“แค่รู้” นี่แหละคือหลักที่สำคัญที่สุด


ขันธ์มันก็ปรุงนั่นนี่ไปตามเรื่องตามราวของมัน 
แล้วจิตก็หดตัวเข้าไปควบรวมกับความปรุงแต่งนั้น 
(มองอีกมุมคือ ความปรุงแต่งหรือกิเลสมันครอบงำจิต) 
ทำให้เสียความรู้ตื่นเบิกบานไปชั่วคราว 
.
แต่ถ้ารู้ทันความปรุงแต่งได้ 
จิตก็ยังมีความรู้ตื่นเบิกบาน 
ไม่หดตัวไปรวมกับความปรุงแต่ง
.
ดูๆ ไป ที่ว่า กิเลสครอบงำจิต 
กลายเป็นจิตโง่ ไม่มีปัญญา 
จึงหดแคบลงไปอยู่ในกิเลส ที่ขันธ์มันปรุงขึ้นมา
กิเลสมันดึงดูดได้แต่จิตโง่ๆ เท่านั้น 
ถ้าขณะใดจิตมีปัญญา 
มันก็ดึงดูดจิตไม่ได้ จิตก็จะเป็นอิสระ
.
สังเกตดูก็เห็นว่า ก่อนจะเกิดกิเลส 
มันจะเกิดภาพในใจเป็นเรื่องราวขึ้น
หลังจากมีการกระทบอารมณ์ทางทวารต่างๆ 
แล้วกิเลสก็เกิด 
จิตที่เคยเบิกบาน ก็กลายเป็น
หดลงไปควบรวมคับแคบอยู่กับกิเลส
.
พุทธะ จึงได้แปลว่า รู้ ตื่น เบิกบาน 
ถ้าคับแคบก็ไม่ใช่พุทธะ 
“แค่รู้” นี่แหละคือหลักที่สำคัญที่สุด 
ถ้า”แค่รู้” ได้ ก็ไม่ถูกกิเลสครอบงำ 
ถึงที่สุดก็เหลือแค่อยู่กับ "รู้" 
อย่างที่หลวงปู่ดูลย์บอกว่า ท่านอยู่กับรู้เท่านั้น 
แต่เรามักจะไม่ใช่ ”แค่รู้ “
แต่ไปอยู่กับดิ้นรนทำนั่นนี่ 
เพื่อจะเอาชนะกิเลส

ที่มา : สนทนาธรรมตามกาล 
หลังไมค์กับอุบาสกสุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา

๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๕

เครดิต FB Boto Bow

Image by focusonpc from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น