เรายังไม่ได้เริ่มปฏิบัติธรรมเลย



ในการปฏิบัติธรรม 
เมื่ออะไรผ่านมา ผ่านไป 
แล้วเรายังคอยเข้าไปจัดการ แทรกแซง 
นั่นแปลว่าเรายังเห็นเฉยๆ ไม่ได้
ถ้าเราเห็นเฉยๆไม่ได้ 
แปลว่าจิตใจเรายังเต็มไปด้วยความผิดปกติ 
เป็นจิตที่เต็มด้วยความมืดของ
อวิชชา กิเลส ตัณหา อุปาทาน
และถ้าเรายังคงทำแบบนี้ต่อไป 
นั่นแปลว่าเรายังไม่ได้เริ่มปฏิบัติธรรมเลย

Camouflage

Image by jplenio from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


เป็นสิ่งที่ "ถูกรู้" ได้ทันที



คนอารมณ์เย็น
ใช่ว่าไม่โกรธเลย
แต่เป็นคนที่เกิดความโกรธแล้ว
ไม่เห็นความโกรธ "เป็นตน"
แต่เห็นความโกรธเป็นสิ่งดับได้รวดเร็ว
ความโกรธ ไม่ใช่สิ่งที่ห้ามได้ทันที
หรือว่าไปตัดมันทิ้งได้ทันที
แต่เป็นสิ่งที่ "ถูกรู้" ได้ทันที
ภาวะที่มันเกิดขึ้นแล้วยอมรับตามจริง
คือภาวะที่มี “สติ แทนที่ความโกรธ”

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร


Image by eunseong0331 from pixabay


ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ถ้าขาด "เครื่องรบกวน"



ไม่มีใครรู้ว่าตัวเอง
ฝึกจิตได้แข็งแรงถึงไหนแล้ว
ถ้าขาด "เครื่องรบกวน" 
มาช่วยวัดระดับให้

ดังตฤณ

Image by BUMIPUTRA from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ยานอันสูงสุด



การดู การฟัง การท่องพระสูตร
เป็นยานขนาดเล็ก
การรู้ธรรม และเข้าถึงความหมาย
เป็นยานขนาดกลาง
การเอาธรรมะ ที่รู้นั้น
มาปฏิบัติจนเป็นปกติวิสัย​ 
นี่คือ ยานขนาดใหญ่
การเข้าใจธรรมทั้งปวงอย่างปรุโปร่ง 
ได้ดื่มรสธรรมะนั้นอย่างสมบูรณ์
เป็นอิสระจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวง
มีใจอยู่เหนือสิ่งทั้งปวง
และไม่ถืออะไรไว้ 
โดยความเป็นของของตน 
นี่แหละคือ​ยานอันสูงสุด

ท่านเว่ยหล่าง

Photo by 五玄土 ORIENTO on Unsplash

Cr.Fb.Pakapol Pongsura

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

เขายังไม่รู้จักนิพพานเลย


ผู้ที่คิดว่าตนปฏิบัติธรรมถึงที่สุดแล้ว คือ พ้นทุกข์ 
และมีความคิดอยู่ว่า 
สติก็ดี ปัญญา สมาธิ จิต และวิญญาณ 
นี้แหละเป็นองค์ของนิพพาน 
ต้องมีอยู่ในนั้น จะขาดเสียมิได้ 
ถ้าคิดอย่างนั้นเขายังไม่รู้จักนิพพานเลย

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (หลวงปู่จันทร์ สิริจนฺโท)

Photo by Chinh Le Duc on Unsplash

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



ถ้าเราเข้าไปคลุกคลีจ่อมจม


ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึก​ 
ความนึกคิดและอารมณ์ 
หรืออาการใดๆ ที่เกิดขึ้นกับกายกับจิต​ 
ถ้าเราเข้าไปคลุกคลีจ่อมจมในสิ่งนั้น​
เราย่อมไม่เห็นสิ่งนั้น​ ที่สำคัญคือ
เราจะถูกสิ่งนั้นกลืนกินเข้าไป (ทุกข์)
การกลับมารู้​สึกตัว
จะทำให้เราถอนออกมาจากการจ่อมจม​ 
พ้นจากการถูกครอบงำ​ 
และที่สำคัญ...
เราจะเห็นสิ่งนั้นตามความเป็นจริง

พระอาจารย์ครรชิต อกิญจโน

Photo by Ave Calvar on Unsplash

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



สุขที่แท้จริง ต้องได้มาเปล่าๆ


ความสุขที่แท้จริง เป็นสิ่งที่ต้องได้มาเปล่าๆ
โดยไม่ต้องเสียสตางค์ เหมือนดั่งที่ตรัสว่า
ถอนความรู้สึกว่า ตัวตนเสียได้แล้ว
ก็ได้นิพพานมาเปล่าๆ ไม่ต้องเสียมูลค่าอะไร
ส่วนความสุขเทียม หรือ ความเพลิดเพลิน
ที่หลอกลวงนั้น ใช้เงินซื้อมาเท่าไรก็ไม่รู้จักพอ
จนตัวตายก็ไม่พบกับความสุขที่แท้จริง

ท่านพุทธทาสภิกขุ

Image by Riley from Unsplash

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



มันเป็นเช่นนั้นเอง


ผัสสะเวทนาสุขทุกข์ 
มันมาจากผัสสะข้างนอก
ถ้ามี "เรา" เข้าไปรับ มันถึงมีทุกข์
ไม่มีเราเข้าไปรับ มันไม่มีทุกข์
สุขทุกข์ชอบไม่ชอบ ก็มาจากความคิด
ว่างจากความคิด มันไม่สุขไม่ทุกข์
มันไม่มีความหมาย แค่รู้ ที่เป็นแค่ธาตุรู้
มิใช่เรา "รู้อะไร" รู้ว่าอะไรๆ นั่นมันสังขาร
สักแต่ว่ารู้ มันเป็นเช่นนั้นเอง

พระอาจารย์ปกรณ์นันทน์ ฐิตธัมโม

Image by Syaibatulhamdi from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



สุข เพราะไม่แบก ทุกข์


ความสุขจะมีขึ้นได้ก็ตรงที่....
ไม่แสวงหาความสุข
เพราะมองไปทางไหนก็มีแต่ทุกข์ทั้งสิ้น
รู้จักทุกข์ ยอมรับทุกข์ ไม่แทรกแซง
รู้ด้วยใจเป็นกลางคือรู้เท่า ชอบ ชัง
ไม่ไหลเข้าไปเป็น เมื่อนั้นย่อมสุขเอง
สุข เพราะไม่แบก ทุกข์นะ

พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



ว่างจริงนั้น คือว่าง จากความว่าง


อันความว่าง นั้นว่าง เพราะไม่ยึด
อย่าตะพึด ว่าว่าง ไร้จุดหมาย
ว่างจากยึด ทั้งจิต และรูปกาย
ใจไม่หมาย สิ่งใด จึงว่างจริง.....

ว่างจริงนั้น คือว่าง จากความว่าง
ปล่อยความว่าง ทิ้งไป ไม่ไปหมาย
เมื่อได้รู้ เห็นอยู่ แม้ชีพวาย
ก็สบาย สิ้นภพ จบกันที

พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



ธรรมะเป็นของธรรมดาที่สุด


คนทั้งหลายแสวงหาสิ่งแปลกประหลาด 
จึงไม่สามารถพบธรรมะ เพราะ
ธรรมะเป็นของธรรมดาที่สุด

พระอาจารย์ชุมพล พลปญฺโญ

Image by elvina1332 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา





ถ้าจิตว่าง


จิตคือ...ผู้รู้ 
ความคิดคือ...ผู้ถูกรู้ 
ถ้าจิตว่าง
จะไม่มีทั้งผู้รู้และผู้ถูกรู้ 
ไม่มีทั้งผู้กระทำ 
และผู้ถูกกระทำ 
จิตนั้นอิสระเสรี 
ไม่ต้องกำหนดอะไร 
ไม่มีอะไรเข้าถึงอะไร 
ไม่มีอะไรกับอะไร 
มันสมบูรณ์พร้อมอยู่แล้ว 
เป็นอนัตตา

หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล


Image by Jenny_Dang from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



เราก็แค่รับรู้ สิ่งที่เกิดขึ้น


ความรู้สึก หรือ สภาวะที่เกิดขึ้น
นั่นแหละของจริง !
....เราก็แค่รับรู้ สิ่งที่เกิดขึ้น
ความคิด ตรรกะ ตีความต่างๆ
คือของปลอม !!
ความรู้สึกที่เกิดขึ้น
สภาวะที่เกิดขึ้น คือ ของจริง
หัวใจของการปฎิบัติก็คือ
รู้ธรรมเฉพาะหน้า
รับรู้สภาวะที่ปรากฏไปเรื่อยๆ

พระมหาวรพรต กิตฺติวโร

Image by Veronika_Andrews from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




กิ่งก้านของ อวิชชา


หลงทางดี หรือ หลงทางชั่ว 
มันก็เป็น
กิ่งก้านของ อวิชชา ทั้งนั้น !!

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

Cr.Fb.Pakapol Pongsura
Image by Baggeb from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



คำว่า "ทางสายกลาง"


คำว่า "ทางสายกลาง"
ไม่ได้หมายถึงในด้านกาย 
และวาจาของเรา 
แต่หมายถึงในด้าน 
"จิตใจ เมื่อถูกอารมณ์มากระทบ"
ถ้าอารมณ์ที่ไม่ถูกใจ 
มากระทบกระทั่ง ก็ทำให้วุ่นวาย 
ถ้าจิตวุ่นวายหวั่นไหวเช่นนี้ ก็ไม่ใช่หนทาง
เมื่ออารมณ์ที่ชอบใจดีใจ 
เกิดขึ้นมา แล้วก็ดีอกดีใจ 
ติดแน่นอยู่ในกามสุขัลลิกานุโยโค 
อันนี้ก็ไม่ใช่หนทาง..

หลวงปู่ชา สุภัทโท

Image by coombesy from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ความทุกข์ที่เกิดจากอวิชชาเป็นทุกข์ที่แก้ไขได้



ความทุกข์ที่เกิดจากอวิชชา 
เกิดจากการไม่รู้จริง 
ความทุกข์จากการรู้ไม่จริงเป็นทุกข์ที่แก้ได้ 
แต่ความทุกข์ที่เป็นไตรลักษณ์
ซึ่งเป็นความทุกข์ของสิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งที่ต้องยอมรับ 
นักปราชญ์ผู้มีปัญญาคือผู้รู้ว่าสิ่งไหน
อยู่ในวิสัยที่จะแก้ไขได้ สิ่งไหนไม่อยู่ในวิสัยที่จะแก้ได้

ไม่มีจิต ไม่มีกิเลส


..ไม่มีจิต ไม่มีกิเลส 
..ที่มันมีกิเลส เพราะมันมีจิต 
หมดผู้เป็น "เจ้าของ" จิตแล้ว 
ธรรมก็ไม่มี 
พิจารณาสมมุติให้เป็นวิมุติ 
ถึงวิมุติแล้วก็ละวิมุติอีก 
นั่นแหละจึงเรียกได้ว่า ธรรมแท้ 
จึงได้ว่ามีจิต จึงมีกิเลส 
ไม่มีจิต ไม่มีกิเลส 
พิจารณาจนเจอจิต 
ละจิตได้ ก็ละกิเลสได้ 
พิจารณาจนเจอจิต
แล้วยึดจิต กิเลสก็ไม่หมด 
อยู่ที่ยึด กับ ไม่ยึด มันก็จบแค่นี้แหละ..
พุทธศาสนารวมลงมาจริงๆ ก็คือ 
แกะความยึดติดของจิต 
แกะความเป็นตัวตน 
แกะออกจากความสำคัญ
มั่นหมายว่าของเรา..

ครูบาเจ้าเพชร วชิรมโน

Image by dangquangn from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา





แก้จิตให้เป็นธรรม


สรรพสิ่งต่างก็แปรปรวนไปตามสภาพ
อยู่ตลอดกัปตลอดกัลป์
จะว่าเขาเที่ยงหรือไม่เที่ยง
เขาไม่ได้รับรู้ดอก
แต่แล้วใจของเรานี่แหละ
เป็นผู้ไม่เที่ยงเอง
คอยตำหนิติโทษอันนั้นอันนี้อยู่ตลอด
หากเรารู้ถึงความเป็นจริงแล้ว
ใจเราจะไม่ตำหนิติโทษอื่นๆ
ตำหนิตัวเองดีกว่า
อันนี้เป็นการแก้จิตให้เป็นธรรม

หลวงปู่ศรี มหาวีโร

Image by dangquangn from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ระวังแขกเข้ามา ไม่เอา !


มีโยมมาปรึกษาว่า...
ทำไมอยู่ดีๆ มันชอบคิดอกุศลเรื่อย?
นั่นแหละคือ "แขกจร" เข้ามาเฉยๆ 
ไม่ใช่เรา อกุศลมาก็ "รู้" เดี๋ยวมันก็ดับ 
บางทีกรรมเก่ามันให้ผลด้วย 
เราเคยทำกรรมสะสมกรรมไม่ดีมา 
มันก็ทำให้เราคิดเป็นอกุศลขึ้นมา 
มันเคยชินน่ะ จิตเรา 
แต่ก่อนมันเคยคิดไม่ดี ก็เลยเคยชินอยู่ในจิต 
ปัจจุบันนี้เรามีสติแล้ว เรารู้แล้ว เราก็ตั้งสติดีๆ 
ดู... ดูลงไปเลย 
ให้รู้ว่าเป็นแขก ระวังแขกเข้ามา ไม่เอา !

พระอาจารย์ครรชิต สุทธิจิตโต

Image by avi_acl from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




จิตทำผิดหน้าที่ คือทำหน้าที่เกินรู้


เวลาเจ็บมากๆ แยกขันธ์ออกไป
เห็นขันธ์แต่ละขันธ์ ทำหน้าที่ของมัน
รูป ก็ทำหน้าที่ของรูป
เวทนา คือความทุกข์ทั้งหลาย มันก็ทำหน้าที่ของมัน
มันก็แสดงตัวของมันไป
มากขึ้น น้อยลงอะไรอย่างนี้ สลับกันไปเรื่อยๆ
บางทีก็หาย บางทีก็กลับมา
ตัวสังขาร ความปรุงของจิต
มันก็ปรุงของมันไป
จิตเป็นคนรู้
ถ้าขันธ์ทุกตัวทำหน้าที่ของตัวเอง ปัญหาจะไม่เกิดขึ้น
แต่ปัญหาเกิดขึ้น เพราะจิตไม่ทำหน้าที่ของตัวเอง
จิตไม่ทำหน้าที่รับรู้ แต่จิตทำหน้าที่แทรกแซง
อยากให้หายเจ็บ อยากให้หายปวด
จิตมันเข้าไปวุ่นวาย ทั้งที่จิตไม่ได้เจ็บปวด
อย่างเวลาเราเจ็บมากๆ ปวดมากๆ
จิตเป็นคนรู้
ความเจ็บปวดก็ไม่ใช่ร่างกาย แล้วก็ไม่ใช่จิตด้วย
ร่างกายก็ไม่ได้ว่าอะไร
ร่างกายก็เงียบๆ ไม่บ่นอะไร
จิตไม่ได้เจ็บปวด แต่จิตบ่น
นี่จิตแทรกแซงเขา
จิตทำผิดหน้าที่ คือทำหน้าที่เกินรู้
เพราะฉะนั้น จิตจะทุกข์แล้ว

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

Image by faysalkhan101 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


สิ่งนั้น..ความรู้สึกนั้น เป็นสิ่งที่ถูกรู้


อะไรก็แล้วแต่ที่รู้สึกได้
สิ่งนั้น..ความรู้สึกนั้น เป็นสิ่งที่ถูกรู้
ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
คอยสังเกตุไว้บ่อยๆนะ
รู้เห็นไปเรื่อยๆ จนใจยอมรับความจริงนะ
เมื่อนั้นผลย่อมเกิดขึ้นมาเอง รู้สึกได้เองว่า
ได้ปลดปล่อยสิ่งใดออกไปบ้างแล้ว.....

พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

Image by julien_roudier from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




การปฏิบัติ ที่ดูเหมือนมิได้ปฏิบัติอะไรเลย


การปฏิบัติ ที่ดูเหมือน
มิได้ปฏิบัติอะไรเลย
คือ การปฏิบัติทางจิตใจ ให้รู้สึกพอใจ
อยู่ในความว่าง จากตัวตนของตน
กระทำหน้าที่ทุกอย่าง กลมกลืน
อยู่กับกฏของธรรมชาติ ทำงานเพื่อหน้าที่
มิใช่ทำเพื่อประโยชน์แก่ ตัวกู-ของกู

ท่านพุทธทาสภิกขุ

Image by AlemCoksa from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



ทุกข์จะเกิดขึ้นเมื่อเป็น "เจ้าของ"


เมื่อเธอยิ้ม โลกนี้ก็ยิ้มตาม
เมื่อความโกรธ ความอิจฉา ปรากฎขึ้นมา
ด้วยความไม่รู้ เธอก็เป็นสิ่งนั้นไปแล้ว
แต่ใจที่ยิ้ม หรือ หน้าที่ยิ้ม ได้
ความโกรธ และ ความอิจฉา ย่อมหายไปเอง
สิ่งที่เธอชอบ หรือ ไม่ชอบ ก็ต้องปรากฎขึ้น
ทุกข์จะเกิดขึ้นเมื่อเป็น "เจ้าของ"
เมื่อไม่เป็น"เจ้าของ" สิ่งใดๆ 
สิ่งนั้นย่อมหายไปเอง

พระอาจารย์ปกรณ์นันทน์ ฐิตธัมโม

Image by LunarSeaArt from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ถ้าเราเป็นผู้เห็น


ความรู้สึกใด ๆ จะมีอิทธิพลมาก 
ถ้าเราเป็นผู้รู้สึก 
แต่จะมีอิทธิพลน้อย 
ถ้าเราเป็นผู้เห็นความรู้สึก 
ธรรมชาติของอารมณ์ต่าง ๆ 
จะขยายใหญ่โต 
ถ้าเราเข้าไปมีส่วนร่วม 
แต่อารมณ์นั้น ๆ จะดับไปเอง 
หากเราเฝ้ามองเฉย ๆ 
เหมือนมันเขินอายเมื่อถูกเฝ้าดู

คุณพศิน อินทรวงค์

Image by vivekeyeview from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ไฟจะเป็นอันตรายได้อย่างไร


สังขารมันปรุงอยู่อย่างนั้น
เหมือนไฟไหม้อยู่ตลอดเวลา 
แต่ถ้าไม่มีใครเติมเชื้อไฟ มันก็ดับ 
การที่มีเชื้อเราไปปรุงต่อเสริมต่อ 
เราไปยึดอันนั้นเป็นเรา 
ให้ได้ตามที่เจ้าของปรารถนา 
แล้วก็วุ่นวาย 
เพราะยึดติดสังขารตัววุ่นวาย 
ถ้าหากไม่ยึดสังขารตัววุ่นวาย 
สังขารก็เป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้น 
เหมือนกับไฟอย่างนี้ 
ไม่มีใครไปยุ่งกับไฟ 
ไฟจะเป็นอันตรายได้อย่างไร

หลวงปู่แบน ธนากโร

Image by Greza from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


เราตรัสรู้ความจริง ไม่ได้ไปแก้ไขความจริงของมัน


จิตมันประภัสสรอยู่แล้ว 
จิตมันไม่มีสุข จิตมันไม่มีทุกข์ 
จิตมันเป็นอิสระ มันสบายอยู่ 
แต่ตัวตัณหามันไปบังคับ 
เพราะไอ้ตัวอวิชชา 
ไม่รู้ความจริง ไปแก้ไขความจริงกัน 
ไปฝืนความจริง
ก็ฝืนธรรมชาติของขันธ์ 
แต่เราตรัสรู้ความจริง 
ไม่ได้ไปแก้ไขความจริงของมัน 
"ปลงธุระ" ไม่เอามาเป็นธุระ
ของจิตจนเกิดตัณหา 
เรามาหลงละครกัน 
ที่เขาเล่นให้ดู กินเองปรุงเอง 
ไอ้ตัวสังขารนี้แหละ ที่มันคิดเอง 
และเราก็เชื่อความคิดของเราเอง 
แล้วเราก็ทุกข์เอง 
เพราะมันมี "เรา" อยู่ในความคิด...
ให้มันเป็นธรรมชาติของขันธ์ไป 
นี้เราไม่ยอมรับความจริงกัน 
จึงไม่เห็นตัวตนที่แท้จริง

พระอาจารย์ชานนท์ ชยนนฺโท

Image by Greza from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา