ศิลปะแห่งการอยู่อย่างมีความสุข




การเรียนรู้ที่จะอยู่กับสิ่งที่ไม่น่าพึงพอใจนั้น
เป็นศิลปะแห่งการอยู่อย่างมีความสุข

พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

ไม่ต้องไปละมัน



ปัญญา โลกัสมิ ปัชโชโต
ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก
มื่อแสงสว่างเกิดขึ้นในกายใจ
เห็นความจริงในกายใจแล้ว
ความมืดคืออวิชชา
มันก็เกิดไม่ได้ มันหายเอง
ไม่ต้องไปฆ่ามัน
ไม่ต้องไปทำลายมัน
ไม่ต้องไปละมัน

พระอาจารย์วิชัย กัมมสุทโธ

รู้ใจตนเองดีกว่าให้คนอื่นรู้ใจเรา




เวลาเราโกรธ 
เราเคยรู้ใจตัวเองไหมว่ากำลังโกรธ
เวลาเราเกลียด 
เรารู้ทันความเกลียดในใจเราไหม
เวลาเราเบื่อ เราเศร้า 
เราเคยรู้ทันความเบื่อความเศร้า 
ทั้งๆ ที่มันเกิดขึ้นอยู่กลางใจเราหรือไม่
รู้ใจอย่างนี้แหละที่สำคัญกว่า
การไปกะเกณฑ์ ให้ใครต่อใครมารู้ใจเรา


พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

จิตรู้แจ้งความเป็นจริง ก็ปล่อยวาง




ในเมื่อเรามาฝึกสติให้รู้ทันโลกอันนี้แล้ว 
จิตมันจะรู้แจ้งเห็นจริงในความเป็นจริงของโลก 
มันก็ปล่อยวาง
ถึงแม้ว่ามันจะอยู่กับโลก มันก็..แตะๆ แตะๆ 
มองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างนี่เป็นแต่เพียงหน้าที่เท่านั้น 
แล้วมันจะจัดสรรตัวมันเอง
ว่าเรามีหน้าที่อย่างไร ควรจะรับผิดชอบอย่างไร 
มันจะปฏิบัติหน้าที่ไปตามหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา


หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

ความสุขที่แท้จริงเกิดจากปัญญา




ความสุขที่แท้จริงเกิดจากปัญญา
ที่เห็นรูป เวทนา สัญญา 
สังขาร วิญญาณ
คือกายและใจนี้ตามความเป็นจริง 
ว่าเป็นกระแสธรรมชาติที่ไม่มีเจ้าของ
ถ้ายึดติดแล้วอันตราย
เมื่อเห็นอย่างทะลุปรุโปร่ง
จะปล่อยวางความยึดติดได้


พระอาจารย์ชยสาโรภิกขุ

ธรรมทั้งหลายเขาปล่อยตัวเขาเองอยู่แล้ว




อันที่จริงแล้ว ธรรมทั้งหลายเขาปล่อยตัวเขาเองอยู่แล้ว
เขาเป็นไตรลักษณ์ของเขาเองอยู่แล้ว 
เราจึงหมดหน้าที่ใดๆ ทั้งสิ้น 
เพราะจริงๆ แล้ว มันไม่มีเรานั่นเอง 
แล้วจะเอาอะไรมาปล่อยอะไร 
การไม่ปล่อยวางอะไรเลยนั่นแหละ 
เป็นการปล่อยวางที่บริสุทธิ์จริงๆ 
เมื่อเราปล่อยให้ทุกสิ่งทุกอย่าง ปล่อยวางตัวของเขาเอง 
อันนั้นก็จะเป็นการปล่อยวางที่บริสุทธิ์


ลุงหวีด บัวเผื่อน

การประหารกิเลสที่ดีที่สุด



การประหารกิเลสที่ดีที่สุด คือ
การไม่ยึดถือสิ่งใดเลย

หลวงปู่หลุย จันทสาโร

ความอยากอันเป็นมรรค




ความอยากหายจากทุกขเวทนานั้น อย่าอยาก!
อยากให้หายเท่าไหร่
ยิ่งเพิ่มสมุทัย ตัวผลิตทุกข์มากขึ้นเท่านั้น
แต่ให้อยากรู้ อยากเห็นความจริง
ของทุกขเวทนาที่แสดงอยู่กับกายกับใจนี้เท่านั้น
นั่นคือความอยากอันเป็นมรรค 
ทางเหยียบย่ำกิเลส


หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต

ความเพียรที่ยิ่งใหญ่ที่สุด




ความเพียร ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
คือ การระลึกรู้

หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล


มีอุปาทาน จึงข้ามไม่ได้




บางท่านก็บอกว่า “ดิฉันพิจารณาข้ามเวทนาไม่ได้”
เราสำคัญว่าเราเป็นเวทนา เวทนาเป็นเรา 
มันก็ข้ามเวทนาไม่ได้
สำคัญว่ากายเป็นเรา เราเป็นกาย 
มันก็ข้ามกายไม่ได้...
สำคัญว่าจิตเป็นเรา เราเป็นจิต 
มันก็ข้ามจิตไม่ได้
มันก็มีอุปาทานอยู่นั่น 
มันก็ข้ามไม่ได้ละซิ


หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต

ระงับนิวรณ์ไม่ได้ ปัญญาถอยหลัง




อย่าปล่อยให้จิตฟุ้งซ่าน 
จนกำหนดไม่ได้ว่า 
ขณะนี้อยู่ในอารมณ์อะไร 
เพราะนิวรณ์ ๕ หากระงับมันไม่ได้ 
มันก็ทำปัญญาให้ถอยหลัง 
คือ โง่ทุกครั้งที่นิวรณ์ครองจิต



คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม 7 
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

การออกจากทุกข์ทางจิตใจ เป็นกระบวนการที่ง่าย




กระบวนการออกจากทุกข์ทางจิตใจ มันจะเป็นกระบวนการที่ง่าย
ด้วยการเอาจิตนั้นออกจากการปรุงแต่ง ออกจากวังวน
ออกจากความรู้สึกนึกคิดเหล่านั้น กลับมาให้เป็นปกติ
แต่วิธีการที่ทำให้มันกลับมาเป็นปกติได้ มันต้องมีที่อยู่ ที่หมายให้เขา
ไม่ใช่ดึงออกมาแบบปล่อยให้มันลอยๆ

ทำไง พระพุทธเจ้าจึงสอนให้เราตั้งอารมณ์กรรมฐาน
ตัวอารมณ์กรรมฐานที่ทำให้จิตตั้งมั่นได้เร็วที่สุด
ก็คือการเคลื่อนไหวของกาย เรียกว่า กายานุปัสนาสติปัฏฐาน...

พระอาจารย์ครรชิต อกิญจโน

***เชิญเยี่ยมชม บ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานศาสนา***

เมื่อจะ “ไป” ต้องหยุด




เมื่อจะ “ไป” ต้องหยุด นี่ก็แปลก 
ทางโลกเขาไป ต้องเร็วเข้า ขึ้นเรือบิน เรือยนต์ รถยนต์ไป
จึงจะเร็ว จึงจะถึง แต่ทางธรรมไม่เป็นเช่นนั้น 
เมื่อจะ “ไป” ต้องหยุด ถ้าหยุด จึงจะเร็ว จึงจะถึง 
นั่น แปลกอย่างนี้ ต้องเอาใจหยุด จึงจะเร็ว จึงจะถึง 

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

การรักษาความเป็นปกติของจิต ของกายใจคือ “การปฏิบัติธรรม”




หลวงพ่อชากล่าวไว้ว่า...
ถ้าเรามีสติอยู่ มีสัมปชัญญะ มีความรู้ตัวอยู่เสมอแล้ว 
นั่นคือ เราได้ปฏิบัติธรรมอยู่ตลอดเวลา
ยามใดที่รู้สึกตัวอยู่เสมอ ยามนั้นท่านอยู่กับปัจจุบัน 
เมื่อเรารู้สึกตัว จิตใจเราปกติ ...
กายวาจาก็ปกติ ศีลก็สมบูรณ์
เมื่อจิตใจเราปกติ เกิดเป็นสัมมาสมาธิ เป็นปัญญาได้ 
การรักษาความเป็นปกติของจิต ของกายใจนั้น 
คือ “การปฏิบัติธรรม”


อ.กำพล ทองบุญนุ่ม

จุดประสงค์ที่หลวงพ่อสอนมโนมยิทธิ



ที่สำคัญที่สุด และเป็นจุดประสงค์ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำจริงๆ
ในการสอนมโนมยิทธินั้นก็คือ การที่เราสามารถยกจิต
ขึ้นไปกราบพระบนพระนิพพานได้นั้น
ทำให้เราคุ้นเคยกับสภาพจิตที่ปราศจาก รัก โลภ โกรธ หลง
ถ้าเราจำอารมณ์นั้นมา แล้วพยายามประคับประคองรักษาไว้
จิตใจของเราก็จะผ่องใสมาก
ยิ่งสามารถเอาจิตเกาะพระนิพพานได้นานเท่าไหร่
จิตของเราก็จะผ่องใสได้นานเท่านั้น
เมื่อสภาพจิตคุ้นชินกับการปราศจาก รัก โลภ โกรธ หลง ไปนานๆ
ในที่สุดกิเลสทั้งหลายเหล่านี้ก็ไม่สามารถจะงอกงามต่อไปได้
ก็จะเหี่ยวเฉา หมดสภาพ ตายไปเอง
ทำให้เราสามารถบรรลุถึงพระนิพพานได้อย่างแท้จริง



หลวงพี่เล็ก สุธมฺปญฺโญ

ทำตัวให้เหมือนนกกระทา



         ทำตัวให้เหมือนนกกระทา อยู่ในกรงในตุ้มแต่ละวันๆ ตื่นมามันทำอะไรอยู่ มันเอาจงอยปากสับตากรง สับทั้งวันๆ ยกเว้นหลับ ตื่นขึ้นมาสับตากรงใหม่ สับเพื่ออะไร เพื่อหาทางออก นี่เราก็เหมือนกัน ตื่นขึ้นมาแต่ละวันพยายามสับตากรง หมายความว่า สอนใจอยู่บ่อยๆ หาทางออกจากโลกนี้ให้ได้ โลกมนุษย์ที่เราอยู่เท่านี้แหละ จะเกิดมาอีกร้อยครั้งพันครั้งก็แล้วแต่ ก็เท่านี้ล่ะ เกิดมาก็มาหาอยู่หากินแล้วก็ตายไป ไม่คุ้มค่าในความทุกข์เลย...

                                                                                            หลวงพ่อทูล ขิปปปัญโญ

รู้เท่าสมมมุติ เป็นวิมุตติ



ให้เพ่งดูจิตใจเรานี่ล่ะ มันเป็นยังไงอยู่
อย่าไปดูแห่งอื่น มันเฉยเฉย ก็ดูมันเฉยเฉย
มันว่างก็รู้ว่ามันว่างน่ะ มันคิดโน่น มันคิดนี่ ..มันไปโน่น มันไปนี่
ก็ให้รู้เท่าสมมุติที่มันไป เมื่อรู้เท่าทุกอย่างแล้ว
สมมุติทั้งหลายไม่มี ก็เป็นวิมุตติ หลุดพ้นจากทุกข์

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

เห็นทุกข์ แต่ไม่ทุกข์




การวาง ยังมีการรู้อยู่ เห็นทุกข์ แต่ไม่ทุกข์
การข่มทุกข์ เป็นการพ่ายแพ้อย่างยับเยิน
การยอมทุกข์ รับสภาพต่อทุกข์ ไม่กระวนกระวาย
ยอมสนิทจึงพิชิตชัยชนะ


พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี

ปฏิบัติแก้ความหลง




ปฏิบัติแก้ความหลง แก้ความเข้าใจผิดของตน 
โลกไม่มีประตูจะแก้ สังขารก็ไม่มีประตูจะแก้
พระบรมศาสดาท่านก็ไม่ได้แก้สังขาร 
ท่านแก้แต่ไม่ให้ติดอยู่ในสังขารเท่านั้น…
สอนให้ทำสมาธิให้ใจตั้งมั่น แต่ไม่ให้ติดอยู่ในสมาธิ ...
สอนให้มีปัญญา แต่ไม่ให้ติดอยู่ในปัญญา
ไม่ให้ยืนยันว่าสมาธิเป็นตน ตนเป็นสมาธิ ไม่ให้ยืนยันว่าปัญญาเป็นตน
ตนเป็นปัญญา สมาธิก็ส่งคืนให้สมาธิ ปัญญาก็ส่งคืนให้ปัญญา
ศีลก็ส่งคืนให้ศีล ไม่สำคัญว่าตนเป็นศีล ไม่สำคัญว่าศีลเป็นตน 
จะรู้วิเศษวิโสสักเพียงใดก็ตาม 
ไม่สำคัญตนเข้าไปสอดแทรกยึดถือเอาเป็นตัวตนเป็นเจ้าของในผู้รู้ 

หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต

บัณฑิตอยู่ในตัวเรา




หากเราตั้งใจของเราเอาไว้มั่นคง ให้สงบอยู่เป็นกลางๆ
แล้วก็จะเห็น จะรู้จักผิดถูก รู้จักดีชั่ว หยาบละเอียด
ถึงแม้จะมีผัสสะอะไร มากระทบทางตา
หู จมูก ลิ้น กายและใจ ในขณะนั้น
มันก็รู้เท่า รู้เรื่องของอายตนะผัสสะนั้นๆ ตามความเป็นจริง...
ใจนิ่งสงบอยู่เฉพาะตัวของมัน ไม่ได้ส่งส่ายไปตามการกระทบนั้นๆ
นั่นคือ "ตัวบัณฑิต"

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

จงหมั่นพิจารณาอสุภสัญญาภายใน



อสุภสัญญา จากภายนอก 
ยังเป็นเพียงสัญญา
จงหมั่นพิจารณาอสุภสัญญาภายในตน 
นั่นคือทางแห่งปัญญาญาณ

พระคิริมานนทสูตร

โลกแสวงหาความเป็นเลิศ ธรรมแสวงหาธรรมดาสามัญ




โลกแสวงหาความเป็นเลิศ ธรรมแสวงหาธรรมดาสามัญ
เรื่องธรรมนั้น วางเดิมพันกันด้วยชีวิต ไม่ใช่การละเล่น
ปฏิบัติเพียงให้สิ้นสงสัยในตัวเอง หายสงสัยก็สิ้นสุดการปฏิบัติ
มันไม่ใช่การปฏิบัติเพื่อให้ได้เป็น ได้มี อะไรๆ ที่ต้องการ...


ท่านเขมานันทะ

ผู้ไม่ประมาท




การมีสติกำหนดรู้อารมณ์ตนเองอยู่เสมอ
คือผู้ไม่ประมาท

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม 17 
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

จิตสดใสร่าเริงในธรรมคือจิตที่มีกำลัง



          จิตสดใสร่าเริงในธรรมคือจิตที่มีกำลัง คือจิตที่ผ่องใส ตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เอ็งต้องลง “ตัวธรรมดา” ให้ได้ และทำจิตให้เป็นธรรมดาของโลกุตระวิสัยให้ได้ จิตเอ็งถึงจะร่าเริงสดใสในธรรมนั้นๆ ได้ อย่าลืมเอาจิตอยู่กับกาย เอากายอยู่กับจิตให้มากๆ

                                                                                                         หลวงปู่บุดดา ถาวโร

ไม่มีตัวเราของเราแล้ว ไม่มีความทุกข์




ไม่มีตัวเราของเราแล้ว ไม่มีความทุกข์ 
เพราะไม่ถูกกระทบ ไม่มีอะไรให้ถูกกระทบ 
เหมือนคนไม่มีมือ ก็ไม่เจ็บมือ คนไม่มีขา ก็ไม่เจ็บขา 
ดังนั้น การทำให้ไม่มีตัวเรา ของเราได้จึงวิเศษสุด 
แต่ก็ยากยิ่งนักสำหรับปุถุชนคนสามัญทั้งหลาย 
ฉะนั้นขอให้มีเพียงเราเล็กๆ มีเราน้อยๆ ก็ยังดี 
ดีกว่าจะมีเราใหญ่โตมโหฬาร มีของเราเต็มบ้านเต็มเมือง


เมื่อปุถุชนไม่สามารถทำตัวเราให้หายไปได้
ยังหวงแหนห่วงใยตัวเราอยู่ ของเราจึงยังต้องมีอยู่ด้วย
ของเราจะหมดไปก็ต่อเมื่อตัวเราหมดไปเสียก่อน นี้เป็นธรรมดา 
ถ้ายังมีตัวเราของเราอยู่ ยังต้องกระทบกระทั่งอยู่ 
ยังหวงแหนรักษาตัวเราของเราไว้ 
ก็ควรอย่างยิ่งที่จะหวงแหนรักษาให้ถูกต้อง 
จะได้ไม่ต้องรับโทษทุกข์ของการมีตัวเราของเรามากเกินไปอย่างเดียว 
แต่มีโอกาสที่จะได้รับคุณรับประโยชน์บ้างจากการมีตัวเราของเรา 
นั่นก็คือต้องระวังรักษาปฏิบัติต่อตัวเราของเราให้ดี ให้เป็นตัวเราของเราที่ดี



สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช 
สกลมหาสังฆปริณายก

ปัญญาอยู่ที่จิตอยู่ในตัว





ดวงจิต ถ้ามันไม่ได้อยู่ในตัว 
มันก็อ่านตัวเองไม่ออก


ท่านพ่อลี ธัมมธโร

ดูอารมณ์คือการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน




เขาพูดเขาทำอะไรไม่ถูกใจ อยากจะว่าเขา
ก็ให้อดทนๆๆ ดูอารมณ์เจ้าของ
มันก็แค่อารมณ์ มันก็แค่นั้นแหละ 
เกิดขึ้นแล้วมันก็ดับไป 
แค่นี้ก็ชนะได้แล้ว...
นี่คือ การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

พระอาจารย์ชยสาโรภิกขุ

รู้แล้วไม่ติดใจ




...จงทำใจให้วางเฉย
ไม่ใช่เฉยแบบไม่รู้
แต่เฉยแบบรู้แล้ว
ไม่ติดใจ...

หลวงปู่คูณ สิริจันโท

รู้อะไรก็ไม่สู้รู้ใจตนเอง




รู้อะไรก็ไม่สู้รู้ใจตนเอง
ถ้าเราพิจารณาธรรมะ ..เราพิจารณาที่ใจเรา 
น้อมเข้ามาที่ใจ มารู้อยู่ที่ใจ
นึกแต่เพียงว่าสิ่งภายนอกเป็นเพียงอารมณ์
สิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของสติเท่านั้น...
รู้นอกเป็นสมุทัย รู้ในเป็นมรรค
ถ้าไปรู้นอก เป็นเหตุให้สร้างบาป สร้างกรรม
ถ้ารู้ในเป็นเหตุให้ละวาง

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

คิดแค่ลมหายใจเข้า-ออกก็พอ



ไม่ต้องคิดไกลไปถึงโน่นหรอก ว่าชีวิตทั้งชีวิตจะเอาอย่างไร
เอาเฉพาะลมหายใจเข้ากับลมหายใจออก คิดแค่นั้น
ถ้าเราอาศัยความปรุงแต่ง คิดไปรอบจักรวาล ก็ไม่จบหรอก
แต่ถ้าจะหาทางจบ เราหาสิ่งที่ใกล้ตัวเรา
สิ่งที่ใกล้ที่สุดคือ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
คิดแค่นี้ และให้มันเป็นที่ตั้งแห่งการกำหนด
เป็นที่ตั้งแห่งความสงบ เป็นที่ตั้งแห่งความมั่นคง...

พระอาจารย์ปสันโน

เจริญสติมีรสชาติดีกว่าการอ่านและฟังธรรมะ




ผมจะมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน 
ไม่คิดไปในเรื่องอดีต เรื่องอนาคต 
จิตใจก็สบายขึ้น 
ก็เพลิดเพลินไปกับการเจริญสติ 
ซึ่งมีรสชาติดีกว่าการอ่าน
และฟังธรรมะเสียอีก 
เพราะจิตของเราได้เข้าไปสัมผัส
กับสภาวะจริงๆ กับรสพระธรรมเลย 
นี่แหละที่ตรงกับบทสวดมนต์
ในพระธรรมคุณที่ว่า “สันทิฏฐิโก 
พระธรรมเป็นสิ่งที่ผู้ศึกษา
และปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง”

อ.กำพล ทองบุญนุ่ม

การปฏิบัติต่อจิตใจ คือ “การสอดรู้อาการของจิต”




การปฏิบัติต่อจิตใจ คือ “การสอดรู้อาการของจิต” 
ที่ส่งออกไปสู่อารมณ์ต่างๆ ด้วยสติปัญญา
เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้ปฏิบัติ นี่คือการเรียนเพื่อรู้ตัวเองโดยเฉพาะ


หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน