สัมมาปฏิปทา


พระพุทธโอวาทของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น 
ท่านทรงเตือน ให้เราละความชั่ว ประพฤติความดี 
เมื่อละความชั่ว ประพฤติความดีแล้ว 
ที่สุดก็ทรงสอน ให้ละสิ่งทั้งสองนี้ไปเสียด้วย
ละให้ได้ ทั้งดี ทั้งชั่ว ทั้งบุญ ทั้งบาป 
ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ ทั้งหลาย...
..ให้วางทั้ง สุขและทุกข์ 
การวางทั้งสองได้นี้ เป็นสัมมาปฏิปทา 
ท่านเรียกว่าเป็นทางสายกลาง

หลวงปู่แบน  ธนากโร

Image by Peggy_Marco from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

https://www.facebook.com/Jaturataweep/




 

นาทีทองในการเกิดเป็นมนุษย์


ตราบใด ยังหลงว่ามีตนเอง
ย่อมเป็นนักเดินทางในสังสารวัฎ
แต่มนุษย์มีรูปนาม กาย จิต 
สิ่งเหล่านี้ ให้มาเรียนรู้ 
ว่ามันไม่ใช่เรา  บังคับอะไรไม่ได้
แต่เป็น เรา 
ก็ยัง ผู้เกิด ผู้แก่ ผู้เจ็บ ผู้ตาย
เป็นนักเดินทางในสังสารวัฎ ผู้สะสมเสบียง  
เป็นได้แค่ เหล่าสรรพสัตว์
ผู้หลงขณะจิต เป็นเรา
หมื่นปี กับ ขณะจิตเดียว  
ล้วนเป็นเรา 
แต่ขณะจิต เดียว มิใช่เรา  
เป็นนาทีทองในการเกิดเป็นมนุษย์ที่จะเห็นสิ่งนี้  

พระอาจารย์ปกรณ์นันทน์ ฐิตธัมโม

Photo by Aleksei Zaitcev on Unsplash

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

https://www.facebook.com/Jaturataweep/




 

พระพุทธเจ้าอยู่กับสุญญตาวิหาร


พระพุทธเจ้าอยู่กับสุญญตาวิหาร 
วิหาระแปลว่าอยู่ สุญญตาคือว่าง 
ก็คือท่านอยู่กับความไม่ยึดมั่นถือมั่น 
แต่เรานี่อยู่กับความยึดมั่นถือมั่น…
ปฏิบัติให้เห็นความว่าง... 
มันก็จบสิ...
ความทุกข์มันก็จบ จบที่ตรงนั้น...

หลวงพ่อเอี้ยน วิโนทโก

Photo by Shanthi Raja on Unsplash

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

เมื่อคุณเปลี่ยนจิตตัวเอง ทุกสิ่งที่คุณรับรู้ก็จะเปลี่ยน


กล่าวกันว่าพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม
ถึง 84,000 พระธรรมขันธ์ 
เพื่อให้ผู้ซึ่งมีระดับปัญญาต่างกัน
ได้เข้าใจในอำนาจของจิต 
.
ข้าพเจ้าไม่ได้ศึกษาทั้งหมด 
ดังนั้นจึงกล่าวไม่ได้ว่าพระธรรม
มีจำนวนดังกล่าวแน่นอนหรือไม่ 
พระองค์อาจจะสอน 83,999 บท 
หรือ 84,001 บท ก็ไม่อาจรู้ได้ 
.
แต่สารัตถธรรมของพระองค์
อาจสรุปได้เพียงหนึ่งว่า 
“จิตคือแหล่งที่มาของประสบการณ์
รับรู้ทั้งปวง และถ้าเรา
เปลี่ยนทิศทางของจิตได้ 
เราก็จะสามารถเปลี่ยนคุณสมบัติ
ของทุกสิ่งที่เรารับรู้” 
.
เมื่อคุณเปลี่ยนจิตตัวเอง 
ทุกสิ่งที่คุณรับรู้ก็จะเปลี่ยนด้วย 
มันเหมือนกับคุณใส่แว่นตาสีเหลือง 
ทันใดนั้น ทุกสิ่งที่คุณเห็น
ก็จะเป็นสีเหลือง 
ถ้าคุณใส่แว่นสีเขียว 
ทุกอย่างที่คุณเห็นก็จะเป็นสีเขียว

ท่านมิงจูร์ รินโปเช

Photo by Jamie Street on Unsplash

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

หัดดูเฉยๆ ดูเขาไปอย่างนั้น


...ปกติถ้าอารมณ์ในใจไม่ดี 
เราก็จะเกิดความยินร้าย เกิดความไม่พอใจ 
หรือเกิดความทะยานอยากจะให้มันหาย 
อยากให้มันสงบ 
นี่เป็นการไปเติมเชื้อ 
เป็นการวางใจที่ไม่ถูกต้อง 
แทนที่กิเลสมันจะคลี่คลาย 
มันกลับเพิ่มมากขึ้น วุ่นวายใจมากขึ้น 
อยากจะให้มันสงบ 
พอมันไม่สงบ มันก็จะเกิดความเคียดแค้นใจ โกรธมากขึ้น
เคล็ดลับก็คือว่า ต้องวางใจให้ถูก 
เวลากำหนดรู้ ดูใจ ดูอะไรก็ตาม ต้องปล่อยวางในที 
กำหนดดูอย่างปล่อยวาง อย่างไม่ว่าอะไร 
หรือจะเรียกว่า สักแต่ว่า ปล่อยวาง 
พยายามจะฝึกใจให้รู้อย่างปล่อยวาง วางเฉย 
.
เหมือนเราดูคนทะเลาะกันอยู่ 
เราก็ดูเขาเฉย ๆ 
เราอย่าไปวุ่น เราอย่าไปทะเลาะกับเขาด้วย 
ดูเด็กเล่นกันวุ่นวาย เราก็ดูมันเฉย ๆ ไม่ว่าอะไร 
.
เราดูกิเลส ดูอารมณ์ในใจ ดูอะไรในตัวเรา 
ก็หัดดูเฉยๆ ดูเขาไปอย่างนั้น ดูเฉยๆ 
ไม่ว่าอะไรจะเกิด ก็เกิดไป 
ถ้าเราทำใจ วางใจอย่างนี้ได้ เฉยๆ ได้ 
จิตมันก็จะพลิกกลับมาเป็นจิตที่ดีงาม 
มันจะซักฟอก ชำระ ปรับสภาพ 
สติสัมปชัญญะเหมือนน้ำเข้าไปดับ 
ไฟก็โทรมลง 
เกิดความเย็น ความสงบระงับ ดับทุกข์ 

พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี

Photo by Martin Martz on Unsplash

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

เราต้องรู้ว่าการปฏิบัติธรรมนี้เป็นหน้าที่เฉยๆ


เราต้องรู้ว่าการปฏิบัติธรรมนี้เป็นหน้าที่เฉยๆ 
“เราต้องทำเป็นหน้าที่ของชีวิต” 
ไม่ได้หวังว่าจะได้อะไรจากการปฏิบัติธรรม 
แต่เรารู้แล้วว่าคนเราเกิดมามีหน้าที่...
หน้าที่ที่จะพ้นทุกข์ 
วิธีการที่จะทำหน้าที่นั้น ก็คือ 
“รู้สึกตัว ไม่ตามความคิดไป 
ไม่หลงเข้าไปในความคิด 
เห็นจิตใจนี้มันปกติอยู่” 
พาจิตใจนี้มารู้จักความเป็นปกติ
ที่เราทุกคนมีอยู่แล้ว 
การเรียนรู้กายและใจแบบนี้ 
ถึงจะพาเราไปสู่ความพ้นทุกข์ได้

Camouflage

Photo by NEOM on Unsplash

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

เรื่องของพระนิพพานเป็นของง่าย


เรื่องของพระนิพพานเป็นของง่าย
เพราะเป็นสิ่งที่ยืนตัว คงที่อยู่เสมอ 
ไม่มีอาการเปลี่ยนแปลง 
ส่วนเรื่องของโลกนั่นแหละเป็นของยาก 
เพราะแปรตัวได้ไม่แน่นอนอะไร 
วันนี้เป็นอย่างหนึ่ง พรุ่งนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง 
ทำแล้วก็ต้องรักษาไว้ให้ดี 
ส่วนนิพพานไม่ต้องมีการเก็บ ไม่ต้องมีการรักษา 
ทำแล้วก็ละ ทำแล้วก็ทิ้ง ทำไปละไป ทำไปทิ้งไป... 
หมายความว่าทำความดีทั้งหลายแล้ว
ไม่ยึดว่าเป็นของตน 
ผู้ที่ทำความดีแล้วก็คายความดี
ไม่ยึดความดีว่าเป็นของของตน 
นั่นแหละเป็น วิราคธรรม

ท่านพ่อลี ธัมมธโร

Photo by Martin Martz on Unsplash

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

อย่าให้อาหารมัน แต่อย่าปฏิเสธมัน


อารมณ์ในใจ
มันเหมือนหมานั่นแหละ ไม่มีอะไรหรอก
คุณไปให้มันบ่อย ๆ มันก็มากวนคุณบ่อย ๆ
มันก็เป็นนิวรณ์คาใจ
พอนิวรณ์มาปุ๊บ สมาธิก็ไม่ค่อยเกิด
นี่คือเหตุปัจจัยของมันแหละ
อย่าให้อาหารมัน แต่อย่าปฏิเสธมัน
หมามันต้องมา แต่แค่ไม่ให้อาหารมันเท่านั้นแหละ
เดี๋ยวมันไปเอง
.
อารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงก็เหมือนหมานั่นแหละ
เราเอากายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ไปให้มัน
ไปสมยอมกับมัน นั่นก็ให้อาหารมัน
นั่นแหละ มันก็มาบ่อยสิ
มาบ่อยเราต้องเดือดร้อนกับมัน
พอเราตกเป็นทาสของอารมณ์
เราก็ต้องรับวิบากของอารมณ์อยู่นั่นแหละ...ไม่เลิก

พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท

Photo by Lenin Estrada on Unsplash

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




 

ความสุขชั่วคราวปกปิดความทุกข์


ผู้ที่ไม่ได้ภาวนาลงจนเห็นสภาพตามความเป็นจริง
คือไม่เห็นไตรลักษณญาณปรากฏ 
มันไม่เชื่อต่อโลกอันนี้ 
มันยังสำคัญว่าโลกนี้น่าอยู่อาศัย
พอได้รับความสุขบางสิ่งบางอย่าง เช่น 
อย่างว่ามีร่างกายสมบูรณ์ โรคภัยไม่เบียดเบียน 
อย่างนี้ก็ชอบแล้ว ถือว่าตนมีความสุขแล้ว 
ไม่อยากขวนขวายออกจากทุกข์แล้ว 
ความสุขชั่วคราวเหล่านี้มันปกปิดความทุกข์ไว้

หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

Photo by Mohamed Nohassi on Unsplash

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ผู้มีปัญญา มุ่งตรงไปที่จิต


ผู้มีปัญญา มุ่งตรงไปที่จิต
และก้าวข้าม ทวิลักษณ์ (ของคู่)
ผู้มีความรู้ ใส่ใจในรายละเอียด
และติดกับดัก ของคำพูดและตัวอักษร
ปัญญา ไม่ได้เกิดจากการคิด แต่เกิดจากจิต
ความรู้ ไม่ได้เกิดจากจิต แต่เกิดจากการคิด

เรียวกัง

โพสต์โดยชีวา นาวิน จากเพจ เซน

Photo by Walter Mario Stein on Unsplash

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

สภาวะที่แท้ของธรรมชาติ ก็คือความไม่มี


สภาวะที่แท้ของธรรมชาติ
ก็คือความไม่มี
สงบระงับบริสุทธิ์บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง
เมื่อเข้าถึงสภาวะนี้
จะเป็นอะไรที่แจ้งแก่ใจด้วยตัวเอง
ว่าแท้ที่จริงแล้วธรรมชาติ ก็คือความไม่มี
การเพาะบ่มปัญญาที่แท้
ก็คือเข้าถึงความไม่มี คืนสู่ความไม่มี
.
นิโรธ คือความดับ
เห็นการสลัดคืนสู่ความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ
.
แต่ตราบใดที่ยังมีเชื้ออยู่
เดี๋ยวมันก็ผุดขึ้นมาใหม่
พอผุดแล้วก็เกิดกระแสสืบต่อไป
ก็ต้องผ่านการเพาะบ่มสติปัญญา
สติในการรู้เท่าทันจะตัดกระแสตรงนี้
จนเพาะบ่มจนเป็นผู้มีปัญญา
ที่คลายออกวางออกจากสิ่งต่างๆ ลง
จนคืนสู่ความไม่มีอยู่เนือง ๆ
เรียกว่า "ตายก่อนตาย"

พระมหาวรพรต กิตฺติวโร

Photo by Frederik Löwer on Unsplash  

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ยังปล่อยไม่หมดก็รู้ไปก่อน


ถ้าเรายังปล่อยวางไม่ได้ ยังปล่อยไม่หมด
ยังปล่อยไม่หมดก็รู้ไปก่อน 
รู้ไปก่อน อย่างน้อยก็ถูกทางแล้ว
อันอื่น ก็เป็นแค่สิ่งถูกรู้ไป 
จิต ก็เป็นผู้รู้ไป
"ผู้รู้" มันจะไปเป็น "สิ่งถูกรู้" ไม่ได้
เพราะฉะนั้นถ้าเวทนาเกิดขึ้น  
เวทนา ก็เป็น สิ่งถูกรู้
#เราก็อยู่กับผู้รู้_ผู้รู้ที่ไม่เป็นอะไรเลย!
ไม่เป็นอะไร นิ่งเงียบ เป็นธาตุ
นิ่งเงียบเป็นสักแต่ว่าธาตุ แต่รู้อารมณ์ได้เฉยๆ…

พระอาจารย์ครรชิต สุทธิจิตโต

Photo by Ricardo Gomez Angel on Unsplash

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา







 

สมาธิหัวตอ


ผู้ปฏิบัติที่หลงอยู่ในสมถะ  
คือ หลงอยู่ในฌาน  ท่านว่าสมาธิหัวตอ  
หมายความ ว่า...มันไม่งอกเงยขึ้น 
เพราะมันหลงแต่ความสุข 
โดยมาก ไม่รู้หนทางที่แน่นอน  
จึงถือเอาความสุขของฌาน เป็นใหญ่
เพราะสบายดี แต่...ไม่พ้นทุกข์
.
การดำเนินมหาสติปัฏฐาน
มีกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นต้น 
พิจารณาถึงอนิจจลักษณะ 
คือลักษณะที่ไม่แน่นอน 
ทุกขลักษณะ   คือลักษณะของความทุกข์ 
อนัตตลักษณะ คือลักษณะที่ไม่มีตัวตน
ให้เห็นจริงขึ้นภายในจิตนั้น...
จิตนั้น...
ก็จะดำเนินเข้าสู่อริยสัจจ์ เข้าสู่องค์มรรคในที่สุด

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

Photo by Ricardo Gomez Angel on Unsplash

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

จะดีหรือเลว ขึ้นอยู่กับจิตที่ออกไปปรุงแต่ง


เมื่อแยกพันธะ แห่งความเกี่ยวเนื่อง  
จิต กับสรรพสิ่งทั้งปวงแล้ว 
จิต ก็หมดพันธะกับเรื่องโศก รูป เสียง 
กลิ่น รส สัมผัส   จะดีหรือเลว 
มันขึ้น อยู่...กับจิตที่ออกไปปรุงแต่งทั้งนั้น 
.
แล้วจิตที่ขาดปัญญา  ย่อมเข้าใจผิด 
เมื่อเข้าใจผิด ก็หลงอยู่ภายใต้อำนาจ
ของเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย ทั้งทางกายและทางใจ 
.
อันโทษทัณฑ์ทางกาย 
อาจมีคนอื่นช่วยปลดปล่อยได้บ้าง  
ส่วนโทษทางใจ  
มีกิเลสตัณหาเป็นเครื่องรึงรัดไว้นั้น...
ต้องรู้จักปลดปล่อยตน ด้วยตนเอง ฯ
.
พระอริยเจ้าทั้งหลาย 
ท่านพ้นแล้วจากโทษทั้งสองทาง
ความทุกข์  จึงครอบงำไม่ได้

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

Image by 95C from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

สักแต่ว่ารู้


คำว่าสมาธิกับคำว่าสักแต่ว่ารู้
นี้ไม่เหมือนกัน 
อยู่ในสมาธิก็สักแต่ว่ารู้ 
ออกจากสมาธิก็สักแต่ว่ารู้ได้
คือให้รู้เฉยๆ เห็นอะไร
ก็อย่าไปคันไม้คันมือขึ้นมา 
เห็นแล้วก็ปล่อยวางๆ 
ก็สักแต่ว่ารู้ไป 
ใครด่าก็สักแต่ว่ารู้ ใครชมก็สักแต่ว่ารู้ 
ไม่มีปฏิกิริยากับสิ่งที่รับรู้... 
นั่นแหละคือปัญญาแล้ว 
.
ให้รู้ว่าสักแต่ว่ารู้ว่านั่นแหละ
การสร้างความสุขใจที่ถาวรที่ถูกต้อง...
ถ้าสักแต่ว่ารู้แล้วจะไม่มีความทุกข์กับอะไรทั้งนั้น 
มันไม่สักแต่ว่ารู้ มันรู้แล้วมันอยากขึ้นมา 
มันก็เลยทุกข์

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

Image by Andhoj from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

วิธีฝึกสติ ง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน


วิธีฝึกสติ ง่ายๆ ในชีวิตประจำวันก็คือ
ทำอะไร ก็ทำไปตามปกติ
แต่อยากให้เราลองมาชำเลืองดูลมหายใจบ้าง
เพราะลมหายใจเป็นที่พัก 
ทำให้จิตใจว่างจากอารมณ์
.
สิ่งต่างๆ ที่เจอในแต่ละวัน ทำให้อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ มากมาย
.
~ ฉะนั้น ~
การกลับมาอยู่กับลมหายใจเป็นคราวๆ 
จะเป็นการปรับสมดุล ไม่ให้อารมณ์ของเรา ขึ้น - ลง มากเกินไป
ถึงมีก็มีน้อย ...
.
ถ้าดูลมหายใจไปเรื่อยๆ จนชำนาญ
สุดท้ายในใจเราจะว่างจากอารมณ์ 
แล้วสติปัญญาจะสมบูรณ์
.
เมื่อข้างใน เราว่างจากอารมณ์
การงานในชีวิตปกติ จะไม่มีอารมณ์มาเป็นแนวหน้า
เป็นแรงผลักดันในการดำเนินชีวิต
แต่กลับจะมีสติปัญญาเป็นเครื่องนำ ในการใช้ชีวิต
นี่คือการดูลมหายใจประกอบ
การใช้ชีวิตในแบบปกติ ...

พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

Image by stephencphotog from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ความสงบในกิจกรรม คือความสงบที่แท้จริง


ความสงบของจิต ไม่ได้หมายความว่า
คุณควรหยุดกิจกรรมของคุณ  
คุณควรพบความสงบที่แท้จริงในกิจกรรม  
เรากล่าวว่า "ความสงบในความว่างนั้นง่าย 
ความสงบในกิจกรรมนั้นยาก" 
ดังนั้น ความสงบในกิจกรรม 
คือความสงบที่แท้จริง

พระอาจารย์ชุนริว ซูสุกิ 

จากหนังสือ "Zen Mind จิตมือใหม่"

Image by adventurous_blondine from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

การเรียนรู้ธรรมที่แท้จริง


การแสวงหาธรรมคำสอน..
แสวงหาตำรา..แสวงหาครูบาอาจารย์
นั้นมิใช่การเรียนรู้ธรรมที่แท้จริง
เธอจะได้เพียงเปลือก..
ที่เป็นสิ่งสมมุติปรุงแต่ง
การเรียนรู้กายเรียนรู้จิตตนให้เห็นตามความเป็นจริง
นั้นต่างหากคือการเรียนรู้ธรรมที่แท้จริง..

อาจารย์ปู่ เอกธาตุ

Image by Peggychoucair from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ธรรมมีแค่นี้แหละ เพียงแต่รู้ความจริง


เห็นด้วยใจ รู้ด้วยใจ
ว่าความคิด ความรู้สึกเป็นตัวเรา ของเรา 
เป็นของปรุงแต่ง เป็นของไม่จริง 
เห็นว่าทุกอย่างเป็นของปลอม
เมื่อเห็นว่าทุกอย่างเป็นของปลอม
หาจนหมดตู้แล้ว ไม่มีของจริง... มีแต่ของปลอม
ของจริงไม่มี!!!
ตรงที่ของจริงไม่มีเนี่ยแหละ
นั่นแหละ คือ ของจริง
ธรรมมีแค่นี้แหละ
เพียงแต่รู้ความจริง

หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย

Image by Peggychoucair from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




 

ชีวิตคือการสะท้อนกลับ


ชีวิตคือการสะท้อนกลับ
คุณส่งสิ่งใดออกไป คุณก็จะได้รับสิ่งนั้น
คุณหว่านเมล็ดพืชชนิดใด
คุณก็จะได้เก็บเกี่ยวพืชชนิดนั้น
คุณให้สิ่งใดไป
คุณก็จะได้รับสิ่งนั้น
คุณเห็นอะไรในตัวคนอื่นๆ
สิ่งนั้นคืออยู่ในตัวคุณ
จำไว้นะ ชีวิตคือการสะท้อนกลับ
สิ่งต่างๆ กลับคืนมาสู่คุณเสมอ
ดังนั้น จงหยิบยื่นแต่สิ่งดีงาม

Life is an echo.
What you send out, comes back.
What you sow, you reap.
What you give, you get.
What you see in others, exists in you.
Remember, life is an echo.
It always gets back to you.
So give goodness.

ZIG ZIGLAR

Image by MDARIFLIMAT from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




 

อย่าคิดว่าการเจริญสตินั้น ต้องรู้ตัวตลอดเวลา


อย่าคิดว่าการเจริญสตินั้น
ต้องรู้ตัวตลอดเวลา 
ถ้าอย่างนั้นเป็นการสะกดจิตตัวเอง 
รู้ตัวบ้างลืมตัวบ้าง นับว่าดี 
เป็นธรรมชาติดี 
รู้ก็รู้ ไม่รู้ก็ไม่รู้ 
พอไม่รู้ก็รู้ตัวว่าไม่รู้ 
นั่นคือรู้หลุดๆ หลวมๆ 
ในที่สุดก็เกิดภาวะกลมกลืนขึ้นมา

ท่านเขมานันทะ

Image by HeiKiwi from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

การละเหตุแห่งทุกข์


สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) 
คือสิ่งที่ต้องละ  ละอย่างไร
การไม่ให้ค่า ไม่ให้ความหมายใดๆ
กับความหลงคิดหรือความคิดที่เกิดขึ้นเอง
ด้วยกลไกการทำงานของสัญญาขันธ์และสังขารขันธ์ 
นั่นแหละคือการละ 
ไม่ใช่ไปดับหรือตัดความคิด  
แต่ให้กลับมารู้สึกตัว

พระอาจารย์ครรชิต อกิญจโน

Image by Camera-man from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ผลของการทำสมาธิ ไม่ใช่การไม่มีความคิด


คนที่เข้าใจผิด เกี่ยวกับการทำสมาธิ 
เชื่อว่าความคิดทั้งหมด ควรหยุดลง
ในความเป็นจริง เราไม่สามารถอยู่
ในสถานะที่ปราศจากความคิดได้
ผลของการทำสมาธิ 
ไม่ใช่การไม่มีความคิด 
แต่เห็นความจริงที่ว่า 
ความคิด ไม่ใช่เรา

 ท่านโบการ์ รินโปเช

Image by Camera-man from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา