การฝึกฝนที่แท้จริง


การฝึกฝนที่แท้จริง...
คือการอยู่กับความจริงของชีวิตที่ดำเนินไป
กิจวัตรตลอดวัน เห็นใจที่พูดไม่หยุด (คิด)
และเห็นสิ่งที่หยุด (เพียงแค่รู้)
ในขณะที่ใจกำลังพูด (คิด)

การเดินทาง แห่งจิตวิญญาณ

Image by kucukgulberkan from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ผลของการปฏิบัติธรรม จะไม่มีวันเสื่อมลง ...


ไม่ว่าจะเพียรพยายามทำการงานทางโลก
สักเพียงไร ก็ไม่มีวันจบสิ้น
ทว่าหากพากเพียรปฏิบัติธรรม 
สิ่งที่ทำจะจบสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว
ไม่ว่าการกระทำในสังสารวัฏ จะสวยงามเพียงไร 
ก็ล้วนแต่จบลงด้วยความเสื่อมสูญเสมอ
ทว่าผลของการปฏิบัติธรรม
จะไม่มีวันเสื่อมลง
...
เราได้ซึมซาบกรรม กิเลส และพลังนิสัย
ตั้งแต่อดีตกาลนานไกลจนไม่อาจนับจุดเริ่มต้น
สะสมพอกพูนไว้ในใจตลอดเวลา
...
เพราะตกอยู่ในอำนาจสิ่งเหล่านั้น
เราจึงหลงรับรู้สิ่งต่าง ๆ ผิดไปจากความเป็นจริง 
และต้องเร่ร่อนไปในสังสารวัฏ
ไม่สามารถคาดคะเนได้ว่า 
“จะได้หลุดพ้นเมื่อไร”
...
แม้จะระลึกได้ในเวลาตาย 
ก็สายเกินไปเสียแล้ว
เหมือนเมื่อศีรษะขาดแล้ว 
ยาจะมีประโยชน์อันใดเล่า
ดังนั้น  จงรู้ซึ้งถึงความทุกข์ในสังสารวัฏ
ดำเนินบนหนทางสู่ความสงบ (พระนิพพาน)
ถนอมรักทุกชีวิตด้วยความเมตตาและกรุณา
และปฏิบัติจนดำรงมั่นในสภาวะที่
ศูนยตากับความกรุณารวมกันเป็นหนึ่งเดียวเถิด

ท่านคุรุ รินโปเช

ชญานตารา เปม่า เดเชน ฟ้าบโซ่ 
แปลภาษาไทย

Image by geralt from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ย่อมเป็นยวดยานของใจ


"เมตตาจะภิกขเว เจโตวิมุตติยา 
อาเสวิตายะ พหุลีกะตายะฯ"
"ภิกษุทั้งหลาย อันเมตตาเจโตวิมุตตินี้ 
ทำให้มากแล้ว เจริญให้มากแล้ว 
ย่อมเป็นยวดยานของใจ"
คำว่าเป็นยวดยานของใจนี้สำคัญมาก   
เพราะเมื่อใดก็ตามที่ใจเราคุ้นเคย
ต่อการเจริญเมตตา มีเมตตาเป็นวิหารธรรม 
ต่อให้เรายังต้องเวียนว่ายในวัฏสงสาร 
พรหมโลกย่อมเป็นที่หวังได้

พระอาจารย์ครรชิต อกิญจโน

Image by 0fjd125gk87  from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

เจริญสติไม่ต้องใช้สมอง


คำสอนของพระพุทธเจ้า ๘๔,๐๐๐เรื่อง 
สรุปลงมาที่กายกับใจเรานี่เอง

เกิดสุข เกิดทุกข์ที่กายและใจ
เกิดปัญหาที่กายและใจ 
ต้องมาดูที่กายและที่ใจ
ว่าเกิดอะไรกันเเน่

เจริญสติไม่ต้องใช้สมอง 
ใช้ความคิด เหตุผล
แค่รู้สึกตัวอยู่กับอิริยาบถ
ที่เกิดขึ้นตรงนั้น
เอาความหลงมาเป็นเหตุปัจจัย
ให้เกิดความรู้สึกตัว
รู้ทันความหลง

วิธีคือเอาสติมาตั้งไว้ที่กาย
ยกมือสร้างจังหวะ เดินจงกรม
หายใจ กะพริบตา เคลื่อนไหวให้รู้

อย่าไปกลัวหลง อย่าไปกลัวผิด
รู้ไปตรงๆ ซื่อๆ รู้สึกตัวแล้ว
มันจะอยู่เหนือสุข เหนือทุกข์

หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ

Image by alllessandro_ from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




 

ต่างกันตรงที่ “รู้” กับ “ไม่รู้” เท่านั้น


การปฏิบัติธรรมกับไม่ปฏิบัติธรรม 
มันก็ต่างกันตรงที่ “รู้” กับ “ไม่รู้” เท่านั้น 
ไม่ได้ต่างกัน เพราะเราไปทำให้เกิดความต่างขึ้น 
ถ้ายังทำ ให้เกิดความต่างขึ้นระหว่างการปฏิบัติ
กับไม่ปฏิบัตินั้น เรียกว่านักสร้างภาพ 
ตอนไม่ปฏิบัติเป็นคนหนึ่ง 
พอเข้าลู่จงกรมก็เป็นอีกคนหนึ่ง 
กลายเป็นนักแสดงไป 
ถ้าแสดงเก่งก็เป็นคนดี 
ก็ทุกข์แบบคนดี 
ให้เรารู้เท่าทันนักสร้างภาพด้วย

อ.สุภีร์ ทุมทอง

Image by dimitrisvetsikas1969 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




 

เรียกว่าปัญญาชอบในวิปัสสนา


..เมื่อหลานๆ เห็นภัยในวัฎฎสงสารอย่างเต็มที่
แล้วมันก็เป็นผู้มีวาสนาอยู่ในตัว 
สามารถทำตัวให้พ้นทุกข์ในปัจจุบันชาติได้โดยแท้ 
เพราะคนเรา เมื่อเห็นทุกข์ เป็นหลักของหัวใจแล้ว 
นั่นก็คือ ตัวศีล สมาธิ ปัญญานั่นเอง 
เมื่อเห็นอยู่เนืองๆ ติดต่ออยู่ไม่ขาดสาย 
ก็เรียกว่าภาวนาอยู่ไม่ขาดสาย 
เป็นข้อวัตรของจิตใจที่ชอบด้วย 
หนักเข้า ก็เบื่อหน่ายคลายเมาในวัฎ สงสาร 
แบบเย็นๆ รอบครอบ 
เรียกว่าปัญญาชอบในวิปัสสนา..

หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต

Image by Venrike from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา







 

เราจะต้องรู้แจ้งตัวเองให้เห็นชัด แล้วก็เบื่อหน่ายตัวเอง


..ในโลกนี้ทั้งหมดแล้ว
เรารักสิ่งใดชอบสิ่งใด
สิ่งนั้นก็คือรักตัวเองชอบตัวเองนั่นเอง
การเบื่อหน่ายโลกนี้ให้หมด...
ถ้าเราไม่คลายความยินดีในตัวเองออกได้
ไม่มีทางเลย
ถ้าเราจะให้จิตเบื่อหน่ายคลายโลก
หรือคลายอารมณ์ของโลกออก
เราจะต้องรู้แจ้งตัวเองให้เห็นชัด
แล้วก็เบื่อหน่ายตัวเอง
ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหา...
เบื่อหน่ายในที่นี้ไม่ใช่ไม่อยากเห็นจงเกลียดจงชัง
แต่เป็นการทำให้เห็นแจ้งขันธ์ ๕
แล้วละความยินดีในตน
ถอนความยึดมั่นขันธ์ ๕

พระอาจารย์จรัญ ทักขญาโณ

Image by jeonsango from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




 

มันต้องยึดในตัวหลักปฏิบัติ


ถ้าโยมปรารถนาต้องการจะไปทางใดก็ตาม 
โยมต้องดับความอยากนั้นก่อน 
ดับความฟุ้งซ่านรำคาญใจ หยุดคิด... 
ลงมือทำ คือ "วางทุกตำรา"
.
เมื่อเราอ่านตำราแล้ว เข้าใจแล้ว
เราก็ต้องวางตำราเพื่อจะปฏิบัติ ใช่หรือไม่..
ดังนั้นอย่าให้ตำราทั้งหลายเข้าไปอยู่ในหัว 
ในความคิดทั้งหลาย 
เพราะมันจะเกิดการปรุงแต่งแห่งจิต.. 
จะเกิดการ "อุปาทาน" 
ดังนั้นโยมต้องวางทุกอย่าง

แต่เมื่อใดโยมประพฤติปฏิบัติไปแล้ว
แล้วโยมเห็นตามที่ว่ามันเกิดขึ้น
ไปตรงกับตำรานั้นแล 
ความเชื่อความศรัทธามันก็จะบังเกิด 
เพราะตำรานั้นก็เหมือนเข็มทิศ
ที่จะพาโยมเดินไป ถ้าเดินไปแล้วไม่ตรงตำรา..
มันจะเกิด “ตัวรู้" ขึ้นมาเอง 
ตำราจะผิดจะเพี้ยนมันก็จะบ่งบอกได้ 
ถ้าเราไปยึดตำราเสียแล้ว 
ไอ้สภาวะการยึดนี้แล เราจักไม่รู้จริงได้ 
มันต้องยึดในตัวหลักปฏิบัติ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี

Image by jeonsango from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ที่มา : เพจธรรมะมหัศจรรย์ ตามรอยธรรมสมเด็จโต สถานปฏิบัติธรรมพรหมรังสี


 

การปล่อยวางที่แท้จริง


การปล่อยวางที่แท้จริงนั้น
ไม่ได้เป็นผลของ “การบังคับ”
ต้องเป็นผลของ “การรู้แจ้ง” ในสิ่งเหล่านั้น
จนเกิดความเบื่อหน่าย
คลายกำหนัดจากสิ่งเหล่านั้น

ท่านพุทธทาสภิกขุ

Image by giselaatje from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




 

มันพ้นจากทั้งสองสิ่งแล้ว


ความทุกข์ที่สุดอย่างหนึ่ง คือ
การดิ้นรนหาความสุข
และการพยายามขจัดความทุกข์
ดิ้นรนหรือขจัด
เพื่อจะหลุดพ้นจากอะไรสักอย่าง
แต่ 
เมื่อไหร่เห็นผู้ดิ้นรนผู้หลุดพ้น นั้นไม่ใช่เรา
จะสุข จะทุกข์  สงบ หรือ ไม่สงบ  
มันพ้นจากทั้งสองสิ่งแล้ว 
จะหาอะไร  จะต้องการอะไร 
คำว่า อิสระ โดยไม่ต้องเอ่ยมาซักคำ หรือ พยายามหา

พระอาจารย์ปกรณ์นันทน์ ฐิตธัมโม

Image by felix_merler from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ทุกข์เป็นทรัพยากรสำคัญของการปฏิบัติ


ท้อแท้ใจ รู้ว่าท้อแท้ใจ เกลียดรู้ว่าเกลียดนะ
ปัญหาไม่ใช่ไม่รู้สภาวะแล้ว
สภาวะน่ะรู้ แต่ไม่เป็นกลาง
ทีนี้ทำยังไงจะเป็นกลาง..ทำไม่ได้
ให้รู้ไปว่าไม่เป็นกลาง
.
ทุกข์จริงๆ แล้วเป็นทรัพยากรสำคัญของการปฏิบัตินะ
คนที่มีแต่ความสุข ภาวนายาก มันจะเผลอเพลิน
เรียกว่ามีนันทิราคะ (เผลอเพลิน)
คนที่มีความทุกข์มีปัญหามีอะไรมากมาย
แล้วรู้วิธีปฏิบัติ..พวกนี้ได้เปรียบนะ
เวลาที่มีปัญหาหนักๆ..ผ่านไปแต่ละคราว
เราจะเติบโตขึ้นทุกคราว
แทบจะขอบคุณความทุกข์เลยนะ
.
ฉะนั้น อย่าไปกลัวมัน เดี๋ยวมันก็ผ่านไป
เราผ่านไป เราผ่านไปด้วยสติด้วยปัญญา
เราก็ได้ความเติบโตขึ้นมา
เราได้เข้าใกล้พระพุทธเจ้ามากขึ้นๆ
คุ้มนะในการที่จะรู้ทุกข์

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช

Photo by Eric Ward on Unsplash

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

อยู่กับสมมุติอย่างไม่ยึดสมมุติ


อยู่กับสมมุติ
แต่ไม่หลงสมมุติ
จึงจะอิสระ
คนเราอยู่กับสมมุติได้
โดยที่ไม่ต้องหลงสมมุติ
นั่นคือ การรู้ตื่น (ตื่นรู้)
เปรียบดั่งเราหายใจ
แม้เราไม่มีตัวเองในการหายใจ
ธรรมชาติของการหายใจก็ยังทำงานอยู่
แม้เราเดินแบบไม่มีผู้เดิน 
การเดินก็นำเราสู่เป้าหมายได้
การอยู่กับสมมุติอย่างไม่ยึดสมมุติ
ทำให้เรามีอิสระท่ามกลาง
และเป็นหนทางตื่นรู้ในตัวเอง
การปฎิบัติทั้งปวงเพื่อเอาผลการตื่นรู้
ที่สามารถประจักษ์ชัดในตนเองแท้จริงได้

ตื่นทางปัญญา จิตกลับสู่เดิมแท้
(อิโตมิ จัง)

Photo by Joe Green on Unsplash

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ได้ที่พึ่ง อันใครๆ หาได้ยาก


อย่าคาดหวังจะให้ใครต่อใครเข้าใจคุณ
เพราะเกือบทุกคนก็กำลังสับสนอยู่กับ
การทำความเข้าใจตนเองเช่นกัน
พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า
ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
เมื่อเป็นที่พึ่งให้ตัวเองได้แล้ว
ก็นับว่าได้ที่พึ่ง อันใครๆ หาได้ยาก

ดังตฤณ

Image by OlgaVolkovitskaia from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา





 

ชื่อว่าได้ฟังธรรมอยู่ทุกเมื่อ


ผู้ปฏิบัติพึงใช้อุบายปัญญาฟังธรรมเทศนาทุกเมื่อ 
ถึงจะอยู่คนเดียวก็ตาม 
คืออาศัยการสำเหนียก 
กำหนดพิจารณาธรรมอยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน 
ความเสื่อม ความเจริญ ทั้งภายนอกภายใน
ก็มีธรรมชาติอันมีอยู่โดยธรรมดา
เขาแสดงความจริง คือความไม่เที่ยง 
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ให้ปรากฏอยู่ทุกเมื่อ 
เมื่อผู้ปฏิบัติมาพินิจพิจารณาด้วยสติปัญญา 
โดยอุบายนี้อยู่เสมอแล้ว 
ชื่อว่าได้ฟังธรรมอยู่ทุกเมื่อ 
ทั้งกลางวันและกลางคืนแล

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

Image by NickyPe from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา





 

อย่าเสียเวลากับความหลัง


อย่าเสียเวลากับความหลัง
90% ของคนที่ทุกข์ เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำ 
' ปล่อยไม่ลง ปลงไม่เป็น '
มนุษย์ที่สลัดความหลังไม่ออก
เหมือนมนุษย์ที่เดินขึ้นเขาพร้อมแบกเครื่องเคราต่างๆ 
ไว้ที่หลังขึ้นไปด้วย
ความทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้ว จงปล่อยมันซะ 
' อย่าปล่อยให้คมมีดแห่งอดีตมากรีดปัจจุบัน '
 ' อยู่กับปัจจุบันให้เป็น '  
 ให้กายอยู่กับจิต   จิตอยู่กับกาย 
คือมี ' สติ ' กำกับตลอดเวลา

ท่าน ว.วชิรเมธี

Photo by Tobias Mrzyk on Unsplash

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ย่อมไม่หานิพพานภายนอกกิเลส


กิเลสก็เป็นอนัตตา
พระนิพพานเล่าก็เป็นอนัตตา
เมื่อเป็นเช่นนี้ ในส่วนของอนัตตาทั้งสอง
ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกัน
ผู้ที่ตรัสรู้ความจริง
ย่อมไม่หานิพพานภายนอกกิเลส
เพราะเมื่อใดมารู้ชัดว่า
กิเลสนั้นว่างเปล่า
เมื่อนั้นก็ย่อมเป็นนิพพาน

วิมลเกียรตินิทเทสสูตร

Photo by Shanthi Raja on Unsplash

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ความตายไม่ใช่เรื่องน่ากลัว


ความตายไม่ใช่เรื่องน่ากลัว 
แต่อารมณ์ความกลัวตาย น่ากลัวยิ่งกว่า 
ความตายเป็นเรื่องของการที่ชีวิตหนึ่ง 
ต้องพบกับการเปลี่ยนแปลง 
เหมือนกับทุกสิ่ง 
แต่ความกลัวตายต่างหาก
เป็นเรื่องน่ากลัว เราควรเห็นอารมณ์นี้ 
"เห็นความกลัวมันเป็น อย่าได้ไปเป็นกับมัน"

พระอาจารย์กระสินธุ์ อนุภัทโท

Image by susan-lu4esm from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

เพียงสิ่งเดียวที่เธอต้องทำให้เกิดขึ้น


หากเธอจุดประทีปที่ภายในของเธอ
โลกจะปลาสนาการโดยพลัน
คงเหลืออยู่แต่จิตศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น
ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับการตื่นรู้
หรือการมืดบอดภายในของเธอเพียงอย่างเดียว
และนั่นคือการเปลี่ยนแปลง
การปฏิรูป การปฏิวัติ
เพียงสิ่งเดียวที่เธอต้องทำให้เกิดขึ้น

ท่าน OSHO

“If you light your inner lamp, suddenly the world disappears, 
and there is only the divine. 
The whole thing depends on your inner awareness or unawareness. 
That is the only change, the only transformation, 
the only revolution, that has to be made”.

- OSHO
จากเพจ Advait Ashram 

Image by Kanenori from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

สร้างความทุกข์ให้เราได้ นับชาติไม่ถ้วน


ถ้าโจรกับโจรมาเจอกัน 
หรือคนที่จองเวรกันมาเจอกัน มาห้ำหั่นกัน
ยังสร้างความฉิบหายให้ได้ไม่เท่า
กับบุคคลที่ตั้งจิตไว้ผิด ดำริผิด
เพราะความคิดที่ผิดของเรา
จะสร้างทุกข์ให้กับตนเอง
มากกว่าโจรหรือคนจองเวรทำร้ายกัน...
.
หรือกระทั่งโจรที่ทำร้ายเรา ฆ่าเรา 
ก็สร้างความทุกข์ให้เราได้ชาติเดียว
แต่ความคิดผิด ความเห็นผิด ดำริผิด 
จะทำให้เราถูกฆ่านับไม่ถ้วน
สร้างความทุกข์ให้เราได้
นับชาติไม่ถ้วนในสังสารวัฏนี้

พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล

Photo by Jeremy Alford on Unsplash

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



 

ความทุกข์จะเกิดขึ้นแก่ใครได้อย่างไร


เราได้ตริตรองพิจารณาตามหัวข้อหลักของกัมมัฏฐาน
ที่ได้รับจากพระอาจารย์ใหญ่(หลวงปู่มั่น)ที่ว่า 
"สพฺพสงฺขารา สพฺพสญฺญา อนตฺตา" 
ก็บังเกิดความสว่างไสวรู้แจ้งตลอดว่า
เมื่อสังขารขันธ์ดับไปแล้ว 
ความเป็นตัวตนจักไม่มี เพราะมิได้เข้าไปเพื่อปรุงแต่ง
ครั้นเมื่อความปรุงแต่งขาดไป
และสภาพแห่งความเป็นตัวตนไม่มี
ความทุกข์จะเกิดขึ้นแก่ใครได้อย่างไร 

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

Photo by Marek Piwnicki on Unsplash

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ไม่มีใครเป็นผู้ทุกข์


กิจในอริยสัจจ์ ข้อแรกคือทุกข์ ท่านให้รู้
ทุกข์นี้เป็นคนละอย่างกับทุกขเวทนา
(ความทุกข์ทรมาน)
แต่คือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงหรือปรากฏการณ์ทั้งหลาย
ที่จิตไปรู้เข้า
ถ้าไปยึดไว้หรือไม่ยอมรับ
จึงเกิดทุกข์ซ้ำอีกที
คือตัวโลกนี้ (รูปนามทั้งหลาย) คือตัวทุกข์
ถึงเราจะไปยึดหรือไม่
มันก็เป็นตัวทุกข์อยู่นั่นเอง
เมื่อจิตเห็นจริงแล้วยอมรับมัน
จะกลายเป็นว่าทุกข์มีอยู่
แต่ไม่มีใครเป็นผู้ทุกข์

พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

Photo by dapiki moto on Unsplash

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา





 

ทุกสิ่งมีเนื้อหาอนัตตา


โลกนี้เป็นอนัตตา (รู้แจ้ง)
ว่าโลกนี้เป็นเหมือนเกมส์ 
ที่ไม่มีใครดีจริง ไม่มีใครชั่วร้ายจริง 
ไม่มีใครเกิดจริง ไม่มีใครตายจริง
ทุกอย่างอยู่ที่การปลดปลง และปล่อยวาง
ถ้าจิตใจผ่านได้ ก็ไม่มีอะไรต้องทุกข์กับโลกใบนี้
.
เข้าใจได้ว่า แม้ความทุกข์ที่พบเจอ 
ก็เป็นของๆ โลก จะเอามาเป็นของเราสักวินาที 
ก็ห่างไกลความจริงมากแล้ว 
อีกอย่าง ตัวเราชีวิตเราก็แค่เป็นสิ่งอุปโลกน์ของมายา 
จะมาร้อยรัดเกี่ยวพันอยู่ในวงจรของทุกข์
ให้ยาวนานกันทำไม
.
ปลดปลง และปลดปล่อย 
จะพบกับอิสรภาพสูงสุด
อิสรภาพที่ไม่เคยมีใคร
พรากไปจากเราจริงได้ 
อิสรภาพที่ยังคงอยู่เป็นเนื้อแท้เสมอ 
.
หากเข้าใจทุกสิ่งตรงความจริง 
ก็ไม่มีใครที่จะต้องทุกข์จริง
กับการใช้ชีวิตบนโลกใบนี้ 
หากจะมีทุกข์ก็แค่ทุกข์ปลอมๆ ทุกข์ขำๆ 
แต่ทุกข์จริง ไม่มีอยู่ 
เพราะทุกสิ่งมีเนื้อหาอนัตตา 
ไม่เว้นแม้แต่ความทุกข์ทั้งปวง

ตื่นทางปัญญา จิตกลับสู่เดิมแท้
(อิโตมิ จัง)

Photo by Ing on Unsplash

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

ผู้ใดก็ตามที่ได้อุทิศตน



ผู้ใดก็ตามที่ได้อุทิศตนเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่น 
ไม่ว่ามากน้อยเพียงใดก็ตาม 
เขาหรือเธอผู้นั้นย่อมได้รับการตอบแทน
นับพันเท่าทวีในการเรียนรู้
และพัฒนาความก้าวหน้าในทางธรรม  
ทุกมธุรสวาจา ทุกรอยยิ้ม
ที่ท่านได้มอบแก่ผู้ที่กำลังเผชิญวันอันเลวร้าย 
ย่อมจะย้อนตอบแทนคุณท่าน
อย่างที่ท่านเองก็มิอาจคาดคิด

ท่านมิงจูร์ รินโปเช

จากหนังสือ ชีวิตที่เบิกบาน: ไขรหัสสู่ศาสตร์แห่งความสุข 

Whatever degree a person commits himself or herself to the welfare of others, he or she is repaid a thousandfold by opportunities for learning and advancement. Every kind word, every smile you offer someone who might be having a bad day, comes back to you in ways you'd never expect.

– Mingyur Rinpoche 

from the book “The Joy of Living: Unlocking the Secret and Science of Happiness”

Cr.เพจ Tergar Thai

Image by RebeccasPictures from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา





 

ถ้าเรารู้ มันไม่รำคาญหรอก


ต้องอยู่กับการเปลี่ยนแปลง
เมื่อเรารู้จักจิตใจมันเป็นอย่างนี้นะ
เดี๋ยวมันก็นึกถึงโน่น เดี๋ยวมันก็นึกถึงนี่
เป็นเรื่องธรรมดาของมัน
ให้เรารู้มันเสีย
ถ้าเรารู้เรื่องของมันแล้ว
ถึงเรานั่งคิดถึงโน่นถึงนี่
มันก็ยังเป็นสมาธิอยู่
ถ้าเรารู้ มันไม่รำคาญหรอก

หลวงปู่ชา สุภัทโท

Image by KIMDAEJEUNG from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


 

แท้จริงไม่มีผู้เกิดผู้ตาย



อย่ากลัวการเกิด
และอย่ากลัวการตาย
เพราะแท้จริงไม่มีผู้เกิดผู้ตาย
แต่จงกลัวว่าการเกิดเป็นมนุษย์ครั้งนี้
จะเสียชาติเกิด
ถ้าไม่รู้ความจริงข้อนี้ ยิ่งกว่าเสียดาย

พระอาจารย์ปกรณ์นันทน์ ฐิตธัมโม

Image by pieonane from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา