ถ้าจิตมีปัญหาแล้วจะไปแก้ปัญหาที่ไหนอีกได้



โลกนี้วุ่นวายไร้ระเบียบเป็นธรรมดา
อย่ารอคอยให้โลกนี้สงบก่อนจึงค่อยเป็นสุข
จงทําจิตให้เป็นสุขสงบเดี๋ยวนี้เลย
เมื่อยอมรับความจริงจะคลายทุกข์ใจไปได้
ถ้าไม่ยอมรับความจริงจิตจะอ่อนแอลงทุกที
ยิ่งหนีความจริงยิ่งเป็นโรคประสาท
ทําจิตให้สบายแล้วไปแก้ปัญหาจะแก้ได้
ถ้าจิตมีปัญหาแล้วจะไปแก้ปัญหาที่ไหนอีกได้เล่า

พระอาจารย์ชุมพล พลปญฺโญ

Image by superemelka from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



ศัตรูที่แท้จริงของเรา



ตลอดเวลาเราต้องต่อสู้กับตัวเอง
ซึ่งเป็นศัตรูที่มองไม่เห็นตัว.. 
เป็นศัตรูที่ว่างเปล่าไร้ตัวตน 
เราต่อสู้มาตลอดกาลนับภพชาติไม่ถ้วน
มีวิธีเดียวที่จะเอาชนะศัตรูไร้ตัวตนนี้ได้คือ 
เราต้องรู้ว่ากำลังต่อสู้กับใครและกับอะไร 
โดยใช้สติปัญญา 
ที่สามารถนำจิตออกมาจาก
อำนาจของอวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรมให้ได้
ถ้ามัวปล่อยให้สี่อย่างนี้เจริญเติบโต 
เราก็ตกเป็นทาสของอัตตา 
ที่เราเองเป็นผู้สร้างขึ้นมา 
อย่างถอนตัวไม่ขึ้น
ดังนั้น ศัตรูที่แท้จริงของเราก็คือ 
ความไม่รู้เท่าทันตัวเองนั้นเเหละ 
ไม่ใช้ใครอื่นนอกเหนือตัวเองเเม้แต่น้อย
ข้อนี้จงจดจำไว้ให้ดี 
ผู้ไม่เคยเจริญวิปัสสนาเท่านั้น
ที่เที่ยวไปโทษคนอื่นและสิ่งอื่น 
ว่าเป็นศัตรูของตน
แต่ผู้ฝึกฝนอบรมวิปัสสนา 
จนพัฒนาจิตก้าวล่วงอัตตาตัวตน 
จะไม่คิดเช่นนั้นเป็นเด็ดขาด...

หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท

Image by StockSnap from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

ความไม่สงบเกิดขึ้น เราก็ไม่ไปติด


ความไม่สงบเกิดขึ้น เราก็ไม่ไปติด
ในเมื่อเราไม่ติด 
แล้วเราจะไปเดือดร้อน 
ไปเป็นทุกข์ 
เพราะความไม่สงบของใจได้อย่างไร 
คำว่าสังขารต้องเป็นสังขาร
พระพุทธเจ้าท่านไม่แต่งสังขาร..  
พระพุทธเจ้าท่านให้รู้สังขาร
คำว่าแต่งสังขารก็หมายความว่า 
ทะเลไม่ให้มีคลื่นเป็นไปไม่ได้ 
แม้แต่พระพุทธเจ้า
ท่านก็ไม่สามารถที่จะไปแต่งทะเลให้เรียบได้ 
เพียงแต่ให้รู้ทะเล ให้รู้สังขารเท่านั้น
พอใจแต่ความสงบ ก็จะเจอสิ่งที่ไม่พอใจ
สงบ ไม่สงบ ไม่สน ทำให้ยิ่งอยู่เสมอ
เราไม่ได้ทำเพื่ออะไร 
เราทำเพื่อละ ทำเพื่อปล่อยวาง 
ทำเพื่อสลัดทิ้ง ดีก็ไม่เอา 
จะเอาทำไม เอาแล้วหนักทั้งนั้น 
เป็นภาระทั้งนั้น

หลวงปู่แบน ธนากโร

Image by Free-Photos from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




ถ้าดูผิด ทุกข์จะเกิดอยู่ตลอด


เมื่อมีคนตำหนิเรา แล้วเราทุกข์
เราไม่ได้ดูใจที่เป็นทุกข์
ก็เลยทุกข์ไม่หยุด...
คนที่ทำให้เราทุกข์ อยู่ข้างนอก
ใจทุกข์ อยู่ข้างใน
ดูใจทุกข์ ต้องดูข้างใน
แต่เราไม่ดูข้างใน
เราส่งใจไปดูข้างนอก ไปดูคนนั้นต่อ
พอไปดูคนนั้นต่อ ก็เลยทุกข์ต่อ
เขาเรียกว่า ดูผิดตัว
ถ้าดูถูกตัว ทุกข์ต้องดับ
ถ้าดูผิด ทุกข์จะเกิดอยู่ตลอด...

พระอาจารย์มานพ อุปสโม

Image by Mehrshadrezaei from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ไม่ยึดมั่น แม้ใจที่เป็นกลาง


..แม้ความรู้สึกกลางๆ เดี๋ยวก็เปลี่ยนแปลง บังคับให้อยู่ตลอดไม่ได้อยู่ดี แม้ความรู้สึกกลางๆ ที่ประคองอยู่ ก็ไม่ควรยึดมั่น ว่าใจเราเป็นกลาง เมื่อไม่ยึดมั่น แม้ใจที่เป็นกลาง ก็จะหลุดออกจากใจที่ชอบ ใจที่ไม่ชอบ และใจที่เป็นกลาง เมื่อหลุดออก ใจภายในย่อมสงบ เมื่อสงบย่อมเป็นสุข เพราะปลอดจากภัย อันเกิดจากความยึดติดในเรื่องทั้งสิ้นทั้งปวง.. พระอาจารย์สุรพจน์ สัทธาธิโก Image by szcylu from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ภาวนา เพื่อการสลัดคืนเท่านั้น



จากหนังสือ เพียงแค่รู้สึกตัว โดย พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

เรากำลังให้ความสำคัญ กับลูกคนที่พึ่งพาไม่ได้



ในชีวิตของคนเราจะมีลูกอยู่ 2 คน 
คนหนึ่งชื่อร่างกาย 
ลูกอีกคนหนึ่งชื่อจิตใจ 
เรามักจะให้ความสำคัญ 
เลี้ยงดูปูเสื่อร่างกายมากกว่า 
หาทางปรนเปรอทุกอย่าง 
ในขณะที่จิตใจนั้นเราไม่ให้ความสำคัญ 
ให้หากินเองตามประสา 
หารู้ไม่ว่าเรากำลังให้ความสำคัญ
กับลูกคนที่พึ่งพาไม่ได้ 
หมดเงินหมดทองไปกับลูกคนนี้มากมาย 
เอาเข้าจริงอย่างมากก็พึ่งพาได้แค่ชาตินี้ 
แต่กับลูกที่ชื่อจิต คนที่เราสามารถฝากผีฝากไข้ 
พึ่งพิงหลังความตายจริงๆ นั้น 
เราไม่ให้ความสำคัญ 
ทั้งที่จริงแล้วการเลี้ยงดูลูกคนนี้ไม่ต้องใช้เงินสักบาท 
เพียงแค่ให้เขาปราศจากอารมณ์ 
เพียงแค่นี้เขาก็เจริญของเขาได้ 
นี่อะไร แต่ละวันเรากลับให้ลูกคนนี้ 
ให้จิตนี้ไปหากินเอง 
ไปคุ้ยไปเขี่ยตามถังขยะกินเอง 
กินทั้งสิ่งที่พอใจและไม่พอใจ แบบนี้ใช้ไม่ได้

พระอาจารย์ชายแดน สีลสุทโธ

Image by StockSnap from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ถ้าเราเห็นธรรมดาได้ เราก็จะไม่ยึดถือมัน


ธรรมะคือธรรมดา
เราต้องการเห็นว่า 
ธรรมดาของกายเป็นอย่างไร
ธรรมดาของใจเป็นอย่างไร
ถ้าเราเห็นธรรมดาได้
เราก็จะไม่ยึดถือมัน
เพราะธรรมดาของกายใจคือไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
เราต้องการเห็นความเป็นธรรมดา
แต่เราปฏิบัติเกินธรรมดาตลอดเวลา..

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

Image by torstensimon from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


แค่รู้ทันความโกรธที่เกิดขึ้น ก็เกิดกุศลแล้ว


แค่รู้ทันความโกรธที่เกิดขึ้น 
ก็เกิดกุศลแล้ว 
กุศลตอนนั้นเรียกว่า​ "มีสติรู้ทันจิต".. 
ถ้าเห็นว่าความโกรธนั้นเกิด-ดับ​ 
นี่​มี​ปัญญา​เห็นโกรธ​แสดง​ความ​ไม่​เที่ยง​ให้​ดู
เห็น​ว่าความโกรธเกิดขึ้นเอง 
ไม่ได้อยากให้โกรธ มันโกรธเอง 
นี่มีปัญญาเห็นว่าความโกรธแสดงอนัตตาให้ดู 
รู้ทันความโกรธ ความโกรธดับ 
ความโกรธแสดงอนิจจังให้ดู 
เห็นความโกรธไม่ใช่เรา 
ไอ้ตัวรู้ ก็ไม่ใช่เราด้วย 
คราวนี้กลายเป็นพระโสดาบัน 
มีความเข้าใจแจ่มแจ้ง ขึ้นมาว่า 
ทั้งกาย ทั้งใจนี้ ไม่ใช่เรา 
เรียกว่าทำตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน 
ชำระจิตให้ขาวรอบขึ้นมา 
ขาวรอบเบื้องต้นก็คือ เห็นว่ากายใจนี้ไม่ใช่เรา 
และ​ยังมีงานอีกต่อไปอีก 
คือต้องเห็นด้วยว่า 
ทั้งกายทั้งใจนี้ เป็นทุกข์ 
ไม่ใช่แค่​ "ไม่ใช่เรา" นะ 
มันยังเป็นตัวทุกข์ด้วย

พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล 

Image by Engin_Akyurt from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




เพียงมีอารมณ์จิตเศร้าหมองหดหู่..


หลักธรรม ๓ ประการอย่าลืม 
จักทำอะไร คิดอะไร พูดอะไรก็แล้วแต่ 
หมั่นทบทวนใคร่ครวญอยู่เสมอว่า 
ผิดไปจากศีล-สมาธิ-ปัญญาหรือไม่ 
ผิดไปจากหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือไม่ 
คือ ละจากความชั่ว ทำแต่ความดี 
มีจิตผ่องใสหรือไม่ 
เพียงมีอารมณ์จิตเศร้าหมองหดหู่ 
ก็จงคิดว่าเราผิดไปจากคำสั่ง
ของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์แล้ว 
ไม่ควรยังจิตให้เป็นเช่นนั้น 
จงรีบหาทางแก้ไขอารมณ์นั้น
ให้หมดไปจากจิตเป็นการด่วน 
ละเสียจากความเศร้าหมองโดยเร็ว

หลวงปู่ดาบส สุมโน

Image by bobbyartist from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



การเข้าไปอาศัยในภพ – ชาติ – ทุกข์ฯ


การเผลอไหลเข้าไปอาศัยอยู่ใน
ความคิดปรุงแต่ง
คือการเข้าไปอาศัยในภพ – ชาติ – ทุกข์ฯ
เผลอเพลินไปในการปรุงแต่งด้วยเจตนาใด
ในขณะนั้นจะลืมความจริงของกาย – ใจ
ว่าไม่ใช่ตัวตน
แต่จะหลงอยู่ในเวทนาอารมณ์จากเจตจำนงนั้น
การเข้าไปอาศัยอยู่ในเจตนา
คือกรรมภพ – ชาติ
จึงพ่วงเอาโสกะความคร่ำครวญ
ทุกข์โทมนัสคับแค้นใจ
ครั้นมีสติหลุดออกมารู้สึกตัว
ถึงตัวใจที่ปกติอยู่ก่อน
ความคิดจากเจตนานั้นจึงดับ
คือกรรมภพดับ – ชาติดับ
ความคร่ำครวญรำพึงรำพัน
ทุกข์คับแค้นใจจึงดับ

พระอาจารย์อำนาจ โอภาโส

Image by cristinaureta from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



การอยู่ในโลกด้วยความเป็นอิสระ


ถ้าเราอยู่ในความว่างเปล่าหรือความสงบได้ 
ก็เรียกว่าเป็นการอยู่ในโลกด้วยความเป็นอิสระ 
แล้วก็เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ 
เสร็จอยู่ในตัวเอง 
แม้จะไม่มีการอยากได้ อยากปรารถนา 
แต่สิ่งเหล่านี้มีขึ้นมาตามธรรมชาติของมัน 
เพราะสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย มันไม่มีฤทธิ์อำนาจอะไร 
ที่จะจูงใจให้ไปหลง ไปติด 
มันก็เลยเป็นทาสสำหรับให้เราใช้ 
จิตใจก็เป็นอิสระได้ด้วยเหตุนี้ 
ฉะนั้นการมีชีวิตอยู่ในโลก 
จะต้องอยู่อย่างมีอิสระเสรี
ให้มากที่สุดที่จะมากได้ 
โดยไม่ต้องไปหลงเหยื่อโลกทุกๆ ชนิด 
สำหรับผู้มีสติปัญญาแล้วจะต้องอ่านโลกออก 
เมื่ออ่านโลกออกแล้วก็ไม่ถูกหลอกนั่นเอง 
ไม่ว่าใคร ถ้ายังอ่านโลกไม่ออก 
ยังเห็นว่าเที่ยง สุข มีตัวตนแล้ว 
ก็จะถูกดึงไปสู่ความทุกข์นั่นเอง 
ถ้าอยู่ในโลก โดยไม่ติดโลก ไม่หลงโลก 
จะเป็นชีวิตที่มีอิสระได้ด้วยอาการอย่างนี้

ท่าน ก.เขาสวนหลวง

Image by Free-Photos from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


บอกให้ "ละ" ละเลย


คนที่เขาพิจารณา ที่เขาสำเร็จ เพราะอะไร ?? 
เพราะเขารู้เรื่อง ... 
บอกให้ "ละ" ละเลย... 
ไม่ต้องอยากได้ .. ตัวอยาก นี้แหละ คือ ตัวตัณหา
อยากดี นั้นแหละ คือ ตัวตัณหา 
อยากดัง นั้นแหละ คือ ตัวตัณหา 
อยากเด่น นั้นแหละ คือ ตัวตัณหา 
อยากสำคัญ นั้นแหละ คือ ตัวตัณหา
อยากรู้ อยากจะสำเร็จ นั้นแหละ คือ ตัวตัณหา 
มีแต่ตัณหานำหน้าหมดเลย 
มันจะไปถึงได้อย่างไร ก็ความอยากมันดักหน้าแล้ว

พระอาจารย์ประทีป ธีรปัญโญ

Image by Studiolarsen from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


คนเห็นตน


คนเห็นตนว่า "เป็นตน" 
คนนั้นยังไม่เห็นตน
คนเห็นตนว่า "มิใช่ตัวตน" 
คนนั้นจึงเรียกได้ว่า "คนเห็นตน"

หลวงปู่ชา สุภัทโท

Image by Engin_Akyurt from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




ทุกข์ที่แท้จริง


ทุกข์มีอยู่ ๒ อย่างคือ
ทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจ
ทุกข์ทางกายเรียกว่าทุกขเวทนา มีอยู่ ๓ แบบคือ
๑) นิพัทธทุกข์ ทุกข์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ
เช่น หนาว ร้อน หิวกระหาย
ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ เป็นต้น
.
๒) ปกิณกทุกข์ ทุกข์เบ็ดเตล็ด 
เชน ความโศก ความร่ำไรรำพัน
ความคิด ความปรุงแต่ง
.
๓) สภาวทุกข์ ทุกข์ที่เป็นเองตามความเป็นธรรมชาติ
ได้แก่ ทุกข์ประจำสังขาร คือ ชาติ ชรา มรณะ
.
ทุกข์ที่เกิดจากการไม่รู้แจ้งในจิตของเรา
เรียกว่า ทุกข์ที่แท้จริง
แต่ส่วนอื่นอันเป็นทุกข์ที่ทนได้ยาก
ถือว่าเป็นธรรมชาติเฉยๆ เช่น ความเจ็บไข้
หรือความเป็นของไม่เที่ยงที่เกิดขึ้น
แล้วก็แก่ เจ็บ ตาย
ไม่เรียกว่าเป็นความทุกข์
ในแง่ของสัจธรรมถือว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ..

หลวงตาสุริยา วัดป่าโสมพนัส

Image by cdd20 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ผู้พ้นภัย พ้นโลก


"เชื้อ" ที่จะพาให้จิต 
ไปเกิดไปตาย ในภพชาติน้อยใหญ่นั้น 
ก็คือ “ตัวรู้” หรือ "ผู้รู้" ที่อยู่กับจิต 
กลมกลืนเป็นอันเดียวกันอยู่นั้นแล
เมื่อ "ผู้รู้" ถูกถอนพรวดขึ้นมาจากจิตแล้ว
เหลือแต่ “วิมุตติจิต” 
การเกิดจึงยุติขาดสะบั้นกันลงไป
"ผู้รู้" นี้ก็เป็นสักแต่ว่า 
เรือนร่างของจิต แต่ไม่ใช่จิต..
เมื่อจิตขาดจากความสืบต่อ 
กับสิ่งภายนอก หรือ "ขันธ์" แล้ว 
จิตจึงเป็นอิสระนอกเหนือไปจาก
กฎ "อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา" 
อยู่ตามความจริงของตน 
ไม่ไปเกี่ยวข้องกับกฎของสมมุติ
เพราะเป็นวิมุตติแล้ว 
นั่นคือ "ผู้พ้นภัย พ้นโลก" พ้นตรงนี้

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

Image by rifaldi99 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



ไม่มีใครมาทำร้ายเราได้มาก เท่ากับอารมณ์จิตของเรา


วันหนึ่งๆ ไม่มีใครมาทำร้ายเราได้มาก
เท่ากับอารมณ์จิตของเรา ทำร้ายจิตของเราเอง... 
เพราะหากใจของเราไม่ยึด ไม่ติด 
ไม่เกาะ ทุกสิ่งในโลก โดยเฉพาะขันธโลก 
หรือร่างกาย หรือขันธ์ ๕ 
และทุกอย่างที่เกี่ยวเนื่องด้วยร่างกายแล้ว 
ทุกอย่างก็เป็นอนัตตาหมด 
เพียงแค่ขณะจิตเดียวที่ผ่านไป
ก็เป็นอนัตตาแล้วหรือเป็นอดีตธรรมแล้ว

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
ที่มา ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม 4
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


เพียงแค่...รู้สึกตัว



ระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

ยิ่งปฏิเสธต่อต้านสิ่งใด ความทุกข์ก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น


ความทุกข์ของคนสมัยนี้
ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากใจที่ปฏิเสธต่อต้าน
ความจริงที่เกิดขึ้นยิ่งกว่าอะไรอื่น 
ดังนั้นแม้แต่เหตุการณ์เล็กๆ น้อยๆ เช่น รถติด 
ก็ทำให้ผู้คนขึ้งเคียดหงุดหงิดอย่างหนัก
ทั้งๆ ที่เครียดหรือกังวลเท่าใด
ก็ไม่ช่วยให้รถเคลื่อนได้เร็วขึ้น 
มีแต่จะทำให้เป็นทุกข์มากขึ้น
อะไรเกิดขึ้นกับเรา
ก็ไม่สำคัญเท่ากับว่า
เรารู้สึกกับมันอย่างไร 
มีสิ่งร้ายเกิดขึ้นกับเรา
ก็ไม่ทำให้เราทุกข์มาก
เท่ากับใจที่ปฏิเสธต่อต้านสิ่งนั้น 
พูดอีกอย่าง ยิ่งเราปฏิเสธต่อต้านสิ่งใด 
ความทุกข์ก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเจอสิ่งนั้น 

พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

Image by morganhnichols from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



บุญทุกอิริยาบถ


..บุญที่เกิดจากกุศลจิต
เป็นการทำบุญภายใน  
ไม่ใช่การทำบุญภายนอกด้วยวัตถุสิ่งของ
แต่เราทำบุญโดยการสร้างกุศลจิต
สร้างจิตที่ผ่องใสมีคุณงามความดี  
เป็นจิตไม่ตระหนี่เหนียวแน่น
จิตไม่เกิดโทสะ มานะ ทิฏฐิ  
จิตไม่ประกอบด้วยกิเลส
จึงเป็นบุญมหาศาลหาค่ามิได้  
เกิดจากจิตภายใน
ถ้าเราทำอย่างนี้อยู่เสมอๆ  
ก็เป็นบุญอยู่ทุกอิริยาบถ

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

Image by pieonane from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



ขันธ์ ๕ นั้นมันเป็นของกลาง


ขันธ์ ๕ นั้นมันเป็นของกลาง..  
พูดง่าย ๆ ก็คือ รูป  เวทนา ความสุขทุกข์ เฉย ๆ  
สัญญาคือความจำ  สังขารคือความคิด  
วิญญาณคือความรู้  มันไม่เที่ยง  
มันไม่ใช่ของเรา  ไม่ใช่เรา  ไม่ใช่ตัวตนของเรา 
มันไม่ใช่ของเราแล้วเป็นของใครล่ะ  
มันก็ของกลางนั่นเอง  
ไม่มีของใครเป็นเจ้าของ..  
เพราะฉะนั้นเมื่อโลภโกรธหลงมันเกิดในใจ  
มันเผลอไปแล้ว  มันเกิดขึ้นในใจ  
ก็ใช้สตินั้นล่ะหยิบมันขึ้นวิจัย  
มันก็เป็นของกลางไม่ใช่ของเรา  
ไม่ต้องเอาเราไปใส่ในมัน  
ไม่ต้องเอามันมาใส่ในเรา  
ถ้าสติปัญญาตรงนั้นผ่องแผ้ว  
หยิบขึ้นวิจัยอย่างนี้  
มันก็ไม่น้อมเข้าไปสู่โลภโกรธหลงนั้น  
เมื่อมันไม่น้อมไปสู่โลภโกรธหลงนั้น  
โลภโกรธหลงนั้นมันก็หมดความหมายนั่นเอง

พระอาจารย์วิชัย กัมมสุทโธ

Image by EvgeniT from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


คนรักศาสนาอย่างแท้จริง


รักศาสนาด้วยวิธีดับทุกข์ให้ได้ 
ดับทุกข์ให้เป็น ดับทุกข์ให้เก่ง 
จนสามารถนำไปสอนคนรอบข้าง 
ลูกเด็กเล็กแดง สามีภรรยา 
บิดามารดา บุตรธิดา 
ให้ทำตามได้ 
นั่นแหละคือคนรักศาสนาอย่างแท้จริง 
นั่นแหละคือผู้ต่ออายุศาสนาอย่างแท้จริง

สมสุโขภิกขุ

Image by brenkee from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


เราเป็นเหยื่อความคิด


ปรกติเราคิด เราเป็นเหยื่อความคิด
ถูกความคิดพาไปกับมัน 
ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับมัน
แต่เราไม่รู้ความคิด 
ท่านจึงสอนว่าให้รู้ความคิด 
หรือให้ดูความคิด หรือให้เห็นความคิด 
"มันจะคิดดีคิดร้ายก็ปล่อยให้มันคิด 
ไม่ต้องไปเกร็งที่จะห้ามคิด
แต่อย่าเป็นเหยื่อถูกมันพาไปไหนๆ โดยไม่รู้...." 

หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ

Image by PublicDomainPictures from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



วิหารธรรมของพระอริยะเจ้าทั้งหลาย


ความเป็นตัวตน
เกิดจากการยึดติดในขันธ์ 5
เพราะฉะนั้นการไม่ยึดติด
เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา 
นั่นคือ "พุทธสภาวะ" ..
ภายนอกมันก็ทำงานทำการ 
ใช้ชีวิตได้ตามปกติ 
แต่ข้างใน..มีแต่ "รู้" ที่บริสุทธิ์ 
ไม่ยึดติดกับอะไรเลย.. 
ฝึกอยู่กับสภาวะรู้ไปเรื่อยๆ 
จนสามารถอยู่กับรู้
ได้เป็นปกติในชีวิตประจำวัน 
ทำงานทำการก็อยู่กับรู้ได้ 
ตรงนี้คือ..
วิหารธรรมของพระอริยะเจ้าทั้งหลาย 
ที่เรียกว่า..สุญญตา 
มันว่างจากตัวตน..จากความยึดมั่นถือมั่น 

พระมหาวรพรต กิตฺติวโร

Image by Foto-Rabe from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



ดีที่สุด..


ดีที่สุด ก็ไม่ดีเท่า...
ว่าง (จากดี)

ท่านพุทธทาสภิกขุ

Image by John_Ioannidis from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา