ไม่มีอะไรเลยที่เราสั่งได้จริง


หลักของการภาวนาคือรู้อย่างที่มันเป็น 
ก็คือรู้อะไรก็ได้ ต้องรู้ซื่อๆ 
อะไรเกิดขึ้นเฉพาะหน้า 
กุศลก็ดี อกุศลก็ดี ก็รู้ไปซื่อๆ อย่างนั้น 
ไม่ใช่ว่าต้องเป็นกุศล ห้ามเป็นอกุศล 
ไม่ใช่ว่าต้องขยันอย่างเดียว ห้ามขี้เกียจ 
ห้ามใจได้อย่างไร 
สั่งให้ใจศรัทธาตลอด สั่งอย่างไร 
ของจริงแสดงตัวอยู่แล้วว่าอะไรก็ไม่เคยเที่ยง 
ศรัทธาก็ไม่เที่ยง วิริยะก็ไม่เที่ยง 
สติก็ไม่เที่ยง สมาธิ ปัญญา 
อะไรๆ ก็ไม่เที่ยงทั้งสิ้น 
เราต้องการเห็นอย่างนี้ต่างหาก 
ไม่ใช่ว่าภาวนาไปแล้ว อะไรๆก็เที่ยง 
อะไรๆก็ดีสม่ำเสมอ มันฝืนธรรมะไปแล้ว 
ธรรมะแท้ๆ คือเห็นว่าอะไรต่างๆ ก็ไม่เที่ยง 
ความไม่ดีต่างๆ ก็ไม่เที่ยง 
สุขก็ไม่เที่ยง ทุกข์ก็ไม่เที่ยง 
ไม่มีอะไรเลยที่เราสั่งได้จริง

อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ

Image by Myriams-Fotos from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ภาวนาคือสายลมอ่อนๆ ที่พัดแผ่วผ่านเข้ามา


หากท่านพยายามภาวนา นั้นมิใช่การภาวนา
หากท่านพยายามเป็นคนดี ความดีไม่มีวันแย้มบาน
หากท่านพยายามอ่อนน้อม ความอ่อนน้อมจะหายไป
ภาวนาคือสายลมอ่อนๆ ที่พัดแผ่วผ่านเข้ามา
เมื่อท่านเปิดหน้าต่างทิ้งไว้ แต่หากตั้งใจเปิดมันทิ้งไว้
ตั้งใจเชื้อเชิญให้สายลมพัดแผ่วผ่านเข้ามา...
มันย่อมไม่มีวันเกิดขึ้น...
If you try to pray. That was not a prayer.
If you try to be a good person.
Goodness will never comes. 
If you try to be humble. Humbleness will disappear.
Pray is a gentle breeze. That blows through
when you leave the window open. 
But if you try to intend or invite 
the gentle breeze to blow through ...
It will never happen ...

ท่านกฤษณมูรติ

Image by Bertsz from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

กาย และใจ มิใช่ที่พึ่ง


กาย และใจ  มิใช่ที่พึ่ง  
การพ้นไปจากอำนาจกาย ใจคือที่พึ่ง  
เมื่อพ้นจากอำนาจกายใจแล้ว  
เราไม่จำเป็นต้องมีที่พึ่งอีก

คุณพศิน อินทรวงค์

Image by EvgeniT from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ก็จะเข้าถึงธรรม...


...ขันธ์ ๕ คือ 
รูป เวทนา สัญญา  สังขาร วิญญาณ  
หรือเรียกย่อๆ  ก็คือ รูปหนึ่ง นามสี่  
หรือย่อต่อออกไปอีกทีหนึ่ง  
อารมณ์ กับกาย..  
ถ้ากำหนดรู้อารมณ์  กำหนดรู้กาย  
ปล่อยวางอารมณ์  ปล่อยวางกาย  
ละวางอารมณ์  ละวางกาย  
ให้ว่างจากอารมณ์ ให้ว่างจากกาย 
หรือว่างจากรูป จากนาม  
ก็จะเข้าถึงธรรมอันที่ 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเทศนา

หลวงปู่ดาบส สุมโน

Image by Lancier from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ไม่ใช่เข้าไปกำหนด ไปดัดแปลง


ถ้าเราเริ่มต้นทางการภาวนา
ด้วยการมีสติ สัมปชัญญะแล้ว
เราจะไม่ออกนอกทางเลย
เพราะการมีสติ สัมปชัญญะนั้น
เป็นเพียงการนำจิตให้เป็นเพียงรู้
รู้ในกระบวนการตามธรรมชาติเท่านั้น
ไม่ใช่เข้าไปกำหนด ไปดัดแปลง
หรือไหลเพลินไปกับอารมณ์ต่างๆ
เราไม่ใช่ว่าจะปฏิบัติเพื่อบังคับสิ่งใดๆ ให้ได้
แต่เพื่อให้เห็นว่า สิ่งใดๆ นั้น บังคับไม่ได้จริง

พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

Image by 강춘성 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ทุกอย่างไม่ต้องตั้งใจละ


จิตว่างอยู่แล้ว ทำอารมณ์ให้ว่าง 
จิตไปหลงว่าความโลภ 
ความโกรธ ความหลง เป็นจิต
ความไม่ว่างเป็นตัวทุกข์ 
ตัณหามีอยู่ประจำจิต 
ตัณหาไม่แสดงอาการเมื่อเวทนาไม่ปรากฏ
นึกหยุดคิด สติจะเต็มกาย 
ทุกอย่างไม่ต้องตั้งใจละ 
และไม่ต้องตั้งใจเอาด้วย 
ทุกอย่างดูไว้เฉยๆ 
เดี๋ยวปัญญามันเกิดขึ้นเรื่อยๆ

หลวงปู่เจือ สุภโร

Image by rdmphotosltd from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

เพียง หยุด ยอม หรือ พอ


เมื่อใดถูกใจ..เมื่อนั้นยึดติด..
เมื่อใดไม่ถูกใจ..เมื่อนั้นคอย..จับผิด
ยิ่งยึดเรื่องราว ใจก็ยิ่งติดในมายาสมมุติ
ถูกใจบ้าง ไม่ถูกใจบ้างเป็นธรรมดา
อย่าไปทุกข์เพราะปากเพราะความคิดของคน
ไม่มีใครในโลกนี้ ที่ไม่โดนตำหนิ
ไม่มีใครในโลกนี้ ที่ไม่โดนนินทา
ไม่มีใครในโลกนี้ ที่จะไม่โดนผู้อื่นเขาว่า
เราพึงยอมรับความจริงของธรรมชาติเช่นนั้น
อย่าไหลจมกับกระแสแห่งชอบหรือไม่ชอบใจ 
แต่ให้เธอเพียง หยุด ยอม หรือ พอ 
ช่างมัน ไม่ปล่อยตนตามความคิด
ที่ทำให้เกิดการเปรียบเทียบ
แห่งธรรมคู่ หรือ ตามโลกธรรม 8 เสียเท่านั้น 
มายาก็จะสิ้นสุดลงไปเอง 

พระอาจารย์ปกรณ์นันทน์ ฐิตธัมโม

Image by torkanhakh from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ไม่คาดหวัง ไม่ตั้งใจ ไม่ให้ค่า


การปฏิบัติอย่างง่ายๆ
สำหรับปัญญาพื้นฐานทั่วไป
เฝ้าสังเกตุดู..อารมณ์..ความรู้สึก..นึก..คิด..
ในระหว่างวัน ตั้งแต่ลืมตาตื่น จนหลับตานอน
ทำไปสม่ำเสมอ..อย่าง..
ไม่คาดหวัง ไม่ตั้งใจ ไม่ให้ค่า

อาจารย์ปู่ เอกธาตุ

Image by Free-Photos from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

จบลงที่การวางตัวรู้


ชีวิตคนเรามีแค่สองขณะ คือ "รู้" กับ "หลง"
ขณะที่รู้ก็คือไม่หลง ขณะที่หลงก็คือไม่รู้
ให้ฝึกมีจิตที่รู้อยู่ จนกว่าจิตจะตื่นออกมาว่า
อ๋อ แม้แต่ "รู้" นี่ มันก็ "ไม่ใช่เรา"
สิ้นสุดการเกิดอยู่ตรงที่เห็นว่า ผู้รู้ไม่ใช่เรา
จบลงที่การวางตัวรู้
เห็นว่ามันไม่ใช่เรา เป็นการเกิดดับเท่านั้น
สิ้นสุดความทุกข์ตรงที่เห็นแจ้งเช่นนี้

อ.กำพล ทองบุญนุ่ม

Image by jplenio from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ถ้าไปโกรธเขาก็เรียกว่าเราแพ้ตัวเอง


ไปเดือดร้อนอะไรกับคนนินทา 
ใครนินทาเราไม่ได้ยินไม่ใส่ใจก็สบาย 
คนนินทาน่ะเป็นยาชูกำลัง
ที่จะเตือนตัวเอง 
เขาติดีกว่าเขาชม จะได้รู้ตัว 
ถ้าเราเป็นอย่างนั้นจะได้ปรับปรุง 
เราจะไปโกรธเขาทำไม 
ถ้าไปโกรธเขาก็เรียกว่าเราแพ้ตัวเอง

หลวงปู่ท่อน ญาณธโร

Image by merlinlightpainting from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




 

เป็นการเสพความทุกข์


ความสุขที่ได้รับจากรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ 
เป็นความสุขที่ปนไปด้วยความอยาก 
เมื่อเสพแล้ว แทนที่จะเกิดความอิ่มความพอ 
ก็จะเกิดความอยาก ที่จะเสพเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ 
เมื่อมีความอยากขึ้นมากไปเรื่อยๆ 
ก็จะมีความทุกข์เพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ 
เพราะความอยากนี้เป็นต้นเหตุของความทุกข์ใจ 
ดังนั้นการเสพความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย 
จึงไม่ได้เป็นการเสพความสุข 
แต่เป็นการเสพความทุกข์

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

Image by merlinlightpainting from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ความยึดมั่นถือมั่นมาจากความไม่รู้


ความยึดมั่นถือมั่นมาจากความไม่รู้
เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
มันกลับเห็นผิดไปว่า เป็นเที่ยง เป็นสุข เป็นตัวตน
ไปตามความจำผิด คิดผิด เห็นผิด
ถ้าเรามีความจำถูก คิดถูก เห็นถูก ขึ้นมาแทน
มันจะเป็นการดับหรือทำลายไปในตัวเสร็จ
ความรู้ถูกที่มีประจำใจอยู่มากๆ
ทำให้จิตใจเป็นอิสระ 
เป็นความว่างหรือความสงบ....

ท่าน ก.เขาสวนหลวง

Image by Leolo212 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ถ้าทำได้อย่างนี้ก็เรียกว่าปฏิบัติธรรมแล้ว


“การปฏิบัติธรรมมันต้องมาดูกายและใจ ”
ไม่ว่าทำอะไร ต้องให้รู้ทันกายและใจ ทำงานก่อสร้างก็เป็นการปฏิบัติธรรมได้ อันนี้สำคัญมาก เดี๋ยวนี้นักปฏิบัติธรรมจำนวนมากคิดอย่างเดียวว่า เวลาปฏิบัติธรรมจะต้องเข้าวัด จะต้องหลบลี้หนี้หน้าผู้คน โดยไม่คิดว่า การอยู่ที่ไหนก็ปฏิบัติธรรมได้

อยู่บนท้องถนน รถติดก็กำหนดลมหายใจไปด้วย หรือเวลาเจอไฟแดง หงุดหงิดขึ้นมาก็ปฏิบัติธรรมได้ ถามว่าเวลารถติดทำไมถึงหงุดหงิด นั่นก็เพราะใจมันไปอยู่ที่จุดหมายปลายทางแล้ว ใจมันอยู่ข้างหน้าแล้ว ใจไม่อยู่กับปัจจุบัน จึงกลัวไปไม่ทัน กลัวไม่ทันประชุม เป็นต้น ดังนั้นให้พาใจกลับมาอยู่กับปัจจุบัน จะตามลมหายใจด้วยก็ได้

การปฏิบัติธรรมก็คือ ติดไฟแดงทำอย่างไรจะไม่หงุดหงิด ทำอย่างไรเวลาถูกต่อว่าจะไม่หงุดหงิด เวลาเสียเงินจะไม่โมโห เวลาเงินหายก็หายแต่เงิน แต่ใจไม่หาย ถ้าทำได้อย่างนี้ก็เรียกว่าปฏิบัติธรรมแล้ว

พระอาจารย์ไพศาล  วิสาโล

Image by Leolo212 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

จะใช้ชีวิตให้คุ้มค่า


จะใช้ชีวิตให้คุ้มค่า
ก็ต้องมีสติสัมปชัญญะอยู่กับปัจจุบัน
อยู่กับความเป็นจริงที่รู้สึกได้จริงๆ
ไม่ใช่ไปใช้ชีวิตอยู่กับความคิดฝัน
เพราะความหลง
หลงไปอดีตบ้าง อนาคตบ้าง 
ไม่เคยได้อยู่กับความจริงในปัจจุบัน
ถือว่าใช้ชีวิตไม่คุ้ม 
แม้ชีวิตจะไม่ใช่ของเราจริงๆ ก็เถอะ
แต่ต้องใช้ให้คุ้มด้วยการเรียนรู้
เพื่อถอดถอนความเห็นผิด
ว่าเป็นเราออกจากชีวิต

พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

Image by Anrita1705 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ความรู้สึกว่า “ตัวเรา” นั้น เป็นความรู้สึกของ “กิเลส”


“คำว่า “เรา” หรือ ความรู้สึกว่า “ตัวเรา” นั้น 
เป็นความรู้สึกของ “กิเลส”
“จิต” นั้น ก็ไม่ใช่ตัวเรา 
เพราะจิตนั้นไม่มีความยึดถือตัวมันเองว่า “ตัวเรา” 
จึงได้หลุดพ้นออกมาได้
ท่านจึงตรัสว่า 
“การหลุดพ้นนั้นมีแล้ว แต่ตัวผู้หลุดพ้นหามีไม่”
การพูดว่า “ตัวเรา” ในขั้นนี้
ถ้ามีพูด ก็สักว่าพูด
เพราะไม่มีคำอื่นจะพูดเท่านั้น
หาได้มีความยึดถือกอดรัดเอา
“สิ่งที่บริสุทธิ์” นั้น
มาเป็น “ตัวเรา” อีกก็หาไม่”

ท่านพุทธทาสภิกขุ

Image by Antranias from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ผู้ทำไม่มี


“ทุกข์นั่นแหละมีอยู่ แต่ผู้ทุกข์หามีไม่
การกระทำมีอยู่ แต่ผู้ทำไม่มี
นิพพานมีอยู่ แต่คนผู้นิพพานไม่มี
ทางก็มีอยู่ แต่ผู้เดินทางไม่มี”
   ( วิสุทฺธิมคฺ ๓/๑๐๑ )

“ผู้ทำกรรมก็ไม่มี ผู้เสวยผลก็ไม่มี 
มีแต่ธรรมทั้งหลายล้วนๆเป็นไป”
   ( วิสุทฺธิมคฺ ๓/๒๒๖-๗ )

Image by Antranias from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




 

มรรครวมลงที่ความรู้สึกตัว


ในขณะที่เรารู้สึกตัวหนึ่งขณะนั้น
มันจึงเป็นการรวมมรรคทั้ง ๘ ข้อ
รวมไปอยู่ในอันเดียวกัน
มรรคมันรวมเป็นหนึ่งเดียว
มันไม่ได้ทำทีละข้อ
เราไม่ได้เจริญมรรคทีละข้อ
แต่เราเจริญมรรคในฐานะที่เป็นองค์รวม
คือรวมลงที่ความรู้สึกตัว

พระอาจารย์ครรชิต อกิญจโน

Image by Mammiya from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

มรรคผลนิพพานก็ไม่ต้องเอา


ครั้งหนึ่งมีผู้ไปกราบเรียนถามหลวงปู่สิมว่า 
"ภาวนาจิตสงบแล้ว ต่อไปจะอย่างไร?"
หลวงปู่ตอบว่า:
"ภาวนาไม่เป็นนี่ เราสอนให้ภาวนาละกิเลส 
แต่นี่ภาวนาเอากิเลส"
ฟังแล้วก็งง หลวงปู่สิมก็เลยอธิบายต่อว่า
.
“เห็นในปัจจุบันเป็นหนึ่งเดียว 
มีสติเห็นตามความเป็นจริงเท่าที่เห็น 
มีปัญญาเลิกละความยึดมั่นถือมั่น 
จิตก็หยุดไม่สงสัย 
เป็นการเห็นเพื่อการเลิกละทั้งหมด 
เป็นการรู้เพื่อการเลิกละทั้งหมด”
.
“การภาวนานั้นไม่ได้เอา 
เป็นการละกิเลส 
อะไรๆ ที่จิตมันชอบไม่ชอบ 
บังเกิดขึ้น บ่ต้องไปเอา 
มรรคผลนิพพานก็ไม่ต้องเอา”
.
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร

Image by Lancier from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ปลดปล่อย เ ร า ออกไปเสีย


จะสร้างพระให้ใหญ่โตแค่ไหน
อานิสงส์ยังไม่เท่ากับสร้างใจให้ใหญ่
ใหญ่เท่าใจเดิมๆ ทุกวันนี้ใจมันคับแคบ
อยู่กับการเป็น เ ร า 
ปลดปล่อย เ ร า ออกไปเสีย
จึงพบกับใจเดิม.....

พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

Photo by Jonathan Borba on Unsplash

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ไม่รู้ว่ามันเป็นแค่แขก


จริงๆ แล้วอารมณ์ทั้งหลายที่มันเกิดขึ้น
มันต้องเกิดดับ มาแล้วต้องไปทันที
นี่เรียกว่า ความจริงมันเป็นอย่างนี้
แต่อำนาจอุปาทานหรือความหลง
ยึดอารมณ์ทั้งหลายว่าเป็นเรา เป็นของเรา
ไม่รู้ว่ามันเป็นแค่แขก
เป็นอาคันตุกะ เป็นเจตสิก 
มาอาศัยจิตเกิด อาศัยจิตดับ
เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต
เราก็เลยไม่ปล่อย... ไม่วาง...

พระอาจารย์ครรชิต สุทธิจิตโต

Image by shapkasushami from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

เมื่อเราเข้าไปอยู่ในปีติ เราจึงไม่เห็นปีติ


‘ปีติ’ นั้นก็เป็นความมืด เรียกว่า ‘มืดสีขาว’
ปีติเกิด เนื่องจากเราเกิดความพอใจ-
ความภูมิใจว่าเราทำได้
‘มืดสีขาวนี้น่ากลัว เพราะมองเห็นยาก’
ส่วน‘มืดสีดำ’นั้น มองเห็นได้เร็ว...
การที่เราเข้าไปอยู่ในปีติ
ก็เท่ากับเราเข้าไปอยู่ในความคิดนั่นเอง
เราคิดขึ้นมา เราเข้าไปอยู่ในความคิด
เราจึงมองไม่เห็นความคิด
ดังนั้นเมื่อเราเข้าไปอยู่ในปีติ เราจึงไม่เห็นปีติ
แล้วก็พอใจอยู่ในปีตินั้นเท่านั้น...

หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ

Image by Free-Photos from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ไม่ควรคิดว่า จะ "รู้" ได้ตลอดเวลา


สติสมาธิและปัญญา
ก็ตกอยู่ใต้กฎเกณฑ์ของไตรลักษณ์
คืออนิจจัง (ไม่เที่ยง)
ทุกขัง (ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้)
อนัตตา (บังคับบัญชาไม่ได้) เหมือนกัน
ฉะนั้นจึงไม่ควรคิดว่า
จะ "รู้" ได้ตลอดเวลา

พระอาจารย์มหาวิเชียร ชินวังโส

Image by Peggy_Marco from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




 

ที่พึ่งคือความว่างของใจ


เราควรตรวจดูใจของตัวเองอยู่เสมอว่า
ใจเรายังไปหาอ้อนวอนร้องขอ
เอาสิ่งอื่นเข้ามาเป็นที่พึ่งอาศัยอยู่หรือไม่ 
ถ้าหากว่าใจเรายังไปหาที่พึ่งอื่นอยู่อีก
ก็เชื่อได้เลยว่าใจเรายังเข้าไม่ถึงรัตนตรัยทั้ง 3 ได้เลย
ถ้าหากว่าบุคคลใดใจเข้าถึงพระรัตนตรัยได้แล้ว 
จะไม่ยอมเชื่อสิ่งอื่นอีกเลยแม้แต่นิดเดียว
จะวางเฉยไว้ทั้งหมดไม่ยอมยึด 
มีแต่ผู้ที่ยังเข้าไม่ถึงพระรัตนตรัย
เท่านั้นแหละจะมาพากันแสวงหาที่พึ่ง 
ที่พึ่งคือความว่างของใจ
ที่ไม่ไปเกาะยึดนั่นแหละดีที่สุด 
จุดจบมันอยู่ตรงนี้เอง

หลวงปู่คูณ สิริจันโท

Image by Peggy_Marco from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

การเห็นแต่ไม่ดีของตัวเอง เป็นทางเจริญ


คนส่วนใหญ่มักมองและเห็นว่า ตัวมีดีอะไร
แต่จะมีสักกี่คนที่มองและเห็นว่า ตัวมีอะไรไม่ดีบ้าง
การเห็นแต่ดีของตัวเอง เป็นทางเสื่อม
การเห็นแต่ไม่ดีของตัวเอง เป็นทางเจริญ
คนที่พัฒนาได้ คือ
คนที่รู้จักตัวเองว่ามีไม่ดีที่ใดบ้าง
คนที่พัฒนายาก คือคนที่เข้าใจว่าตัวนี้ดี 
หาไม่ดีตัวเองไม่เป็น

การเดินทาง แห่งจิตวิญญาณ

Image by Leolo212 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ไม่ใช่ข้าศึก


ถ้ายังไม่มีปัญญา ก็จะเห็นว่า 
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้น 
เป็นปฏิปักษ์กับเรา เป็นข้าศึกกับเรา 
ถ้าปัญญาดีแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส 
โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้น ไม่ใช่ข้าศึก 
แต่เป็นสภาวะที่ให้ความรู้ความเห็นแก่เราอย่างแจ้งชัด 
เมื่อสามารถกลับความเห็นอย่างนี้ 
แสดงว่าปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว 

หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ

Image by Leolo212 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

คำว่า "ภาวนา"


คำว่า "ภาวนา"  นั้นหมายถึง  
การละความผูกติดในอารมณ์ 
ทำให้จิตเป็นกลาง ไม่ยึดติด
ในฝ่ายชอบใจและฝ่ายไม่ชอบใจ  
เพื่อให้เกิดภาวะการรู้
ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น
แต่ในปัจจุบัน  ผู้คนส่วนหนึ่งมักใช้คำว่า "ภาวนา" 
ผิดไปจากความหมายตามจริง  
มาหมายเอาว่า  คำว่า "ภาวนา"  
หมายถึงการยึดการคิดอ้อนวอนร้องขอ  
ให้สิ่งนั่นสิ่งนี้เป็นไปอย่างนั้นอย่างนี้  
ซึ่งการภาวนาแบบนี้ยิ่งทำยิ่งยึดมั่นถือมั่นมากขึ้นเรื่อยๆ
ความชำนาญในการยึดติดอารมณ์ยิ่งแน่นเหนียวขึ้นเรื่อยๆ  
และจะไม่อาจหลุดพ้นจากความชอบความชังไปได้เลย  
กรรมยังมิอาจถูกแก้ไข 
แต่กลับจะถูกทำให้มันเหนียวยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ

ครูบาไตรภพ วัดป่าโคกเจริญธรรม

Image by JacksonDavid from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ตราบที่ยังคิดว่ามีตัวตน


ตราบที่ยังคิดว่ามีตัวตน
กรรมก็มีเป้าหมายที่จะเล่นงาน
หากหยุดคิดว่าตัวตนมี
กรรมก็ไม่รู้จะเล่นงานใคร

พระอาจารย์ชุนริว ซูซูกิ

Image by Kanenori from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

จุดประสงค์ของโลกุตตรธรรม


การที่เราปฏิบัติ...เพื่อมาหาตัวนี้เท่านั้น 
คือเตรียมพร้อมอยู่ทุกขณะจิต ที่จะรับอารมณ์ 
แล้วก็ไม่ให้อารมณ์นั้นติดข้อง อันนี้เท่านั้น 
ไม่มีที่ว่าจะต้องไปบรรลุอะไรพิเศษวิเศษ ไม่มีทั้งนั้น 
จุดประสงค์ของโลกุตตรธรรม มีตัวนี้เท่านั้น 
ว่าเป็นผู้ไม่ประมาท เตรียมพร้อมในการรับอารมณ์ 
สร้างองค์ประกอบแห่งจิตที่ดีเอาไว้
และเตรียมพร้อมที่จะรับอารมณ์ 
เตรียมพร้อมที่จะสู้อารมณ์ที่จะมากระทบ ไม่ให้ติดข้อง... 
ไอ้ตัวนี้มีค่าที่สุด เพราะว่ามันดับทุกข์ได้

พระอาจารย์ชุมพล พลปญฺโญ

Image by nonmisvegliate from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

จะไม่มีคําตอบได้อย่างไร


ผู้ที่ตกในสภาวะอับจน 
ก็ไม่ควรหมดอาลัยตายอยาก 
ควรทําจิตใจให้สงบระงับตั้งมั่นอยู่ 
ก็จะค่อยๆ หาทางออกให้แก่ตนได้ 
เพราะปัญหาทุกอย่างที่ไม่มีทางออกทางแก้ 
ย่อมไม่มีในโลก 
ดูเอาเถอะว่า แม้แต่ปัญหาเรื่องความทุกข์ 
อันเกิดจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย 
พระพุทธองค์ก็ยังหาคําตอบไว้ให้ได้ 
สําหรับปัญหาอื่นๆ อันเล็กน้อย 
จะไม่มีคําตอบได้อย่างไร

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

Image by EvgeniT from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ชัยชนะที่แท้


ชัยชนะที่แท้นั้น
อยู่ที่รู้จักตัวเองไหม
สามารถละทิ้งความเป็นตัวตนได้ไหม
เมื่อละทิ้งความเป็นตัวตนได้
ก็คือสามารถทิ้งชัยชนะลงไปได้ด้วย
ชัยชนะที่แท้จึงเป็นความที่ไม่ต้องชนะสิ่งใดเลย
เพราะไม่มีอะไรเป็นอะไร ให้ต้องเอาชนะ

พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

Image by tortugadatacorp from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา