คิดว่าสิ่งที่คิดมันของไม่จริง


คิดแล้ว คิดว่าสิ่งที่คิดมันของจริง 
นั่นแหละทุกข์ 
คิดแล้ว คิดว่าสิ่งที่คิดมันของไม่จริง 
นั่นแหละนิพพาน 

สมสุโขภิกขุ

Image by Yumu123 from Pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



พระนิพพานอยู่ที่ไหน


พระนิพพานอยู่ที่ไหน

สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ
พระนิพพานอยู่ที่ไหน ก็อยู่ที่ใจเรานี่เอง
จงทำใจให้คงไว้ซึ่งความเป็นกลาง
ไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ภายในและภายนอก
ไม่ต้องไปหาปาฏิหาริย์ฤทธิ์เดชอะไรให้ยาก
ของพวกนี้เป็นของมีอยู่ประจำโลก
ไม่สามารถที่จะนำพวกเราออกไปจากโลกนี้ได้เลย

หลวงปู่คูณ สิริจันโท

Image by Yumu123 from Pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



มีแต่จะสลัดทิ้งไปปล่อยวางไป


การปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนานี้.. 
มีแต่จะสลัดทิ้งไปปล่อยวางไป
เพราะว่าเห็นว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั่นเอง 
อนิจจัง ก็คือเป็นความสุขชั่วคราว 
อนัตตา ก็คือไม่อยู่ภายใต้คำสั่งของเรา 
ถ้าเราไปอยากให้เขาไม่เสื่อม
อยากให้เขาอยู่กับเราไปตลอด 
เราก็จะต้องเกิดความทุกข์ใจขึ้นมา 
แต่ถ้าเราปล่อยเขาไป ไม่ต้องการเขา 
เขาจะอยู่ก็ปล่อยเขาอยู่ไป 
เขาจะไปก็ปล่อยเขาไป ต่างฝ่ายต่างอยู่กัน 
ถ้ายังอยู่ด้วยกัน ก็อยู่ด้วยกันไปแบบไม่มีความอยาก
ให้เขาเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ 
ใจก็จะว่างจากเขาไป ใจว่างใจก็จะเกิดความสุขขึ้นมา 
จะไม่ทุกข์กับการเจริญกับการเสื่อมของเขา 
เขาจะเจริญก็สักแต่ว่ารู้ไป เขาจะเสื่อมก็สักแต่ว่ารู้ไป
ขอให้สักแต่ว่ารู้ กับทุกสิ่งทุกอย่างเท่านั้น 

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

Image by Yumu123 from Pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ธรรมะที่แท้จริงนั้น ต้องทิ้งเหตุทิ้งผล


ธรรมะที่แท้จริงนั้น ต้องทิ้งเหตุทิ้งผล 
คือ ธรรมะมันสูงกว่านั้น 
ธรรมะที่พระพุทธองค์ท่านตรัสรู้
ระงับกิเลสทั้งหลายได้นั้น 
มันอยู่นอกเหตุ เหนือผล 
ไม่อยู่ในเหตุ อยู่เหนือผล 
ทุกข์มันจึงไม่มี สุขมันจึงไม่มี 
ธรรมนั้นท่านเรียกว่า ระงับเหตุ ระงับผล 
ถ้าพวกใช้เหตุผลอยู่อย่างนี้ 
เถียงกันตลอดจนตาย 

หลวงปู่ชา สุภัทโท

Image by Yumu123 from Pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


พอรู้ว่าไม่มีอะไรเป็นที่พึ่งได้ คือได้ที่พึ่งแล้ว


การปฏิบัติที่ถูกต้อง คือศึกษาให้รู้ว่า
มันมีแต่ตัวทุกข์เท่านั้น
รู้มันให้แจ่มแจ้งว่า
ในโลกไม่มีอะไรเป็นที่พึ่งได้เลย
เป็นที่พึ่งไม่ได้สักอย่างเดียว
เพราะมีแต่ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
พอรู้ว่า ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่งได้ ก็จะอุ่นใจว่าได้ที่พึ่งแล้ว
ที่พึ่งก็คือธรรมะนั่นเอง
ไม่ใช่ให้เราไปหาที่พึ่งถาวรที่ไหน
บางคนก็เอาวัดเป็นที่พึ่ง
เอาอาจารย์เป็นที่พึ่ง
เอาคนนั้นคนนี้เป็นที่พึ่ง
เอาสภาวะนั้นสภาวะนี้เป็นที่พึ่ง
ที่พึ่งเหล่านี้ไม่แน่นอน
อาจารย์ที่เราพึ่งอยู่
ถ้าไม่เป็นไปตามที่เราคาดหวัง ตำหนิเรา
เราก็จะเครียดอีก ต้องไปหาอาจารย์ใหม่อีกแล้ว
ธรรมะเป็นสิ่งสวนกระแสอย่างนี้
ไม่ใช่ให้เราไปหาที่พึ่งในโลก
แต่ให้รู้ว่า สิ่งต่างๆ ในโลก
มันเป็นที่พึ่งจริงไม่ได้
ไม่มีสิ่งไหนมั่นคงถาวร
พอรู้ก็จะมีใจมั่นคง
ความทุกข์ความวิตกกังวลก็หายไป
หายไปเพราะรู้นี่แหละ

อ.สุภีร์ ทุมทอง

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


นิพพานก็ไม่ต้องหา .. ตรงนั้นเอง




สิ่งใด เกิด - ดับ สิ่งนั้นมันเป็น ..โลก.. หมด
ธรรม.....ไม่มีเรื่องพูด
ถ้าเราเห็นว่า สังสารวัฎ
ว่างเปล่าจากตัวตน 
นิพพานก็ไม่ต้องหา .. ตรงนั้นเอง

หลวงปู่ฉลวย สุธัมโม วัดป่าบ้านวไลย หัวหิน

Image by _vane_ from Pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา





ผู้ใดที่ไม่ตกอยู่ในอำนาจของอวิชชาตัณหา


ผู้ใดที่ไม่ตกอยู่ในอำนาจของอวิชชาตัณหา 
ผู้นั้นจะไม่หลงใหลไปผูกพันยินดีกับรูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส 
อันโลกเขาสมมติว่า สวยๆ งามๆ เหล่านั้นเลย 
เพราะว่าเมื่อเพิกอวิชชาออกจากจิตใจนี้แล้ว 
“วิชชา” คือ ความรู้บังเกิดขึ้นในใจแล้ว 
มันก็จะมองเห็น รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสต่างๆ 
ก็ล้วนแต่เป็นของไม่เที่ยง 
มีความเกิดขึ้นแล้วก็แปรปรวนแตกดับไป 
ทั้งที่เป็นส่วนหยาบก็ดี ส่วนปานกลางก็ดี 
เป็นส่วนละเอียดประณีตบรรจงอย่างไรก็ตาม 
มันก็มีความเกิดขึ้นแล้วดับไปเหมือนกันหมดเลย 
ไม่มีอะไรเที่ยงยั่งยืนสักหน่อยเดียว 
เมื่ออวิชชาดับไป วิชชาความรู้เกิดขึ้นแล้ว 
มันก็จะมองเห็นความจริงของสิ่งที่ดวงจิต
มันเคยผูกพันมันมานับชาติไม่ถ้วนแล้ว
มันจะเห็นแจ้งตามเป็นจริงได้เลย 

หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

Image by schuetz-mediendesign from Pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


การให้โดยไม่หวังผล จึงเกิดความบริสุทธิ์เอง


บุญคือ จาคะ สละ ให้ 
ไม่ได้อะไร มีแต่ละอัตตาตัวตน 
ไม่ยึดติดในสิ่งของ รูปนาม.. 
สรุปโดนหลอกๆ กันมา 
ให้แล้วจะเป็นเศรษฐี ให้แล้วไปสวรรค์ ให้แล้วนิพพาน
มาล่อ ให้อยาก 
การให้โดยไม่หวังผล จึงเกิดความบริสุทธิ์เอง
เป็นการจาคะ เสียสละ ให้ ละอัตตาตัวตน 
ให้เห็น สิ่งของนี้ กายนี้ มิใช่เรา ลดการเป็นเจ้าของ
ไม่ใช่ร้องขอให้ มีตัวตนจะสุขสบาย 
ดี สมบูรณ์ รวยๆ เฮงๆ 
นี่มันสอนให้ร้องขอให้เป็นสรรพสัตว์นานๆ
อยู่เป็นเพื่อนกันนานๆ อยู่ในสังสารวัฎนานขึ้นเลย 
มันคนละเรื่องเลยนะ

พระอาจารย์ปกรณ์นันทน์ ฐิตธัมโม

Image by rawpixel from Pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ความทุกข์ในใจเป็นของแปลก



จากหนังสือ เพียงแค่รู้สึกตัว โดย พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

ใจเราไปติดกิเลส ไม่ใช่กิเลสมาติดอยู่ในใจของเรา


กิเลสมาร หมายถึงจิตใจที่เรายังเลิกละ 
ปลดปล่อย กิเลส ราคะ ตัณหาไม่ได้ 
ราคะ ตัณหานั่นแหละคือตัวมาร 
ที่คอยหลอกลวงอยู่ในใจนั้น 
ถ้าผู้ใดใจไม่มั่นคง 
ก็หลงใหลไปตามการหลอกลวงของมารกิเลส 
ไม่ยอมละ ไม่ยอมเลิก ไม่ยอมปล่อยวาง 
กิเลสก็ติดอยู่ในตัว ติดอยู่ในกาย 
ในวาจา ในจิตในใจ 
คือ ใจเราไปติดกิเลส 
ไม่ใช่กิเลสมาติดอยู่ในใจของเรา 
จิตใจของเราไม่ภาวนาละกิเลส 
แต่ภาวนาเอากิเลส 
กิเลสก็มาอยู่ในกาย ในวาจา 
ในจิตในใจของเราเต็มไปหมด

หลวงปู่สิม พุทธาจาโร

Image by ThreeMilesPerHour from Pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



ผู้มีสติปัญญาย่อมรู้จัก...การวางเฉย


ผู้มีสติปัญญาย่อมรู้จัก...การวางเฉย
การปล่อยวาง รู้จักคำว่าช่างมัน ไม่เดือดร้อน
ถ้าทำอะไรไม่ได้ก็ไม่เดือดร้อน
ช่างมันเสียบ้าง
เรื่องไหนพอจะทำได้ แก้ไขได้
ก็ทำไป แก้ไขไป
แต่อย่าไปคิดว่าจะแก้ไขทุกสิ่งทุกอย่างได้
แม้แต่พระพุทธเจ้า พระอรหันต์
ท่านยังไม่แก้ไขทุกสิ่งทุกอย่างเลย
แม้แต่ชีวิตของท่าน ท่านยังไม่แก้ไขเลย
ท่านปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ
ไม่สบาย มียากินก็กินไป หายก็หายไป
ไม่หายก็ยอมรับตามความเป็นจริง"

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

Image by Pezibear from Pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



คนทั้งหลายรู้ธรรมทั้งหลายแล้วไม่พ้นทุกข์


คนทั้งหลายรู้ธรรมทั้งหลายแล้วไม่พ้นทุกข์ 
ทั้งกลับเป็นเสี้ยนหนามยอกแทงตน
และผู้อื่นเข้าด้วยซ้ำ 
แต่ “พระพุทธเจ้า” แล “สาวก” 
รู้ธรรมแล้วพ้นทุกข์ไปเลย 
พร้อมๆ กับความรู้ธรรมเกิดขึ้น 
เพราะเหตุใดระหว่างคนทั้งสองสามจำพวกนี้จึงต่างกันเล่า
ก็เพราะความรู้เกิดจากปัจจุบันจิต 
อันกลายเป็นปัญญาไปในตัว 
กับความรู้คาดคะเน (สัญญา) 
มันต่างกันราวฟ้ากับแผ่นดินนั่นเอง 
เหตุที่ความรู้ที่เป็นปัจจุบันจิตจะเกิดได้ 
ก็ต้องพิจารณาปัจจุบันธรรมคือกายกับจิตนี้เอง 
เพราะกาย-จิต เป็นสถานที่สั่งสมกิเลส
และเป็นสถานที่ถอดถอนกิเลสแลกองทุกข์ทั้งมวล 
ฉะนั้น เราควรตั้งจิตไว้โดยทำนองที่ว่า
ให้จิตอยู่กับกายจิตจริงๆ จนเรียกปัจจุบันได้เต็มที่ 
แล้วกระแสของปัจจุบันจิตจะกระจายแสงสว่าง 
คือ ปัญญาออกตามอาการของกายแลอาการของจิตโดยรอบคอบ 
จากนั้นก็จะได้เห็นทุกสิ่งทั้งที่เป็นคุณเป็นโทษ 
ปรากฏด้วยปัญญาอันชอบแท้ 
ตลอดกลางวัน กลางคืน ยืน เดิน นั่ง นอน 
จะเรียกว่าฟังธรรมทุกเวลาก็ได้

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

Image by geralt from Pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


เธอทุกข์อะไรถึงไปปฏิบัติธรรม


บางคนถูกคนรอบข้างถามว่า 
เธอทุกข์อะไรถึงไปปฏิบัติธรรม
ก็จงตอบไปเถิดว่า 
ตอนนี้ดูเหมือนไม่ทุกข์ 
แต่การเตรียมพร้อมก่อนทุกข์จะมาถึง
นั่นคือความไม่ประมาท

พระอาจารย์ครรชิต อกิญจโน
Image by Free-Photos from Pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



การปฏิบัตินั้น เราต้องการแค่ระลึกรู้สึกๆๆ


-อาการของการเพ่ง คือ อะไร?
คำว่าเพ่งนั้น ขอให้ผู้ภาวนาดูอาการของจิตเป็นหลัก 
หากจิตเคลื่อนออกมาจากฐานจิต 
หรือส่งเข้าในเพื่อดูให้ชัดเจนทุกอิริยาบถของจิต 
ทำให้เห็นทุกอณู ทุกรายละเอียด นั่นคือ การเพ่ง
เพ่ง คือ ฌาณ 
สังเกตง่ายๆ ถ้าเห็นชัดเจน
นั่นคือการเพ่งให้เกิดความชัด แต่สติมันจะอ่อนลง 
การปฏิบัตินั้น เราต้องการแค่ระลึกรู้สึกๆๆ 
เราต้องการแค่นั้นเอง เอาแบบเป็นกลางๆ 
ไม่ต้องให้ชัดจนสามารถมองเห็นเป็นดวงเป็นก้อน 
และไม่ใช่การกล่อมให้สติอ่อน
จนเบลอเหมือนรู้สึกจะนอนหลับ
ทางสุดโต่ง 2 ทางเช่นนี้ เราพึงละเสีย 
ให้เหลือแต่มัชฌิมาปฏิปทาพอ

หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล
บันทึกโดยเขมปัญโญคฤหัสถ์
เพจลูกศิษย์พระอาจารย์เยื้อน ขันติพโล

Image by StockSnap from Pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ใช้ชีวิตให้คุ้มค่า



จากหนังสือ เพียงแค่รู้สึกตัว โดย พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

รีบปล่อย ทิ้งๆๆ


ไม่ยึดอะไร
เริ่มตั้งแต่...อารมณ์เล็กๆ น้อยๆ 
รีบปล่อย ทิ้งๆๆ มันเป็นแค่ความคิด 
แค่ความรู้สึก ทิ้งไปเลย! ปล่อยไปเลย! 
มันไม่ไป ก็บริกรรมเร็วๆ ถี่ๆ 
อย่าไปทำอ่อนแอ อ้อยส้อย 
อ้อยอิ่งอยู่กับอารมณ์ทั้งหลาย 
ทิ้งเร็วๆ มันไม่ทิ้งก็บริกรรมเร็วๆ ถี่ๆ 
ไม่ให้มันมีช่องที่อารมณ์มันจะเข้ามา.. 
มันจะไปเอาเรื่องอะไรมาล่ะ..

พระอาจารย์ครรชิต สุทธิจิตโต

Image by cdd20 from Pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



ศีล ๕ ประการจึงเป็นยอดแห่งประชาธิปไตย


ศีล ๕ เป็นมูลฐานให้เกิดการปกครองแบบประชาธิปไตย 
เพราะหัวใจของประชาธิปไตยอยู่ที่การเคารพสิทธิมนุษยชน 
ผู้มีศีล ๕ บริสุทธิ์บริบูรณ์ จึงได้ชื่อว่า เคารพทุกสิทธิ 
สิทธิในการดำรงชีพอยู่ของคนอื่น สัตว์อื่น 
สิทธิในการครอบครองทรัพย์สมบัติ 
สิทธิในคู่ครองและบุคคลต้องห้าม และสิทธิอื่นๆ
เมื่อเป็นเช่นนั้น ศีล ๕ ประการจึงเป็นยอดแห่งประชาธิปไตย 
คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งปวงนั้นก็เป็นยอดแห่งประชาธิปไตย

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย 

Image by cdd20 from Pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


อานาปานสติไม่ต้องการเหตุผลใดๆ


การละความวิตกคิด กังวลคิด 
ปรุงแต่งคิดทั้งหลายด้วยการรู้ลมหายใจนั่น 
ไม่จำเป็นต้องตรึกตรองอะไรก็ได้ 
การตรึกตรองก็ยังเป็นภพหนึ่ง 
เพียงท่านรู้ลมเข้าลมออกเรื่อยๆ ไป 
อารมณ์ความคิดทั้งหลายอันเป็นภพ
จะหายไปทั้งสิ้น 
อานาปานสติไม่ต้องการเหตุผลใดๆ มาสนับสนุน 
ตัวของมันเป็นเหตุเป็นผลในตัวมันเอง 
แค่ทำก็จะสำเร็จ

ครูบาไตรภพ วัดป่าโคกเจริญธรรม
Image by PixbayBlade from Pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




ความสำคัญอยู่ตรงที่ หยุด!



แม้จะมีหัวข้อปฏิบัติมากมาย
แต่ความสำคัญอยู่ตรงที่ หยุด!
จะต้องย้ำอยู่อย่างนี้ ให้หยุด
ดูทุกสิ่งทุกอย่างที่มันเกิดขึ้นแล้วดับหมด
พิจารณาเรื่องนี้เรื่องเดียว...

แล้วจะแก้ปัญหาในข้อปฏิบัติได้มากมาย
การไปจำหัวข้อต่างๆ มันมากจนจำไม่ไหว
ทีนี้ทำอย่างเดียว
อะไรมันโผล่มาที่จิตก็ให้หยุด 
อย่าไปเชื่อมัน อย่าไปทำตามมัน
เพราะกิเลสตัณหาเหมือนหนอน
มันชอนไชหลอกลวงอยู่ทุกขณะทีเดียว
เรามีวิธีอย่างเดียวคือ ดูมันเกิดเท่าไรก็ดับหมด
แล้วมันก็ดับอยู่อย่างนั้นจริงๆ ด้วย
ให้มองเห็นความดับเท่านั้น โดยไม่ต้องไปทำอะไรเลย
แล้วอย่างนี้มันจะง่ายไหม?


ท่าน ก.เขาสวนหลวง
Image by StockSnap from Pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ไม่ต้องเจตนาดับ


ความคิด ความรู้สึก อารมณ์ ทุกสภาวะ
ไม่มีตัวตน อันแท้จริง
ไม่มีที่อยู่ ไม่คงทน
ในที่ใดที่แน่นอน
ในกาย ในวาจา หรือ ในจิต
เป็นดั่งสายลม
ที่ผ่านมาผ่านไป
ในอากาศธาตุของมันเอง
ไม่ต้องเจตนาดับตัวตน
ไม่ต้องเจตนาดับความคิด
ไม่ต้องเจตนาดับอารมณ์
เพราะไม่เคยมีตัวตนให้ดับ
แค่คลายอุปาทานว่ามีตัวตน
ไม่มีความเป็นเจ้าของอุปาทานว่าเป็นตัวเป็นตน
ก็แค่เป็นดั่งสายลมที่พัดผ่านไปเอง

พระอาจารย์ปกรณ์นันทน์ ฐิตธัมโม
Image by shilmar from Pixabay


ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


“พระนิพพาน” เป็นสถานที่รองรับดวงจิต ผู้ที่เห็นโทษในกามคุณ


“พระนิพพาน” นั้นเป็นสถานที่รองรับดวงจิต
ของผู้ที่เห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย 
ผู้เห็นโทษในความผูกพันอะไรต่ออะไร
อยู่กับโลกสงสารอันนี้ 
เห็นว่ามันยุ่งเหยิง มันเป็นทุกข์มาก 
มันมีแต่ทุกข์ มันไม่มีสุข 
คำว่าสุขก็สุขชั่วคราว 
ไม่ได้สม่ำเสมอไปเลย 
มีทุกข์นั่นแหละมากกว่าสุขโลกสันนิวาสอันนี้ 
แต่อาศัยกิเลสตัณหามันย้อมจิตใจของคน
ทำให้คนชื่นชมยินดี กับรูป เสียง กลิ่น รส 
เครื่องสัมผัสอันโลกสมมติกันว่า น่ารักใคร่ น่าพอใจต่างๆ 
ที่มันจะยินดีพอใจอยู่ก็เพราะมัน
ตกอยู่ภายใต้อำนาจของอวิชชาตัณหานี้เอง

หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

Image by superemelka on pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



เมื่อไม่ยึดถือในความสุข


เมื่อไม่ยึดถือในความสุขเลยนั้นแหละ
จึงเป็นสุขในความหมายที่แท้จริง 
"บุญแท้" เมื่อไม่อยากจะมีบุญ 
เมื่อไม่ต้องการบุญ คือบุญที่แท้จริง 
ธรรมะสูงสุดเมื่อไม่มีธรรมะที่จะเอามายึดถือ 
ว่าเป็นของกู นั้นคือธรรมสูงสุด 
ภาวะสูงสุด คือภาวะที่ไม่ยึดถืออะไรไว้เป็นตน 
เรียกว่า นิพพาน หรือหลุดพ้น 
รู้จักตนที่แท้จริง ต่อเมื่อไม่เห็นว่าไม่มีตนที่แท้จริง 
คือ ความว่างจากตัวตนนั้นแหละ

ท่านพุทธทาสภิกขุ
Image by Stevebidmead on pixabay 

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ไม่ได้สอนให้แสวงหาอะไรมาเพิ่มเติม


พระพุทธเจ้าท่านละได้ ทั้งสังขารที่เป็นบาป 
และสังขารที่เป็นบุญ 
อารมณ์ที่เป็นกุศล อารมณ์ที่เป็นอกุศล
ผู้ปฏิบัติธรรม ชอบมีความต้องการ 
ชอบมีความปราถนา 
ถึงจะต้องการปรารถนา ส่วนกุศล ส่วนเป็นคุณธรรม 
แต่ความปรารถนานั้น ก็ยังเป็นความปรารถนาอยู่
ให้ละความปรารถนานั้นเสีย 
ธรรมะของพระพุทธเจ้า ท่านให้ละให้ปล่อยวาง 
ไม่ได้สอนให้แสวงหาอะไรมาเพิ่มเติม
คำว่า "ศีล สมาธิ ปัญญา" ก็ไม่ต้องหามาเพิ่มเติม
เพียงแต่ "ละบาป ละความชั่ว" ศีลก็ปรากฏขึ้นที่จิต 
บาปอย่างหยาบ บาปอย่างกลาง 
แม้แต่บาปอย่างพรหมณ์ละเอียด ก็ให้ละ
ไม่ต้องไปแสวงหาที่ไหน 
เพราะใจของเรา "เป็นศีล" อยู่แล้ว 
"สมาธิ" ก็จิตนั่นแหละเป็น 
ละให้หมด อะไรที่มันคั่งค้างอยู่ในใจ 
สิ่งที่เราพอใจ สิ่งที่เราปรารถนา ละให้หมด 
สิ่งที่เราชอบใจ สิ่งที่เราไม่ชอบใจ ก็ละให้หมด

หลวงปู่แบน ธนากโร
Image by Pexels on pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



ปฏิบัติธรรมจะไปยากอะไร


จากหนังสือ เพียงแค่รู้สึกตัว โดย พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


สนใจเรื่องดับทุกข์ แค่มาสนใจตัวเรานี่แหละ


ใครที่สนใจเรื่องดับทุกข์
แค่มาสนใจตัวเรานี่แหละ
สติ คือ ความรู้สึก
ตัว คือ กาย คือ จิต
มันไม่ไปไกลกว่าสองสิ่งนี่หรอก
เมื่อมีการเคลื่อนไหวของกาย เราก็รู้สึก 
จะเดินก็รู้สึก นั่งก็รู้สึก นอนก็รู้สึก
จะเคลื่อนไหวทำอะไรก็ตาม
เพียง "เติมความรู้สึกตัวเข้าไป"
ไม่มีอะไรมาก เมื่อเรารู้สึกตัวไปเรื่อยๆ 
จิตเราจะผ่อนคลาย 
เพราะหมดการปรุงแต่ง
มันจะเห็นสิ่งแปลกปลอมที่เกิดขึ้นกับจิต
(ความคิด อารมณ์ต่างๆ) 
และจะจัดการกับสิ่งผ่านมา
โดยการปล่อยให้สิ่งนั้นผ่านไป 
โดยไม่ได้ทำอะไร 
เป็นเพียงการเกิดขึ้นและดับไปเอง
เป็นการเห็นว่า ไม่มีตัวตนอยู่จริง 
นี่คือ อานุภาพของการรู้สึกตัวล้วนๆ

อ.กำพล ทองบุญนุ่ม
Image by Engin_Akyurt on pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



พยายามจะไม่ให้หลง ก็จะเป็นหลง


การพยายามรักษาสติไว้ 
พยายามจะไม่ให้หลง ก็จะเป็นหลง
และเป็นอวิชชาในทันที 
ให้มีสติสังเกตทุกขณะปัจจุบัน
ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในใจ 
ให้เข้าใจว่าทุกอย่างเป็นเพียงแค่สังขารปรุงแต่ง 
แล้วปล่อยวางสังขารอย่างที่มันเป็น 
ไม่เข้าไปปรุงแต่งเป็นตัวเรามีส่วนได้เสีย 
หรือไปยึดถือสังขารปรุงแต่งทุกชนิด 
เมื่อสิ้นยึดจะพบใจที่ว่างเปล่า และ
การไม่ยึดถือแม้ใจที่ว่างเปล่าที่บริสุทธิ์
จึงจะสิ้นอวิชชาอย่างแท้จริง

หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย
Image by birgl on pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



นิพพานัง ปรมัง สุญญัง


นิพพานัง ปรมัง สุญญัง
ความสุขระดับของพระนิพพานนี้ก็เกิดจาก...
▪การมีจิตที่ว่างจากทุกสิ่งทุกอย่าง 
▪ไม่ยึด ไม่ติด ไม่พึ่งพาอะไรต่างๆ มาเป็นเครื่องมือ ให้ความสุข 
▪ไม่ยึดไม่ติดกับลาภยศ สรรเสริญ กับรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ 
▪ไม่ยึดไม่ติดกับ รูปเวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ 
ไม่ยึด ไม่ติดกับธรรมารมณ์ต่างๆที่มีอยู่ภายในจิตคือปล่อยวางหมด 
▪สลัดทิ้งไปหมด จึงทำให้ใจนี้ว่างเต็มร้อย
พอใจว่างเต็มร้อยเป็นปรมัง สุญญัง 
ใจก็จะเป็นปรมัง สุขัง เป็นบรมสุขขึ้นมา

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
Image by geralt on pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา