เราไม่ได้ภาวนา เพื่อให้ได้ ให้มี ให้เป็น


เราไม่ได้ภาวนา
เพื่อให้ได้ ให้มี ให้เป็น 
ในสิ่งที่ยังไม่ได้ ยังไม่มี ยังไม่เป็น
แต่เราภาวนา
เพื่ออยู่กับสิ่งที่มี ที่เป็นอยู่
โดยไม่สำคัญมั่นหมาย ไม่ยึดถือว่า
สิ่งนั้นเป็นเรา เป็นของเรา 
เป็นตัวตน (เป็นอัตตา) ของเรา

อุบาสกสุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา

Image by RosZie from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

เจ้าก็จะเป็นอิสระ จากการเกิด


ถ้าเจ้านึกถึง พระพุทธเจ้า หรือพระโพธิสัตว์ 
แล้วเกิดความเคารพเลื่อมใส 
เท่ากับว่า เจ้าได้นำตนเอง 
ไปสู่เทวโลก หรือ มนุษย์โลก
ถ้าเจ้า หยุดแสวงหาทุกสิ่ง 
ไม่ยึดมั่นถือมั่น ในรูปลักษณ์ใดๆ 
มุ่งตรงไปยังจิตของเจ้าเอง 
เจ้าก็จะเป็นอิสระ จากการเกิด 
ข้าฯ ไม่มีคำสอนอื่น 

ท่าน โพธิธรรม  (ปรมาจารย์ตั๊กม้อ)

จากกวีนิพนธ์ Bodhidharma: บันทึกแรกสุดของเซน
เจฟฟรีย์ แอล. บรอจตัน – 1999

Image by JLB1988 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

รู้...ไม่ใช้คิด รู้...ไม่ใช่กำหนดรู้


ฝึกตามรู้จิต สังเกตจิต 
จิต จะรู้สึกอย่างไร  ก็รู้...แค่นั้น...
ไม่ใช่ ดักรู้จิต 
ไม่ใช่เพ่ง  ไม่ใช่เผลอ ลืมตัว 
แต่ฝึก...
รู้สึกตัว อย่างง่ายๆ  สบายๆ  เอาไว้เสมอๆ 
ไม่ว่าจะทำอะไร
รู้...ไม่ใช้คิด 
รู้...ไม่ใช่กำหนดรู้  แต่...สักแต่ว่ารู้

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

Image by Couleur from pixabay

เพจ วัดพระธาตุขุนบง

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ให้รู้จัก “ยอมรับ” และ “รู้เท่า” ความยินดียินร้าย


นักภาวนาโดยมากเลยจริงๆ
มักจะภาวนาเพื่อให้เกิด “สภาวะดี”
ปลอดโปร่ง เบาสบาย หรือรู้ชัด
แต่มักไม่สนใจจะเรียนรู้ความจริงว่า
ไม่มีสภาวะใดๆ ที่จะบังคับ
ให้ได้อย่างใจตลอด พอเกิดสภาวะ
ที่ไม่รู้เรื่อง หรือหยาบกระด้าง มึนๆ
ก็ถูกความไม่ชอบใจ เข้าครองใจ 
แล้วก็ผลักๆ ดันตลอด
ต้องเฉลียวใจว่าเราภาวนาเพื่อ
ให้ “เห็นตามเป็นจริง” ไม่ใช่เอาให้
ได้ดีตลอดกาล ให้รู้จัก “ยอมรับ”
และ “รู้เท่า” ความยินดียินร้ายจนจิตเป็นกลาง 
กลางพอที่จะเห็นตามจริงได้จริงๆ

พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต 

Image by Couleur from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

https://www.facebook.com/Jaturataweep/




 

เรายอมที่จะหายตัวไหม


โลกเขาอวดมี
มีนั้นมีนู้นนี้ ฉันเป็นนั่นเป็นนี่  อย่างงั้นอย่างงี้
ก็เลยอยากอวด และ ต้องมี  สมมุติก็เยอะตาม
แต่ธรรมนั้น ไม่มีอะไรจะอวด 
เพราะหมดตัว หายตัวไปแล้ว ก็หมดเรื่องคุย
คำว่า ไร้ตัวตน นั้นทุกคนมีอยู่แล้ว
แต่จริงๆ เรายอมที่จะหายตัวไหม

พระอาจารย์ปกรณ์นันทน์ ฐิตธัมโม

Image by steve_a_johnson from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

https://www.facebook.com/Jaturataweep/



 

แค่ "รู้ ทั น ค ว า ม คิ ด"


หลวงพ่อคำเขียนได้กล่าวไว้บ่อยๆ ว่า
ผู้มีสติ จะรู้จักทักท้วงความคิด
ไม่ทำตามความคิดง่ายๆ 
เอาชนะได้โดยการ ดูมัน รู้มัน เห็นมัน 
ไม่เป็นไปตามมัน
อันความคิด มันมักจะนำเอากิเลส 
นำเอาความทุกข์มาสู่จิตใจของเรา
แล้วเราก็มักจะทำตามความคิด ด้วยความเคยชิน
โดยไม่เห็นมัน เรียกว่า "ไ ม่ รู้ สึ ก ตั ว" 
ก็เพราะเรา "ข า ด ส ติ"
เพราะเราขาดสติ เราถึงไปเชื่อความคิด ไปเชื่ออารมณ์
.
การปฏิบัตินี้ เราไม่ได้ไปทำอะไรกับความคิด
เพียงแต่ให้ "รู้ ทั น ค ว า ม คิ ด" 
เรา "ไ ม่ ไ ด้ ไ ป "ดั บ" ค ว า ม คิ ด"
แต่ให้ "รู้ ทั น ค ว า ม คิ ด" 
แค่ "รู้ ทั น ค ว า ม คิ ด" 
ก็เท่ากับเราได้ "ฝื น ค ว า ม คิ ด ปรุ ง แ ต่ ง" 
เมื่อนั้นเราจะอยู่เหนืออำนาจของความคิด 
จิตของเราก็จะเป็นอิสระ
พออิสระจากความคิด อิสระจากอารมณ์แล้ว 
เราก็จะ "คิ ด อ ย่ า ง มี ส ติ"
การอยู่เหนือความคิด ไม่ใช่ไม่คิดนะ 
"คิ ด แ ต่ เ ป็ น ก า ร คิ ด ด้ ว ย ส ติ ด้ ว ย ปั ญ ญ า"
เพื่อจะแก้ปัญหาตัวเอง พัฒนาตัวเอง
แถมยังแบ่งปันผู้อื่นได้ด้วย

อ.กำพล ทองบุญนุ่ม

Image by RuslanSikunov from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

https://www.facebook.com/Jaturataweep/




 

คนที่ไม่ยอมรับความจริง...


คนที่ไม่ยอมรับความจริง น่าสงสารที่สุด 
ความคิดเห็นแต่ประโยชน์ตน 
คือยาพิษมีฤทธิ์ร้ายทำร้ายทำลายตนเอง 
พึ่งตนเองให้ได้ แล้วโลกทั้งโลกจะให้คุณพึ่ง
มีอะไรก็สู้ความว่างจากอุปาทานไม่ได้
ปุถุชนขวนขวายหาเส้นทาง
ที่จะไปแบกหาบสมบัติทั้งโลก
พระอริยะขวนขวายที่จะหาเส้นทาง
ปลดปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น
จากสิ่งทั้งปวงในโลก

พระอาจารย์ชุมพล พลปัญโญ

Image by MabelAmber from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

https://www.facebook.com/Jaturataweep/




 

ความคิดนั้นไม่ใช่สิ่งที่ชั่วร้ายเลวทราม


ที่จริงความคิดนั้นไม่ใช่สิ่งที่ชั่วร้ายเลวทรามอะไร 
แต่ความคิดเป็นพาหะนำความโกรธ 
ความโลภ และความหลงมา 
ถ้าสามารถรู้ตัวได้ แล้วใช้ความคิดได้อย่างอิสระ 
ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็แยกทางไป 
ก็ดับไป ตามกาลเวลาอันสมควร 
.
เพราะโดยพื้นใจของเรานั้นไม่มีอยู่แล้ว
สิ่งแปดเปื้อนมลทินเหล่านั้น
ไม่มีอยู่จริงแท้และถาวร มันมีต่อเมื่อเราเผลอ 
พอเผลอก็คิดโลภ คิดโกรธขึ้นมา 
แต่ถ้าเรารู้ตัว ไม่มีความคิดโลภ 
คิดโกรธ คิดแล้วไม่รู้ตัว (หลง) เราก็มีปกติดี
.
แท้จริงจิตใจเป็นสิ่งบริสุทธิ์ตามธรรมชาติอยู่แล้ว 
คนทุกชาติทุกภาษามีจิตใจเหมือนกัน 
แต่พอความคิดก็เกิดต่างกัน 
พอความโลภ ความโกรธ ข้อจำกัดเกิดขึ้น 
ยึดมั่นในชาติพันธุ์ของตัว ในผิวพรรณวรรณะ 
ในเพศ ในวัยของตัวเอง 
.
ดังนั้น
ถ้าเราทันท่วงทีขณะที่ความคิดเกิด 
ปัญหาที่แก้ยากที่สุด จุดที่สะสางยุ่งยากที่สุด 
ทั้งปัญหาส่วนปัจเจกและสังคมโลกก็จะถูกแก้ไข

ท่านเขมานันทะ

จากหนังสือดวงตาแห่งชีวิต

Image by MabelAmber from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

การทำสมาธิไม่ใช่วิธีการตรัสรู้


การทำสมาธิไม่ใช่วิธีการตรัสรู้
และไม่ใช่วิธีการบรรลุผลอะไรเลย
มันคือความสงบนั้นเอง
การเกิดขึ้นจริงของปัญญาคือ
การประจักษ์ความจริงสูงสุด
แห่งความเป็นหนึ่งเดียวของสรรพสิ่ง

ท่านโดเก็น

Meditation is not a way to enlightenment, 
Nor is it a method of achieving anything at all. 
It is peace itself. It is the actualization of wisdom, 
the ultimate truth of the oneness of all things.

