ให้เอาความรู้สึกตัว ใส่เข้าไปในความเคยชิน


สังเกตนะ วันๆ หนึ่ง 
ส่วนมากเราจะไหลไปอยู่กับความเคยชิน 
กระทั่งลืมความรู้สึกตัว 
ลองกลับมารู้สึกเรื่อยๆ 
ทำอะไรก็ รู้สึก รู้สึก รู้สึก
หลักปฏิบัติคือ ให้เอาความรู้สึกตัว 
ใส่เข้าไปในความเคยชิน 
ทีนี้ประโยชน์ของความรู้สึกตัว พระพุทธเจ้าตรัสว่า 
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้สึกตัวอยู่ 
กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ก็จะเกิดขึ้น
อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ก็จะดับไป 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้สึกตัวอยู่ 
ความเป็นผู้รู้สึกตัว ย่อมเป็นไป
เพื่อประโยชน์อันยิ่งใหญ่ เพื่อความดำรงมั่น 
เพื่อความไม่เสื่อมสูญ 
เพื่อความไม่อันตรธานแห่งพระสัทธรรม”

พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

Image by Lukas_Rychvalsky from pixabay 

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ไม่จำเป็นที่จำต้องไปรู้อะไร มากกว่านี้


ผู้รู้ท่านรู้ว่า...
เมื่อมีเกิดแล้ว ย่อมมีดับ 
ถ้าท่านต้องการที่จะเป็นพุทธ
ก็ไม่จำเป็นที่จำต้องไปรู้อะไร มากกว่านี้
ความเป็นพุทธนั้น
ต้องรู้จากการสังเกตด้วยตนเอง
มิใช่ไปเชื่อตามพระไตรปิฎก หรือมาเชื่ออาตมา
จงดูด้วยตาของท่านเอง ไปค้นดูซิว่า
สภาวะธรรมอะไร ที่ปรากฏขึ้นมา
แล้วไม่สลายไป
มีอะไรบ้าง ที่เกิดแล้วไม่ตาย
จะเป็นผู้รู้แจ้ง ผู้ตื่น อยู่เสมอนั้น
ก็ต้องพากเพียรให้รู้ด้วยตนเอง 
ในชีวิตนี้! ที่นี่!
และ ณ บัดนี้! 

พระอาจารย์สุเมโธ

Image by AdinaVoicu from pixabay 

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ความเข้าใจของจิตใจ


ความเข้าใจของจิตใจ 
ทำให้ใจไม่แบกวิบากชีวิต 
ไม่แบกตัวใจเอง
ที่ไม่เข้าใจถ่องแท้ 
เพราะหลงวนติดอยู่กับความคิด 
ด้วยหลงผิดไปว่า ต้องคิดจึงจะเข้าใจ 
และเอามาทำได้ 
แท้แล้วความคิดที่ทำให้เกิดความเข้าใจ-ทำเป็น 
เป็นสิ่งที่ใช้ได้สำหรับโลก (บัญญัติ) เท่านั้น 
แต่ใช้ไม่ได้กับโลก (โลกุตร) ที่เป็นปัญญาเข้าใจ
อันเกิดจากการดู การสังเกต
การคลุกคลีกับธรรมชาติที่ปรากฏตัวออกมา

การเดินทาง แห่งจิตวิญญาณ

Image by Mammiya from pixabay 

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ตัดกำลัง "เพลิน" ให้น้อยลงมา


เมื่อมีอวิชชา ตัวเพลิน ตัวเผลออยู่
มันก็ต้องมีกรรมตามมา
เพราะเป็นเหตุปัจจัยของมัน
ถ้าเราไม่อยากให้มีกรรม
หรือกรรมที่สั่งสมมาเยอะแยะ
ให้หมดไปไวๆ
เราก็ต้องไปจัดการที่ตัวอวิชชา
ตัวเผลอ ตัวเพลินต่างๆ
ที่เราเพลินในรูป เสียง กลิ่น รส
ตัดกำลัง "เพลิน" ให้น้อยลงมา

หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท

Image by enriquelopezgarre from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

การใช้ทุกข์ดับทุกข์


การใช้ทุกข์ดับทุกข์ คือ 
การที่เราเอาใจที่กำลังเป็นทุกข์มาพิจารณา 
ตั้งใจมองเข้าไปในความทุกข์
แล้วจะพบว่าความทุกข์นั้นหายไป 
ทั้งนี้สาเหตุแห่งการทุกข์ใจมาจาก
การที่เราเอาใจไปจดจ่อกับคน
หรือเรื่องราวที่ทำให้ทุกข์ เราจึงเป็นทุกข์ 
แต่เมื่อเราหันมามองเห็นใจที่แท้จริง
โดยไม่สนใจเรื่องที่ทำให้เราเป็นทุกข์ ทุกข์จึงดับ 
เช่นนี้เรียกว่าวิธีการใช้ทุกข์ดับทุกข์

พระอาจารย์มานพ อุปสโม

Photo by Godwin Angeline Benjo on Unsplash

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ต้องมองดูจิตเสมอ


เมื่อเราไปประสบอะไรทั้งหมด 
เราอย่ามองเหตุการณ์ 
ต้องมองดูจิตเสมอ

หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย
วัดเขาสุกิม จ.จันทบุรี

Image by Nietjuh from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

แค่รู้สึกและรู้ทัน


..เพราะฉะนั้น ปฏิบัติธรรมจึงเหลือ 
“แค่รู้สึก และก็รู้ทันเมื่อจิตมันไปคิด” 
แต่ถ้ายังรู้ทันจิตไปคิดไม่ทัน
จนมันปรุงแต่งเป็นอารมณ์ความรู้สึกขึ้นมา 
เราก็มีหน้าที่รู้ทันตรงที่เรารู้ทันได้ 
เราปฏิบัติอยู่แค่นี้
คนที่คิดว่าการปฏิบัติธรรมนั้นยาก 
ตอนนี้ผมพูดหลักการปฏิบัติธรรมจบแล้ว
มีแค่นี้ “แค่รู้สึกและรู้ทัน” 
คงไม่น่าจะมีใครทำไม่ได้

Camouflage

Image by mohamed_hassan from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

อย่าไปยึดว่าเป็นของเรา


ธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้น อันนั้นจะต้องดับทั้งนั้น 
จึงอย่าไปยินดีอย่าไปยินร้ายกับมัน 
มันจะร้ายขนาดไหนก็เป็นของเกิดมาดับ 
อย่าไปยึดว่าเป็นของเรา...
หากว่าความุว่นวายฟุ้งซ่านอันนั้น
มันดับไปแล้ว จิตมันใส จิตมันสว่างขึ้น
เมื่อเราแก้มันได้แล้ว 
มันก็เอาสิ่งที่ชอบใจมาล่อเราอีก 
ให้เราติดอยู่ในความใส ให้เราติดอยู่ในความเย็น...
ความสว่างไสว...มันจะเกิดขึ้นมาจากไหนก็ช่าง 
อันนั้นล้วนแต่เป็นของเกิดดับเหมือนกันทั้งนั้น
ก็เพราะมันเป็นของเกิด มันต้องเป็นของดับ 
ความสว่างก็สักแต่ว่าความสว่างเท่านั้น

หลวงปู่แบน ธนากโร

Image by KLAU2018 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ตอบแทนด้วยความดีเสมอ


ผู้มีปัญญา...
ย่อมนำธรรมชาติมาเปรียบ
แล้วย่อมปลงใจว่า
แม้จะได้สิ่งไม่ดีจากคนอื่น
ก็จะตอบแทนด้วยความดีเสมอ
ต้นไม้ ยังให้ร่มเงา
แก่ผู้ถือขวานเพื่อโค่น
แก่นจันทน์ มิได้เว้นกลิ่นหอม
ไม่ว่าจะตกไปอยู่ในมือโจร
หรือพระผู้ทรงศีล

อ. วศิน อินทสระ

Image by Bessi from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

งานด้านปฏิบัติธรรมมีอย่างเดียว


งานด้านปฏิบัติธรรมมีอย่างเดียว
คือ อย่าให้สิ่งแวดล้อมทำจิตของเรา
หวั่นไหวไปตามอารมณ์ได้
นี่คือการรักษาพรหมจรรย์ที่ถูกต้อง
เป็นการปฏิบัติธรรมที่ลัดที่สุดของทุกศาสนา
โดยไม่จำเป็นต้องเสีย
เสียเงินทองหรืออะไรๆ เลย

ท่านพุทธทาสภิกขุ

Image by cafepampas from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

เห็นสิ่งต่างๆ อย่างที่มันเป็น


ปกติแล้ว เรามักเรียกการบรรลุธรรมว่า “การตื่น” 
ซึ่งแปลตรงๆ ก็คือ เห็นสิ่งต่างๆ อย่างที่มันเป็น

ท่านมิงจูร์ รินโปเช
จากหนังสือ “รักโลก”

We often speak of enlightenment in terms of “waking up” 
which means directly seeing things as they are.
– Mingyur Rinpoche
from the book “In Love with the World”

Cr.เพจ Tergar Thai

Image by Alexas_Fotos from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

จิต...คือธรรมชาติรู้อารมณ์..


จิต...คือธรรมชาติรู้อารมณ์..
แต่อย่าปล่อยให้จิตเพลินเสพอารมณ์...
เพราะจิตไม่เคยพอ..ในการเสพอารมณ์..

อาจารย์ปู่ เอกธาตุ

Image by Bru-nO from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ให้..เข้าใจความว่าง แต่..อย่าหลงความว่าง


ให้..เข้าใจความว่าง
แต่..อย่าหลงความว่าง
ไม่..ยึดมั่น ใจจึงว่างเองๆ
ให้แค่เข้าใจกายและจิตนี้
แต่อย่าหลงเป็นเจ้าของ
โลกและธรรม คือ สิ่งเดียวกัน
. . ที่ไร้ใจแบ่งแยก . .
สุดท้ายทุกคนก็ต้อง
คืนสู่ธาตุต่างๆแน่นอน 
ในขณะการเป็นมนุษย์นี้
...ก็มีนาทีทอง .."
ในการเห็นสิ่งเหล่านี้
ว่าสัจธรรมไม่มีอะไรมากเลย
เพียงยอมรับธรรมชาติมากเท่าไหร่
ตัวตนก็จะน้อยลง ตัวยิ่งเล็กลง
ยิ่งนอบน้อมต่อธรรมชาติ
หรือ ตัวตนมาก
เราก็เป็นศูนย์กลางโลกจักรวาล 
ความอหังการ ทิฐิ ความเป็นกูรู
กูรู้ก็เยอะตามมา สิ่งที่รู้นั้น
พาปรุงแต่งสร้างภพชาติ
. . โดยไม่รู้ตัว . .
กรงขัง 
คือ ความคิดท่านเอง
จุดเริ่มต้น และ ปลายทาง
เมื่อโยมตื่น . .
จะรู้ว่าใคร กำลังเห็น และ กำลังคิด

พระอาจารย์ปกรณ์นันทน์ ฐิตธัมโม

Image by Syaibatulhamdi from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ความคิดนั้นเป็นพลังทำให้เกิดสมาธิ


สภาพปกติของทะเลคือการมีคลื่นลม
มีบ้างไม่มีบ้าง คลื่นใหญ่บ้างเล็กบ้าง 
สภาพปกติของชีวิตจิตใจก็เหมือนกัน 
ต้องมีความคิดนึกผ่านเข้ามา 
.
ถ้าเราคิดว่าสภาพปกติคือการนั่งไม่คิดอะไรเลย 
นั่นเป็นการเข้าใจผิด 
ดังนั้น ให้รู้สึกตัว
ดูเข้าไปในใจตัวเอง อย่าเข้าไปในความคิด 
อย่ามุ่งที่จะหยุดยั้งความคิด 
เมื่อเผลอเข้าไปในความคิด
แล้วก็กลับมารู้สึกตัวอีก 
อย่ามุ่งจะหยุดความคิด
.
ความคิดนั้นเป็นพลังทำให้เกิดสมาธิ คือ 
เมื่อเรารู้ตัวก็เป็นการทวนกระแสความคิด 
ก่อเกิดพลังสมาธิขึ้นตามธรรมชาติ 
กลับมารู้สึกตัว ทำอยู่อย่างนี้ 
เรียกเจริญสติภาวนาเพื่อการรู้แจ้งรู้จริง
ต่อตัวเองและสิ่งที่เกี่ยวกับตัวเอง 
.
๐ ทำเช่นนี้สังเกตเช่นนี้มากเข้า 
นานเข้าความรู้สึกตัวก็นำหน้า 
ความคิดก็ถอยร่นมาอยู่ข้างหลัง 
เมื่อความคิดเข้ามาก็รู้สึกตัว ตื่นตัว 
กล้าทักทายความคิดทุกรูปแบบ 
ไม่หวั่นไหวไปกับความคิด 
เพราะความรู้สึกมีกำลังเหนื่อกว่า 
จากความรู้สึกอันนั้น
เราจะเรียน รู้ชีวิตและที่สุดของมัน 
———-
ท่านเขมานันทะ
ช่วงชีวิต ช่วงภาวนา พิมพ์ครั้งที่2 ปกอ่อน หน้า 85-86

Image by Syaibatulhamdi from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

คนที่ใจวางได้


คนที่วางเป็น ไม่ใช่ไม่ทำอะไรเลย
ใช้ชีวิตได้ตามปกติ ตามหน้าที่
ด้วยความไม่ยึดติด ไม่เหนื่อย ไม่ท้อ
เพราะไร้ในท่ามกลาง..!
เมื่อ"วางเป็น" ก็อยู่เย็นเป็นสุข
ทีนี้เราอยู่ที่ไหน 
เราก็มีชีวิตที่มีความสุข
เพราะเราวางเป็น !...
คนที่ใจวางได้
กลับมีพลังที่จะต่อสู้กับชีวิตมากกว่าเดิม
เพราะทำด้วยความไม่ยึดติด 
ไม่รู้สึกเหนื่อย ไม่รู้สึกท้อ 
ตราบใดที่ยังมีหน้าที่ มีร่างกายอยู่
ก็ทำไปตามสมควร  
แต่ใจ จะเรียกว่า "ไร้ในท่ามกลาง"
คือไร้ตัวตนเลย จิตว่างจากตัวตน   
ภายนอกจะวุ่นวายอย่างไร ก็วุ่นไป
ข้างในไม่วุ่นด้วย ! จะเป็นแค่ตื่นรู้ 
ไม่อะไรกับอะไรเลย 
นั่นแหละ ..! สภาวะของการปฏิบัติธรรม

พระมหาวรพรต กิตฺติวโร

Image by Kranich17 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ผู้รับคือผู้ให้


คนทั่วไปมักมองผู้ให้ สูงส่งกว่าผู้รับ
จนมักมีคำพูดว่า..."มือผู้ให้อยู่ด้านบน
ส่วนมือผู้รับอยู่ด้านล่าง"
ตามธรรมแล้วผู้รับนั่นแหละ...ที่เป็นผู้ให้
...ให้โอกาสผู้ให้ ให้ได้ให้
....ผู้รับไม่ได้รับเพื่อที่จะเอา
....แต่รับเพื่อที่จะให้
...เปิดโอกาสให้ผู้ต้องการให้
...ได้เป็นผู้ให้อย่างสมบูรณ์

พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

Image by Quangpraha from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 


ผู้ที่ยึดมั่นในจิต
ไม่เห็นความจริงที่เหนือจิต
ผู้ที่มุ่งมาดปฏิบัติธรรม
ไม่พบสัจธรรมที่เหนือการปฏิบัติ
จะรู้สิ่งที่เหนือจิตและการปฏิบัติ
ต้องตัดขาดรากเหง้าในจิต
มองจิตโดยไร้การคิด
ปล่อยจิตให้สบาย
ยุติมั่นหมายว่าสิ่งนี้สิ่งนั้น

- ท่านติโลปะ -
-------------------------------
TILOPA
BEYOND Beyond
Whoever clings to mind sees not the truth of what’s Beyond the mind. Whoever strives to practice Dharma finds not the truth of Beyond-practice. To know what is Beyond both mind and practice, one should cut cleanly through the root of mind and stare naked. One should thus break away from all distinctions and remain at ease.

Photo by Raimond Klavins on Unsplash
จากเพจ มหายาน ธิเบต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

จิตคือควาย


จิตคือควาย
เปรียบเสมือนกับการเลี้ยงควาย
จิตของเราก็เหมือนควาย 
อารมณ์คือต้นข้าว
ผู้รู้เหมือนเจ้าของ
เวลาเราไปเลี้ยงควายทำอย่างไร
ปล่อยมันไป
แต่เราพยายามดูมันอยู่
ถ้ามันพยายามเดินไปใกล้ต้นข้าว
ก็ตวาดมัน!!
ควายได้ยินก็จะถอยออกไป
แต่เราอย่าเผลอะนะ
ถ้ามันดื้อไม่ฟังเสียง
ก็เอาไม้ฆ้องฟาดมันจริงๆ
มันจะไปไหนเสีย

หลวงปู่ชา สุภัทโท

Image by Quangpraha from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

พยายามเป็นมิตรกับใจของตัวเอง


ขอให้เราพยายามเป็นมิตรกับใจของตัวเอง 
ไม่ว่าใจจะพยายาม
หนีออกจากตัวเองเพียงใดก็ตาม 
ก็เรียกเขากลับมา  
พยายามทนอยู่กับตัวเองให้ได้ 
ไม่นานก็จะเป็นมิตรกับใจ  
เมื่อเป็นมิตรกับใจของเราได้  
ใจก็จะกลับมาเป็นมิตรกับเรา 
เมื่อมีใจเป็นมิตรแล้ว 
อยู่ที่ไหนก็มีความสุข อบอุ่น 
ปลอดภัย ไม่เหงา ไม่อ้างว้าง
 
พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

Image by sasint from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

เมื่อใดรู้ทัน "ความคิด" เมื่อนั้นไม่ทุก


"ความคิด" เป็นเพียงแค่อาการของจิตที่เปลี่ยนไป
"ความคิด"มันเป็นอะไร
เพราะเราไปยึด ไปให้ค่าให้ความหมาย
เป็นสุขเป็นทุกข์ขึ้นมา
.
"ความคิด" ไม่ได้ทำให้เราเป็นทุกข์
เมื่อเราเข้าไปยึด"ความคิด" จึงเป็นทุกข์
.
เรา ทุกข์ เพราะเราไปยึด
แล้วปรุงแต่งซ้อนเข้าไปในความคิด
อยากให้เป็นอย่างใจ ไม่อยากเป็นอย่างที่มันเป็น
.
เราเอาความอยากเข้าไปเกี่ยวข้อง เราจึงเป็นทุกข์
.
เราเข้าไปยึด"ความคิด" เราจึงเป็นทุกข์
.
ให้หมั่น "กลับมารู้สึกตัว"
จะทำให้ กระบวนการ ไหลเข้าไปยึดความคิด
สั้นลง สั้นลง
.
จนในที่สุดเหลือเพียงแค่ เห็นว่าจิตแยกออกไป
แล้ว"ความคิด" ก็ดับลงไปเองทันที
เมื่อใดรู้ทัน "ความคิด" เมื่อนั้นไม่ทุกข์

พระอาจารย์ครรชิต อกิญจโน

Image by Cdd20 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

อธิษฐานที่ไม่ต้องเวียนว่าย


ขอให้ข้าพเจ้าได้สำเร็จมรรค
สำเร็จผลในที่สุด 
ได้เป็นพระอริยบุคคล ...
ไม่ขอมาเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร
ให้ถึงพระนิพพานโดยเร็วด้วยเถิด 
ให้เราตั้งความปรารถนาอย่างนี้ในใจ 
อย่าไปตั้งความปรารถนาอย่างอื่น 
ว่าขอให้ร่ำให้รวย ให้สวยให้งาม 
ให้มีความสุข มีลูกมีภรรยาว่าง่ายสอนง่าย 
นั่นเป็นความปรารถนาในวัฏสงสาร 
คือยังเวียนว่ายตายเกิด 
มันไม่มีที่สิ้นสุด 

หลวงพ่ออินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก

Image by PublicDomainPictures from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

กิเลสเป็นเพียงของจรมา


กิเลสเป็นเพียงของจรมา
เปรียบดั่งขณะจิตที่หลงยึดถือ
เหมือนเมฆมาบังพระอาทิตย์
หากไม่หลงยึดถือสิ่งใด
ไม่ว่าสุขทุกข์ ดีชั่ว
ก็เป็นเพียงธรรมชาติ
ที่ผ่านมาแล้วผ่านไปของเขาเอง
เหมือนกับนกบินผ่านท้องฟ้า
ย่อมไม่ทิ้งร่องรอย

หลวงตาณรงค์ศักดิ์ ขีณาลโย

Image by mohamed_hassan from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

คนฉลาดย่อมหลบหลีกจากความคิดปรุงแต่ง


คนส่วนมากขี้ขลาดต่อการทำจิตให้ว่าง
โดยเกรงไปว่า เขาจะพลัดตกลงไปในความว่าง
เขาเหล่านั้นไม่ทราบว่า
จิตของเขาเองเป็นความว่าง
คนโง่มัวแต่หลบหลีกปรากฏการณ์ต่างๆ
ไม่หลบหลีกจากความคิดปรุงแต่ง
ส่วนคนฉลาดย่อมหลบหลีกจากความคิดปรุงแต่ง
และไม่ต้องหลบหลีกปรากฏการณ์

คำสอนฮวงโป

Image by ItthiC from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

รู้จักตนเอง ว่าไม่มีตนเอง


จงใช้ชีวิตอย่างคนเร่ร่อน 
อย่าได้ยึดถือสิ่งใดเป็นสรณะ 
จงมีความสุขและเบิกบานอยู่เสมอ 
ชีวิตเป็นเรื่องไม่คาดฝัน 
ความรู้สูงสุดคือการรู้จักตนเอง 
ความรู้ที่สูงไปกว่านั้น 
คือรู้จักตนเอง
ว่าไม่มีตนเอง

คุณพศิน อินทรวงค์

Image by guvo59 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ความสงบแบบพระพุทธเจ้า


ความสงบแบบพระพุทธเจ้านั้น 
เป็นการสงบ "ด้วยสติปัญญา"
คือ สงบ จาก "โทสะ-โมหะ-โลภะ"
สงบ จาก "ความยึดมั่นถือมั่น"
สงบ จาก "ความไม่รู้จริง"
อานิสงส์ หรือ บุญที่แท้จริงนั้น 
อยู่ที่จิตใจเราซึ่งก็คือ 
การมีจิตใจที่มีความ
สะอาด - สว่าง- สงบ นั่นเอง

หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ

Image by guvo59 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ปล่อยวางได้ไวเท่าใดยิ่งดี


ความพร้อมภายนอก
เกิดขึ้นได้ด้วยการสร้างเงื่อนไข
เหตุปัจจัยความพร้อมภายใน
เกิดได้ด้วยการตัดใจละวาง
นึกได้เวลาใด ให้ดึงใจมาอยู่กับธรรม
คือความปกติจิตเวลานั้น
ประคองการเห็นคือสติรู้ตัวไว้อยู่เสมอ
สติประคองใจไม่ให้ติดคิดอกุศล
พอใจไม่พอใจ
ปล่อยวางได้ไวเท่าใดยิ่งดี
วันหนึ่งๆ จึงควรทำหน้าที่ของคน
รักษาใจตนให้พ้นภัยให้ดีที่สุด
อย่าให้ตัณหา ราคะ มานะทิฏฐิ
แอบเข้ามาก่อการในใจนี้

หลวงตาสุริยา วัดป่าโสมพนัส

Image by Cdd20 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ดวงจิต


ดวงจิต ไม่เป็นดี
และ​ ไม่เป็นชั่ว.. 
แต่เป็นผู้รู้ดี รู้ชั่ว
เป็นผู้ละดี ละชั่ว..

ท่านพ่อลี ธัมมธโร

Image by Cdd20 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

อย่ามัวเลือก เวลาภาวนา


เราเลือก เวลาตาย ได้ไหม
เลือก เวลาเจ็บป่วย ได้ไหม
เลือก เวลาที่ต้องพลัดพราก 
จากสิ่งที่รักได้ไหม ?
ถ้าเลือกไม่ได้.... 
อย่ามัวเลือก เวลาภาวนา เลยนะ
สิ่งเหล่านั้น ไม่อยู่ในอำนาจบังคับ 
ให้มีสติไว้นะ อย่าประมาท
อย่าเพลิดเพลิน ปล่อยใจ
ให้ล่องลอย ไปกับโลก 
ให้รู้จักเลือกนะ ..

พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

Image by geralt from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ใจที่รู้จักธรรมะ


ใจที่รู้จักธรรมะ 
มันไม่หลงเอาความรู้ ความดี 
ความเก่งที่ทำตามหน้าที่
มาเป็นของตัวหรอก 
มันรู้แต่ว่า เพราะมีหน้าที่
จึงต้องทำให้ดีที่สุด 
ทำก็แค่ต้องทำเพียงนั้น 
จึงได้ธรรมอันยังใจนี้ให้สงบ 
จบภพชาติ ได้ชดใช้กรรมเก่าไป

การเดินทาง แห่งจิตวิญญาณ

Image by Quangpraha from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ปล่อยตามที่มันเป็น


"ปล่อยตามที่มันเป็น" 
จะทำให้เราเห็นธรรมชาติแท้จริงของตน 
ว่าไม่มีปัญหา ไม่มีความเศร้า ไม่มีความทุกข์ 
มันเป็นเช่นนั้นมาโดยตลอด 
เมื่อเราเลิกพยายามทำให้ผิวน้ำเรียบสงบ 
คือเมื่อเรายอมรับว่าธรรมชาติของมหาสมุทร
คือความเปลี่ยนแปลง 
เราจะเริ่มรู้สึกได้ถึงอิสรภาพภายใน

ท่านมิงจูร์ รินโปเช
จากหนังสือ “รักโลก”
เพจ Tergar Thai

"Let it be" makes it possible to see that our true nature is free from problems, distress, and suffering––and that it always has been. When we stop trying to make the surface calm––and accept that the very nature of ocean is change––we begin to experience this inner freedom.     

Mingyur Rinpoche
from the book “In Love with the World”

Image by Quangpraha from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา