จิตเป็นบัณฑิต-จิตเป็นพาล



บัณฑิตกับคนพาล
*********************************************
การรู้ก็ดี การเห็นก็ดี คือจิตมีสติกำหนดรู้ เห็นไปตามความเป็นจริง 
และพิจารณาไปเป็นธรรมดาในสิ่งนั้นๆ จุดนี้นับว่าประเสริฐ 
กล่าวคือ จิตมีความเป็นบัณฑิต ไม่หลงใหล
ไปกับรูป-เสียง-กลิ่น-รส-สัมผัส-ธรรมารมณ์ 
อารมณ์ไม่เกาะติด เพราะเห็นสภาพสิ่งสัมผัสเหล่านั้นว่าไม่เที่ยง 
มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา 
จิตก็ไม่ยึดเกาะสิ่งสัมผัสเหล่านั้นมาปรุงแต่งเป็นอารมณ์ 
สร้างความพอใจ-ไม่พอใจให้เกิดความรุ่มร้อนแก่จิต 
นี่แหละคือคำว่า รู้สักเพียงแต่ว่ารู้ เห็นเพียงสักแต่ว่าเห็น
ซึ่งต่างกับทรชนคนพาล จิตหวั่นไหวไปกับอายตนะสัมผัส 
รู้เห็นสิ่งใดมิได้ขบคิดถึงความเป็นจริง สร้างอารมณ์ตลอดเวลา 
ด้วยความรู้ไม่เท่าทัน สภาวธรรมนั้น ๆ 
เยี่ยงนี้ตถาคตไม่สรรเสริญ เพราะไม่ใช่หนทางสงบ 
ไม่ใช่หนทางนักพรต ที่จักบำเพ็ญเพียร
เพื่อเข้าถึงมรรค ถึงผลแห่งพระนิพพาน

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น