อายตนะเป็นเครื่องวัดจิต




อายตนะทั้งหลาย เป็นเครื่องวัดจิตของตนได้อย่างดีที่สุด 
เมื่ออายตนะ มากระทบจิตของเรา เราหวั่นไหวหรือไม่ 
เมื่อหวั่นไหวมาก ก็แสดงว่า มีสติน้อย 
มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ ก็ยังน้อย
เมื่อหวั่นไหวน้อย หรือไม่หวั่นไหวเสียเลย ก็แสดงว่า มีสติมาก 
มีธรรมะเป็นเครื่องอยู่มาก แล้วรักษาตัวได้

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

สงบในตัว คือสมณะ




สมณะคือ ผู้สงบ
หาความสงบในตัวให้มันเจอ
เมื่อเจอแล้ว 
เรานั่นละ สมณะ

หลวงปู่หา สุภโร

ดับทุกข์ด้วย ๓ ไม่




ดับทุกข์ด้วย ๓ ไม่
“ไม่ฝืนธรรมชาติ
ไม่ลุอำนาจความโกรธ
ไม่โลดแล่นไปตามความอยาก”

หลวงปู่สาม อกิญจโน

คนพาลเดือดร้อนด้วยเหตุ 2 อย่าง




คนพาล ไม่พิจารณาเห็นตามความเป็นจริง 
ย่อมเดือดร้อนด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ 
มีใจฟูขึ้นเพราะเหตุแห่งสุข ๑ 
มีใจฟุบลงเพราะเหตุแห่งทุกข์ ๑

(๒๖/๓๘๒) พระโคทัตตเถรคาถา

ระวังอย่าให้ความดีกัดเจ้าของ




หากให้ทาน รักษาศีล บำเพ็ญภาวนาแล้วกิเลสไม่ได้ลดลง
มีความยึดติดถือมั่นในตัวตนแน่นหนา ก็แสดงว่าทำผิดแล้ว
หรือพูดให้ถูกต้องกว่านั้นก็คือ “ทำผิดในสิ่งที่ถูก”
ความดีนั้น หากทำไม่ถูก วางใจไม่เป็น 
มันก็เป็นโทษแก่ตนเองได้
ท่านอาจารย์พุทธทาสจึงเตือนเสมอว่า
“ระวังอย่าให้ความดีกัดเจ้าของ”

พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

การฝึกสติไม่ใช่ว่าจะต้องเห็นทุกก้าว



          การฝึกสติไม่ใช่ว่าจะต้องเห็นทุกก้าว เห็นทุกก้าว ไม่เห็นทุกก้าวไม่สำคัญ สำคัญที่เราตั้งใจฝึก เผลอแล้วแล้วไป ระลึกได้เอาใหม่ ถ้าเราจะตั้งให้เห็นทุกก้าวเดี๋ยวมันจะเครียดนะ เพราะมันเอาตัวเข้าไปทำ การฝึกสติไม่ใช่การฝึกเอาตัวเข้าไป ถ้าฝึกเอาตัวเข้าไป เป็นของกูตัวกูเมื่อไรมันเครียด ต้องมีอุบายฝึกมัน

                                                                                          พระอาจารย์วิชัย กัมมสุทโธ

คนมีสติ




คนมีสติ 
เหมือนมีสิ่งนำโชค
ตลอดเวลา

หลวงพ่ออินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก

จิตบริสุทธิ์เพราะคลายยึดถือตัวตน





จิตเป็นสิ่งสำคัญที่สุด 
การที่บุคคลจะทำจิตให้บริสุทธิ์ได้ 
จะต้องคลายความยึดถือในตัวต

ท่านพ่อลี ธัมมธโร

จิตของผู้ที่จะเข้าสู่พระนิพพาน




จิตของผู้ที่จะเข้าสู่พระนิพพานคือ
รู้แล้ววาง



หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ

นิพพานเป็นธรรมะที่รู้ได้



          นิพพานดูเหมือนจะเป็นสิ่งมืดมิด ลี้ลับ เข้าใจไม่ได้ และเป็นธรรมะสูงสุดเอื้อม แต่ความจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะธรรมะทั้งนั้นที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ล้วนประกอบด้วยลักษณะ ๓ ประการ คือ รู้ได้ มีเหตุที่อาจตรองตามได้ ปฏิบัติได้จริง และนิพพานก็เป็นธรรมะข้อหนึ่งที่ตรัสสอนไว้ จึงเป็นธรรมะที่รู้ได้ มีเหตุที่อาจตรองตามได้ และปฏิบัติให้บรรลุได้

                                             สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

จงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด




จงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด
อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย
ธรรมคือความไม่กังวล
ไม่ยึดมั่นถือมั่น
หาใช่อย่างอื่นไม่...

พระพุทธศาสนสุภาษิต

ไม่ให้ใจออกเที่ยว




พระอริยเจ้า มิได้เอากายหนีกิเลส 
แต่เอาใจต่างหากหนีกิเลส
ไม่ให้ใจออกเที่ยว 
ไม่ให้วิญญาณออกเที่ยวเล่น เพลินไปตามกิเลส 
ให้มีสติจดจ่อใจตน อย่าให้แล่นออกไป 
อวิชชาไม่อยู่เหนือสติสัมปชัญญะ
การละกิเลสจริง ก็มีผลจริง 
ถึงพระรัตนตรัย 

หลวงปู่สิม พุทธาจาโร

ความทุกข์เป็นหินลับปัญญา



ความทุกข์ทั้งหลาย
เป็นหินลับปัญญา
ความสุขทั้งหลาย
เป็นม่านปิดบังตาบังใจ

พระอาจารย์ชายแดน สีลสุทโธ

ทำความดีด้วยใจว่างจากกิเลส




...ทำความดีด้วยใจว่างจากกิเลส 
ทำความดีอย่างสบายๆ อย่างมีอุเบกขา 
คือ ทำใจเป็นกลางวางเฉย 
ไม่หวังผลอะไรทั้งสิ้น 
การตั้งความหวังในผลของการทำดี...
เป็นธรรมดาของสามัญชนทั่วไป ซึ่งก็ไม่ผิด 
แต่ก็จะถูกต้องกว่า หากจะไม่ตั้งความหวังเลย

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ผู้ปฏิบัติต้องมีเกราะป้องกันตัวเองอย่างนี้




แม้คนอื่นเค้าจะไปกระทบเรา 
แต่ถ้าจิตของเรามีธรรมะ 
เหมือนกับไม่กระทบ มันเป็นอย่างนั้น 
คนที่ปฏิบัติธรรมมันต้องคุ้มครองตัวเอง 
มีเกราะป้องกันตัวเองคืออย่างนี้ 
คือสติปัญญาคุ้มครองตัวเองอย่างนี้ 
นี่แหละหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า

หลวงพ่อไม อินทสิริ

ทุกข์ทั้งหลายอยู่ที่ตัวอุปาทานความยึดถือ




ทุกข์ทั้งหลายอยู่ที่ตัวอุปาทานความยึดถือ…
เมื่อจิตไม่ไปยึดไปถือมันก็ไม่ทุกข์ ไม่ร้อน
เหมือนไฟมันจะร้อนแค่ไหนก็เป็นเรื่องของไฟ
ถ้าเราไม่เอามือไปแหย่ ไปจดเข้า มันจะร้อนได้อย่างไร
มันก็ร้อนอยู่ที่ไฟ ไม่ร้อนที่ตัวเรา 

หลวงปู่สิม พุทธาจาโร

"รู้เท่า" แล้วละเอง




คำว่า“ละ”ละเป็นสมมุติ 
แต่เมื่อรู้เท่าตอนไหนๆ 
แล้วมันละเอง
ไม่ได้ทำกิริยาละเลย 

หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต

มีสติย้อนดูใจ จะเห็นกิเลสได้ง่ายขึ้น



          ...เรามาฝืนทวนกระแสของกิเลส ทวนกระแสของอารมณ์ มีสติเฝ้าดูจิตใจของเรานี่แหละ... ถ้าเรามีสติย้อนกลับมาดูใจของเรา เราก็สามารถที่จะเห็นกิเลสได้ง่ายขึ้น ไม่ปล่อยจิตใจของเรานั้นไปกับอารมณ์ทั้งหลายอันเป็นความเคยชินของจิต ซึ่งวิ่งตามอารมณ์ โดยยึดถืออารมณ์ต่างๆ ว่าเป็นใจของเรา...ความทุกข์จึงเกิดขึ้นอยู่เสมอๆ

                                                                                    พระอาจารย์อัครเดช (ตั๋น) ถิรจิตโต

ความสงบอยู่ตรงที่ความเป็นกลาง



          ความสงบอยู่ตรงที่ความเป็นกลางนี้แหละ ที่เราทำให้เป็นกลางไม่ได้จึงลำบากอยู่ เดี๋ยวก็ยินดีทางนี้ เดี๋ยวก็ไปยินร้ายทางนั้น ยินดีทั้งที่อดีตผ่านมาแล้ว ยินร้ายทั้งที่อดีตผ่านมาแล้ว สองประเด็นนี้แหละ กระโดดข้ามกันไปข้ามกันมา ไม่ยอมอยู่ในระหว่างกลาง เพราะฉะนั้นเอาความเป็นกลาง เป็นมัชฌิมาในตัวเองจึงยาก ไม่ว่าใครทั้งนั้น จะบรรลุเป้าหมายนี้ยาก

                                                                                                     หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก

ทำความสงบให้มาก แต่ “อย่าไปพอใจในความสงบ”




การปฏิบัติธรรม เพื่อ “กำจัดความหลง” ของใจ 
ทำความสงบให้มาก 
แต่ “อย่าไปพอใจในความสงบ” เท่านั้น

หลวงปู่แบน ธนากโร

การคิดของจิตนั้น เราห้ามไม่ได้




 จิตจะคิดอย่างไรๆ 
หากเราสามารถดูจิต ที่กำลังคิดนั้นทัน 
ตรงนี้แหละจะเป็นทางแก้

พระอาจารย์มานพ อุปสโม

การทำบุญมหาศาลก็คือการที่เราฝึกรู้จิต เห็นจิต




..การทำบุญมหาศาลก็คือการที่เราฝึกรู้จิต เห็นจิต 
เขาเรียกว่า “กุสะลัง จิตตัง อุปปันนัง” จิตที่เป็นกุศล
หรือว่า “กุสะลา ธัมมา” ทำจิตให้เป็นบุญทุกขณะ
บุญไม่ได้อยู่ที่ไหน อยู่ที่การทำใจให้สงบ บุญอยู่ที่การรู้จิตรู้ใจของตนเอง
ที่พระพุทธเจ้าไปเรียนรู้จิตตัวเอง ก็อย่างนี้เองจึงได้เป็นพระพุทธเจ้า

หลวงพ่อสนอง กตฺปุญโญ

คำว่าเห็นธรรม ก็คือเห็นในขันธ์ห้าว่าไม่ใช่ตน




คำว่าเห็นธรรม ก็คือเห็นในขันธ์ห้าว่าไม่ใช่ตนด้วยปัญญาของตัวเอง 
และฝึกใจทำใจให้ปฏิเสธว่าขันธ์ห้าไม่ใช่เรา 
เราไม่ใช่ขันธ์ห้าแต่อย่างใด ถ้าทำได้อย่างนี้จะเห็นพระพุทธเจ้าในทันที

หลวงพ่อทูล ขิปปปัญโญ