Image by ELG21 from pixabay 

จาก Fb.แช่ แห้ง

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ปฏิบัติแบบไม่ต้องปฏิบัติ


สุขทุกข์ก็มีด้วยกันทุกรูปทุกนาม 
แต่ทุกๆ ชีวิตอยากจะแก้ไขความจริง 
เวลามีทุกข์มาก็วิ่งหนี เวลามีสุขมาวิ่งหาและยึดไว้ 
ทั้งๆ ที่ไม่รู้ความจริงว่าสุขกับทุกข์
ก็เหมือนกลางวัน กลางคืน 
แค่อยู่เฉยๆ เดี๋ยวก็มืดแล้ว 
อยู่เฉยๆ เดี๋ยวก็สว่าง 
สุขและทุกข์ที่เกิดขึ้นในใจก็เช่นกัน
รู้ซื่อๆ รู้อยู่เฉยๆ เดี๋ยวอาการนั่นก็ดับลงเอง 
จงไปฝึกรู้อย่างนี้ทุกวัน นี่เรียกว่าปฏิบัติแบบไม่ต้องปฏิบัติ 
ไม่คิด ไม่จำ ไม่ทำ แค่ฝึกรู้สังเกตอาการเท่านั้น
ยากตรงไหน ไม่ได้ยากเลย ยากตรงที่จะทำให้มีให้เป็น 
แต่กลับไม่ให้ธาตุรู้ เรียนรู้ในสิ่งที่มี ที่เป็น 
เพราะการคิดจะทำคือการปรุงแต่ง 
แต่การฝึกรู้แนวนี้ก็คือปฏิบัติแบบ ไม่ต้องคิด ไม่ต้องจำ 
แค่รู้ซื่อๆ อย่าหวังในอนาคต แต่จงใช้รู้อยู่กับปัจจุบันขณะ 
เพราะการใช้ความคิดเป็นการปรุงแต่ง 
ไม่ได้อยู่กับความเป็นจริง การที่ไม่ใช้คิด
แต่ใช้รู้ซื่อๆ จะอยู่กับของจริงๆ ของสดๆ ได้ 
ของจริงๆ ของสดๆ นี้ จึงเรียกว่าสัจธรรม 
คือความจริงที่เขาแสดงอาการอยู่ตลอด
แค่ฝึกรู้สังเกตอาการเท่านั้น
.
เสียเวลาดับทำไมให้ต้องเหนื่อย 
นั่นคือหมดภาระหมดหน้าที่ไม่ต้องทำอะไร
แค่รู้ซื่อๆ รู้ตรงๆ ไปกับอาการนั้น 
รู้จะตกงานไปเอง เพราะรู้ไม่ต้องทำอะไร 
ให้รู้นั้นรู้ไปเลย ไม่ต้องจำไว้ ไม่ต้องคิดไว้ว่าจะรู้ 
.
เหมือนที่เคยบอกว่าการปฏิบัติ 
ถ้าเราใช้สติ หรือฝึกสติ ฝึกสมาธิ เดินจงกรม 
ก็ต้องมีผู้กระทำ แต่วิปัสสนาแบบฝึกรู้นั้น ไม่ต้องทำอะไร 
จึงสบาย แค่รู้อย่างเดียว เพียงแค่รู้ 
เพียงแค่รู้อาการกาย รู้อาการใจทำงาน 
.
และต้องรู้ให้ถูกด้วย รู้กาย รู้ใจ คือรู้ธาตุสี่ทำงาน 
รู้เย็น ร้อน อ่อน แข็ง รู้แค่สี่อาการ ไม่ต้องรู้อาการอื่น 
รู้ใจก็คือ รู้ความรู้สึก รู้ความจำ รู้ความคิด รู้อาการ
รับรู้ ที่กำลังทำงาน รู้แค่ภายในกาย ภายในใจ 
กายภายนอก ใจที่ส่งออกนอกไม่ต้องออกไปตามรู้ 
รู้อยู่ที่กาย เดี๋ยวใจส่งออกก็จะกลับมาเอง 
.
รอบๆ ตัว กายใจของคนอื่น ไม่ต้องไปสนใจ 
ตัดทิ้งให้หมด เพราะไม่ใช่ภาระ ไม่ใช่หน้าที่ของรู้
ที่จะไปรู้เรื่องของเขา ฉลาดเรื่องคนอื่นมาเยอะแยะไปหมด 
แต่กลับโง่เรื่องตัวเอง ไม่รู้จักอารมณ์ของตัวเอง 
แต่รู้จักคนนั้นรู้จักคนนี้หมด คนนั้นไม่ดี คนนี้ดี 
คนนั้นไม่เข้าท่า คนนี้เข้าท่า คนนั้นทำอย่างนั้น 
คนนั้นไม่ควรทำอย่างนี้ แต่ตัวเอง ไม่เคยรู้เลย
ว่าอะไรควร หรือไม่ควร ใจตัวเองเป็นอย่างไรไม่รู้ 
เพราะว่ามาหลง หลงว่ากายใจนี้เป็นตัวเป็นตน 
หลงว่ากายใจนี้ เป็นของๆ เรา 
ทั้งๆ ที่ใจเราใจเขา มันก็คือ
ธรรมชาติอันเดียวกันที่บังคับไม่ได้..

พระอาจารย์ชานนท์ ชยนนฺโท

Image by ELG21 from pixabay 


ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

จึงไม่ควรริคิดจะไม่โกรธอีก


คนเรามักผูกภาพคนปฏิบัติธรรม
ไว้กับภาพของพระอรหันต์
ปฏิบัติปุ๊บ ต้องเหมือนพระอรหันต์ปั๊บ
หลายครั้งเลยกลายเป็นการปฏิบัติเพื่อสร้างภาพ
เช่น ภาพลักษณ์ดี
ถ้ามีเรื่องกระทบแล้วเย็นนิ่งเป็นน้ำ
ไม่โมโหโกรธาขึ้นมาอีกเลย
.
ทั้งที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดว่า
เมื่อใดโทสะมีอยู่ในจิต
ก็ให้รู้ตามจริงว่าโทสะมีอยู่ในจิต
แล้วเมื่อโทสะหายไปจากจิต
ก็ให้รู้ตามจริงว่าจิตไม่มีโทสะแล้ว
เมื่อรู้แบบยอมรับตามจริงอยู่เช่นนั้น
สติย่อมแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ
รู้ว่าจิตอยู่ตรงไหน
ก็ตรงที่โทสะอาศัยเป็นที่เกิดขึ้น
อยู่ตรงที่โทสะอาศัยเป็นที่ตั้งอยู่
อยู่ตรงที่โทสะอาศัยเป็นที่ดับไปนั่นเอง
.
จิตที่ว่างจากโทสะชั่วคราว
คือจิตที่เราอาศัยเป็นเครื่องระลึกตามจริง
ณ ลมหายใจนี้ว่า
จิตเหมือนเรือนว่าง ที่ไม่ว่างจริง 
เดี๋ยวก็มีฝุ่นควันเข้ามา
เดี๋ยวก็มีไอร้อนเข้ามา
เดี๋ยวก็ดูเหมือนกลับมาว่างวายอีก
สลับไปสลับมา หาจิตดวงเดิมถาวรไม่ได้
.
ความโกรธจะไม่เข้ากระทบกระทั่งจิต
ต่อเมื่อบรรลุอนาคามิผลแล้วเท่านั้น
แม้แต่พระสกทาคามีและพระโสดาบัน
ก็ยังมีความขัดเคืองได้อยู่ โกรธขึ้งได้อยู่
ฉะนั้น กัลยาณชนเราๆ ท่านๆ ผู้คิดฝึกเจริญสติ
จึงไม่ควรริคิดจะไม่โกรธอีก
เพราะได้ชื่อว่าปฏิบัติในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
และรังแต่จะสร้างความไม่พอใจตัวเองซ้ำเติมเข้าไป
เมื่อพบว่าทำอย่างใจปรารถนาไม่สำเร็จ
เมื่อเข้าใจถูก เข้าใจตรง
ตั้งใจดูความโกรธเกิดขึ้นแล้วหายไปตามจริง 
จึงได้ชื่อว่าทำสิ่งที่เป็นไปได้
และนำไปสู่ปัญญาแบบพุทธที่ว่า
ตัณหา คืออยากให้เกิดอะไรขึ้นดังใจ
สติ คือการมีใจรู้แบบยอมรับว่าเกิดอะไรขึ้น
ที่ผ่านมา ที่กำลังทำอยู่
เราเจริญตัณหาหรือเจริญสติ?!

ดังตฤณ

Image by ELG21 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




 

สมาธิอบรมปัญญา ปัญญาอบรมสมาธิ


บางคนไม่ค่อยมีสิ่งแวดล้อม
เป็นภาระกดถ่วงใจมาก
เพียงใช้คำภาวนา
พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ เป็นต้น
บทใดบทหนึ่งเข้าเท่านั้น
ใจก็ได้รับความสงบเยือกเย็น
เป็นสมาธิลงได้ กลายเป็นต้นทุน
หนุนปัญญาให้ก้าวหน้าต่อไป
ได้อย่างสบาย ที่เรียกว่า สมาธิอบรมปัญญา
.
แต่คนบางประเภท
มีสิ่งแวดล้อมเป็นภาระกดถ่วงใจมาก
และเป็นนิสัยชอบคิดอะไรมากอย่างนี้
จะอบรมด้วยคำบริกรรม
อย่างที่กล่าวมาแล้วนั้น
ไม่สามารถที่จะยังจิต
ให้หยั่งลงสู่ความสงบเป็นสมาธิได้
ต้องใช้ปัญญาไตร่ตรองเหตุผล
ตัดต้นเหตุของความฟุ้งซ่านด้วยปัญญา
เมื่อปัญญาได้หว่านล้อม
ในสิ่งที่จิตติดข้องนั้นไว้อย่างหนาแน่นแล้ว
จิตจะมีความรู้เหนือปัญญาไปไม่ได้
และจะหยั่งลงสู่ความสงบเป็นสมาธิได้
ฉะนั้น คนประเภทนี้จะต้องฝึกฝนจิต
ให้เป็นสมาธิได้ด้วยปัญญา
ที่เรียกว่า ปัญญาอบรมสมาธิ 

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

Image by ELG21 from pixabay 

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

หากใจนี้มันเข้าใจโลก


การจะหาความสงบและความพอดีจากโลก
เป็นสิ่งที่ไม่ฉลาดเลย 
เพราะโลกเป็นที่ตั้งแห่งความไม่พอดี 
ความไม่พอดีและวุ่นวายเป็นธรรมชาติของโลก
หากใจนี้มันเข้าใจโลก
มันจะไม่คาดหวังอันใด
หรือเรียกร้องสิ่งใดจากโลกเลย

การเดินทาง แห่งจิตวิญญาณ

Image by CDD20 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ปัญหานั้นไม่ได้เกิดจากความคิด

ปัญหานั้นไม่ได้เกิดจากความคิดที่มาเยือนเธอ
แต่ เกิดจากการยึดในความคิดเหล่านั้นของเธอ
การให้พลังงานกับความคิดเหล่านั้น 
การให้อำนาจกับความคิดเหล่านั้น 
มีเพียงแค่เธอเท่านั้นที่สามารถ
ให้อำนาจกับความคิดเหล่านั้น 
พวกมันไม่มีอำนาจในตัวมันเอง
พวกมันไม่สามารถทำร้ายเธอได้ด้วยตัวมันเอง
มีเพียงแค่เธอเท่านั้นที่มอบอำนาจให้พวกมัน
โดยการอนุญาตให้ความคิดควบคุมเธอ
ด้วยการมองไปที่ความคิดแล้วก็หวาดกลัว 
หรือตอบโต้พวกมัน
นั่นคือจุดที่ปัญหาทุกอย่างเริ่มขึ้น

ท่านโอโช
แปล Ma Ojasbi
.
The problem is not with the thoughts that come to you but with your holding on to those thoughts. Giving them energy, giving them power. For only you can give them power. 
They have no power on their own. They cannot hurt you by themselves.
Only you give them power by allowing the thoughts to control you, by looking at the thoughts and fearing or reacting to them. That's where all the trouble begins.

Osho

Image by rschaubhut from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




 

จิตว่างเป็นจิตที่เต็มไปด้วยสติปัญญา


ว่าง ไม่ได้เเปลว่า ไม่มี
ว่างแบบพุทธนั้นมีทุกอย่าง 
แต่ว่างจากอหังการ ตัวกู...
จิตว่างไม่ใช่จิตไม่มี 
จิตว่างเป็นจิตที่เต็มไปด้วยสติปัญญา 
นั่นคือจิตว่าง แต่จิตโง่ 
เป็นจิตที่เต็มไปด้วยโลภะ โทสะ โมหะ 
มันมีแต่ความหวัง ปฏิบัติแล้ว
จะต้องได้นั้น จะต้องได้นี้ จะต้องได้โน้น 
ไม่ต้องได้อะไร อย่าไปหวังอะไร 
ยิ่งหวังยิ่งไม่ได้...

หลวงพ่อเอี้ยน วิโนทโก

Image by TobiasBrunner from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ความรู้ตัวก็จะพาจิต ออกมาจากความทุกข์


หลวงพ่อคำเขียน สุวณโณ ได้ชี้ให้เห็นว่า 
การปฏิบัติที่ถูกต้องมิได้อยู่ที่
การทำให้ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ หายไป 
จนจิตบังเกิดความสงบ 
แต่อยู่ที่การมีสติเห็นอาการเหล่านี้ 
โดยไม่ต่อต้านผลักไส 
ท่านได้ย้ำว่าอาการเหล่านี้ไม่ใช่เป็นตัวปัญหา 
ปัญหาอยู่ที่การไม่รู้ว่ามันเกิดขึ้น
จนหลงเข้าไปในมันต่างหาก 
แต่เมื่อใดที่มันเกิดขึ้นก็ให้รู้ว่าเกิด 
เพียงเท่านี้ ความรู้ตัวก็จะพาจิต
ออกมาจากความทุกข์ 
และ (เปลี่ยนร้ายให้กลายเป็นดี) ไปเอง คือ 
เปลี่ยนความโกรธให้เป็นความไม่โกรธ 
เปลี่ยนความโศกให้เป็นความไม่โศก 
เปลี่ยนความทุกข์ให้เป็นความไม่ทุกข์ 
มองในแง่นี้ อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นกับใจ
ล้วนมีประโยชน์ทั้งนั้นหากตามรู้อยู่เสมอ
.
พระอาจารย์ไพศาล  วิสาโล

Image by KarstenBergmann from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

กาย เวทนา จิต ธรรม มันของอย่างเดียวกัน


ถาม : ในมหาสติปัฏฐาน บอกว่าทางนี้ 
เป็นทางสายเดียว เพื่อ...ความพ้นทุกข์  
ก็มี ต้องพิจารณากาย เวทนา  จิต ธรรม
ผู้ที่จะพ้นทุกข์  จะต้องพิจารณาทั้ง ๔ อย่าง
ทั้งหมด  หรือเปล่าครับ ?
.
ตอบ : กาย เวทนา จิต ธรรมน่ะ
อันนี้ มันของอย่างเดียวกัน 
รู้อันหนึ่ง ก็เหมือนรู้หมด  
เหมือนเรารู้คน คนหนึ่ง  ก็รู้หมดทุกคน
ในโลก  เหมือนเรา รู้จักลิงตัวหนึ่ง
ลิงตัวอื่นนอกนั้น  เหมือนลิงตัวนี้เหมือนกัน
นี่  จะพูดกันง่าย ๆ
หลักใหญ่ของสติปัฏฐาน มันเป็นอย่างนี้
อันนั้น  มันเป็นลักษณะของมัน
เมื่อรู้กาย  เวทนา  จิต  ธรรม
สักแต่ว่า  กาย
สักแต่ว่า  เวทนา
สักแต่ว่า  จิต
สักแต่ว่า  ธรรม
มันเป็นสักแต่ว่าทั้งนั้นแหละ  ทั้ง ๔ นั่นน่ะ
มันก็พอแล้วนะ  
ถึงแม้ว่า...
มันจะรู้อันเดียว  มัน ก็ได้

หลวงปู่ชา  สุภัทโท  

ที่มา: จากมรดกธรรมเล่มที่ ๓๔ คำตอบหลวงปู่ชาหน้า ๕๑

จากเพจ วัดพระธาตุขุนบง

Image by Couleur from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




 

คำว่าตายก่อนตาย คือ



คนเรานี้ตายทุกคน
แต่ว่าไม่ได้ตายก่อนตาย
เพราะว่ายังมีสิ่งที่ห่วงหาอาลัยอาวรณ์
หลงยึดมั่นถือมั่นอยู่
ถึงกายตายจริงๆ แต่จิตยังข้องอยู่
มันก็จะติดข้องไป
เวียนเกิดเวียนตายอยู่ร่ำไป
คำว่าตายก่อนตาย คือ
ใจมันดับลง มันมอดลง
จากความห่วงหาอาลัยอาวรณ์
สิ่งทั้งหลายทั้งปวงในโลก
เรียกว่าหมดเยื่อใยทั้งหลายทั้งปวง
ความรัก ความชัง
ความมี ความเป็นทั้งหลาย
มันอิ่ม มันพอแล้ว
มันคลายออกแล้วนั่นละ
เรียกว่ามันดับสนิท…

พระมหาวรพรต กิตฺติวโร

Image by Couleur from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 


สิ่งที่มีลักษณะทั้งปวง
ย่อมเป็นมายา
ถ้าสามารถเห็นแจ้งว่า
รูปลักษณะทั้งปวง
โดยความจริงแล้ว
ไม่มีสภาวะแห่งรูปลักษณะ
ก็ย่อมเห็นตถาคตได้

-วัชรสูตร-

Image by Peggy_Marco from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

การเห็นความไม่เที่ยง คือ "การหลุดพ้นจากทุกข์”


เมื่อเห็นว่าสิ่งหนึ่ง ตั้งอยู่เพียงชั่วขณะ
เราจึงปลดปล่อยตนเอง 
จากภาพลวงตา ของความคงทน 
และของความต่อเนื่อง
ทุกสิ่งที่เป็นที่รัก และเป็นที่ชื่นชอบของเรา 
จะจากเราไป ในไม่ช้า
ทุกสิ่งที่ทำสำเร็จ หายไปแล้ว โลกเป็นเช่นนี้
นั่นเป็นจุดเริ่มต้น ของการค้นหาสิ่งใหม่ 
สิ่งที่ไม่สามารถสูญหายได้ 
การเห็นความไม่เที่ยง เป็นธรรมดาของสิ่งทั้งปวง
แม้เพียงชั่วขณะ นี่คือ "เห็นธรรม"
เห็นเช่นนี้แล้ว จะไม่ถูกจองจำ ในโลก
บุคคลพึงมีสติ ระลึกรู้เห็น ความไม่เที่ยงในจิต
การเห็นความไม่เที่ยง คือ "การหลุดพ้นจากทุกข์”

ชีวา นาวิน จากกลุ่ม เซน

Image by akirEVarga from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ความถูกใจทำให้เรามองไม่เห็นความจริง


การเจริญวิปัสสนานั้นไม่ยาก 
มันยากเพราะเราไม่เริ่มต้นลงมือทำ 
มันง่ายมากถ้าเราได้ทำ 

บางคนภาวนาแล้วหงุดหงิด
เพราะเห็นแต่ความคิด ความหลง และความอยาก
คิดว่าปฏิบัติมาตั้งนานยังไม่เห็นมีสติเลย
เมื่อไหร่จะมีสติสักที 

อันที่จริง ทั้งความคิด ความอยาก และความหลง
ล้วนเป็นกระบวนการที่ทำให้เรา “รู้” ทั้งสิ้น 
ถ้าเราภาวนาเพื่อให้ได้ผลที่เรา ”ถูกใจ” 
คือได้ความสุข ความสงบ 
ได้สติอย่างที่เราต้องการ 
เราจะไม่รู้จักคำว่า "อนัตตา" เลย 

สภาวะที่เกิดขึ้นกับเราล้วนเป็น “ธรรมชาติ” ทั้งนั้น
ถ้าเราปฏิบัติแล้วไม่อยากให้มันคิด
นั่นคือเรากำลังฝืนธรรมชาติ
เวลามีความคิดเกิดขึ้น 
แค่รับรู้รับทราบแล้วปล่อยให้มันผ่านไป 
แล้วเราจะเห็นอนัตตา 
เราจะรู้ว่าไม่มีอะไรที่เราบังคับบัญชาได้ 
ถ้าเราไม่รู้จักอนัตตาแล้วปัญญาจะเกิดได้อย่างไร

สิ่งที่เกิดขึ้นคือความ “ถูกต้อง”
สิ่งที่เราอยากได้คือความ “ถูกใจ”
ความถูกต้องมันง่ายกว่าความถูกใจ 
ความถูกต้องทำให้เราเห็นความจริงว่า
อะไร ๆ มันก็เป็นเช่นนั้นเอง
ความถูกใจทำให้เรามองไม่เห็นความจริง

ธรรมะอาจารย์กำพล ทองบุญนุ่ม ณ บ้านจิตสบาย

Image by ELG21 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

การดับความพอใจ ไม่พอใจ ได้


"ความพอใจ ไม่พอใจ"
เป็นความคิดละเอียด ที่ควรรู้ให้ชัด
เพราะ..ความพอใจ ไม่พอใจ นี้
จะเป็นจุดเริ่มในการขยายตัว
ของอารมณ์ใจทั้งหมด เมื่อไร้สติ
หากรู้ว่า..
มีอาการพอใจ ไม่พอใจ..ก่อตัวขึ้น 
เพียงรู้..อาการนี้จะดับวูบไปเอง
และจะเกิด “ความว่างขึ้นในใจ" แทน
เมื่อมีการกระทบทางอายตนะ
และ รู้ อาการ นี้ เกิดขึ้น ดับไป บ่อยๆ
ความว่างทางใจ จะมีมากขึ้นๆ
"ใจจะปลอดโปร่งโล่งเบา 
ปราศจากความหนักความทุกข์"
ไม่ว่าจะมีเรื่องราวใดๆ มากระทบ
การดับความพอใจ ไม่พอใจ ได้
เป็นต้นทางสำคัญของการหลุดพ้น

อาจารย์ปู่ เอกธาตุ

Image by Couleur from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา