ไม่มีปัญหาและไม่มีฉัน
คนที่ยังไม่มีปัญหามักปฏิเสธว่า
“ฉันไม่มีปัญหา”
เมื่อเริ่มสว่างขึ้นมาน้อยหนึ่งก็ยอมรับว่า
“ฉันมีปัญหา”
ขั้นต่อไปก็คือ
“ฉันนี่แหละคือปัญหา”
ในที่สุดแล้ว....จึงจะ
ไม่มีปัญหา
จริงๆ และ
ไม่มีฉัน
ด้วย
ชยสาโรภิกขุ
โครงการมอบรอยยิ้มให้ผู้ป่วยด้วยธรรมะ
กลุ่มปฏิบัติธรรมของผู้เขียนเคยนำหนังสือ
อ
ารมณ์ขันและความศักดิ์สิทธิ์ของสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
ไปแจกให้ผู้ป่วยในโรงพยาบาล เราได้เห็นรอยยิ้มและเสียงหัวเราะของผู้ป่วยที่ได้อ่าน เพียงเท่านี้ก็นำความปิติมาสู่ใจพวกเรา ที่ได้มอบความสุขอย่างมีสาระธรรมให้แก่ผู้ที่กำลังทุกข์เพราะความเจ็บไข้
ตอนนี้ ญาติธรรมท่านหนึ่งมีดำริที่จะนำหนังสือเล่มนี้ไปมอบให้แก่ผู้ป่วยและมูลนิธิของโรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อเป็นการมอบธรรมทานและความสุขให้ผู้ป่วยอีกครั้ง จึ
งขอเรียนเชิญท่านที่สนใจมอบรอยยิ้มให้แก่ผู้ที่กำลังทุกข์ มาร่วมบุญกันนะคะ
หนังสือเล่มนี้ราคาเ
ล่มละ 25 บาท
ความหนา 88 หน้า ท่านที่สนใจร่วมบุญ สามารถโอนเข้าบัญชีเลขที่
010-418248-7 ธนาคารไทยพาณิชย์ ชื่อบัญชี อาภา เชี่ยวเวช
...เพียงเล่มเดียว ก็ยินดีค่ะ แต่คงต้องใช้เคาน์เตอร์ธนาคารนะคะ และถ้าท่านร่วมบุญแล้ว โปรดแจ้งที่ความคิดเห็นข้างล่างนี้ เราจะได้ทราบและโมทนากับท่าน
และถ้าท่านสนใจจะนำหนังสือนี้ไปแจกเป็นธรรมทานหรือในงานพิธีต่างๆ ทางเราก็ยินดีเช่นกันค่ะ เราคิดค่าจัดพิมพ์เล่มละ 25 บาท + ค่าจัดส่งตามจริง หรือท่านจะมารับด้วยตัวเองที่สถานธรรมของเรา ก็ยินดีนะคะ
หนังสือเล่มนี้เป็น
หนังสือขนาดพ็อคเก็ตบุ๊ค ความหนา 88 หน้า กระดาษถนอมสายตา ราคาเล่มละ 25 บาทค่ะ
ติดต่อได้ที่
คุณสาธิญาวี โทร 089-531-8327
คุณวัสสวดี โทร 081-814-8609 และ
คุณตรีญาดา โทร 083-303-3745
มาร่วมมอบธรรมทานและรอยยิ้มให้ผู้กำลังทุกข์ด้วยกันนะคะ
พยายามทำความรู้ตัวให้มาก
ก
ารฝึกหัดปฏิบัติอบรมจิตใจ
ให้เริ่มต้นจนเกิดความรู้ตัวเสียก่อน
พยายามทำความรู้ตัวให้มาก
มีสติ นั่งก็รู้ เดินก็รู้ มีความสุขก็ รู้ มีความทุกข์ ก็รู้ ถ้าหากว่าเราอบรมความรู้ให้โดยรอบแล้ว เราทั้งหลายไม่ต้องสงสัย
จะต้องได้พุทโธแน่นอน
พุทโธจะต้องบังเกิดขึ้นในตัวของเราแน่นอน
หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ
จิตว่างรู้ที่ว่าง คิดรู้ที่คิด
ถ้าหากว่าท่านผู้ใดขี้เกียจ หรือไม่มีอะไรจะคิดก็ให้กำหนดจิตรู้ที่จิตเฉยๆ
ถ้าจิตว่างรู้ที่ความว่าง ถ้าจิตคิดรู้ที่ความคิด ว่างรู้ที่ความว่าง คิดรู้ที่ความคิด ไล่ตามกันไปอย่างนี้
เมื่อเราฝึกหัดจนคล่องตัว จนชำนิชำนาญ ทีหลังเราอาจจะไม่ได้ตั้งใจกำหนดรู้อารมณ์จิตหรือความคิด สติก็ทำหน้าที่ตามรู้คอยควบคุม เมื่อมีสติสัมปชัญญะ จิตของเราก็รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว อะไรผิด อะไรถูก มันจะรู้ของมันขึ้นมาเอง
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
ให้มีสติตามรู้ความคิด
"ธรรมชาติของจิต จะไปหยุดนิ่งอยู่นานๆ ไม่ได้ เดี๋ยวมันก็คิด
ในช่วงนั้นถ้าเกิดความคิดขึ้นมาปล่อยให้คิดไป แต่ให้มีสติตามรู้ สิ่งที่มันคิดนั้นจะเป็นอะไรก็ได้เรื่องครอบครัว เรื่องการเรื่องงาน เรื่องผู้เรื่องคน จิปาถะสารพัดที่จะคิดขึ้นมา เมื่อมันคิดขึ้นมาอย่างนั้น ปล่อยให้คิดไป แต่ให้มีสติกำหนดตามรู้ รู้ รู้ เป็นการส่งเสริมให้จิตของเรามีพลังเข้มแข้ง
เพราะความคิดเป็นอาหารของจิต ความคิดเป็นการบริหารจิตให้เกิดสติปัญญา จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดขึ้นได้จากความคิด
เมื่อจิตมีความคิด สติสัมปชัญญะรู้พร้อมอยู่ทุกขณะจิต ความคิดสะเปะสะปะเหลวไหลนั่นแหละจะกลายเป็นปัญญาในสมาธิ
เพราะจิตของเราคิดแล้วจะรู้สึกแต่เพียงสักแต่ว่าคิด คิดแล้วก็ปล่อยวางไปๆ เมื่อสติสัมปชัญญะมีพลังแก่กล้าขึ้นกลายเป็นปัญญา เมื่อมีปัญญาก็สามารถกำหนดหมายรู้ความคิดว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วก็รู้พระไตรลักษณ์ขึ้นมา ก็กลายเป็นปัญญาในขั้นวิปัสสนาเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น จะไปข้องใจสงสัยอยู่ทำไมหนอรีบเร่งบำเพ็ญภาวนาให้มากๆ ให้ได้สมาธิเป็นเบื้องต้น
ทีนี้ถ้าหากว่าท่านผู้ใดขี้เกียจ หรือไม่มีอะไรจะคิดก็ให้กำหนดจิตรู้ที่จิตเฉยๆ ถ้าจิตว่างรู้ที่ความว่าง ถ้าจิตคิดรู้ที่ความคิด ว่างรู้ที่ความว่าง คิดรู้ที่ความคิด ไล่ตามกันไปอย่างนี้ เมื่อเราฝึกหัดจนคล่องตัว จนชำนิชำนาญ ทีหลังเราอาจจะไม่ได้ตั้งใจกำหนดรู้อารมณ์จิตหรือความคิด สติก็ทำหน้าที่ตามรู้คอยควบคุม เมื่อมีสติสัมปชัญญะ จิตของเราก็รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว อะไรผิด อะไรถูก มันจะรู้ของมันขึ้นมาเอง"
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
การรู้ตัวมีพลังมาก
...การรู้ตัวจึงมีพลังมาก แค่รู้เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร
ความโกรธ ความทุกข์ก็หลุดไปเอง
โดยไม่ต้องไปทำอะไรกับมันเลย...
พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
โลกเป็นของคู่
ถ้าเราไปยินดีในข้าง
เจริญ
เราจะต้องเป็นทุกข์เดือดร้อนกับข้าง
เสื่อม
ถ้าเราไปยินดีในข้าง
ขึ้น
เราจะต้องเป็นทุกข์เดือดร้อนกับข้าง
ลง
ถ้าเราไปยินดีในข้าง
บวก
เราจะต้องเป็นทุกข์เดือดร้อนกับข้าง
ลบ
บอกแล้วว่า ดีใจก็เพื่อเสียใจ ลิงโลดก็เพื่อเศร้าสร้อย ตื่นเต้นก็เพื่อเหงาหงอย
สมหวังก็เพื่อผิดหวัง ยินดีก็เพื่อยินร้าย เฟื่องฟูก็เพื่อตกดิ่ง โด่งดังก็เพื่ออับแสง
พระอาจารย์ชุมพล พลปญฺโญ
จงเข้าใกล้ความรักด้วยการปล่อยวาง
จงเข้าใกล้ความรักด้วยการปล่อยวาง
ท่านดาไลลามะ
ผู้จากของรักได้แล้วย่อมไม่มีโศก
ความโศกเกิดขึ้นจากความรัก
ภัยเกิดขึ้นจากความรัก
ผู้จากของรักได้แล้วย่อมไม่มีโศก
ภัยจะมีมาจากที่ไหน
ความโศกเกิดขึ้นจากความรัก
ความโศกเกิดจากความยินดี
ความโศกเกิดขึ้นจากกามคุณ
ความโศกเกิดขึ้นจากตัณหา
หลวงพ่อทูล ขิปปปัญโญ
จงรักษาความเป็นกลาง
จงรักษาอัพยากฤตธรรม
คือความเป็นกลางนี้ไว้
อย่าเมาต่อสุข
อย่าเมาต่อทุกข์
นี่คือการเดินถูกต้อง
ตามทางสัมมาทิฏฐิขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
หลวงปู่ทา จารุธัมโม
ความทุกข์มีขึ้นเพื่อสอนเรา
ความทุกข์มีขึ้นเพื่อสอนเรา
ให้รู้จักหลุดพ้นจาก......ความทุกข์
ปัญหาเกิดขึ้นเพื่อสอนเราให้เกิดปัญญา
ด้วยเหตุนี้ปัญหาจึงไม่ใช่เรื่องน่ากลัว
หากคือครูที่มาสอนให้เราฉลาดขึ้นนั่นเอง
พระไพศาล วิสาโล
ให้มีสติกํากับใจ เป็นสติถาวร
ในทางปฏิบัติที่ว่า ปฏิบัติจิต ปฏิบัติใจ
โดยให้ใจอยู่กับใจนี้ ก็คือให้มีสติกํากับใจให้เป็นสติถาวร
ไม่ใช่เป็นสติคล้ายๆ หลอดไฟที่จวนจะขาด เดี๋ยวก็สว่างวาบ เดี๋ยวก็ดับ เดี๋ยวก็สว่าง แต่ให้มันสว่างติดต่อกันไปตลอดเวลา เมื่อสติมันติดต่อกันไปอย่างนี้แล้ว ใจมันก็มีสติควบคุมอยู่ตลอดเวลา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
"อยู่กับตัวรู้ตลอดเวลา"
ตัวรู้ก็คือ
"สติ"
นั่นเอง หรือจะเรียกว่า "พุทโธ" ก็ได้
พุทโธที่ว่า รู้ ตื่น เบิกบาน ก็คือตัวสตินั่นแหละ
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
เมื่อไม่ละกิเลส ไม่ได้ผล
บวชศรัทธาเพียงแต่ ละเพศ
เมื่อไม่ละกิเลส ก็ไม่ได้ผล
เรียนธรรมคำบรรยาย แต่ไม่ได้ฝึกตน
ไม่เพียรมั่นอดทน ไม่เกิดผลความดี
หลวงปู่เปลื้อง ปัญญาวันโต
ความตายนั้นแก้ไม่ได้
ความตายนั้นแก้ไม่ได้
พระพุทธเจ้าจึงให้แก้ใจตัวเอง
ให้สงบนิ่งอยู่ภายใน
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
พุทธภาวะ หมายถึง ความรู้สึกตัว
พุทธภาวะ
หมายถึง
ความรู้สึกตัว
จิตของปุถุชนที่
รู้สึกตัว
แล้ว ย่อมเข้าถึง
มรรคผล
ได้
ปรมาจารย์ตั๊กม้อ
ชีวิตของคน เหมือนขึ้นสะพาน
ชีวิตของคน เหมือนขึ้นสะพาน
ต้องข้ามโค้งไปอีกทาง จะถึงโลกุตตรภูมิ
ถ้าไม่สละโลกีย์ สละอดีต จะไม่มีวันถึงนิพพาน..
หลวงปู่บุดดา ถาวโร
ปล่อยวางร่างกายได้ ก็เห็นธรรม
ทำอย่างไรจิตใจถึงจะไม่หลงระเริงในรูป รส กลิ่น เสียงและสัมผัส
ก็ต้องมาพิจารณาให้เห็นว่าร่างกายมันเป็นอย่างไร
ลองพิจารณาให้ดี ทำให้มาก ทำให้คล่อง
เมื่อถึงขั้นที่เรียกว่า ปล่อยวางในร่างกายได้
นั่นแหละจึงจะเรียกว่า
"ผู้เห็นธรรม"
หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป
ภาวนา เพียงแค่รู้ตัวก็พอ
การภาวนานี้เป็นการงานชนิดหนึ่ง เป็น
งานที่ออกจากทุกข์ ก็คือออกจากความหลง
ความไม่รู้ตัวนี้เอง
ให้เกิดความรู้ตัวขึ้นมา
ขอให้เราท่านทั้งหลายที่เริ่มต้นภาวนานั้น
อย่า
อยากรู้มาก
เพียงแต่รู้ตัวก็พอแล้ว
รู้ตัวอย่างเดียวให้เป็นหนึ่งจริงๆ
จะเป็นผู้เข้าถึงพุทโธ
ที่แท้จริง
หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ
มีสติที่ไหนก็อยู่กับธรรมะที่นั้น
จงมี
สติ
เป็นที่พึ่ง เรา
มีสติที่ไหนก็อยู่กับธรรมะที่นั้น
ไม่ผิดพลาดในที่นั้น สถานที่เราอยู่ ถึงจะกลางกรุงก็ตาม
มีสติอยู่ในใจ ก็สงบเหมือนวัดป่าก็ได้
ชยสาโรภิกขุ
ธรรมะในใจอยู่ใกล้แค่เอื้อม
ธรรมะในใจอยู่ใกล้แค่เอื้อม
ถ้าเราไปอ่านธรรมะในคัมภีร์
ก็ดูเหมือนว่าธรรมะนี้อยู่ไกลสุดเอื้อม
แต่เมื่อเราจะมาศึกษาและเรียนรู้ธรรมะในตัวของเรา
เราจะรู้สึกว่า
ธรรมะที่ต้องเรียนรู้และจำเป็น
ก็ไม่ใช่อื่นไกล ก็คือ เรื่องของกายกับใจ
ของเรานั้นเอง
กายกับใจเป็นที่เกิดของความสุขและทุกข์
ความดีและความชั่วเกิดที่กายกับใจ
บุญและบาปเกิดที่กายกับใจ
มรรค ผล นิพพาน ความดีเกิดที่กายกับใจ
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
ตราบใดที่ปฏิเสธของจริง ย่อมเป็นทุกข์
ที่เรากลัวตาย กลัวความแก่ กลัวภัยอะไรต่างๆนี้
ที่เรากลัวก็เพราะว่าเรายังไม่รู้ซึ้งเห็นจริง
ในเมื่อเราไม่รู้ซึ้งเห็นจริง เราก็
ไม่ยอมรับ "สภาพความเป็นจริง"
เมื่อเราก็ไม่ยอมรับ "สภาพความเป็นจริง" เราก็ปฏิเสธของจริงอยู่นั่นแหละ
ตราบใดที่เรายังปฏิเสธของจริง เราก็เป็นทุกข์อยู่วันยังค่ำ
หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล
กระทบมันเดี๋ยวนี้ รู้มันเดี๋ยวนี้...
กระทบมันเดี๋ยวนี้ รู้มันเดี๋ยวนี้
กระทบมันเดี๋ยวนี้ ทิ้งมันเดี๋ยวนี้
กระทบมันเดี๋ยวนี้ วางมันเดี๋ยวนี้
เรื่องสงบ ของปัญญา เป็นอย่างนี้
หลวงปู่ชา สุภัทโท
ไม่ระลึกถึงความตาย เป็นคนประมาท
ถ้าหากคนเรามองดูเห็นความตายอยู่ใกล้ตนแล้ว ก็จะรีบขวนขวายสร้างคุณงามความดี ให้เกิดให้มีขึ้นแก่ตนเองได้ ถ้าบุคคลไม่เจริญมรณานุสติกรรมฐาน ไม่ระลึกถึงความตายในวันหนึ่งวันหนึ่ง ไม่รู้ว่าตนเองจะตายในวันใดวันหนึ่งแล้ว ก็ย่อมเป็นคนประมาท
หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
ถ้าปฏิบัติธรรมแล้ว...
ถ้าปฏิบัติธรรมแล้ว ยังไม่มีเมตตา
ไม่รู้จักให้อภัย หรือไม่รู้จักมองคนอื่นในแง่ดี
นั่นแปลว่า คุณยังไม่มีธรรมจริงๆ
หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล
ตรงกลาง ระหว่างสุขกับทุกข์...
..นักปฏิบัติ
หลงติดอยู่ที่ความพอใจ และไม่พอใจ เป็นเครื่องอยู่
เอาความพอใจ และไม่พอใจเป็นเครื่องอยู่
เมื่อพอใจ ได้สมใจก็เป็นสุข
เมื่อไม่พอใจก็เกิดทุกข์
แต่ทั้งสุขและทุกข์ ก็ยังเป็นเงื่อนของสมมุติ
...
ไม่มีใครคิดที่จะอยู่
ตรงกลาง
ระหว่างสุขกับทุกข์
เพราะตรงนั้นไม่มีทั้งความพอใจ และไม่พอใจ
แต่เป็น
ความพอ พอดี
คุณแม่จันดี โลหิตดี
ความว่างของใจ
จุดจบที่แท้จริง คือความ
ว่าง
ของใจ
ใจจริงๆไม่มีอยู่กับสิ่งที่รู้
สิ่งที่รู้ทั้งหมดไม่มีอยู่ที่ใจ
ใจหรือว่าผู้รู้นั้นอยู่เหนือสิ่งที่่รู้มาทั้งหมด
สิ่งที่รู้ทั้งหมดยังไม่ใช่ความว่างของใจ
นี้แหละคือความดับทุกข์สุดแค่นี้เอง..
หลวงปู่คูณ สิริจันโท
พยายามมองดูอารมณ์จิตไว้เสมอ
พยายามมองดูอารมณ์จิตของตนเองเอาไว้เสมอ และจักต้องรู้ว่า เวลานี้กำลังคิดอะไรอยู่ ธรรมนั้นเป็นกุศลหรืออกุศล หรือเป็นอัพยากฤต ก็จักต้องกำหนดรู้ไว้ด้วย
สมเด็จองค์ปฐม
พระพุทธเจ้าสอนเพียงเรื่องจิต
พระพุทธเจ้าทั้งในอดีตและอนาคต ล้วนแต่กล่าวถึงการถ่ายทอดเรื่อง
จิต
พระองค์ไม่ได้สอนเรื่องอื่นเลย ถ้าผู้ใดเข้าใจคำสอนนี้ได้ แม้เขาจะไม่รู้หนังสือเลย เขาก็เป็น
พุทธะ
ได้คนหนึ่ง
ปรมาจารย์ตั๊กม้อ
กายใจของเราเหมือนรถมือสอง
กายใจของเรานี้ก็เหมือนกับ
รถมือสอง
ที่ใช้มานาน ถูกชน ถูกบุบ ถูกพัง ผุพังอะไรไปหมดเลย
การมีความรู้สึกตัว เหมือนกับการมาซ่อม
เหมือนกับมาล้างอดีต ให้มันเป็นความปกติขึ้นมา
หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ
บัณฑิตไม่ให้ทานเพราะเหตุแห่งสุข
บัณฑิตทั้งหลาย
ย่อมไม่ให้
ทาน
เพราะเหตุแห่ง
สุข
อันก่อให้เกิด
อุปธิ
แต่บัณฑิตเหล่านั้นย่อมให้ทาน
เพื่อความหมดสิ้นอุปธิ
เพื่อนิพพานอันไม่มีภพต่อไปโ ดยส่วนเดียว.
พุทธภาษิต
จิตอบรมถูกต้อง ปัญญาย่อมเกิด
จิต
ที่ได้รับการ
อบรมที่ถูกต้อง
แล้ว
ปัญญาย่อมเกิดขึ้น
จะมองดูอะไรก็เป็น “นิยายนิกธรรม” ทั้งสิ้น ส่วนผู้ไม่ได้รับการอบรมจิตที่ถูกต้อง ปัญญาแท้จริงก็ไม่เกิด แม้ผู้นั้นกำลังจับพระไตรปิฎกอ่านอยู่ก็ไม่เป็นผล ยิ่งทำให้เกิดความลังเลสงสัยตลอดไป ส่วนผู้มีปัญญาอบรมมาด้วยจิตที่ถูกต้อง แม้จะไม่ต้องจับพระไตรปิฎก แต่ก็น้อมเอาสิ่งต่างๆ มาเป็นธรรม เป็นยอดพระไตรปิฎกได้
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
การปฏิบัติแบบจิตเห็นจิต เป็นแนวทางที่ลัดสั้น
การปฏิบัติแบบ
จิตเห็นจิต
เป็นแนวทาง
ปฏิบัติที่ลัดสั้น
และบรรลุเป้าหมายได้ฉับพลัน ก้าวล่วงภยันตรายได้สิ้นเชิง ทันทีที่กำหนดจิตใจได้ถูกต้อง แม้เพียงเริ่มต้น ผู้ปฏิบัติก็จะเกิดความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเอง เป็นลำดับๆ ไปโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยครูบาอาจารย์อีก
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
รู้สึกในการเคลื่อนไหว เป็นการปฏิบัติธรรม
ถ้า
รู้สึก
ในการเคลื่อนไหวได้ ก็เป็น
การปฏิบัติธรรม
ซักเสื้อผ้า ล้างถ้วย ล้างชาม
ถ้ารู้สึกที่มันเคลื่อนมันไหวในขณะนั้น ก็เป็นการปฏิบัติธรรมได้
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
ความสุขคืออะไร...
ลองถามตนเองซิว่าความสุขคืออะไร
อะไรคือสิ่งที่เราต้องการมากที่สุดในชีวิต
เวลาเราสวดมนต์ว่า อะหัง สุขิโต โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขๆ เถิด
หรือ สัพเพ สัตตา สุขิตา โหนตุ
ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายจงถึงความสุขๆ เถิด
ความสุขที่เราหวังที่เราอยากได้นั้นคืออะไร
ความสุขที่เราอยากให้สรรพสัตว์ทั้งหลายคืออะไร
มันน่าคิดนะ
ถ้าคำตอบยังเป็นเรื่องกิน กาม เกียรติ
นับว่าเรายังไม่เป็นมิตรแท้ของตนเองและของเพื่อนร่วมโลก
เพราะความคิดยังต่ำไป
ชยสาโรภิกขุ
ศาสนาแปลว่าอะไร ?
ศาสนาแปลว่าอะไร ? แปลว่า
“ความไม่เห็นแก่ตัว ความเสียสละ”
ถ้าใครไม่เห็นแก่ตัว ใครเสียสละเพื่อคนอื่น
อย่างนี้เรียกว่า เขามีศาสนา
หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม
การรู้สึกตัวนั้น เป็นไม้ขีดไฟ
การรู้สึกตัวนั้น เป็นไม้ขีดไฟ
เทียนไขนั้นก็คือมันคิด เรารู้
เราพยายามจุดสองอย่างนี้ จุดแล้วก็สว่างขึ้นมา ก็เดินหนีออกจากถ้ำ ไม่เข้าไปอยู่ในถ้ำ ถึงจะต้องเข้าไปอยู่ในถ้ำ ก็ต้องไม่ให้มันมืดต่อไป
ต้องรู้สึกตัวทันที นี่แหละคือการปฏิบัติธรรม
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
ผู้ไม่ปฏิบัติให้สมควรแก่ความรู้
มีคนไม่ใช่น้อยที่เรียนรู้มากมาย
อะไรดีอะไรชั่วรู้ทั้งนั้น
แต่ไม่ทำดี หรือทำก็ทำสิ่งไม่ดี
เรียกว่าใช้ความรู้นั้นช่วยตนเองไม่ได้
ก็เพราะขาดความเคารพในธรรมที่รู้
คือไม่ปฏิบัติให้สมควรแก่ความรู้นั่นเอง
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ผู้ที่จะเข้าถึงธรรมะ...
ผู้ที่จะเข้าถึงธรรมะ เบื้องต้นจะต้องทำตน
ให้เป็นคนมีความซื่อสัตย์สุจริตอยู่เป็นประจำ
หลวงปู่ชา สุภัทโท
ความสุข อยู่กับเราแล้วทุกขณะ
ความสุข อยู่กับเราแล้วทุกขณะ
ไม่จำเป็นต้องดิ้นรนแสวงหาที่ไหนเลย
เพราะเพียงแค่ไม่ทุกข์ ก็สุขแล้วมิใช่หรือ
อะไรก็ตาม
ถ้าแปรเปลี่ยนไป
แล้วเราไม่ยึดติดถือมั่น...เราก็ไม่ทุกข์
พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
เมื่อใดเห็นบาป...
เมื่อใดเห็นบาป เมื่อนั้นก็เห็นบุญ
เมื่อใดเห็นคุณ เมื่อนั้นเห็นโทษ
หลวงปู่เปลื้อง ปัญญาวันโต
หันหน้าเข้าธรรม
"..หันหน้าเข้าวัด คือ หันหน้าเข้าธรรม
หันหน้าเข้าธรรม คือหันหน้าเข้า
ดูความวุ่นวายในใจของตัวเอง
นั่นละความวุ่นวายในโลกนี้ไม่อยู่ที่ไหนนะ
อยู่ที่
ใ
จ
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
วิธีเป็นอิสระจากขันธ์ ๕
ขันธ์ ๕ ย่อมทำงานของเขาไปตามธรรมชาติ
ไม่มีใครหยุด หรือห้ามการทำงานของเขาได้
เพียงแต่มีสติ ระลึก รู้ แล้ว วาง ไม่ยึดถือหมายมั่น
ก็สามารถเป็นอิสระเหนือขันธ์ ๕ ได้ โดยวิธีนี้
หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล
การสิ้นตัณหาเป็นสุขที่สุด
ความสุข (ความสุขที่เกิดจากกิเลสกาม) และทิพยสุข ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งความสุข
คือ
การสิ้นตัณหา
พุทธอุทาน
อยู่กับรู้
คำว่า
"หนึ่งไม่มีสอง"
คือ
อยู่กับรู้
เท่านั้น เป็นธรรมแท้
คำว่า
"รู้"
นั้นคือ
รู้เรื่องของโลกและธรรมชาติตามความเป็นจริง
แล้วไม่ยึดมั่นถือมั่นกับสิ่งที่ตนรู้หรือเห็นมาทั้งหมด
ว่าเป็นของเราของเขา
รู้แล้วก็ปล่อยวางไปหมด
ไม่มีเหลือค้างไว้ให้ได้คิดอยู่อีกต่อไป นี่แหละคือ
รู้
ถ้าเรายังมีการคิดอยู่หรือปรุงแต่งอยู่นั้น
เราจะเรียกว่า "พุทธะ" หรือว่า "ผู้รู้" นั้นยังไม่ถูกต้อง
หลวงปู่คูณ สิริจันโท
โลกนี้เป็นสมมุติ
โลกนี้มันเป็นสมมุติ นาของเรา สวนของเรา
เงินทองของเรา สมบัติของเรา มันเป็นของเราที่ไหน
ตายจากมัน ก็เป็นของโลกทั้งนั้น..
หลวงปู่สาย เขมธัมโม
การให้รางวัลของชีวิต
การให้รางวัลของชีวิตคือ
ก
ารบำเพ็ญบารมี เจริญด้านศีล สมาธิ ปัญญา
จึงชื่อว่าผู้พ้นทุกข์สู่ความดับเย็น นั่นแหละคือ “ปัญญา”
พระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต
จงหาความสงบในจิตแทนภายนอก
จงหาความสงบในจิต แทนการหาความสงบในสภาวะรอบกาย หรือจงหาแต่ความสงบภายใน อย่าไปหาความสงบภายนอก หากจิตเราไม่สงบ จะไปอยู่ที่ไหนมันก็ไม่สงบ เพราะความชุลมุนวุ่นวาย ย่อมเป็นปกติธรรมของชาวโลก กำลังใจที่ตั้งมั่นจึงเป็นสิ่งสำคัญในการปฏิบัติ
สมเด็จองค์ปฐม
เราเกิดมาเพื่อสร้างบารมี
..เราก็เกิดในโลกนี้ เพื่อมาสร้างบารมี ไม่ใช่ว่า มาเกิดเล่น
เกิดมาแสวงหาความสุข สนุกชั่วคราว ไม่มีประโยชน์อะไร
ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง ความตาย เป็นของแน่นอน
โลกนี้เป็นแต่ทางผ่าน เท่านั้นเองล่ะ...
เกิดมาเพื่อมาสร้างบารมี อาศัยบุญบารมี
นำดวงจิตนี้ ให้พ้นจากทุกข์ ไปตามลำดับนะ..
หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
อย่าหวังสุขแท้จริงในโลก
เมื่อเราไม่เข้าใจธรรมชาติของตนเอง ไม่เข้าใจธรรมชาติของโลก
"ตัณหาก็จะเป็นผู้สนตะพาย"
โดยเราหลงหวังไปว่าโลกจะให้สิ่งที่ จริงๆ แล้วโลกให้เราไม่ได้ คือความสุขที่ไม่รู้โรย ความสุขที่ยืนยงคงกระพัน แต่สัจธรรมความจริงที่ปุถุชนไม่อยากรับรู้ คือสิ่งที่เราจะได้จากโลกมีแค่ความสุขแบบกระตุ้นประสาท หรือบำเรออัตตาเท่านั้น
ชยสาโรภิกขุ
การเจริญความเพียร
การเจริญความเพียร
มิใช่การเดินจงกรมนานๆ
หรือนั่งสมาธิได้นานๆ
แต่หมายถึง การน้อมเข้ามา
ในกายในใจของตนให้ต่อเนื่อง
หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล
บทความที่ใหม่กว่า
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)