ความทุกข์ที่เกิดจากอวิชชาเป็นทุกข์ที่แก้ไขได้



ความทุกข์ที่เกิดจากอวิชชา 
เกิดจากการไม่รู้จริง 
ความทุกข์จากการรู้ไม่จริงเป็นทุกข์ที่แก้ได้ 
แต่ความทุกข์ที่เป็นไตรลักษณ์
ซึ่งเป็นความทุกข์ของสิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งที่ต้องยอมรับ 
นักปราชญ์ผู้มีปัญญาคือผู้รู้ว่าสิ่งไหน
อยู่ในวิสัยที่จะแก้ไขได้ สิ่งไหนไม่อยู่ในวิสัยที่จะแก้ได้

.
เพราะถ้าเราแยกไม่ถูก 
เดี๋ยวเราจะเสียเวลาเหนื่อยกับการพยายาม
แก้สิ่งที่เราแก้ไม่ได้ 
ส่วนสิ่งที่แก้ได้กลับไม่มีเวลาแก้
หรือไม่คิดที่จะแก้ 
.
อะไรคือสิ่งที่เราแก้ไม่ได้ ? 
ความแก่ ความเจ็บ ความตาย 
อาจจะพอบรรเทาได้บ้าง 
ยืดอายุออกไปบ้าง 
แต่ในที่สุดแล้วจะต้องยอมรับ
.
พระพุทธศาสนาจึงสอนให้เรายอมดู ยอมรับรู้ 
ให้เราคอยฝึกเผชิญหน้ากับความจริงของชีวิต
โดยเฉพาะกับสิ่งที่เราไม่ต้องการหรือไม่ชอบ 
ผู้ที่ไม่เข้าใจอาจจะกลัวว่า
จะทำให้เรากลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้ายหรือเปล่า ไม่ใช่....
.
เจตนาของเราคือต้องการมองโลกอย่างรอบคอบ 
แบบลืมหูลืมตา ดูทุกแง่ดูทุกมุม 
ไม่ใช่รับรู้เฉพาะแง่มุมที่ถูกใจ 
หรือที่ทำให้รู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย 
ต้องกล้า ไม่อย่างนั้นจะเป็นเหยื่อของความคิดผิด
และจะเป็นทุกข์ได้ง่าย 
.
เช่นในโรงพยาบาลในต่างประเทศ
หรือแม้ในเมืองไทยบางแห่ง 
มีการมองความตายว่าเป็นศัตรู 
เป็นสิ่งที่ต้องสู้ต้องชนะ 
ทั้งๆ ที่เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีใครชนะได้เลย
.
ในเมืองนอก ใครตายจากมะเร็ง 
เขามักเขียนประวัติเขาว่า 
“He lost his battle with cancer หรือ 
after two years fight with cancer he died” 
เหมือนกับมะเร็งเป็นศัตรูที่ได้เข้าไป
รุกรานเขาอย่างไร้ยุติธรรม 
ที่เขาได้สู้จนถึงที่สุดแล้วแพ้ไปอย่างวีรบุรุษ 
นี่คือความคิดผิดที่เกิดจากการไม่เข้าใจธรรมชาติ 
หรือการไม่ยอมเข้าใจเกี่ยวกับความตาย 
หรือความทุกข์ในไตรลักษณ์…

พระอาจารย์ชยสาโรภิกขุ

Image by vicxmendoza from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น