สิ่งสำคัญในการดูจิต คือความรู้สึกตัว



จากหนังสือ เพียงแค่รู้สึกตัว โดย พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

จิตเมื่อ "ถูกรู้ ถูกรู้สึก" ขึ้นมาเรื่อยๆ ก็ถูกเจียระไน



จิตเหมือนเพชรที่ถูกเจียระไนอยู่เรื่อยๆ 
มันจะใส แวววาวขึ้น 
จิตเมื่อ "ถูกรู้ ถูกรู้สึก" ขึ้นมาเรื่อยๆ 
มันก็ถูกเจียระไน จิตจึงตื่นสว่าง ..
สภาวะในกายในใจทั้งหมดก็จะรู้ชัด รู้พร้อม
มันไม่ใช่ว่าเราจะพยายาม
เพ่งให้มาก ๆ จะได้เห็นชัด 
ถ้าจิตเราไม่ตื่นพอ เพ่งอย่างไรก็ไม่ชัด 
มีแต่ตึงกลับมา เครียดกลับมา 
แต่ถ้าจิตมันตื่น มันใส ไม่ต้องเพ่งก็ชัด 
เหมือนกระจกเงา ถ้ามันใสดี 
ไม่มีฝุ่นละออง เงาออกมาก็ชัด 
ถ้ามีฝุ่นจับกระจก เพ่งอย่างไรก็ไม่ชัด

พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


เพียงแค่มีสติ รู้สึกตัว ก็มีความสุข



จากหนังสือ เพียงแค่รู้สึกตัว โดย พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

การแผ่เมตตา เท่ากับการบริจาคสิ่งที่ดีที่สุดที่มีอยู่



การแผ่เมตตา เท่ากับการบริจาคสิ่งที่ดีที่สุดที่มีอยู่ 
นั่นคือการปฏิบัติของท่านเอง 
ฉะนั้นหลังจากที่เสร็จสิ้นการปฏิบัติ 
ขอให้ท่านระลึกถึงบุคคลที่ท่านรักซึ่งได้ล่วงลับไปแล้วว่า 
“ฉันขออุทิศบุญกุศลนี้ให้แก่ท่าน” 
นี่คือความเมตตาของท่าน 
แล้วกระแสที่ส่งไปก็จะนำพลังของธรรมไปด้วย... 
ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมาก

ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



จิตส่งออกนอก ไม่หวั่นไหว เป็นมรรค



ตามสภาพที่แท้จริงของจิต ย่อมส่งออกนอก
เพื่อรับอารมณ์นั้นๆ โดยธรรมชาติของมันเอง
ก็แต่ว่า ถ้าจิตส่งออกนอกได้รับอารมณ์แล้ว
จิตเกิดหวั่นไหวหรือเกิดกระเพื่อมไปตามอารมณ์นั้น เป็นสมุทัย
ผลอันเกิดจากจิตหวั่นไหวหรือกระเพื่อมไปตามอารมณ์นั้นๆ เป็นทุกข์
ถ้าจิตที่ส่งออกนอกได้รับอารมณ์แล้ว แต่ไม่หวั่นไหว
หรือไม่กระเพื่อมไปตามอารมณ์นั้นๆ มีสติอยู่อย่างสมบูรณ์ เป็นมรรค
ผลอันเกิดจากจิตไม่หวั่นไหว หรือไม่กระเพื่อม
เพราะมีสติอยู่อย่างสมบูรณ์ เป็นนิโรธ
พระอริยเจ้าทั้งหลายมีจิตไม่ส่งออกนอก จิตไม่หวั่นไหว
จิตไม่กระเพื่อม เป็นวิหารธรรม จบอริยสัจ ๔

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงในกาย ใจจะอยู่กับปัจจุบัน



จากหนังสือ เพียงแค่รู้สึกตัว โดย พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

สำหรับผู้มุ่งหวังต่อแดนพ้นทุกข์



สำหรับผู้มุ่งหวังต่อแดนพ้นทุกข์ 
การเมตตาจิตใจของตัวเองและคนอื่นเป็นสิ่งสำคัญ 
การบำรุงรักษาจิตใจของตัวเองให้อยู่เหนือความโลภ-โกรธ-หลงเป็นสิ่งสำคัญ 
การแผ่เมตตาด้วยกระแสจิตใจเป็นสิ่งสำคัญ 
การให้อภัยทานเป็นสิ่งสำคัญ 
การกำหนดให้มีความรู้สึกอยู่ก็ยิ่งเป็นสิ่งสำคัญ 
ฉะนั้นขอให้พวกเราทั้งหลายกำหนดสติลงเต็มที่
ทำความ..รู้สึกอยู่ รู้สึกอยู่ รู้สึกอยู่

พระอาจารย์ชายแดน สีลสุทโธ

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ความทุกข์เกิดขึ้นเพราะเราไม่เห็นความคิด



ความคิดเป็นธรรมชาติทางนามธรรมชนิดหนึ่ง 
ซึ่งมีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อวิถีชีวิตและจิตวิญญาณของเรา 
เราคุ้นเคยและอยู่กับความคิดเกือบตลอดเวลา 
แต่เราแทบจะไม่รู้จักความคิดและกลไกการทำงานของมันในตัวเราเลย 
ทั้งนี้เนื่องจากความคิดนั้นมีความเร็วกว่าแสงฟ้าแลบและไหลต่อเนื่องเหมือนสายน้ำ 
ความคิดมีสองประเภท 
ความคิดชนิดหนึ่ง มันเกิดขึ้นมาแวบเดียวมันไปเลย 
ความคิดชนิดนี้มันนำโทสะ โมหะ โลภะเข้ามา 
ความคิดอีกอย่างหนึ่ง เป็นความคิดที่เราตั้งใจคิดขึ้นมา 
ความคิดชนิดนี้ไม่นำโทสะ โมหะ โลภะเข้ามา 
เพราะความคิดชนิดนี้เราตั้งใจคิดขึ้นมาด้วยสติปัญญา 
ความทุกข์เกิดขึ้นเพราะเราไม่เห็นความคิด 
แต่ตัวความคิดจริงๆ นั้นมันไม่ได้มีความทุกข์ 
สาเหตุที่มันมีความทุกข์เกิดขึ้นคือ 
เมื่อเราคิดขึ้นมา เราไม่ทันรู้ ไม่ทันเห็น ไม่ทันเข้าใจความคิดอันนั้น 
มันก็เลยเข้าไปในความคิด เป็นโลภ เป็นโกรธ เป็นหลงไป 
แล้วมันก็นำทุกข์มาให้เรา 
เมื่อเราไม่รู้วิธีแก้ไข มันก็คิด คิดอันนั้น คิดอันนี้ 
คนเราจึงอยู่ด้วยทุกข์ กินด้วยทุกข์ นั่งด้วยทุกข์ นอนด้วยทุกข์ 
ไปไหนมาไหนด้วยทุกข์ทั้งนั้น 
เอาทุกข์นั่นแหละเป็นอารมณ์ไป 
แต่ถ้ามาเจริญสติให้รู้เท่าทันความคิด 
พอดีมันคิดปุ๊บ..ทันปั๊บ คิดปุ๊บ..ทันปั๊บ มันไปไม่ได้ 
มันจะทำให้จิตใจของเราเปลี่ยนแปลงที่ตรงนี้ 
ความเป็นพระอริยบุคคลจะเกิดขึ้นที่ตรงนี้ 
หรือเราจะได้ต้นทางหรือกระแสพระนิพพานที่ตรงนี้..

หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



รู้สึกตัวออกจากโลกความคิดก่อนคิดปล่อยวาง



จากหนังสือ เพียงแค่รู้สึกตัว โดย พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นถึงความเป็นเช่นนั้นเอง



"ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต"..
จริงๆ แล้ว ตถาคต มีความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า "พระผู้รู้ตถธรรม" 
คือ ธรรมที่เป็นเช่นนั้นของมันเอง
มีความหมารยเช่นเดียวกับคำว่า "ตถตา"
ฉะนั้นจึงมีความหมายว่า ผู้ใดเห็นธรรม
ผู้นั้นก็เห็นถึงความเป็นเช่นนั้นของมันเอง
ซึ่งเป็นไปตามเหตุปัจจัยทุกๆ เหตุการณ์
ไม่ว่าจะดี-ร้าย สมหวัง-ผิดหวัง หรืออื่นๆ
ล้วนไม่ใช่เป็นตัวกำหนดสุขหรือทุกข์
เพราะมันเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยของมันเช่นนั้นเอง
แต่ใจเราต่างหากที่ไปทำปฏิกิริยากับมัน
หรือคิดไปต่างๆ นานา (สังขาร)
แล้วก็เลยออกมาเป็น "สุข" หรือ "ทุกข์"
ภายหลังที่เกิดการปรุงแต่งเข้าให้แล้ว 

อ.ทวีศักดิ์ คุรุจิตธรรม

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


สำนักปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ



..สำนักปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เวลาปฏิบัติธรรมก็ปฏิบัติไปที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่แหละ 
พอตาเห็นรูปปั๊ป นั่นแหละก็ปฏิบัติธรรมไปตรงนั้น ฯลฯ
ทีนี้เวลาปฏิบัติ เวลาไหนสำคัญที่สุดรู้ไหม เวลากระทบอารมณ์..
ดูเข้าไปที่ความรู้สึกสดๆ ที่เกิดขึ้นที่จิต 
ยินดีก็เหมือนถูกตบแก้มซ้าย ยินร้ายก็เหมือนถูกตบแก้มขวา 
ถ้าไม่อยากถูกตบทั้งขวาและซ้ายก็วางใจเป็นอุเบกขา ก็คือเข้าไปรู้..
ท่านไม่ได้ห้ามให้ดีใจ และเสียใจ 
แต่ให้รู้เท่าทัน และก็ไม่หลงไปในอารมณ์นั้น..

พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา





ค่อยๆ สะสมความรู้สึกตัว ใจจะมีสุข



จากหนังสือ เพียงแค่รู้สึกตัว โดย พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

สงบนิ่งภายในการเคลื่อนไหว



สัตว์ทั้งหลายย่อมเคลื่อนไหว
วัตถุทั้งปวงย่อมหยุดนิ่ง
ใครฝึกตนให้เป็นผู้ไร้ความเคลื่อนไหว
ย่อมไม่ได้ประโยชน์อะไร นอกจากทำตนให้แน่นิ่งอย่างวัตถุ
ถ้าท่านจะหาความสงบนิ่งที่ถูกแบบ
ก็ควรเป็นความสงบนิ่งภายในการเคลื่อนไหว

ท่านเว่ยหล่าง

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

ทำอะไรให้ใจระลึกรู้อยู่กับสิ่งนั้น




ทำอะไรให้ใจระลึกรู้อยู่กับสิ่งนั้น
ไม่อยากไม่หวังไม่เอาไม่มีไม่เป็น...
สิ่งที่ตามมาคือปัญญาเกิด
คือเห็นปรากฏการณ์ทั้งหลาย 
เป็นเพียงทุกข์เกิดดับเท่านั้น

หลวงตาสุริยา วัดป่าโสมพนัส 
(ส.มหาปัญโญภิกขุ)

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

ภาวนาทำได้ยาก



จากหนังสือ เพียงแค่รู้สึกตัว โดย พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

ใจมีหน้าที่เพียงแต่ "รับรู้" แล้ว "วาง" เท่านั้น



..ใจมีหน้าที่เพียงแต่ "รับรู้" แล้ว "วาง" เท่านั้น..
ความจริงแล้วทุกสิ่งทุกอย่างมีความพอดีของมันอยู่แล้ว
เพียงแต่ใจอย่าเข้าไปยุ่งปรุงแต่งให้วุ่นวาย
แต่ให้คอยดู รู้ เห็นเขาไป
ถ้าเห็นเขาทำผิดก็ช่วยบอกช่วยเตือนเขา
ให้ทำไปตามหน้าที่ ก็จะสบายตามเดิมของธรรมชาติ
เมื่อใจเป็นธรรมชาติแล้ว ย่อมไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
ไม่มีเกิดไม่มีตาย ไม่มีภพไม่มีชาติ
ไม่มีบาปไม่มีบุญ หมดกรรมหมดเวร
หมดสมมุติบัญญัติ  ไม่มีตัวไม่มีตน มีแต่ธรรมล้วนๆ
ถ้าใจออกจากธรรมชาติ คือออกไปจากหน้าที่ของใจ
แล้วไปปรุงแต่งสิ่งต่างๆ ขึ้นมา เพราะอวิชชาความไม่รู้เท่าทัน
ย่อมทำให้เกิดตัณหาความอยาก พาให้เกิดทุกข์
เกิดกรรมดีกรรมชั่ว เกิดบุญเกิดบาปไม่จบไม่สิ้น

หลวงปู่คูณ สิริจันโท

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ความเพียรในการภาวนาคือหมั่นเฝ้ารู้



จากหนังสือ เพียงแค่รู้สึกตัว โดย พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

มรรคผลนิพพานยังเป็นสิ่งที่เป็นไปได้



มรรคผลนิพพานในยุคนี้
ก็ยังเป็นสิ่งที่เป็นไปได้สำหรับทุกคน
คือท่านสอนไว้ว่า “ตราบใดที่ยังมีผู้เจริญสติปัฏฐาน
โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์”
เพราะฉะนั้น ถ้าพวกเราทุกคนในที่นี้เจริญสติปัฏฐาน 
พวกเราก็มีโอกาสที่จะบรรลุมรรคผลนิพพาน
กับเขาบ้างเหมือนกัน

อ.ประสาน พุทธกุลสมศิริ

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ความเพียรที่ต้องฝึกให้เป็นนิสัย



การภาวนานั้น การรู้ตัวทั่วพร้อมสำคัญที่สุด
ก็คือการมีสติสัมปชัญญะ
คำว่าสติสัมปชัญญะนี้ ไม่ใช่สติของคนธรรมดาทั่วไป
แต่เป็นสติของนักปฏิบัติโดยตรง
สติคือตัวระลึก สัมปชัญญะคือการรู้ตัว
เราต้องมีสติให้มีการรู้ตัวอยู่ตลอด
การรู้ตัวนี้ ไม่จำเป็นที่จะต้องเอาความรู้สึกนี้
ไปไว้ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
เพียงแต่ให้มีความรู้สึกตื่นขึ้นที่ใจเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
การตื่นนี้ตื่นเพื่ออะไร
ก็เพื่อคอยดูว่ามีสิ่งใดกระทบ
ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
เมื่อมีสิ่งกระทบแล้ว เรามีความรู้สึกอย่างไร
มีความโลภ ความโกรธหรือไม่
มีอารมณ์ดีชั่วเช่นไร
พิจารณาดูว่าอารมณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้น
เป็นคุณหรือเป็นโทษกับตนเองหรือไม่
ให้เราเห็นและพิจารณาใคร่ครวญเช่นนี้
อยู่ตลอดเวลา ๒๔ ชั่วโมง ยกเว้นหลับ
นี่คือความเพียร ที่เราต้องฝึกให้เป็นนิสัย
มีความเพียรเป็นหลักให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา
ไม่ว่าจะเป็นยืน เดิน นั่ง นอน
หรือทำสิ่งอื่นใดอยู่ในอิริยาบถทั้ง ๔
นี่คือสติสัมปชัญญะ

ลุงหวีด บัวเผื่อน

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



เราไม่ตอบโต้ จึงไม่มีศัตรู



เราไม่ตอบโต้ จึงไม่มีศัตรู 
กรรมดำที่เราจะสร้างต่อก็ไม่มี
จึงเป็นกรรมขาว 
ถ้าเราตอบโต้ กรรมดำจะเกิดอีก 
เป็นการผูกเวร ปองร้ายกันเรื่อยไป 
ถ้าเราไม่ตอบโต้ ศัตรูก็จะกลายเป็นมิตรได้ 
นี้คืออานิสงส์ของการมองด้วยปัญญา
แก้ปัญหาด้วยปัญญาเห็นแจ้ง 
บนเส้นทางสายเอกต้องมองอย่างนี้

อาจารย์ ดร.สนอง วรอุไร 

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



พระและฆราวาสภาวนาได้เหมือนกัน



จากหนังสือ เพียงแค่รู้สึกตัว โดย พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

การรู้ธรรมเห็นธรรมหมายถึงมีสติรู้เท่าทัน



การรู้ธรรมเห็นธรรมหมายถึงมีสติรู้เท่าทัน 
รู้เท่าทันความคิดและอารมณ์ที่เกิดขึ้นในจิตในปัจจุบัน 
แม้ว่าเราจะไม่เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาก็ตาม 
ถ้าความคิดของเราเกิดขึ้น จิตมีสติกำหนดตามรู้ 
สามารถประคับประคองจิตให้อยู่ในสภาพปกติได้ตลอดเวลา 
อันนี้คือสิ่งที่เราจะพึงได้จากการปฏิบัติธรรม 
เรามุ่งสู่จุดที่เรียกว่าสติสัมปชัญญะ 
ในเมื่อสติสัมปชัญญะตัวนี้กลายเป็นมหาสติ 
เป็นสติพละ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติวินโย 
ตัวสติสัมปชัญญะจะกลายเป็นองค์แห่งปัญญา

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


บริกรรมพุทโธไปก่อน



จากหนังสือ เพียงแค่รู้สึกตัว โดย พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

ใจที่หลงต่างหากทำให้เป็นทุกข์



เราทุกข์เพราะความคิด 
ไม่ได้ทุกข์เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา 
ไม่ใช่เพราะมีสิ่งภายนอกมากระทบเรา..
แต่เป็นเพราะใจที่หลงต่างหากทำให้เป็นทุกข์
เราจะพ้นจากความหลง เห็นความจริงได้ 
ก็ด้วยการหมั่นรู้ตัวอยู่บ่อยๆ 
เห็นความจริงบ่อยๆ ปัญญาก็จะเกิด 
ตอนแรกจะเห็นด้วยสติ ตอนหลังเราจะเห็นด้วยปัญญา 
การเห็นด้วยสติ คือ การรู้ตัว 
ส่วนการเห็นด้วยปัญญา คือรู้ความจริง 
ทำให้หลุดจากความหลงซึ่งเป็นรากเหง้าของความทุกข์

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

การกำหนดรู้ทุกข์ทำอย่างไร



ทุกข์เป็นของควรกำหนดรู้..
การกำหนดรู้ทุกข์คือทำอย่างไร..
รักษาสมาธิไว้ให้คงที่
และรู้สติสัมปชัญญะอันตั้งอยู่ที่กาย ที่จิตด้วย
พร้อมกับรู้เห็นทุกข์นิ่งคงที่อยู่ได้
ทั้งรู้ชัดว่าทุกข์ไม่ใช่ตนด้วย
เรียกว่า กำหนดทุกข์ได้..

หลวงปู่เจือ สุภโร

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ผุ้มีมรรคผลเป็นแก่นสารต้องภาวนาตลอดชีวิต



จากหนังสือ เพียงแค่รู้สึกตัว โดย พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

ทุกข์ไม่ไปหรือใจไม่ปล่อย



ถาม : พระอาจารย์คะ มนุษย์ทุกคนล้วนเกิดมาเคยทำบาป แน่นอนว่าเราไม่มีวันหนีพ้นกรรมนั้นอยู่แล้ว ..เขาบอกว่า เราไม่ควรไปยึดติดกับอดีต  แต่คนเราทุกคนมีความทรงจำ ทุกครั้งที่นึกถึงบาปนั้น เราก็จะเป็นทุกข์ แล้วเราก็จะติดอยู่ในวังวนเดิม ในปัจจุบันเราเพียรสร้างความดีและละเว้นบาป แต่ทุกครั้งที่หวนกลับไปนึกถึง ก็จะทุกข์อีก เราจะสามารถทำให้ความทุกข์นั้นมันหมดไปจากใจได้ไหมคะ เพราะความทุกข์นั้นมันก็คล้ายโซ่ตรวนที่ยึดเราไว้ไม่ให้เราไปไหนได้เช่นกัน

ตอบ : พระพุทธเจ้าสอนให้รู้ทันในปัจจุบันขณะ
แต่เราไม่สามารถห้ามความคิดได้
และความคิดก็ชอบไปขุดคุ้ยเรื่องไม่ดีให้ใจพลอยทุกข์ไปด้วยเสมอ
หน้าที่ของเราคือหาหลักยึดให้กับใจ
เช่นพอรู้สึกตัวว่าคิดก็ให้กลับมาอยู่กับลมหายใจเสีย
ความรู้สึกผิดเป็นเรื่องดี
แต่ความรู้สึกทุกข์กับความผิดที่จบไปแล้วเป็นเรื่องไม่ดี
ความทุกข์เกิดจากความคิด
ก็รีบรู้เท่าทันความคิดเสีย
ทุกข์ไม่ไปหรือใจไม่ปล่อยกันแน่
ดูให้ดี

พระอาจารย์มหาวิเชียร ชินวังโส

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

คนส่วนใหญ่ชอบวิ่งตามความคิด



          การที่จะภาวนาให้จิตสงบนี้เป็นของที่ทำได้ยาก คนเราจึงไม่ทำกัน ไม่มีใครที่จะดูจิตของตัวที่มันคิดมันปรุงอยู่ทั้งวันทั้งคืน มีแต่วิ่งตามมันเท่านั้น วิ่งตามความคิดความปรุง ที่จะระงับความคิดความปรุงมาเข้าสู่ความสงบนี้ไม่ค่อยมี มีก็เล็กน้อย นักภาวนาเท่านั้นละ ที่จะเห็นความคิดปรุงของตัวเอง ให้พากันตั้งอกตั้งใจ..


                                                                                      หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

วิถีธรรมชาติของการหลุดพ้น



จากหนังสือ เพียงแค่รู้สึกตัว โดย พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

ผู้มองตน ไม่ติดตน จึงพ้นทุกข์



ภายในร่าง ของตน ทุกคนรู้
เพราะประมาท ไม่เพ่งดู จึงไม่เห็น
พระศาสดา ตรัสไว้ ให้บำเพ็ญ
ผู้ที่เห็น ย่อมประเสริฐ เกิดปัญญา

ผู้มองตน ไม่ติดตน จึงพ้นทุกข์
ประสบสุข ตามพุทธพจน์ หมดปัญหา
ไม่เพ่งพินิจ ไม่เชื่อจิต ยังเชื่อตา
ไม่เชื่อพระ จนปัญญา ไม่เห็นธรรม

หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ทุกทุกวัน มี “ใจ” เป็นอาจารย์



ศึกษาธรรม มากครู ก็มากความ 
พยายาม ศึกษาจิต สัมฤทธิ์ผล
รู้เท่าทัน ให้ได้ ซึ่งใจตน 
ความสับสน ก็มลาย หายไปเอง

ศึกษาธรรม มากที่ ก็มากคิด 
ไม่เป็นหนึ่ง ประจักษ์จิต คิดพลิกผัน
ศึกษาธรรม เรียนรู้ใจ ให้เท่าทัน 
ทุกทุกวัน มี “ใจ” เป็นอาจารย์

พระอรหันต์จี้กง

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

การรู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง



จากหนังสือ เพียงแค่รู้สึกตัว โดย พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

จุดพลาดของนักภาวนา



จุดพลาดของนักภาวนาจุดหนึ่ง
ที่ทำให้ก้าวหน้าไม่ได้หรือได้ช้า คือ 
ความรู้สึกที่ว่าภาวนาแล้วจิตจะต้องมีสภาวะที่ดีๆ 
ก็เลยมุ่งจะทำจิตให้ดีไว้ 
ทั้งที่จิตจะดีหรือไม่ดีก็ไม่ตาม ต่างก็เป็นไตรลักษณ์เหมือนกัน
ดังนั้นเวลาที่จิตไม่ดี ถ้าแค่รู้แค่ดูจิตที่ไม่ดีได้
ก็จะเห็นไตรลักษณ์ได้
แต่ถ้ามัวแต่จะทำให้จิตดี หรือมัวแต่จะรักษาจิตที่ดีไว้
ก็จะไม่เห็นไตรลักษณ์
เพราะฉะนั้นจำหลักนี้ไว้นะครับว่า

“จิตจะดีก็ได้ จิตจะไม่ดีก็ได้
 ขอเพียงให้แค่รู้แค่ดูไปเท่านั้นพอแล้ว”

อ.สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา