รู้สึกตัวออกจากโลกความคิดก่อนคิดปล่อยวาง



จากหนังสือ เพียงแค่รู้สึกตัว โดย พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นถึงความเป็นเช่นนั้นเอง



"ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต"..
จริงๆ แล้ว ตถาคต มีความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า "พระผู้รู้ตถธรรม" 
คือ ธรรมที่เป็นเช่นนั้นของมันเอง
มีความหมารยเช่นเดียวกับคำว่า "ตถตา"
ฉะนั้นจึงมีความหมายว่า ผู้ใดเห็นธรรม
ผู้นั้นก็เห็นถึงความเป็นเช่นนั้นของมันเอง
ซึ่งเป็นไปตามเหตุปัจจัยทุกๆ เหตุการณ์
ไม่ว่าจะดี-ร้าย สมหวัง-ผิดหวัง หรืออื่นๆ
ล้วนไม่ใช่เป็นตัวกำหนดสุขหรือทุกข์
เพราะมันเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยของมันเช่นนั้นเอง
แต่ใจเราต่างหากที่ไปทำปฏิกิริยากับมัน
หรือคิดไปต่างๆ นานา (สังขาร)
แล้วก็เลยออกมาเป็น "สุข" หรือ "ทุกข์"
ภายหลังที่เกิดการปรุงแต่งเข้าให้แล้ว 

อ.ทวีศักดิ์ คุรุจิตธรรม

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


สำนักปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ



..สำนักปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เวลาปฏิบัติธรรมก็ปฏิบัติไปที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่แหละ 
พอตาเห็นรูปปั๊ป นั่นแหละก็ปฏิบัติธรรมไปตรงนั้น ฯลฯ
ทีนี้เวลาปฏิบัติ เวลาไหนสำคัญที่สุดรู้ไหม เวลากระทบอารมณ์..
ดูเข้าไปที่ความรู้สึกสดๆ ที่เกิดขึ้นที่จิต 
ยินดีก็เหมือนถูกตบแก้มซ้าย ยินร้ายก็เหมือนถูกตบแก้มขวา 
ถ้าไม่อยากถูกตบทั้งขวาและซ้ายก็วางใจเป็นอุเบกขา ก็คือเข้าไปรู้..
ท่านไม่ได้ห้ามให้ดีใจ และเสียใจ 
แต่ให้รู้เท่าทัน และก็ไม่หลงไปในอารมณ์นั้น..

พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา