ถ้ารักษาจิตได้ ทุกอย่างเป็นเรื่องข้างนอกหมด


เราจะหวังให้ทุกสิ่งทุกอย่างมันลงตัวหมด 
มันเป็นไปไม่ได้ เรื่องข้างนอกเนี่ย 
มันไม่เป็นไปอย่างที่เราต้องการได้ทุกสิ่งทุกอย่างหรอก 
หน้าที่ของเราก็คือฝึกจิตของเรา 
ให้จิตของเราเป็นปกติ ราบเรียบกับทุกสิ่งทุกอย่าง
นี่แหละสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงพยายามสอน 
อบรมสาวกให้รู้ แล้วก็ให้ประพฤติปฏิบัติ 
ก็เพื่อรักษาจิตของตัวเอง 
มาทำจิตของตัวเองนี้ให้สงบได้ทุกโอกาส ทุกเวลา 
เพื่อไม่มีทุกข์ ในทุกสถานการณ์ 
ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม ไม่ว่าฟ้าจะผ่าลงมา 
ภูเขาจะถล่มทลาย พระพุทธเจ้าจะเสด็จมา
ถ้าเรารักษาจิตเราได้ 
ทุกอย่างเป็นเรื่องข้างนอกหมด 

พระอาจารย์ครรชิต สุทธิจิตโต

Image by cdd20 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ความสุขมันอยู่ตรงที่พ้นจากขันธ์


หลายคนภาวนา
แทนที่จะมุ่งมาให้เห็นกายเห็นใจ
เป็นไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา 
เกือบทั้งหมดที่ภาวนาแล้วล้มลุกคลุกคลาน 
ภาวนาเพื่อจะให้มันเที่ยง 
เพื่อจะให้มันสุข เพื่อจะบังคับมันให้ได้..
ลืมไปว่าถาวรไม่มี 
มีแต่อนิจจัง ไม่ถาวร 
มีแต่ทุกขัง ทนอยู่ไม่ได้ 
ไม่มีความสุขที่แท้จริงในกายในใจนี้...
ไม่ใช่ว่าพระอรหันต์ภาวนาไปแล้ว
ร่างกายมีความสุข ไม่ใช่ 
จิตใจท่านก็ยังทำหน้าที่รู้สึกนึกคิด
ตามธรรมดานั่นเอง 
ความสุขมันอยู่ตรงที่
ไม่ได้ยึดถือขันธ์ต่างหาก 
ไม่ยึดถือในกาย ไม่ยึดถือในใจ 
เป็นอิสระจากกายจากใจ 
ความสุขมันอยู่ตรงที่พ้นจากขันธ์ 
ไม่ใช่ความสุขอยู่ที่ดัดแปลงขันธ์สำเร็จแล้ว

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

Image by Pixelheld from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



สิ่งที่จองจำมนุษย์ไว้กับวัฏสงสาร


จากหนังสือ เพียงแค่รู้สึกตัว โดย พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


อิสระที่แท้จริง



อิสระที่แท้จริง คืออิสระจากความคิดของตนเอง  

ท่านกฤษณมูรติ

Image by analogicus from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


"ตัดความผูกพัน" ที่จำเป็น "ต้องตัด"


"ตัดความผูกพัน" ที่จำเป็น "ต้องตัด" 
เพราะไม่ตัดวันนี้ วันหน้าก็จะต้องถูกตัดอยู่ดี! 
เพราะหลักของความเป็นจริงคือ 
"เราจะต้องพลัดพรากจากกันในที่สุด"
การพลัดพรากแบบที่ธรรมชาติบังคับ
มันเป็นการพลัดพรากอย่างทุกข์ทรมาน
แต่ถ้าพลัดพรากแบบที่พร้อมจะพลัดพราก
จะเป็นการพลัดพรากกันอย่างสุขสบายใจ
ที่จำเป็น "ต้องตัด" ไม่ได้หมายความว่า
ไม่มีความเมตตาต่อกัน
เพียงแต่ไม่มีความยึดติดอยู่กับบุคคลต่างๆ
เพราะรู้ว่าไม่ช้าก็เร็ว
เราจะต้องแยกกันไปคนละทิศคนละทาง..

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

Image by Free-Photos from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ห้ามไปคิด ห้ามไปพิจารณา


เมื่อใจเข้าไปรู้ตามความเป็นจริง 
พอสะสมตัวรู้มากเข้าๆ 
ก็จะเปิดให้เราเห็นว่า 
“อ้อ ... เป็นแค่นี้เอง อย่างนี้เอง” 
จึงห้ามไปคิด ห้ามไปพิจารณา 
หลักการปฏิบัตินี้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้
ในพระวินัยปิฎก มหาวรรค โพธิกถา 
ตอนที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ใหม่ๆ 
ทรงประทับนั่ง ณ ควงไม้
อัชปาลนิโครธ (โคนต้นไทร) ตรัสว่า
“... อธิคโต โข มยายํ ธมฺโม คมฺภีโร ทุทฺทโส ทุรนุโพโธ สนฺโต
ปณีโต อตกฺกาวจโร นิปุโณ ปณฺฑิตเวทนีโย ...”
แปลว่า ธรรมที่ตถาคตได้บรรลุแล้วนี้ 
ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก 
สงบ ประณีต มิใช่วิสัยแห่งตรรก 
คือ มิใช่วิสัยที่จะคิดเอาเอง 
ไม่ควรลงความเห็นด้วยการเดา 
แต่เป็นธรรมที่บัณฑิตพอจะรู้ได้ 
โดยเข้าไปรู้ในอาการนั้นจริงๆ ได้   

หลวงพ่อประจาก สิริวณฺโณ

Image by MarkusmitK from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


อย่าดิ้นรนที่จะเป็นคนสำคัญ


คนที่รู้สึกว่าตัวเองสำคัญที่สุด คนนั้นเหงามาก 
ไม่สามารถลดตัวลงมาสัมพันธ์กับผู้คน
อย่างคนธรรมดาสามัญได้ 
ดังนั้นอย่าดิ้นรนที่จะเป็นคนสำคัญ...
มนุษย์เราถูกสอนให้หลีกหนี
ความเป็นคนธรรมดาสามัญ
โดยที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ 
ใครก็ตามที่รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนสำคัญมากๆ 
เขาจะถูกลงโทษจากความสำคัญผิดอันนั้น 
เราทุกคนเป็นคนธรรมดา
เมื่อใดเราปฏิเสธความเป็นคนธรรมดาสามัญ 
เมื่อนั้นเราจะเจ็บปวด..

ท่านเขมานันทะ

Image by EvgeniT from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



ไม่มีเรา ภพชาติ ขาดลงพลัน


อย่ามัวเพ้อ หมกมุ่น กับความคิด
มันลากจิต ก่อภพ หาจบไม่
หากว่ารู้ รู้สึก อย่าหลงไป
จิตไม่ไหล ตั้งมั่น เห็นตามจริง

เห็นตามจริง คือเห็น ว่าไม่เที่ยง
เป็นแค่เพียง บางสิ่ง ที่เปลี่ยนผัน
ไม่มีเรา ภพชาติ ขาดลงพลัน
หลุดจากฝัน ตื่นรู้ เห็นตามจริง

พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ทุกข์ใจ เป็นของไม่มีจริง


ทุกข์กาย เป็นความจริง 
เป็นปรมัตถธรรม อยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ 
เห็น เรียนรู้ ยอมรับ และบำบัดตามสภาพ
ทุกข์ใจ เป็นของไม่มีจริง 
เป็นผลของความไม่รู้ ไม่มีสติ เป็นสมุทัย 
ละ...ด้วยการกลับมารู้สึกตัว

พระอาจารย์ครรชิต อกิญจโน

Image by Soorelis from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ความรู้สึกตัวนี้แหละ ไม่ทำให้เราหลง



อยากให้พวกเราทำความรู้สึกตัวให้มากๆ
ความรู้สึกตัวนี้แหละ ไม่ทำให้เราหลง 
และเป็นการทำให้เราเห็นตัวชีวิตจิตใจจริงๆ 
อันที่จริงแล้วชีวิตจิตใจของคนนั้น ไม่เคยมีความทุกข์ 
เมื่อใดเราเผลอตัว เรียกว่า “หลง” จึงถลำไปกับสิ่งที่เราคิด 
ความคิดเหล่านั้น ก็เกิดการปรุงแต่ง สร้างเรื่องราวขึ้น 
เมื่อสร้างเรื่องขึ้น ก็ออกนอกตัวไป ไม่รู้ตัวเอง 
ไหลไปตามอำนาจของเรื่องราวต่างๆ ที่สร้าง 
สิ่งเหล่านั้นจึงทำให้เกิดความทุกข์...

หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ

Image by stanbalik from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

ภิกษุใดคุ้มครองดีแล้วซึ่งทวารเหล่านี้


ภิกษุใดคุ้มครองดีแล้วซึ่งทวารเหล่านี้ 
คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ 
รู้จักประมาณในโภชนะ 
และสำรวม ในอินทรีย์ทั้งหลาย 
ภิกษุนั้นย่อมถึงความสุข 
คือ สุขกาย สุขใจ ภิกษุเช่นนั้น
มีกายไม่ถูกไฟ คือ ความทุกข์แผดเผา 
มีใจไม่ถูกไฟ คือ ความทุกข์แผดเผา
ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งกลางวันกลางคืน ฯ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ 
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ภิกขุสูตร

Image by asompoch from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ยึดติดสวนทางกับธรรมชาติ


คราวหนึ่ง มีผู้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
ขอให้พระองค์สรุปคำสอนทั้งหมด
ให้เหลือใจความสั้นๆ พระองค์ทรงสรุปว่า
"สัพเพธัมมานาลังอะภินิเวสายะ"
แปลว่าธรรมทั้งปวง บุคคลไม่ควรยึดมั่นถือมั่น 
แปลง่ายๆ ทั้งหมดในโลกไม่ควรยึดมั่น
ทำไมทรงตรัสว่า อย่ายึดมั่น
เพราะสิ่งทั้งปวงไม่เคยสถิตอยู่ในสภาพเดิมตลอดกาล
มีแต่เปลี่ยนแปลงเสื่อมสลายตัวเองในทุกขณะ
การยึดติดจึงสวนทางกับธรรมชาติของทุกสรรพสิ่ง

พระอาจารย์ปกรณ์นันทน์ ฐิตธัมโม

Image by pixaoppa from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ดูอย่าเข้าไปอยู่ เห็นอย่าเข้าไปเป็น


ชนะตัวหลง บรรลุธรรม
ชนะคนอื่นร้อยครั้งพันหน
ไม่เท่าชนะตนครั้งเดียว
ชนะตนคือ ชนะตัวหลงที่มันเกิดขึ้นกับจิต
มันคิดขึ้นมาเราก็รู้
ความหลงกับความรู้ไปพร้อมกัน
ความหลงเกิดขึ้น เปลี่ยนความหลงเป็นความรู้
ก็บรรลุธรรมแล้ว
"ดูอย่าเข้าไปอยู่ เห็นอย่าเข้าไปเป็น"

หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ

Image by Pezibear from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




เมื่อเราไม่ยึดมั่นขันธ์ห้า นั้นเราทำลายกิเลสแล้ว


ขันธ์ห้าคือกิเลส 
กิเลสคือขันธ์ห้า 
เมื่อเราไม่ยึดมั่นขันธ์ห้า 
นั้นเราทำลายกิเลสแล้ว 
เราก็อยู่เหนือมัน 
เพราะ "อุปปาทิเสสนิพพาน"
คือ ดับความยึดมั่นในขันธ์นั้นเอง

พระอาจารย์ชานนท์ ชยนนฺโท

Image by xusenru from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



ขอให้ยุติการเข้าควบคุมความคิด


คิดบวก คิดลบ คือเป็นผู้รู้สึก 
หากต้องการฝึกเห็นความรู้สึก 
ขอให้ยุติการเข้าควบคุมความคิด 
ทั้งคิดบวก คิดลบ ต่างมีค่าเสมอกัน 
เราไม่เข้าไปเป็น เราเพียงแค่เห็น 
เห็นการทำงานของมันอย่างกลาง ๆ 
ที่จริงแล้วทั้งคิดบวก คิดลบ ต่างไม่มีตัวตน 
มีสภาพเกิดและดับ สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนไป 
จะเอาแต่คิดบวกอย่างเดียวเป็นไปไม่ได้ 
หรือนึกเพี้ยน จะเอาแต่คิดลบอย่างเดียว
ก็เป็นไปไม่ได้ วงจรของความคิด 
ทำงานสลับไปมาก คิดบวก คิดลบ 
มิใช่สิ่งเที่ยงแท้ถาวร

คุณพศิน อินทรวงค์

Image by Pexels from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


บังคับไม่ได้ก็ไม่ใช่ตัวตนของเราแน่


เห็นร่างกายเป็นทุกข์แล้ว
ก็เห็นความดื้อด้านของสังขารร่างกาย
ที่บังคับบัญชาไม่ได้
คือเห็นว่าความเสื่อมโทรมอย่างนี้
เราไม่ต้องการ ก็บังคับไม่ได้
ไม่ต้องการให้ปวดเจ็บเมื่อยล้า 
แต่มันก็จะเป็น ไม่มีใครห้ามได้
ไม่ต้องการให้ระบบประสาทเสื่อม
มันก็จะเสื่อม ใครก็ห้ามไม่ได้
ไม่ต้องการตาย มันก็ต้องตาย 
ไม่มีใครห้ามได้ สิ่งที่ห้ามไม่ได้นี้
ท่านเรียกว่า อนัตตา 
แปลว่า เป็นสิ่งเหลือวิสัยที่จะบังคับ
ที่ท่านแปล อนัตตาว่า ไม่ใช่ตัวตนนั่นเอง
เพราะถ้าเป็นตัวตนของเราจริงแล้ว 
เราก็บังคับได้
ถ้าบังคับไม่ได้ก็ไม่ใช่ตัวตนของเราแน่

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

Image by PublicDomainPictures from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



โอกาสได้มรรคผล


เรียนรู้ตัวเองไปเรื่อย 
จนใจเป็นกลางกับความปรุงแต่งต่างๆ
ถึงจะมีโอกาสได้มรรคผล 
ถ้าใจยังไม่เป็นกลาง
ยังเลือกเอาสภาวะใดสภาวะหนึ่ง 
ยังรังเกียจสภาวะใดสภาวะหนึ่ง
ยังห่างไกลมรรคผลมากนัก
จนถึงจุดที่จะได้มรรคผล
ใจจะต้องเข้าสู่ความเป็นอุเบกขาอย่างแท้จริง

อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ

Image by StockSnap from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ปล่อยกายได้ก็เหมือนกับปล่อยเวรกรรมเสียได้


ผู้ใดยึดกายไว้ก็เท่ากับยึดเวรกรรมไว้ 
ผู้ใดปล่อยกายได้ก็เหมือนกับปล่อยเวรกรรมเสียได้ 
เวรกรรมก็หมดไปจากกาย
เหมือนแผ่นดินที่เรายึดไว้เป็นกรรมสิทธิ์ 
มีหลักเขตและหน้าโฉนด 
มันมักเกิดการแย่งชิง ล่วงล้ำ คดโกง 
เป็นเหตุให้เกิดการพิพาทฟ้องร้องกันได้ 
ถ้าเราไม่ยึดไว้ปล่อยให้เป็นของกลาง 
เป็นของโลกเสีย ใครอยากได้ก็เอาไปไม่หวงแหน 
เรื่องเดือดร้อนวุ่นวายพิพาทบาดหมางกัน
ก็จะไม่เกิดขึ้น เช่นนี้เราก็จะสบายใจ

ท่านพ่อลี ธัมมธโร

Image by EvgeniT from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


เหตุแห่งความหลุดพ้น


..หากเรายังยินดียินร้าย นั่นหมายถึงว่า 
เราเองยังวนเวียนผูกพันในกามกิเลสทั้งหลาย.. 
ความไม่ยี่หระต่ออะไรๆ หรือใครๆ
อันเป็นความอาลัยอาวรณ์ทั้งหลาย 
เป็นผู้อยู่เอกาไม่มีเครื่องผูก 
นี่แลคือเหตุแห่งความหลุดพ้น..
มายาโลกเป็นเหมือนลมที่พัดผ่าน 
ใครตามคิดติดยึดมั่น 
ชอบใจไม่ชอบใจกับลมนั้น 
ย่อมมิอาจพ้นทุกข์ไปได้เลย.. 
ไยต้องนึกคิดคำนึงหาสิ่งไร้ตัวตน 
เพราะแม้แต่ตัวเองก็หามีไม่

ครูบาไตรภพ วัดป่าโคกเจริญธรรม

Image by shilmar from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ความว่างที่แท้จริง



เราไม่ต้องไปสงบความคิดเขาหรอก 
ความคิดเขาจะมีหรือไม่มี 
ใจของเราก็สงบเหมือนเดิม 
ข้างนอกมันมีหมด 
มีความคิดปรุงแต่งเกิดขึ้น 
แต่ข้างใน (ตัวจิต)มันสงบอยู่ 
อันนี้ถึงเป็นความว่างที่แท้จริง 
จึงเห็นได้ชัดเจนว่า ความสงบของจิต 
กับสิ่งภายนอกเหล่านั้นเป็นคนละสิ่งกัน 
ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกันเลย ถึงอยู่ด้วยกัน 
มันก็ไม่เกี่ยวข้องกัน 
เหมือน"น้ำกลิ้งบนใบบัว" 
ซึ่งไม่ติดกัน ไม่เกี่ยวเนื่องกัน 
"มันเป็นความว่างที่ไม่ไปกดไตรลักษณ์" 
ข้างนอกเขาก็เป็นไตรลักษณ์ของเขา 
คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป 
เราจะไปห้ามเสียงนี้ไม่ให้เกิด...ห้ามไม่ได้ 
จะไปห้ามอารมณ์ต่างๆ นั้น ไม่ให้มี...ไม่ได้ 
เพราะสิ่งนี้เป็นธรรมอันหนึ่ง 

ลุงหวีด บัวเผื่อน

Image by han2taiwan from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

ท่านให้ "วาง"


อาการของจิตในส่วนของกุศล
และส่วนอกุศล เป็นสังขารทั้งหมด..
พระพุทธเจ้าท่านให้ละความคิด
ที่เป็นบาป เป็นอกุศล 
แล้วก็ให้ละความคิดที่เป็นบุญ เป็นกุศล
ถ้าไป "ยึดติด" ในกองกุศล 
ในกองบุญ ในความดี 
ก็ยัง "ยึดติด" ใน "กองสังขาร" นั้นอยู่
พระพุทธเจ้าท่าน​ละ​ได้
ทั้งสังขารที่เป็นบาปและสังขารที่เป็นบุญ
อารมณ์ที่เป็นกุศล อารมณ์ที่เป็นอกุศล..
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เป็นอาการของจิต
ทั้ง "ผู้รู้" และ "ผู้หลง" 
ล้วนแต่เป็นอาการของจิตทั้งคู่ 
ท่านให้ "วาง"

หลวงปู่แบน ธนากโร

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ภัยร้ายของชีวิตคือการเอาแต่จับผิดคนอื่น


ภัยร้ายของชีวิตคือการเอาแต่จับผิดคนอื่น 
วิพากษ์วิจารณ์คนอื่นในทางเสียหาย 
สุดท้ายสิ่งไม่ดีเหล่านั้นก็วิ่งกลับมาอยู่ในตัวเรา 
การมองคนอื่นในทางเลวร้ายตลอดเวลา 
เป็นการทำลายพลังจิตของเราเอง 
จริงอยู่บางอย่างเราต้องการแก้ไขเขา 
ต้องการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างให้ดีขึ้น 
เพราะคิดว่าเขามีศักยภาพ 
แต่ก็ต้องค่อยๆ พูดคุยกัน
บางคนคิดว่าตนมีอำนาจ 
จะพูดรุนแรงอย่างไรก็ได้ 
ลูกน้องเป็นเพียงลูกไก่ในกำมือ 
ลงท้ายก็ทำลายน้ำใจ ทำลายมิตรภาพในองค์กร
การคิดดี ทำดี พูดดีต่อตนและคนอื่น
คือการขับเคลื่อนชีวิตด้วยพลังบวก 
ซึ่งเป็นพลานุภาพอันแท้จริงของชีวิต 

พระราชญาณกวี (ท่านปิยโสภณ)
Image by GiselaFotografie from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ชัยชนะที่แท้



จากหนังสือ เพียงแค่รู้สึกตัว โดย พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

ถ้าใจรู้อยู่ที่ไหน พระพุทธเจ้าอยู่ที่นั่น


ถ้าใจรู้อยู่ที่ไหน พระพุทธเจ้าอยู่ที่นั่น 
ถ้าใจรู้อยู่เป็นปกติ ไม่หวั่นไหว 
พระธรรมก็อยู่ที่นั่น 
ถ้าใจมีสติสัมปชัญญะ สังวรระวัง 
หรือควบคุมความรู้สึกให้รู้อยู่ที่รู้ 
คือที่ใจนั้นเอง พระสงฆ์ก็อยู่ที่นั่น 
พระพุทธเจ้า ก็คือ จิตรู้ของเรา 
พระธรรม ก็คือ 
จิตที่มีความรู้สึกสำนึกผิดชอบชั่วดี 
พระสงฆ์ ก็คือ 
เจตนาตั้งใจจะละความชั่วประพฤติดีอยู่ตลอดเวลา

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

Image by susan-lu4esm from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



สิ่งเดียวที่จะหลุดจากทุกข์ทั้งปวงได้


คำว่า "รู้" ในพระพุทธศาสนา
ไม่ใช่การรู้แบบสัญญา ไม่ใช่รู้โน่นรู้นี่ 
เป็นความจำ เป็นสมมุติบัญญัติต่างๆ
แต่คือ..สภาวะรู้ รู้ซื่อๆธรรมดา
ที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งเลย
นี่คือ..สิ่งเดียวที่จะหลุดจากทุกข์ทั้งปวงได้
เพราะว่าสิ่งนี้มันพ้นจากรูป จากนาม จากธาตุ 
จากขันธ์ จากสังขาร จากความปรุงแต่งทั้งปวง
สภาวะนี้..ทุกคนก็มีโอกาสเข้าถึงได้
เราไปดิ้นรนเอาจากข้างนอกไม่ได้เลย 
เกิดจากการอบรมสติปัฏฐานสี่อยู่เสมอ
แล้วเราจะสามารถมีชีวิตด้วยจิตว่างได้

พระมหาวรพรต กิตฺติวโร

เพจ เดินจิต: ตื่นรู้ สู่ ความว่าง
Image by AnnaliseArt from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ความวิตกกังวล เป็นเพียงแขกที่มาเยือนจิตใจ



ความวิตกกังวล
เป็นเพียงแขกที่มาเยือนจิตใจ
ไม่ใช่ผู้อาศัยประจำ
เวลามาก็ไม่ต้อง ต้อนรับหรือขับไส
เพียงแค่ รับรู้ว่า
เป็นสักแต่ว่าความคิด
เป็นแขกที่เราไม่ยินดีต้อนรับ
ถ้าฝึกฝนจิตใจอย่างนี้
ด้วยความอดทนซ้ำแล้วซ้ำเล่า
เราจะสร้างอุปนิสัยทางใจที่เข็มแข็ง
ความวิตกกังวลจะจางหายไปเอง

พระอาจารย์ชยสาโรภิกขุ

Image by 52Hertz from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

สุญญตาสำหรับฆราวาส


สุญญตาสำหรับฆราวาส 
แม้ที่เป็นผู้หญิงและเด็ก 
คือ มีสติสัมปชัญญะ 
ไม่ให้เกิดความรู้สึกยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด 
จนเกิด ความรัก โกรธ เกลียด วิตกกังวล 
อาลัยอาวรณ์ อิจฉาริษยา หวง หึง 
ด้วยอำนาจความรู้สึก เป็นตัวกู ของกู
ขอยืนยันว่า ข้อนี้เป็นสิ่งที่
ปฏิบัติได้ตามสติกำลังและควรปฏิบัติ 
จึงขอฝากไว้เป็นมรดกพิเศษ สำหรับฆราวาส

ท่านพุทธทาสภิกขุ

Image by thepianotuner from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา