แค่ทำหน้าที่ตามเหตุตามปัจจัย ให้สมดุลพอเพียงกับตน 
และมีปัญญามองเห็นเข้าใจธรรมชาติ
ของการตั้งอยู่ เปลี่ยนแปลง และดับไปของทุกสรรพสิ่ง
เธอก็จะเป็นผู้ที่มีปัญญา ใช้ชีวิตชิวๆ 
แต่สงบเย็น โปร่งโล่ง เป็นประโยชน์ 
.
ความสมบูรณ์ทั้งทางโลกและทางธรรม สามารถเกิดขึ้นได้ ควบคู่กัน 
โดยเธอไม่ต้อง "เอา" อะไรหรือ "ทิ้ง"
หรือ คอยกำจัดอะไร หรือ วางอะไร
ทุกสิ่งล้วนเป็นอัตโนมัติ ทำหน้าที่เองทุกส่วน
เมื่อเห็นทุกสิ่งอัตโนมัติ ( ai ) จากปัญญาเรา ไม่ใช่ความจำที่เป็นทิฐินะ
ไม่เคยเกิด ไม่เคยตายจริงๆ  ก็แค่ผ่านมาทักทาย "ชั่วคราว"    

พระอาจารย์ปกรณ์นันทน์ ฐิตธัมโม

Image by Lwcy from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

พระพุทธองค์ทรงมองใน


พระพุทธองค์ทรงมองใน
.
ผู้คนเป็นอันมาก แสวงหาความจริง
จากสิ่งภายนอก จากการเรียนรู้คำสอน 
จดจำตำราคัมภีร์ได้มากมาย 
ซึ่งยิ่งทำยิ่งไม่ใช่ และยิ่งห่างไกลจากความจริง
พระพุทธองค์ทรงมองใน มองเข้าไปในใจ  
จึงหยุดแสวงหาจากทุกสิ่งภายนอก  
เห็นแจ้งในธรรมชาติของจิตเดิมแท้ 
ซึ่งมีอยู่อย่างบริบูรณ์และเท่าเทียม
ในใจแล้วทุกคน

รศ.นพ.ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ

Image by ELG21 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

การยกระดับใจ ให้มั่งมีนั้นทำได้ทุกคน


ความคิดอย่างหนึ่งที่สมควรฝึกให้เกิดขึ้นเป็นประจำ 
คือความคิดว่าพอ..คิดให้รู้จักพอ 
ผู้รู้จักพอจะเป็นผู้ที่มีความสบายใจ 
ส่วนผู้ไม่รู้จักพอจะเป็นผู้ร้อนเร่า
แสวงหาไม่หยุดยั้ง 
ความไม่รู้จักพอมีอยู่ได้แม้ใน
ผู้เป็นใหญ่เป็นโต มั่งมีมหาศาล 
และความรู้จักพอก็มีได้แม้ในผู้ยากจน ต่ำต้อย 
ทั้งนี้ก็เพราะความพอ เป็นเรื่องของใจ
ที่ไม่เกี่ยวกับฐานะภายนอก 
คนรวยที่ไม่รู้จักพอก็เป็นคนจนอยู่ตลอดเวลา 
คนจนที่รู้จักพอก็เป็นคนมั่งมีอยู่ตลอดเวลา
.
การยกฐานะจากยากจนให้มั่งมีนั้นทำได้ไม่ง่าย 
บางคนตลอดชาตินี้อาจทำไม่สำเร็จ 
แต่การยกระดับใจ ให้มั่งมีนั้นทำได้ทุกคน
แม้มีความมุ่งมั่นจะทำจริง 
คนรู้จักพอไม่ใช่คนเกียจคร้าน 
และคนเกียจคร้าน ก็ไม่ใช่คนรู้จักพอ 
ควรทำความเข้าใจในเรื่องนี้ให้ถูกต้อง 
แล้วอบรมตนเองให้ไม่เป็นคนเกียจคร้าน
แต่ให้เป็นคนรู้จักพอ

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร

Image by ELG21 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

เป้าหมายหลักของพระพุทธศาสนา


เป้าหมายหลักของพระพุทธศาสนานี้
มีไว้เพื่อสอนวิธีการดับทุกข์ทางใจเท่านั้น 
ไม่ได้สอนให้ไปร่ำรวย 
ให้ไปเจริญทางลาภยศสรรเสริญ 
ทางความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกายแต่อย่างใด 
เพราะความเป็นจริงแล้ว 
ลาภยศสรรเสริญและความสุข
ทางตาหูจมูกลิ้นกายนี้นี่แหละ
เป็นตัวที่สร้างความทุกข์ให้กับใจ 
ใจที่ไม่ฉลาดถ้าได้ไปสัมผัสกับลาภยศสรรเสริญสุขแล้ว 
ก็จะเกิดความอยาก เกิดอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น 
อยากจะให้เจริญในลาภยศสรรเสริญสุข
ไปตลอดเวลา โดยที่ไม่เห็นสภาพความเป็นจริง
ของสิ่งต่างๆ เหล่านี้ว่าอยู่ภายใต้กฎของไตรลักษณ์ 
ก็คือเป็นของที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน 
มีการเจริญได้ ก็มีการเสื่อมได้เป็นธรรมดา.. 
แล้วก็เป็นอนัตตา คือไม่เป็นสิ่งที่จะควบคุมบังคับ
ให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ใดได้ 
ถ้าผู้ใดมีความอยากให้สิ่งเหล่านี้
เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้แน่นอน 
เป็นสิ่งที่อยู่ภายใต้การควบคุมบังคับ 
ก็จะเกิดความทุกข์ทรมานใจขึ้นมา 
นี่แหละเหตุของความทุกข์…

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

Image by Darkmoon_Artfrom pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

มองถูก ทุกข์คลาย


มองถูก ทุกข์คลาย
............

• มองอะไร ให้เห็น เป็นครูสอน
มองไม้ขอน หรือมองคน ถ้าค้นหา
มีสิ่งสอน เสมอกัน มีปัญญา
จะพบว่า ล้วนมีพิษ อนิจจัง

• จะมองทุกข์หรือมองสุขมองให้ดี
ว่าจะเป็น อย่างที่เรานึกหวัง
หรือเป็นไป ตามปัจจัย ให้ระวัง
อย่าคลุ้มคลั่ง จะมองเห็น เป็นธรรมดา

• มองโดยนัย ให้มันสอน จะถอนโศก
มองเยกโยก มันไม่สอน นอนเป็นบ้า
มองไม่เป็น จะโทษใคร ที่ไหนมา
มองถูกท่า ทุกข์ก็คลาย สลายเอง ฯ 

ท่านพุทธทาสภิกขุ

Image by NoName_13 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

การเห็นธรรมชาติเดิมของจิตใจ นั้นสูงสุด


ฉันบรรลุความรู้ทั้งหมดของฉัน
โดยการสังเกต จิตใจภายใน
ดังนั้น ความคิดทั้งหมดของฉัน
จึงกลายเป็น คำสอนของธรรมะ
การเห็นธรรมชาติเดิมของจิตใจ นั้นสูงสุด
ผู้ที่รู้แจ้ง ธรรมชาติแห่งจิตของตน
ย่อมรู้ที่จิต เป็นปัญญาที่รู้แจ้ง
และไม่หลงไปค้นหา จากที่อื่นอีกต่อไป
ดังนั้น พิจารณาจิตใจของตนเอง
นี่คือ คำสอนอันสูงสุดที่พึงปฏิบัติได้
จิตนี้เองคือ ตถาคตครรภ์
ธรรมชาติของพระพุทธเจ้า

ท่านมิลาเรปะ

Image by ycchen from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ต่อให้ตัดสินคนทั้งโลก


วันๆ หนึ่ง มัวแต่เป็นไม้บรรทัด 
คนนั้นดี คนนั้นชั่ว คนนั้นถูก คนนี้ผิด
คนนั้นอรหันต์ คนนั้น คนนี้…
ต่อให้ตัดสินคนทั้งโลก
ก็ยังไม่มีประโยชน์เท่าการเห็น
ว่าเธอไม่เคยมีตัวตนตั้งแต่แรก
สักนิดเดียว

พระอาจารย์ปกรณ์นันทน์ ฐิตธัมโม

Image by sweetlouise from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

เมื่อเข้าถึงกระแสธรรม..


ยิ่งเข้าถึงกระแสธรรม 
การทำความดีจะบริสุทธิ์ยิ่งขึ้นๆๆ อย่างไร้ที่เปรียบ..
...
ยิ่งเข้าถึงกระแสธรรม จะเลิกแสวงหา 
แต่จะลงมือกระทำสิ่งนั้นแทน..
...
เมื่อเข้าถึงกระแสธรรม..
ไม่ว่าตนจะทำความดีมากเท่าไหร่..
ก็ยกผลงานนั้นให้เป็นของธรรมชาติทั้งสิ้น 
ไม่กักเก็บสิ่งใดไว้ ปล่อยผ่านได้เสมอ..
คงไว้แค่เพียงจิตบริสุทธิ์ที่คงเดิม
และเท่าเดิมเท่านั้น

อิโตมิ จัง

Image by Baypicz from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ไม่ประเสริฐเท่า...รู้ใจตนเอง


ใครจะรู้วิเศษเท่าไร ไม่ประเสริฐเท่า...รู้ใจตนเอง
ความมีอิทธิฤทธิ์ หรืออะไรต่างๆ อย่าไปสนใจ
ขอให้มีอันรู้จิตของเรานี่
ใครปฏิบัติสมาธิ ไม่ได้ญาณ ไม่ได้ฌานขั้นใด
แต่ว่า...มีสติรู้จิต อยู่...ตลอดเวลา 
มีศีลบริสุทธิ์    ใช้การได้

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

เพจ วัดพระธาตุขุนบง

Image by PublicDomainPictures from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ความว่าง ไม่ใช้อารมณ์ที่ว่าง


ความว่าง  ไม่ใช้อารมณ์ที่ว่าง
แต่หมายถึง "ว่าง" จากผู้ยึดถือ
ความไม่มี  ไม่ใช่ความว่างที่ไม่มีอะไร
แต่หมายถึง  ไม่มีผู้เสวย  
ไม่มีผู้ยึดมั่นถือมั่นต่างหากเล่า

หลวงตาณรงค์ศักดิ์  ขีณาลโย

Image by mihailrepida from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

การละทิ้งที่แท้จริง ไม่ใช่การบังคับตัวเอง


สิ่งที่พระพุทธเจ้า ใช้ปลดปล่อยจิต
จากความอยาก คือ การเห็นความจริง
การละทิ้งที่แท้จริง ไม่ใช่การบังคับตัวเอง
ให้ละทิ้ง สิ่งที่ยังคงหวงแหนอยู่
แต่เป็นการเห็นความจริง ของสิ่งเหล่านั้น
เพื่อไม่ให้สิ่งเหล่านั้น ผูกมัดเราอีกต่อไป
เมื่อเราเข้าใจธรรมชาติ ตามความจริง
ความอยาก ก็จะหายไปเอง โดยไม่ต้องดิ้นรน

ชีวา นาวิน จากกลุ่ม เซน

Image by imprimable from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

หากไม่มีเราเข้าไปเป็น


ธรรมบริสุทธิ์นั้นพ้นกระแสโลก
กระแสโลก "คือการปรุงแต่งทั้งปวง"
ผู้ตกอยู่ในกระแสโลก ย่อมเป็นไปตามกรรม
หมุนวนเป็นวัฏทุกข์..
กิเลส กรรม วิบาก..วนซ้ำๆ ไม่จบสิ้น
เพราะความ "โง่" จึงไปหลงยึดถือเอา
การปรุงแต่งทั้งปวง เป็นอัตตาตัวตน
การปรุงแต่งทั้งปวงนั้น
เป็นเพียงปรากฏการณ์
ที่เกิดดับอยู่อย่างธรรมชาติ..
หากไม่มีเราเข้าไปเป็น
ในปรากฏการณ์นั้น..
ก็ไม่ถูกบีบคั้นจากกระแสโลก
นั่นจึงพ้นจากวัฏฏะทุกข์
กระแสโลก จะดำเนินไปอย่างไร
พระธรรม ก็บริสุทธิ์อยู่อย่างนั้น

อาจารย์ปู่ เอกธาตุ

Image by FotoRieth from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ความว่างของใจ




นักปฏิบัติบางคนยังไม่เข้าใจในความว่างของใจอยู่มาก ไปคิดเอาเองว่าความว่างคืออากาศว่าง หรือเข้าใจว่าความว่าง คือไม่มีวัตถุสิ่งของ และอีกอย่างหนึ่งว่างจะสมมติเช่นว่า เรามีบ้านอยู่ อาศัยสมมุติขึ้นมาว่าเป็นบ้านของเรา อยู่ต่อมาบ้านนั้นพังหรือถูกไฟเผาไปหมด เลยไม่มีบ้านอยู่ในที่ตรงนั้นอีก คำสมมุติว่าบ้านก็หายไป เลยกลายมาเป็นความว่างจากสมมุติ 
.
อย่างนี้ก็พากันเข้าใจว่าตนรู้จักความว่าง หรือว่าเห็นความว่างแล้ว ความว่างแบบนี้เป็นความว่างที่มีอยู่ทั่วๆ ไปตามธรรมชาติอยู่แล้ว ใครๆ ก็รู้กันหมด แม้แต่เด็กๆ เขาก็รู้เรื่องความว่างแบบนี้มีอยู่ประจำโลก ไม่ใช่ความว่างของใจที่พวกเราแสวงหา มันยังไกลกันคนละมุมโลก
.
ความว่างของใจมันไม่ได้ว่างอยู่แบบนี้
.
มันว่างแบบสมบูรณ์ สมบูรณ์อยู่ครบ พร้อมด้วยสติปัญญาเต็มเปี่ยมอยู่ พร้อมทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่เผลอสติ ตามรู้อยู่ในปัจจุบันทุกขณะ
.
แต่ว่ารู้แล้วไม่ติด ไม่ยึด ไม่ถือเอาสิ่งที่รู้เข้ามาเป็นอารมณ์ของใจ รู้แล้วก็ปล่อยไปตามธรรมชาติ ไม่ให้จิตออกไปคิดปรุงแต่งให้เกิดเป็นสมมุติเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาอีกต่อไป ใจมันก็ว่างจากอารมณ์ ว่างจากการปรุงแต่ง ใจอยู่ในปกติเดิมตามธรรมชาติของใจแท้ไม่แปรผัน อย่างนี้จึงเป็นความว่างของใจ ไม่ใช่ว่างแบบธรรมชาติของโลกอย่างอากาศว่าง หรือว่างแบบอยู่ในฌาน ว่างแบบอยู่ในฌานนั้นก็อีกแบบหนึ่ง  คือยึดความว่างเป็นอารมณ์ จึงติดอยู่กับความว่าง 

หลวงปู่คูณ  สิริจันโท

Image by Leolo212 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ธรรมชาติแท้ของจิต ที่มีมาแล้วแต่แรกเริ่ม


เพราะไม่แบ่งแยกจึงไม่เป็นสอง
หลอมรวมทุกสิ่งเป็นหนึ่ง
จึงล้วนมีรสเดียวกัน
ไร้การให้ค่า ไร้การตัดสิน
ข้ามพ้นความดี และไม่ดี
ข้ามพ้นความสมบูรณ์ และไม่สมบูรณ์
จึงเป็นความสมบูรณ์ที่ยิ่งใหญ่
คือธรรมชาติแท้ของจิต
ที่มีมาแล้วแต่แรกเริ่ม

นิรนาม

Image by 鱼炒饭 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 


พระพุทธเจ้า กับ สรรพสัตว์ ต่างกันอย่างไร ? 
“มันมิได้มีอะไรอื่นที่แตกต่างกันเลย”
นอกเสียจากการที่ตระหนักรู้ (แจ้งชัด) 
ต่อจิตเดิมแท้
หรือการที่ไม่ตระหนักรู้ (หลง) 
ต่อจิตเดิมแท้ เพียงแค่นั้น
โดยเนื้อหาของสภาวะตื่นแจ้งของพระพุทธเจ้านั้น
ล้วนมีอยู่ในตัวเธออยู่แล้ว 
เพียงแต่เธอเพียงแค่ไม่รู้จักมัน เท่านั้นเอง

ท่านคุรุ รินโปเช

Photo by Raimond Klavins on Unsplash

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา